News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซีรีส์ชุดคำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลนี้ : คำถามแรกพวกคุณมีหัวใจไหม?ทำไมเพิกเฉยกับคนเสื้อแดงที่ติดคุก


19 พฤษภาคม 2553 มีการจับกุมเหวี่ยงแหคนเสื้อแดงยัดข้อหาเผาบ้านเผาเมืองเผาศาลากลาง ตอนนี้ติดคุก 1 ปีครึ่งแล้ว
15 กันยายน 2554 คอป.ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้งเสนอรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ถือว่าคดีนี้ รวมทั้งคดี112เป็นคดีการเมือง ให้ปล่อยตัว หรือชลอคดี
20 กันยายน 2554 รัฐบาลแต่งตั้งปคอป.ให้ดำเนินการตามข้อเสนอของคอป.
5 ตุลาคม 2554 ปคอป.ประชุมนัดแรก เบี้ยเลี้ยงประชุมครั้งละหมื่น
27 ตุลาคม 2554 ศา่ลมุกดาหารตัดสินจำคุกเสื้อแดงมุกดาหาร20ปี
29 ตุลาคม 2554 ศาลอุดรธานีตัดสินจำคุกเสื้อแดงอุดรธานี 22 ปี 6 เดือน
23 พฤศจิกายน 2554 ศาลนัดตัดสินคดีอากง อายุ61ปี ส่งSMSหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจำคุก 20 ปี ทั้งที่คอป.ชี้เป็นคดีการเมือง ให้ชลอคดีไว้ก่อนก็ตาม

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
22 พฤศจิกายน 2554



"วันนี้อยากบอกว่าให้ใจเย็นๆสำหรับคนที่ไม่มีตำแหน่ง อย่าเพิ่งอยากเป็นโน่นเป็นนี่กัน วางความอยากไว้ก่อน วันนี้ต้องมาคิดอันดับแรกว่า จะช่วยพี่น้องเราที่ติดคุกอย่างไร อันที่สองจะเยียวยาคนที่บาดเจ็บ คนที่ตายไปอย่างไร คนที่ติดคุกโดนคดีจะแก้ไขอย่างไร และอันที่สามจะช่วยประชาชนที่ลำบากปัญหาเศรษฐกิจปากท้องอย่างไร"-ทักษิณพูดตอนไปเยี่ยมเสื้อแดงเยอรมัน , 11 สิงหาคม 2554


เราได้เร่งรัดรัฐบาลนี้ให้ช่วยเหลืิอปลดปล่้อยคนเสื้อแดงที่ติดคุกมาปีครึ่งหรือไม่?-คำตอบคือ"ไม่"

เพราะคนเร่งรัดคือ คอป.ที่ศ.คณิต ณ นคร เป็นประธาน
ความตลกร้ายที่สุดก็คือว่า คอป.ที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่งตั้ง

นี่ก็ผ่านมานานกว่า 2 เดือนแล้วนับแต่วันทีั่ 15 กันยายนที่คอป.ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ทุกอย่างเป็นคลื่นกระทบฝั่ง

เราได้เสนออะไรที่จะเป็นประเด็นการเมืองคุกคามเสถียรภาพของรัฐบาลนี้หรือไม่?-คำตอบคือไม่!

เพราะข้อเสนอของคอป.นั้น ไม่ได้เสนอให้นิรโทษกรรม ไม่ได้เสนอให้พระราชทานอภัยโทษ ไม่ได้เสนอแบบไร้หลักเกณฑ์ แต่เสนอหลังจากศึกษามานานกว่าปีครึ่งหลัง 19 พฤษภาคม 2553

ความตลกร้่ายก็คือว่า แทนที่รัฐบาลนี้จะfollowข้อเสนอของคอป.ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้งมา กลับไปหาเรื่องอภัยโทษให้ทักษิณ และต้องถอยยะย่ายในเวลาต่อมา เมื่อเผชิญหน้าแรงต้านอย่างหนักหน่วง

อะไรคือข้อเสนอของคอป. รัฐบาลนี้จะเผชิญแรงต้านหรือไม่?-คำตอบคือไม่!


ข้อเสนอสั้นๆของคอป.คือให้ถือว่านักโทษเสื้อแดง ไม่ว่าอีกฝ่ายจะเรียกว่า"พวกเผาบ้านเผาเมือง เผาห้าง เผาศาลากลาง"จะทำผิดจริงหรือไม่ก็ตาม และนักโทษคดีหมิ่นฯ112นั้นมีแรงจูงใจจากการเมือง จะปล่อยให้ศาลเร่งรัดตัดสินแบบผู้ร้ายก่ออาชญากรรมทั่วไปไม่ได้ ต้องปล่อยตัว หรือเว้นวรรคชลอคดีไว้ก่อน

หากรัฐบาลนี้followข้อเสนอของคอป.ย่อมมีความชอบธรรมอย่างยิ่ง เพราะคอป.ไม่ใช่พรรคพวกของคนรัฐบาลนี้ แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้งมา

ความตลกร้ายก็คือว่า ระหว่างที่ข้อเสนอคอป.ไปซุกอยู่ในเก๊ะของนายกฯยิ่งลักษณ์ หรือลิ้นชักรองนายกฯยงยุทธมานาน 2 เดือนเศษ ศาลก็ตัดสินจำคุกคนเสื้อแดง 10-22 ปี ราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่เกี่ยวกับว่าประเทศกำลังเผชิญหน้าน้ำท่วมหรือไม่ท่วม....

รัฐบาลนี้เพิกเฉยเกินไปไหม มีหัวใจหรือไม่?



คนเสื้อแดงติดคุกจากกรณีั 19 พฤษภาคม 53 มาปีครึ่งแล้ว อย่างรวดเร็วฉับไว ไม่ให้ประกันตัว เร่งตัดสินคดี ทั้งที่ คอป.ชุดนายคณิต ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์แต่งตั้ง ได้เสนอแนะต่อรัฐบาลไปอีกทางหนึ่ง

คอป.ยื่นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อ 15 กันยายน 2554 (ดูรายละเอียดหนังสือ)ความชัดเจนว่า

คอป. เห็นว่าสภาพความขัดแย้งในทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสำคัญ ที่นำมาสู่ความรุนแรงและการกระทำความผิดกฎหมายอาญาของผู้ที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งฝ่ายต่างๆ ความรุนแรงและการกระทำความผิดกฎหมายอาญาในลักษณะเช่นนี้มิใช่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคมในภาวะปกติทั่วไปที่ไม่มีความขัดแย้งในทางการเมืองเช่นนี้

เพราะการกระทำความผิดมีมูลฐานเริ่มต้นจากความคิดเห็นในทางการเมือง ดังนั้น แม้พฤติกรรมที่ผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายแก่บุคคลและส่วนรวมเป็นเรื่องที่ผู้กระทำต้องมีความรับผิดชอบ (accountability) ในทางกฎหมายที่เหมาะสม

แต่ในหลายกรณี ความรับผิดชอบในทางอาญาด้วยการฟ้องคดีและการลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สอดคล้องต่อปรัชญาในการลงโทษ ไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ ทั้งนี้ เพราะผู้กระทำความผิดที่มีเหตุจูงใจทางการเมืองแตกต่างจากผู้กระทำความผิดอาญาทั่วไปที่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรโดยกมลสันดาน

การลงโทษพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นย่อมไม่สามารถส่งผลในการสร้างความยับยั้งหรือความหลาบจำ (deterrence) ให้กับผู้กระทำความผิดเองและสังคมโดยรวมตามหลักทฤษฎีในการลงโทษทั่วไปได้

นอกจากนี้การดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมืองยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากข้อจากัดของกระบวนการในการสืบสวนสอบสวน การตั้งข้อหา การรวบรวมพยานหลักฐานที่ถูกมองว่าไม่เป็นกลางและ โน้มเอียงไปในทางที่เป็นคุณต่อผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ คอป. จึงมีความเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาในคดีความผิดตามพระราชกาหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปตามมาตรา ๒๑๕ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และคดีที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งเป็นช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ล้วนเป็นเรื่องที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง รัฐบาลสมควรดาเนินการในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว ดังนี้

-เร่งรัดตรวจสอบให้ชัดเจนว่าการแจ้งข้อหาและการดาเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาและจาเลยสอดคล้องกับพฤติการณ์แห่งการกระทำหรือไม่ และทบทวนว่า มีการตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินสมควร หรือการดำเนินคดีที่พยานหลักฐานอ่อนไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดหรือไม่

-ดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้มีการปล่อยชั่วคราวอันเป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อให้ผู้ต้องหาและจำเลยสามารถต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัวอันเกิดจากการถูกจากัดเสรีภาพ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาและจำเลยว่ามีเหตุที่จะหลบหนี เหตุที่จะทำลายพยานหลักฐาน หรือเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อสังคม หากได้รับการปล่อยชั่วคราวหรือไม่

หากไม่มีสาเหตุดังกล่าว ให้ยืนยันหลักกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราว และในการปล่อยชั่วคราวนั้น แม้ตามมาตรา ๑๑๐ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะไม่เรียกร้องหลักประกันก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมยังมีการกาหนดให้มีหลักประกันอันเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายเสมอมานั้น ทาให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างมาก

ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวแต่กำหนดให้มีหลักประกันด้วยนั้น ก็ชอบแล้วที่รัฐบาลจะจัดหาหลักประกันดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาและจำเลยทุกคนที่ไม่สามารถจัดหาหลักประกันได้ตามทางปฏิบัติที่ผ่านมา

อนึ่ง ต้องพึงตระหนักว่าการที่ผู้ต้องหาและจำเลยถูกตั้งข้อหาร้ายแรงนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการปล่อยชั่วคราวตามกฎหมาย

-เนื่องจากผู้ต้องหาและจาเลยมิใช่เป็นผู้ร้ายหรืออาชญากรดังเช่นในคดีอาญาตามปกติ แต่เป็นผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอันมีมูลเหตุเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทางการเมือง หากผู้ต้องหาและจาเลยนั้นไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว รัฐบาลสมควรจัดหาสถานที่ในการควบคุมที่เหมาะสมที่มิใช่เรือนจาปกติเป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาและจาเลย ดังเช่นที่เคยใช้กับนักโทษทางการเมืองในอดีต

-เนื่องจากคดีอาญาเหล่านี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ดาเนินอยู่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาโดยผู้กระทำผิดมีมูลเหตุจูงใจในทางการเมือง และปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีรากเหง้าที่สาคัญมาจากสภาพสังคมไทยอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน (Transition)

การนำเอาหลัก ความยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice) ที่มีเพียงมาตรการการฟ้องคดีอาญาในเชิงลงโทษมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงไม่เหมาะสมกับสภาพของปัญหา ดังนั้น จึงสมควรที่จะนาเอาหลักวิชาการเกี่ยวกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาศึกษาและปรับใช้ เพื่อนำหลักการและแนวทางของหลักวิชาการดังกล่าว ตลอดจนประสบการณ์ของต่างประเทศที่เคยเผชิญความขัดแย้งอย่างรุนแรงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศไทย

ด้วยเหตุนี้ ในระหว่างที่มีการศึกษาถึงแนวทางในการนำมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยมาใช้ สมควรขอความร่วมมือให้อัยการชะลอการดำเนินคดีอาญาเหล่านี้ไว้ โดยยังไม่พิจารณานำคดีขึ้นสู่ศาล โดยรอให้มีข้อมูลที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เกี่ยวกับพฤติการณ์แห่งคดี ข้อมูลในภาพรวมของสาเหตุของปัญหา ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในด้านวิชาการเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในกรอบของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์

เพื่อให้อัยการมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในการประเมินความเหมาะสมทางด้านประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งมาตรการทางอาญาที่เหมาะสมก่อนการสั่งคดี


สรุปก็คือ คอป.ให้ปล่อยตัวชั่วคราว อย่าเพิ่งให้ศาลตัดสินคดี ให้ชลอคดี หรือเว้นวรรค ปล่อยตัวออกมาก่อน เพราะเป็นเหตุทา่งการเมือง ไม่ใช่การก่ออาชญากรรมปกติ แต่ความเป็นจริงก็คือศาลได้ตัดสินจำคุก 6 เดือนบ้าง 1-2 ปีบ้าง 20-30 ปีบ้างในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทั้งที่อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร มหาสารคาม และจำเลยคดี 112 ก็ยังถูกตัดสินอย่างรวบรัด ฯลฯ ให้หลังจากที่คอป.เสนอรัฐบาลไปเพียงเดือนเดียว

โดยที่รัฐบาลก็เพียงแต่ตั้ง ปคอป.ที่มีรองนายกฯยงยุทธ วิชัยดิษฐ ขึ้นมาติดตามและจะดำเนินงานตามข้อเสนอของคอป. เพิ่งจัดประชุมไปหนเดียวเมื่อ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างประชุม ตั้งคณะทำงาน ศาลก็็ตัดสินจำคุกคนเสื้อแดง และคดี 112 ไปเรื่อยๆ คนละ10 ปี 20-30 ปี ทั้งที่คอป.ให้ชลอคดีไว้ก่อน

ทั้งที่รัฐบาลควรจะต้องจะเร่งนำมติคอป.ไปเสนอนโยบายต่อกระบวนการยุติธรรมโดยไม่ชักช้า และมีสิทธิธรรมอย่างเต็มที่ เพราะคอป.ชุดนี้รัฐบาลนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นเองเลย แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์แต่งตั้งมาแท้ๆ และยังมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูญเสียอิสรภาพเพราะต่อสู้ทางการเมืองให้มีรัฐบาลนี้ขึ้นมาแท้ๆ แล้วยังจะช้าไม่ทันการณ์ไปอีกนานแค่ไหน หากอ้างว่าต้องเร่้งแก้น้ำท่วมก่อน แล้วทำไมทีกรณีอภัยโทษให้ทักษิณ ถึงไม่ต้องรอหลังน้ำลด?
ฉะนั้น คำถามตัวโตๆต่อรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งก้าวขึ้นมามีอำนาจบนซากศพ และความเสียสละอาจหาญ มีคนบาดเจ็บพิการสูญเสียอิสรภาพอีกไม่นับ และยังคอยตามสนับสนุนปกป้องรัฐบาลนี้ราวผนังทองแดงกำแพงเหล็กก็คือว่า เมื่อไหร่ฝ่ายถูกฆ่าจะได้ออกจากคุกสู่อิสรภาพ เมื่อไหร่จะนำฝ่ายฆ่าเข้าไปอยู่ในคุกแทน

หากคำตอบยังเป็นสูตรเดิมว่า ต้องปรองต้องสมานฉันท์ คนเสื้อแดงที่ติดคุกก็ต้องติดคุกต่อไป ผู้ลั่นไกสังหารรอด ผู้สั่งการลอยนวลรอนิรโทษกรรม ผู้บงการยังมีคนทั้งแผ่นดินกราบไหว้บูชาราวไม่เคยเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้สึกรู้สา

ตราบนั้นคำถามตัวโตๆก็ยังจะมีต่อไป

คำถามตัวโตๆนั้นมีอยู่ว่า เมื่อไหร่จะเกิดความยุติธรรม เพราะเมื่อไม่มีความยุติธรรม ก็ไม่มีความสงบ ไม่มีสันติภาพ


No justice , No peace!

***********

ที่มา thaienews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น