News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัว 4 นปช.อุบลฯ อ้างเหตุอัตราโทษสูงหวั่นผู้ต้องหาหนี

บ่ายวันเดียวกัน กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย อีสานใต้ จำนวน 10 คน ใช้ตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรและหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี มูลค่า 16 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ยื่นประกันตัว 4 สมาชิก นปช.ที่ถูกตัดสินจำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน คือ น.ส.ปัทมา มูลมิล นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ นายสนอง เกตุสุวรรณ นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ จำนวน 25 ล้านบาท

โดยผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีความเห็นว่า เนื่องจากเป็นคดีร้ายแรง และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษในอัตราสูง ทำให้เกรงจำเลยทั้ง 4 จะหลบหนี จึงยกคำร้องการขอปล่อยตัวชั่วคราว

นายวัฒนา จันทศิลป์ ทีมทนายความกล่าวว่า มี 2 แนวทางคือ อาจจะยื่นอุทธรณ์การยกคำสั่งขอปล่อยตัวจำเลยชั่วคราว ต่อศาลอุทธรณ์อีกครั้ง หรือจะยื่นฎีกาคำสั่งการยกคำร้องของศาลอุทธรณ์ ให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาต่อไป

คุกสาว24พ้นโทษเฉียด60แม่วอนพท.-นปช.ยื่นมือ คอป.ปรองดองศาลต้องเป็นกลาง-รู้จักคดีการเมือง




รายงานความคืบหน้า คอป ครั้งที่ 1


แม่ของสาวเสื้อแดงวัย 24ถูกศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี หากต้องรับโทษตามคำตัดสิน เธอจะได้รับอิสรภาพตอนอายุ 57 วอนให้นปช.-ส.ส.เพื่อไทยยื่นประกัน

ส่วนเอกสารนี้เป็นของศอฉ.ที่เคยเสนอนายกฯกล่าวถึงศาลว่า พึงใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยความระมัดระวัง ไม่ตั้งข้อหากับผู้ที่เกี่ยวข้องในการชุมนุมรุนแรงเกินสมควร..ศาลยุติธรรมควรได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และเป็นกลางเพื่อให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ในภาพรวมได้อย่างรอบด้าน และมีข้อมูลที่เพียงพอในการให้ความเป็นธรรม โดยเฉพาะสถานการณ์ภายหลังที่มีการเปลี่่ยนแปลงการปกครองประเทศโดยการรัฐประหารเมื่อวันที่่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙

ก่อนหน้านี้เวบไซต์ ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า วันที่ 25 ส.ค. นางวาสนา มาบุตร อายุ 49 ปี มารดาของ น.ส.ปัทมา มูลมิล อายุ 24 ปี ซึ่งศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิพากษาให้จำคุก 33 ปี 4 เดือน โดยตัดสินว่า ร่วมกับพวกวางเพลิงเผาอาคารศาลากลางจังหวัด โดยนางวาสนาเรียกร้องให้กลุ่ม นปช.และพรรคเพื่อไทย ช่วยประกันตัวบุตรสาวในชั้นอุทธรณ์ และให้ช่วยเหลือผลทางคดี เพราะได้รับโทษสถานหนัก พร้อมทั้งเชื่อว่าบุตรสาวไม่ได้เป็นผู้เผาอาคารศาลากลาง เพียงแต่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ด้วยเท่านั้น

ปัทมา มูลมิล

โดยนางวาสนา เล่าว่า น.ส.ปัทมาเป็นลูกคนที่ 3 และเป็นลูกสาวเพียงคนเดียว โดยเข้าร่วมชุมชนกับกลุ่ม นปช.ทั้งที่ จ.อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ เพราะต้องการช่วยเหลือประเทศชาติให้มีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ส่วนวันเกิดเหตุเผาศาลากลางบุตรสาวมาช่วยเปิดร้านขายอาหารตามสั่งที่ตั้งอยู่เลขที่ 168 ในซอยชยางกูร 21 ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมือง

หลังจากนั้นก็ได้ออกไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง โดยบุตรสาวเล่าว่า วันเกิดเหตุวิ่งหลบหนีเข้าไปในอาคารศาลากลางจังหวัด เพราะกลัวถูกทหารยิง และได้พบกับชายสวมไอ้โม่งปิดบังใบหน้า ในมือถือขวดบรรจุน้ำมัน พร้อมยื่นน้ำมันให้กับบุตรสาว เพื่อใช้ราดอาคารศาลากลาง แต่ลูกสาวไม่รับ ชายคนดังกล่าวจึงเอาขวดน้ำมันกลับไปราดเอง และวิ่งหลบหนีไป

ส่วนความช่วยเหลือตั้งแต่บุตรสาวถูกจับกุม ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือจาก นปช.หรือ ส.ส.พรรคเพื่อไทย มีเพียงอาจารย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีแห่งหนึ่ง ฝากเงินไว้ที่ร้านค้าสวัสดิการของเรือนจำให้กับผู้ต้องขัง นปช.ใช้จ่ายคนละ 1,000 บาทต่อเดือน ปัจจุบันนางวาสนาต้องจ่ายเงินกู้รายวันๆละ 500 บาท เพื่อใช้หมุนเวียนในร้านขายอาหารตามสั่ง เพราะมีเงินไม่พอใช้และยังขาดคนช่วยเหลือระหว่างให้บริการลูกค้าด้วย

ตัดสินคุกตลอดชีวิตคดีการเมือง ศาลขัดหลักปรองดองที่ศอฉ.เสนอ

ทั้งนี้คอป.เคยนำเสนอคดีคนเสื้อแดงกับกระบวนการยุติธรรมยื่นต่ออดีตนายกฯอภิสิทธิ์ (คลิ้กดูรายละเอียด)

คอป.เห็นว่ารัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกํากับควบคุมการใช้อํานาจรัฐ ทุกฝ่ายพึงใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วยความระมัดระวัง ไม่ตั้งข้อหากับ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการชุมนุมรุนแรงเกินสมควร ควรให้ความสําคัญกับการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของทุกฝ่าย ให้โอกาสในการต่อสู้คดีและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ต้องหา ซึ่่งต้องได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

และส่งเสริมให้กระบวนการยุติธรรมโดยเฉพาะศาลยุติธรรมได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและเป็นกลางเพื่อให้สามารถเข้าใจสถานการณ์ในภาพรวมได้อย่างรอบด้าน และมีข้อมูลที่เพียงพอในการให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย


ศาลยุติธรรมซึ่งเป็นที่่พึ่งสุดท้าย มีความจําเป็นต้องเข้าใจถึงความซับซ้อนของปัญหา โดยพึงตระหนักถึงพัฒนาการที่ยาวนานและความซับซ้อนของปัญหาที่นํามาสู่ความขัดแย้ง โดยเฉพาะสถานการณ์ภายหลังที่มีการเปลี่่ยนแปลงการปกครองประเทศโดยการรัฐประหารเมื่อวันที่่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ทําให้ในสายตาของคนบางกลุ่มการกล่าวอ้างถึงกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมมีปัญหาเรื่่องความชอบธรรมและความสอดคล้องกับหลักนิติธรรม

ที่มา thaienews

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น