News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

15 อันดับราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปี 2009 และ 2008

แปลและเรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา นิตยสารฟอร์บส

อ่านรายละเอียดข่าวฉบับเต็ม:อีกครั้ง สำหรับราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดในโลก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงครองแชมป์ ราชวงค์รวยที่สุดในโลก เป็นปีที่ 2

นิตยสารฟอร์บส์ออนไลน์ยังจัดอันดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดชแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นพระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลก ในบรรดาพระราชวงศ์ที่ทรงมั่งคั่งที่สุดในโลก 15 พระราชวงศ์ประจำปี 2552(2009) อันเป็นการรักษาอันดับที่ 1 ไว้ได้ต่อเนื่องจากปีก่อนนี้

โดยฟอร์บส์ระบุว่าทรงมีพระราชทรัพย์รวม 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ราว1,020,000ล้านบาท)ลดลงจากปีก่อนราว 5 พันล้านเหรียญ(ราว170,000ล้านบาท)ทั้งนี้เนื่องจากการลดลงของมูลค่า สินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นที่ถือโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสำนักงานที่พระองค์ท่านมีพระราชอำนาจในการจัดการ

วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศได้มีผลกระทบต่อพระราชทรัพย์ให้ลดลงไปด้วย

ฟอร์บส์ รายงานว่า พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงครองสิริราชย์สมบัติยาวนานที่สุดในโลก พระองค์ได้รับการเคารพสักการะเยี่ยงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาในสวิตเซอร์แลนด์ ทรงพระราชอำนาจในราชณาจักรที่แบ่งแยกคนในชาติออกเป็นชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และประชาชนในชนบท

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกสร้างผลกระทบให้เกิดภาวะ เศรษฐกิจถดถอยในราชอาณาจักรไทย พระราชวงศ์ไทยมีอำนาจจัดการทรัพย์สินในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชน เช่น เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และการเป็นเจ้าของที่ดินมหาศาล รวมทั้งที่ดินกว่า3,500 เอเคอร์ในเขตกรุงเทพฯที่จัดการดูแลโดยสำนักงานทรัพย์สินฯ

อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยย้ำว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ แต่ถูกจัดการเพื่อประเทศชาติ

ฟอร์บส์ ระบุด้วยว่า ความมั่งคั่งของราชวงศ์มาจากมรดกตกทอดหรือตำแหน่งทางอำนาจ มักจะถูกแบ่งปันกันในเครือญาติ และหลายๆครั้งที่มันหมายถึงเงินที่ถูกควบคุมโดยราชวงศ์ในรูปของกองมรดก (trust) สำหรับประเทศหรืออาณาเขต และด้วยเหตุผลนี้ ราชวงศ์ทั้ง 15 ราชวงศ์ในรายชื่อนี้ขาดคุณสมบัติที่จะถูกจัดอันดับประจำปีของเราในบุคคลที่ ร่ำรวยที่สุด ไม่ว่าเขาจะมีสินทรัพย์เท่าไร

ยกตัวอย่างเช่น กษัตริย์ Mswati ที่ 3 ของ Swaziland เป็นผู้รับผลประโยชน์ของ 2 กองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบิดาของเขาใน trust ของประเทศ Swaziland ในช่วงที่ครองราชย์เขามีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จในการใช้เงินที่เป็นรายได้ จาก trust นั้น ซึ่งทำให้เขาสามารถสร้างราชวังให้กับมเหสี 13 พระองค์และพำนักอยู่ในโรงแรมระดับ 5 ดาวเมื่ออยู่ต่างประเทศ

เช่นเดียวกัน เรารวมทรัพย์สินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของไทยในส่วนของ ทัรพย์สินของกษัตริย์ภูมิพลเพราะพระองค์เป็นผู้มีอำนาจเต็มในกองมรดก (trustee) อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยไม่เห็นด้วยและออกมาประกาศว่าทรัพย์สินของสำนักงาน ทรัพย์สินไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ของกษัตริย์ แต่สำนักงานทรัพย์สินครอบครองและบริหารทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ในนามของ ประชาชนชาวไทย

ตรงกันข้าม ราชวัง Buckingham และเครื่องเพชรของราชวงศ์ถือว่าเป็นสมบัติของชนชาติอังกฤษ ไม่ใช่ของพระราชินี Elizabeth เพราะฉะนั้นมันไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินของพระองค์ แต่ทรัพย์สมบัติของพระองค์มาจากอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษและสก๊อตแลนด์ ภาพศิลปะ อัญมนี และแสตมป์สะสมโดยพระอัยกา

พระราชวงศ์ที่มั่งคั่งที่สุดของโลก ปี 2552(2009) จัดโดย Forbes

1.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, ราชณาจักรไทย
พระราชทรัพย์: 30 พันล้านดอลลาร์ (ลดลงจากปีก่อน 5 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ:81



2.Sultan Haji Hassanal Bolkiah, บรูไน
พระราชทรัพย์: 20 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน)
พระชนมายุ: 62



3.Sheikh Khalifa Bin Zayed Al Nahayan, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
พระราชทรัพย์: 18 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 5 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 61



4.King Abdullah bin Abul Aziz, ซาอุดิอาระเบีย
พระราชทรัพย์: 17 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 4 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 85



5.Sheikh Mohammed Bin Rashid Al Maktoum, ดูไบ

พระราชทรัพย์: 12 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง6 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 59



6.เจ้าชายฮานส์-อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์
พระราชทรัพย์: ๑๒๒,๕๐๐ ล้านบาท (ลดลงจากปีที่แล้ว ๕๒,๕๐๐ ล้านบาท)
พระชนมายุ: 64 พรรษา



7.King Mohammed VI, โมร็อคโค

พระราชทรัพย์: 2.5 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่ม1 พันล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 45



8.Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani, การ์ตาร์
พระราชทรัพย์: 2 พันล้านดอลลาร์ (ไม่เปลี่ยนแปลง)
พระชนมายุ: 57



9.Prince Albert II, โมนาโค

พระราชทรัพย์: 1 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง400ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 51



10.Prince Karim Al Husseini, Aga Khan
พระราชทรัพย์: 800 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 200 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 72



11.Sultan Qaboos bin Said, โอมาน
พระราชทรัพย์: 700 ล้านดอลลาร์(ลดลง400ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 68



12.Queen Elizabeth II, สหราชอาณาจักร
พระราชทรัพย์: 450 ล้านดอลลาร์ (ลดลง200 ดอลลาร์)
พระชนมายุ: 83



13.Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al Sabah, คูเวต

พระราชทรัพย์: 400 ล้านดอลลาร์ (ลดลง 100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 80



14.Queen Beatrix Wilhelmina Armgard,เนเธอร์แลนด์
พระราชทรัพย์: 200 ล้านดอลลาร์ (ลดลง100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 71



15.King Mswati III, สวาซิแลนด์
พระราชทรัพย์:100 ล้านดอลลาร์(ลดลง 100 ล้านดอลลาร์)
พระชนมายุ: 41


ที่มา thaienews

**************************************

10 อันดับราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก....
นิตยสารฟอร์บ เสนอบทความราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลก เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2551(2008) ระบุว่าพระมหากษัตริย์ของไทยมีพระราชทรัพย์มากที่สุดในบรรดา 15 ราชวงศ์ที่อยู่ในทำเนียบการจัดอันดับของฟอร์บ



ฟอร์บระบุว่า การประเมินทรัพย์สินของราชวงศ์นั้นต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ประกอบกันไป เนื่องด้วยความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งของบุคคลกับรัฐนั้นมีลักษณะเฉพาะของแตกต่างกันไป จากรายงานของฟอร์บส์นั้น พบว่าพระมหากษัตริย์หลายพระองค์มีพระราชทรัพย์ลดลง เนื่องจากผลกระทบที่ต่างๆกันไป

ฟอร์บระบุว่าได้ติดตามสถานะของราชวงศ์ระดับแนวหน้าจำนวนหนึ่งมาหลายปี แต่การนำเสนอผ่านบทความดังกล่าวเป็นเพียงครั้งที่ 2 ที่เผยแพร่ทำเนียบราชวงศ์ที่ร่ำรวยที่สุดอย่างละเอียด แต่สถาบันกษัตริย์ของประเทศอย่างสเปนและญี่ปุ่นกลับพลาดที่จะเข้าร่วมการจัดอันดับไปอย่างน่าเสียดาย


ลำดับที่ 1.King Bhumibol Adulyadej of Thailand


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งราชอาณาจักรไทย ทรงอยู่ในลำดับสูงสุดของทำเนียบราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลกในปีนี้ โดยมีพระราชทรัพย์ประมาณการได้ล่าสุดกว่า 35 พันล้านเหรียญฯ (1.19 ล้านล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท: 34 ดอลลาร์) โดยพระราชทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนี้สืบเนื่องจากความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์


ลำดับที่ 2.Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan of the United Arab Emirates


ชีค คาลิฟา บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน แห่งอาบูดาบี (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) มีพระราชทรัพย์ประมาณ 23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความมั่งคั่ง ของพระองค์เกิดจากการที่เมืองอาบูดาบีเป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมันสำรองคิด เป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนั้นอาบูดาบียังมีชื่อเสียงเนื่องมาจากการลงทุนระดับแนวหน้าโดยบรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของนั้นคือเงินลงทุน 7.5 พันล้านเหรียญฯ ในบริษัท Citibank พระชนมายุ 60 พรรษา


ลำดับที่ 3. King Abdullah bin Abdul Aziz of Saudi Arabia


กษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อับดุล อาซิซ แห่งซาอุฯ ทรงมีทรัพย์สินประมาณการที่21.5 พันล้านเหรียญฯ รายได้มหาศาลของพระองค์ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมันที่ซาอุดีอาระเบีย มีส่วนการผลิตถึง 25 % ของแหล่งน้ำมันทั่วโลก และธุรกิจการบินของสายการบินซาอุดีอาระเบียนส์ แอร์ไลน์ แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์กันว่าแหล่งน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย จะหมดลงในปีค.ศ.2040 หรืออีกใน 32 ปีข้างหน้านี้ พระชนมมายุ 84 พรรษา


ลำดับที่ 4. Sultan Haji Hassanal Bolkiah of Brunei


สุลต่านแห่งบรูไน ซึ่งเป็นกษัตริย์จากเอเชียจากสองประเทศที่เข้าทำเนียบราชวงศ์ที่รำรวยของฟอร์บ ราชทรัพย์ของสุลต่านแห่งบรูไน(ทรัพย์สิน 20 พันล้านเหรียญฯ) ลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้องลดอัตราการผลิตน้ำมันเนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศบรูไนลดลง โดยฟอร์บระว่า กิจการน้ำมันนั้นเป็นมรดกตกทอดของราชวงศ์บรูไนซึ่งเป็นราชวงศ์มุสลิมซึ่งมีอายุกว่า 600 ปี พระชนมพรรษา 62 พรรษา


ลำดับที่ 5. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum of Dubai


ชีค โมฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มาคทูม แห่งดูไบ ทรงมีพระราชทรัพย์สุทธิ 18 พันล้านเหรียญฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Dubai Holding ซึ่งมีการลงทุนใหญ่ๆ ในหลายบริษัท เช่น โซนี่ และบริษัทผลิตอาวุธ EADS และเมื่อเร็วๆ นี้กองทุนรวมเพื่อการลงทุนของชีคพระองค์นี้ได้ใช้เงิน 5 พันล้านเหรียญฯ เพื่อถือหุ้นในบริษัท MGM Mirage และ 825 ล้านเหรียญฯ เพื่อซื้อกิจการค้าปลีก Barneys New York และทรงเข้ามาซื้อหุ้นใหญ่สุดของสโมสรในอังกฤษอีกด้วย พระชนมมายุ 58 พรรษา


ลำดับที่ 6. Prince Hans-Adam II von und zu Liechtenstein of Liechtenstein


เจ้าชายฮันส์ อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์ มีพระราชทรัพย์ทรัพย์ประมาณการ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่ LGT Bank ซึ่งเป็นแหล่งทุนหลักของพระองค์ (บริหารโดยราชวงศ์มากว่า 70 ปี) พระองค์ทรงรับมรดกตกทอดมาจากราชวงศ์ที่ยืนยาวกว่า 900 ปี ทรงเป็นนักสะสมศิลปะ 4 ศตวรรษ และทรงมีอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทในสหรัฐที่ผลิตข้าวอินทรีย์คือไม่ใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ใด ๆ ทรงตกเป็นเป้าในคดีหลีกเลี่ยงภาษีอันอื้อฉาว ซึ่งบริษัทของพระองค์ถูกกล่าวหาว่าช่วยเหลือลูกค้าฐานะดีหลายรายในการ “ซุกซ่อน” ทรัพย์สิน จากการสืบสวนของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ พบว่าพระอนุชาของพระองค์(เจ้าชายฟิลิป) มีส่วนเกี่ยวข้องในการนี้ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งประธานของ LGT พระชนมพรรษา 63 พรรษา


ลำดับที่ 7. Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani of Qatar


ชีค ฮามาด บิน คาลิฟา อัล ทานิ เจ้าผู้ครองแคว้นกาตาร์ ทรัพย์สมบัติ 2,000 ล้านดอลลาร์ ทรงยึดอำนาจจากพระราชบิดาโดยไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อปี 1995 เป็นผู้นิยมในด้านการกีฬา เและทรงเป็นผู้สนับสนุนสถานีวิทยุกระจายเสียงอัล จาซีรา รวมทั้งสถานีวิทยุภาคภาษาอังกฤษชื่อเดียวกัน มีพระชนมมายุ 56 พรรษา


ลำดับที่ 8. King Mohammed VI of Morocco


กษัตริย์ โมฮัมหมัดที่ 6 แห่งประเทศโมร็อกโก ขณะนี้มีทรัพย์สินรวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญฯ เนื่องจากภัยแล้งที่รุนแรงส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศชะลออยู่ที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้มาจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต, เกษตรกรรมและทรงร่วมหุ้นกับบริษัท Morocco's largest public company, ona. พระชนมพรรษา 46 พรรษา


ลำดับที่ 9. Princes Albert II of Monaco


เจ้าชายอัลเบิร์ตที่ 2 แห่งโมนาโก เป็นกษัตริย์พระองค์เดียวที่ยังไม่อภิเษกสมรส และถูกร่ำลือว่าทรงส่งแฟนสาวของพระองค์เข้าเรียนคอร์สติวเข้มภาษาฝรั่งเศส พระองค์มีพระราชทรัพย์ประมาณ 1.4 พันล้านเหรียญฯ ประกอบไปด้วยอสังหาริมทรัพย์ และหุ้นส่วนกิจการคาสิโนในโมนาโก พร้อมทั้งทรงวางแผนที่จะขยายพื้นที่ของประเทศ (ซึ่งมีขนาดเท่ากับ Central Park ในนิวยอร์ก) โดยการสร้างเขตปกครองใหม่ในทะเลซึ่งจะตั้งอยู่บนเสาขนาดมหึมา โครงการดังกล่าวนี้สร้างความวิตกกังวลแก่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่พอสมควร พระชนมพรรษา 50 พรรษา


ลำดับที่ 10. Sultan Qaboos bin said of Oman


มีพระราชทรัพย์สุทธิ 1พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สุลต่านกาบุส ทรงขึ้นครองราชเมื่อปี 1970 หลังสิ้นสุดอำนาจของผู้เป็นพ่อ สุลต่านกาบุสได้ทรัพย์สินจากการส่งออกน้ำมัน ปัจจุบันพระองค์ได้หันมาทำธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ พระชนมพรรษา 67 พรรษา


ลำดับที่ 11 Prince Karim Al Husseini, Aga Khan


เจ้าชายการิม อัล ฮุสเซนี แห่ง อากา ข่าน (the Aga Kahn) มีพระราชทรัพย์ 1,000 ล้านดอลลาร์ เป็นกษัตริย์ผู้ไม่มีดินแดนครอบครองถือเป็นผู้นำจิตวิญญาณของชาวมุสลิม ประเทศอิสไมลี (Ismaili) ประมาณ 15 ล้านคน ครองราชสมบัติครบ 51 ปี มีธุรกิจตั้งแต่ฝรั่งเศสถึงสวิส ทรงชอบเลี้ยง และเพาะพันธุ์ม้า พระชนมพรรษา 71 พรรษา


ลำดับที่ 12 Queen Elizabeth II, สหราชอาณาจักร


สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงมีทรัพย์สิน 650 ล้านดอลลาร์ พระชนมพรรษา 82 พรรษา


ลำดับที่ 13 Sheikh Sabah Al-Ahmad Al-Jaber Al Sabah, คูเวต


ชีค ซาบาห์ อัล ซาห์บา เจ้าผู้ครองประเทศคูเวต ทรงมีทรัพย์สิน 500 ล้านดอลลาร์ พระชนมพรรษา 79 พรรษา


ลำดับที่ 14 Queen Beatrix Wilhelmina Armgard,เนเธอร์แลนด์


พระราชินีบีทริกซ์ วิลเฮม มินา อาร์มการ์ด แห่งเนเธอร์แลนด์ ทรงมีทรัพย์สิน 300 ล้านดอลลาร์ พระชนมพรรษา 70 พรรษา


ลำดับที่ 15 King Mswati III, สวาซิแลนด์


กษัตริย์มัสวาติ ที่ 2 แห่งสวาซิแลนด์ ทรัพย์สมบัติ 200 ล้านดอลลาร์ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระชนมพรรษาน้อยที่สุด พระชนมพรรษา 40 พรรษา

ที่มา มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น