News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปาหี่ ICC "คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC "



30 สิงหาคม 2555

โลกวันนี้ รายวัน
ปีที่ 13 ฉบับที่ 3368 ประจำวัน พฤหัสบดี ที่ 30 สิงหาคม 2012
คดีเสื้อแดง 98 ศพความสิ้นหวังบนเวที ICC

“แม้นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน จะแนะนำถึงการยื่นเรื่องเพื่อขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ไต่สวนหาผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค. 2553 แต่เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่”

นั่นเป็นคำพูดของนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของอาสาพยาบาล กมนเกด อัคฮาด ที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนาราม เป็นการส่งสัญญาณว่าเริ่มสิ้นหวังกับการให้ ICC รับเรื่องนี้เพื่อไต่สวนหาผู้สั่งการฆ่าประชาชน

การเดินทางไปกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยื่นหลักฐานข้อมูลเพิ่ม เติมต่อ ICC ของนางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. ล่วงเลยมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ปฏิกิริยาจาก ICC ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร เว้นแต่เปิดช่องให้ยื่นข้อมูลหลักฐานเพิ่มได้เท่านั้น

ทั้งนี้ เพราะติดเงื่อนไขที่นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังไม่ลงนามรับรองเขตอำนาจศาลเพื่อให้ ICC สามารถพิจารณาสำนวนคดีการสลายการชุมนุมได้

แม้นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะสั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องทำการศึกษาเรื่องนี้ พร้อมให้คำมั่นว่าจะมีข้อสรุปเรื่องการรับรองเขตอำนาจศาลเสนอให้คณะรัฐมนตรีในเร็ววันนี้

แต่ก็เป็นการเทคแอ็คชั่นไม่ให้เสียคะแนนจากคนเสื้อแดงเท่านั้น

ความหวังของญาติผู้สูญเสียที่ฝันว่าจะเห็น ICC ไต่สวนเรื่องนี้จึงยังห่างไกลจากความจริง

จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าปมปัญหาที่ทำให้ยังไม่สามารถยอมรับเขตอำนาจศาล ICC ได้เป็นเพราะ

1.ไทยได้ลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ค.ศ. 1998 เมื่อปี พ.ศ. 2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม เนื่องจากจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติอนุวัติพันธกรณีของธรรมนูญกรุงโรมก่อนเพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้

2.ไทยมีประเด็นอ่อนไหวที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งระบุถึงการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐเพื่อไม่ต้องรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรม

ในขณะที่มาตรา 8 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติถึงการละเมิดมิได้ และการไม่อาจกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ซึ่งมีสถานะเป็นประมุขของรัฐไม่ว่าในทางใดๆ

3.ขณะนี้การดำเนินคดีต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอยู่ในกระบวนการยุติธรรมของไทยแล้ว ตามหลักกฎหมายของธรรมนูญกรุงโรม ICC มีเขตอำนาจในฐานะศาลที่เสริมเขตอำนาจในทางอาญาของรัฐในกรณีที่รัฐนั้นเป็นภาคีแล้ว จึงไม่สามารถรับคดีไว้พิจารณาได้

ถึงแม้ข้อ 12 วรรค 3 ของธรรมนูญกรุงโรมจะระบุให้รัฐซึ่งมิได้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมอาจยอมรับการใช้อำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เป็นปัญหาได้ โดยส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียนของ ICC ก็ตาม

4.คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมมีความเห็นว่า การเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบในบางประเด็นที่เป็นเรื่องสำคัญและอ่อนไหว โดยเฉพาะข้อ 27 ของธรรมนูญกรุงโรมเรื่องการไม่สามารถอ้างสถานะความเป็นประมุขของรัฐในการที่จะไม่ต้องรับผิดชอบทางอาญาตามธรรมนูญกรุงโรมจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง

เช่น ประมวลกฎหมายอาญาเพื่อเพิ่มฐานความผิดร้ายแรงทั้ง 4 ฐานตามธรรมนูญกรุงโรม ได้แก่ อาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์, ต่อมนุษยชาติ, สงคราม, การรุกราน ให้เป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญาของไทย, พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527, พระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 เพื่อให้รองรับพันธกรณีภายใต้ธรรมนูญกรุงโรมได้ครบถ้วนสมบูรณ์

สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนแสดงเจตจำนงให้มีผลผูกพันหรือให้สัตยาบันตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการที่จะให้ ICC รับไต่สวนกรณี 98 ศพ

โดยเฉพาะหัวใจสำคัญที่ดูเหมือนรัฐบาลไม่กล้าแตะ คือการอ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆนั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ

นี่คือเหตุผลว่าทำไมคดี 98 ศพ จึงยังไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของ ICC เสียที แม้เหตุการณ์จะล่วงเลยผ่านมากว่า 2 ปีแล้ว

การเอาผิดคนสั่งฆ่าประชาชนจึงเป็นเพียงโวหาร วาทะทางการเมือง เพื่อรักษาน้ำใจคนเสื้อแดงเท่านั้น

แม้แต่กระบวนการสอบสวนในประเทศที่มีการเรียกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและอดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เข้าให้ปากคำ

หรือการเรียก ส.อ.ศฤงคาร ทวีชีพ และ ส.อ.คชารัตน์ เนียมรอด ทหารสังกัด ม.พัน 5 สองทหารประจำจุดซุ่มยิง หรือสไนเปอร์ เข้าให้ปากคำ ก็ไม่มีความหวังใดๆกับการเอาคนสั่งฆ่ามารับโทษ

กระบวนการทั้งหมดส่อไปในทิศทางที่ว่าไม่ได้มุ่งเอาผิดใคร แต่เป็นการมุ่งไปสู่การปรองดอง รอมชอม หรือเกี๊ยะเซียะ เพื่อล้างผิดทุกฝ่ายด้วยการนิรโทษกรรมเสียมากกว่า
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=15924

ที่มา thaienews

สัมภาษณ์ ‘พวงทอง ภวัครพันธุ์’ บทเรียน-ไม่รู้-ลืม? “สลายการชุมนุมปี 53”

หลังจากใช้เวลาเก็บข้อมูลและค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์เป็นเวลา 2 ปี ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย-พ.ค. 53 (ศปช.) ก็ได้พิมพ์รายงานออกมาเป็นรูปหนังสือหนากว่าหนึ่งพันหน้าชื่อ ‘ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53’

ประวิตร โรจนพฤกษ์ แห่งหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น สัมภาษณ์ ผศ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ผู้ประสานงาน ศปช. และบรรณาธิการร่วมของรายงาน เกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นพบและมุมมองของเธอ

ประวิตร: ศปช. ค้นพบข้อมูลอะไรที่อาจเปลี่ยนความเข้าใจต่อเหตุการณ์ปี 53 บ้าง?

พวงทอง: ค่อนข้างตกใจว่าคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสะเปะสะปะมาก คือคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม ถูกลูกหลงเยอะมาก
ภาพใหญ่ที่มักเข้าใจคือความรุนแรงเกิดขึ้นหลังเผา [Central World และตึกอื่นๆ] แต่เราพบว่าปฏิบัติการทางทหารเกิดขึ้นตั้งแต่ 14 พฤษภาโดยเฉพาะสวนลุม บ่อนไก่ ราชปรารภ มีคน 11 คน [ตาย] ในวันเดียว ซึ่งพอมาอ่านบทความหัวหน้าควง นายทหารระดับเสนาธิการ เขียนลงในวารสารเสนาธิปัตย์ ซึ่งเขาวิเคราะห์ความสำเร็จของปฏิบัติการกระชับวงล้อมก็ทำให้เข้าใจว่าทำไม ความตายเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 คือมีการใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และนี่น่าจะเป็นสาเหตุให้คนถูกลูกหลง

ส่วนของชายชุดดำ มันไม่มีความชัดเจนว่าเขาเป็นใคร แม้รัฐบาล [อภิสิทธิ์] ก็ยังไม่มีปัญญาไปตามหาได้ และในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์อ้างว่ามีการใช้กำลังก่อให้เกิดการบาดเจ็บและ เสียชีวิตเพราะชายชุดดำยิงใส่ผู้ชุมนุมเอง แต่ ศปช.พบว่ามีการใช้อาวุธจริง [จากฝั่งทหาร] ตั้งแต่บ่ายวันที่ 10 แล้ว และมีคนบาดเจ็บก่อนที่ชายชุดดำจะโผล่มา

เรื่อง M79 เราไม่ได้เก็บข้อมูลตรงนี้ เพราะในที่สุดต้องไปพิสูจน์ตรงวิถีกระสุนด้วย…

รัฐบาลมักจะบอกว่าคนที่ตายเป็นผู้ก่อการร้ายแต่จากหลักฐานที่เรามี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเราไม่พบคราบเขม่าปืนในมือของผู้เสียชีวิตเลย คนจำนวนมากมีภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ผู้คนเหล่านี้ไม่ได้มีอาวุธร้ายแรงในมือ เพราะฉะนั้น การบอกว่าทหารต้องใช้กระสุนจริงเพื่อป้องกันตนเองนั้นฟังไม่ขึ้น

แล้วกรณีสไนเปอร์?

สไนเปอร์เนี่ย ภาพคลิปต่างๆมากมายที่อยู่ในโลกออนไลน์เห็นว่าทหารจำนวนมากถือปืนที่มีกล้อง ส่อง ทำให้เกิดความแม่นยำในการยิง มันอธิบายว่าทำไมผู้เสียชีวิตเกือบ 30 เปอร์เซนต์ ถูกยิงที่หัว และถ้ารวมหน้าอกด้วยอีก 22 เปอร์เซนต์ มัน 50 เปอร์เซนต์… มันไม่ได้ยิงเพื่อป้องกันตนเอง

คิดว่าใครควรรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของทั้งสองฝ่าย?

คนที่สั่งการ คือหัวหน้าของรัฐบาล และผู้สั่งการ ศอฉ. รวมถึงผู้กำหนดยุทธศาสตร์ของกองทัพด้วย มันเป็นความผิดพลาดที่คุณเอาวิธีทางการทหารมาสลายการชุมนุมและควบคุมมันไม่ ได้

กลุ่มคุณถูกมองว่าเอียงแดงและมีธงอยู่แล้ว

เราก็ไม่แปลกใจกับข้อกล่าวหานั้น แต่สิ่งที่เราอยากให้สังคมพิจารณาคือข้อมูลที่เราเสนอ ในหลายกรณีมันชี้ชัดว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและการสลายการชุมนุมไม่เป็น ไปตามขั้นตอนที่ศอฉ.กับรัฐบาลกล่าวไว้เลย
ต่อให้คุณมีอำนาจทางการทหารและกฎหมาย คุณก็ไม่สามารถละเมิดสิทธิการมีชีวิตของประชาชนที่เขาไม่มีอาวุธร้ายแรงใน การต่อสู้กับรัฐบาล และจะใช้ข้อกล่าวหาก่อการร้ายโดยรวมและให้ผู้ชุมนุมทั้งหมดรับผิดชอบความ รุนแรงทุกกรณีไม่ได้

คุณดูจะมองการเก็บข้อมูลเสนอข้อเท็จจริงของ คอป. กับคณะกรรมการสิทธิฯ ในแง่ลบ ทำไม?

คือ คอป. เราคิดว่าเราไม่เห็นความชัดเจนในการทำงานของเขา สองปีผ่านมาคิดว่าเขาไม่สามารถพิสูจน์ตนเองได้ว่าเขาค้นหาความจริง คิดว่าเขายังสับสนว่าความจริงจะเป็นอุปสรรคต่อการปรองดอง ส่วนกรรมการสิทธิฯ เราหวังว่าจะ apply (ใช้) หลักสิทธิมนุษยชนเท่าเทียมกันทุกฝ่าย ไม่ใช่เอาหลักสิทธิมาปกป้องรัฐและให้รัฐใช้ความรุนแรงกับประชาชนได้อย่างไม่ เลือกหน้า
[ผู้ชุมนุม] บางคนถูกขังฟรี ศาลยกฟ้อง กระบวนการยุติธรรมได้มีการดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นแล้ว แต่ขณะเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลอภิสิทธิ์ยังไม่มีใครถูกดำเนินคดีเลยแม้แต่คนเดียว

ดูเหมือนว่าทุกกลุ่มในสังคมจะมีข้อสรุปอยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นในปี 53 คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

เราก็ไม่ได้คาดหวังว่าสังคมจะเปลี่ยนใจจากข้อสรุปที่มีอยู่ แล้ว แต่ว่าเราทำหน้าที่ในการที่จะรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ให้มากที่สุด ก่อนที่ข้อมูลเหล่านี้จะหายไปตามกาลเวลา ข้อมูลเหล่านี้มันช่วยยืนยันอย่างเป็นระบบว่ารัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุและ ละเมิดสิทธิในชีวิตประชาชนอย่างไร
ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้าในวันข้างหน้ากระบวนการยุติธรรมจะสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ ข้อมูลเหล่านี้ก็น่าจะเป็นประโยชน์

การหยุดยั้งการใช้ความ รุนแรงจากรัฐต่อประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดชอบหรือ impunity จะหมดไปจากสังคมไทยไหม? ขึ้นอยู่กับกรณี เมษา-พฤษภา 53 เพียงไร?

หลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภา 35 ใหม่ๆ ซึ่งเราไม่สามารถยอมรับกับ culture of impunity ได้ แต่เราพยายามรวบรวมข้อมูลความจริงให้มากที่สุด ถ้าคุณจะเอาผิดกับผู้กระทำผิด ความจริงเป็น the first step เป็นขั้นแรกของกระบวนการในการที่จะเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ
คือเราเห็นตัวอย่างในอดีต ไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลา [2519] พฤษภา 35 ที่คนทำผิดลอยนวล ไม่เคยถูกเอามาลงโทษ

แปลว่าคุณไม่มั่นใจ?

ก็ไม่มีความมั่นใจ แต่เราก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไร และเราก็มีความหวังว่าถ้าเราไม่ยอมรับมัน มันก็จะถูกสั่นคลอน สิ่งที่เรากำลังทำคือ challenge (ท้าทาย) ไอ้ culture of impunity นี้



หมายเหตุ:บทสัมภาษณ์นี้ เผยแพร่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์ The Nation ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2555

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Top 10 List of Wealthiest Royals in 2012 : 10 ราชวงศ์ที่รวยที่สุดประจำปี 2012

Now we are going to talk about the Top 10 List of Wealthiest Royals in our Top 10 List. We make a list of Wealthiest Royals to introduce them with our audience. We hope this post can satisfy our audience. In the same this Top 10 List will be very informative. In our Top 10 List we never provide any false information.


1. Bhumibol Adulyadej: In the Top 10 List of Wealthiest Royals in 2012 we keep the name of Bhumibol Adulyadej in the 1st place. He is the member of esteemed Thai Royal family and currently is the Master of Thailand. 83 year old Bhumibol Adulyadej is currently the wealthiest Noble on the planet and along with this brand he is also the wealthiest royal on the planet. The approximated value of this vibrant royal is $30 billion dollars which makes him the wealthiest king on the planet.


2. Hassanal Bolkiah: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Hassanal Bolkiah in the 2nd place. He is also the sultan of Brunei. The significant resources of earnings of Hassanal Bolkiah are from gas and oil businesses and the approximated value of this vibrant noble individual is above $20 Billion.


3. Abdullah bin Abdul-Aziz Al Saud: In our Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Abdullah bin Abdul-Aziz Al Saud in the 3rd place. The approximated value of Master Abdullah is nearly about $ 18 billion dollars and the significant resources of his earnings are from oil market. He is also the master of the kingdom of Saudi Arabia.


4. Khalifa Bin Zayed Al Nahyan: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Khalifa Bin Zayed Al Nahyan in the 4th place. Khalifa Bin Zayed Al Nahyan is currently the Chief executive and president of UAE (United Arabic Emirates) and is regarded in one of the most major individualities of the nation with the approximated net value of $15 Billion.


5. Mohammed Bin Rashid Al Maktoum: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Mohammed Bin Rashid Al Maktoum in the 5th place. The approximated net value of Mohammad Bin Rashid Al Maktoum is $4.2 Billion giving him 5th spot on our top 10 wealthiest royals of 2012.


6. Hans Adam II: In our Top 10 List of Wealthiest Royals we put the name of Hans Adam II in the 6th position. Hans Adam II is the Knight in shining armor of Liechtenstein. The net value of his assets is about $4 billion.


7. Mohammed VI: In the Top 10 List of Wealthiest Royals we keep the name of Mohammed VI in the 7th position. The approximated net value of Mohammed VI is $2.6 Billion giving him 7th spot on our top 10 wealthiest royals of 2012. He is also the king of Morocco.


8. Hamad Bin Khalifa Al Thani: He has done lot of progress for the wellbeing of his nation and his approximated net value is nearly $2.5 Billion giving him 8th spot on our Top 10 List of wealthiest royals of 2012. Hamad Bin Khalifa Al Thani is the judgment Amir of the state of Qatar.


9. Albert II: In the Top 10 List of wealthiest royals we keep the name of Albert II in the 9th place. Albert II is at this time the Knight in shining armor of Monaco. The net value of his assets is about $1 billion which keep his in the list.


10. Aga Khan IV: In the Top 10 List of wealthiest royals we put the name of Aga Khan IV in the 10th place. Aga Khan IV is one of the best individualizes on the planet and currently the Imam of Shia Imami Nizari Ismailia Muslims. The net value of his assets is about 800 million.

ที่มา alltop10list

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทนายอากงเปิดเอกสารสำคัญชี้อากงบริสุทธิ์

เปิดเอกสารความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากเยอรมันชี้การเก็บข้อมูลจากตัวเลขอีมี่เครื่องมีโอกาสคลาดเคลื่อนและสามารถปลอมแปลงได้ง่าย

24 สิงหาคม 2555 พูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายความของ นายอำพล ตั้งนพกุล หรือเป็นที่รู้จักในสาธารณะในชื่อ"อากง SMS " วัย 61ปี ผู้ต้องหาคดีละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์ และ กม.อาญา ม.112 ซึ่งได้เสียชีวิตลงในเรือนจำเมือวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ด้วยโรคมะเร็งที่ตับ ได้นำเอกสารหลักฐานความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมจากประเทศเยอรมันทั้งต้นฉบับภาษาอังกฤษจำนวน 4หน้าA4 และฉบับแปลโดยได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊คของเธอ

ในบันทึกดังกล่าวได้แสดงเอกสารที่เป็นความเห็นจาก Dr. Karsten Nohl ผู้เชี่ยวชาญเครือข่ายโทรคมนาคม จาก Security Research Labs องค์กรเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมตั้งอยู่ในประเทศเยอรมัน โดยได้ให้ความเห็นต่อการเก็บบันทึกหมายเลขอีมี่ หรือเลขรหัสประจำเครื่องของดีแทคไม่มีความน่าเชื่อถือเพียงพอที่จะระบุเครื่องที่ใช้ส่ง sms ได้ (ทำให้ไม่สามารถนำหมายเลขอีมี่เชื่อมโยงมาถึงเครื่องโทรศัพท์ของอากงได้)

เนื้อหาในรายงานเป็นการถามตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเลขอีมีทั้งสิ้น6ข้อ (ดูรายละเอียดด้านล่าง) โดยบทสรุปของเอกสารได้ระบุว่า

"บันทึกการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้อื่น

- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์ "

โดยพูนสุขใด้เขียนข้อความไว้ในบันทึกว่า " เดิมเอกสารชิ้นนี้ได้เตรียมไว้เพื่อขอสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ และจะขอให้พยานผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมันมาเบิกความ เนื่องจากในศาลชั้นต้นคณะทำงานไม่สามารถหาพยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความได้ แต่ตามที่ทราบกันสุดท้ายได้ตัดสินใจถอนอุทธรณ์เนื่องจากอากงไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว หากต่อสู้คดีต่อไปอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน "


********************************************************


SR Security Research Labs GmbH Veteranenstr 25 10119 Berlin


มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

111 ซอยสิทธิชน ถ.สุทธิสารวินิจฉัย

แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

ประเทศไทย



Dr. Karsten Nohl

หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ (Chief Scientist)

nohl@srlabs.de

+49-3089392996

เบอร์ลิน 30 มกราคม 2555



ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการะบุตัวบุคคลที่ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส


เรียน ท่านที่เกี่ยวข้อง:


Security Research Labs เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสนอแนวความคิดสำหรับการจัดการความเสี่ยง (think tank) มีที่ตั้ง ณ กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี โดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาทั้งแก่ภาครัฐ และเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในภาคพื้นยุโรป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีโทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่


องค์กรได้รับคำขอให้แสดงความคิดเห็นในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในการรับรองความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อความสั้น (Short Message Service - SMS) จากโทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่


การจัดเตรียมรายงานที่แนบมากับเอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยใช้ความรู้ความชำนาญอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับมาตรฐานเครือข่ายจีเอสเอ็ม และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยทั่วไป รวมทั้งการวัดค่าและประมวลผลจากเครือข่ายจีเอสเอ็มใน กรุงเทพฯ เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงาน ภายใต้ความรู้ที่ดีที่สุดขององค์กร รายงานฉบับนี้สะท้อนถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของจีเอสเอ็มในปัจจุบัน



ขอแสดงความนับถือ

Dr. Karsten Nohl


ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการระบุตัวบุคคลที่ใช้บริการการส่งข้อความสั้น


รายงานฉบับนี้เป็นการวิเคราะห์คำถามที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือในการใช้ข้อมูลที่บันทึกในเครือข่ายโทรศัพท์ สำหรับการระบุตัวบุคคลที่ใช้โทรศัพท์พกพาเคลื่อนที่ส่งข้อความสั้น โดยวิเคราะห์จากเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทคใน กรุงเทพฯประเทศไทย


คำถามที่ 1 บริการการส่งข้อความสั้น (SMS) สามารถใช้ระบุเครื่องโทรศัพท์ได้หรือไม่ (IMEI)?


ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส จะมีการแลกเปลี่ยนกลุ่มข้อมูลขนาดเล็ก (small data packet) จำนวนมากกว่าหนึ่งกลุ่มข้อมูล ระหว่างเครื่องโทรศัพท์กับเครือข่ายด้วยสัญญาณแบบไร้สาย กลุ่มข้อมูลเหล่านี้ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูล กำหนดประเภทการส่งข้อมูล และรับ-ส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่ายดีแทคหนึ่งข้อความประกอบด้วยกลุ่มข้อมูลจำนวน 107 กลุ่ม


การระบุเครื่องโทรศัพท์สามารถทำได้โดยใช้หมายเลข IMEI ซึ่งทำหน้าที่เหมือน serial number ของเครื่องโทรศัพท์ (เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องจะมี IMEI และ serial number ไม่ซ้ำกัน - ผู้แปล)


ในกลุ่มข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อความแบบเอสเอ็มเอส จะมีกลุ่มข้อมูลหนึ่งที่มีชื่อว่า Cipher Mode Command ซึ่งใช้สำหรับสอบถามหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ โดยหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์จะถูกส่งมาในกลุ่มข้อมูลถัดไป หลังจากส่งกลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย เครือข่ายของดีแทคไม่ได้ใช้กลุ่มข้อมูลดังกล่าวในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ตามที่แสดงในรูปที่ 1


นอกจากกลุ่มข้อมูลดังกล่าวแล้ว ไม่มีกลุ่มข้อมูลอื่นใดในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสที่มีข้อมูลหมายเลข IMEI รวมอยู่


คำตอบที่ 1 ในเครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทค ไม่สามารถใช้การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในการระบุหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ได้


[รูปที่ 1 การติดตามข้อมูลบางส่วนจากรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสภายใต้เครือข่ายจีเอสเอ็มของดีแทค กทม. ประเทศไทย กลุ่มข้อมูล Cipher Mode Command ไม่ได้กำหนดให้เครื่องโทรศัพท์ส่งหมายเลข IMEI]


คำถามที่ 2 เครือข่ายดีแทคบันทึกหมายเลข IMEI ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


ในเครือข่ายการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีการรับส่งข้อมูลหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตามในเครือข่ายดีแทค มีเพียงการรับส่งข้อมูลรูปแบบเดียวที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมกับการรับส่งข้อมูลด้วย นั่นคือ การรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ (Location Update) การรับส่งข้อมูลลักษณะนี้จะกระทำเมื่อมีการเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น ผู้ใช้เดินทางไปยังเขตอื่น ๆ ของเมือง หรือ ผู้ใช้เปลี่ยนตำบลที่โทรศัพท์เคลื่อนที่บ่อยครั้ง


คำตอบที่ 2 มีความเป็นไปได้สูงสุด ที่การบันทึกข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอส ในเครือข่ายดีแทค เกิดจากการทำสำเนาหมายเลข IMEI จากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น


คำถามที่ 3 เครือข่ายดีแทคกำหนดตำบลที่การรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสอย่างไร?


คำตอบที่ 3 มีความเป็นไปได้ที่ตำบลที่ในการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในเครือข่ายดีแทค จะถูกทำสำเนามาจากการรับ-ส่งข้อมูลก่อนหน้านั้น เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 4 การส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสโดยปราศจากเครื่องโทรศัพท์สามารถทำได้หรือไม่?


คำตอบที่ 4 ข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสสามารถส่งผ่านระบบอินเทอร์เนตได้ โดยผู้ส่งสามารถปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์ใด ๆ เพื่อใช้ในการส่งได้ ในกรณีที่ดีแทคมีการบันทึกการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสในลักษณะดังกล่าว มีความเป็นไปได้ที่หมายเลข IMEI ที่ถูกบันทึกในระบบ จะเป็นหมายเลข IMEI ของเครื่องที่มีการเปลี่ยนตำบลที่ล่าสุด และใช้หมายเลขโทรศัพท์ตรงกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกปลอมแปลง เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ต้องมีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากดีแทค


คำถามที่ 5 บุคคลทั่วไปสามารถจับตาดูหมายเลข IMEI ที่ใช้ส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายจีเอสเอ็มได้หรือไม่?


ในการรับส่งข้อมูลเพื่อกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ที่มีการส่งหมายเลข IMEI ร่วมด้วย จะมีการเข้ารหัสข้อมูล โดยใช้มาตรฐานกลางของจีเอสเอ็ม ทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานที่ล้าสมัย การถอดรหัสข้อมูลสามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วินาที


การถอดรหัสข้อมูลตำบลที่ปัจจุบันของผู้ใช้ สามารถทำได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่แจกจ่ายผ่านระบบอินเทอร์เนตตั้งแต่ปี 2551 ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้าน


หลังจากมีการแจกจ่ายซอฟท์แวร์ดังกล่าว มีการติดตั้งและใช้ง่ายตามที่ต่าง ๆ หลายร้อยแห่งทั่วโลก นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งอาทิตย์ในการสร้างระบบตัดการทำงาน และติดตั้งระบบถอดรหัส


คำตอบที่ 5 บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี สามารถดักจับข้อมูลหมายเลข IMEI จากการรับส่งข้อมูลในระบบจีเอสเอ็มได้


คำถามที่ 6 สามารถส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสจากเครื่องโทรศัพท์ที่มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI ได้หรือไม่?


หมายเลข IMEI ในโทรศัพท์ส่วนมากสามารถปลอมแปลงได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่หาได้โดยทั่วไป


คำตอบที่ 6 บุคคลทั่วไปสามารถเปลี่ยนหมายเลข IMEI ของเครื่องโทรศัพท์ของตนไปใช้หมายเลข IMEI โทรศัพท์ของเครื่องผู้อื่นได้โดยง่าย


สรุป


บันทึกการรับ-ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสของระบบดีแทค ไม่มีความน่าเชื่อถือพอที่จะระบุเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสได้ มีความเป็นไปได้สองประการที่ข้อมูลจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง


- เป็นการส่งข้อความสั้นแบบเอสเอ็มเอสเข้าสู่ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่าย SS7 และมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ผิดพลาดกับการส่งข้อมูลกำหนดตำบลที่ปัจจุบันของผู้อื่น


- มีการปลอมแปลงหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ เป็นหมายเลข IMEI เครื่องโทรศัพท์ของผู้อื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยการจับตาการรับ-ส่งข้อมูลของเครื่องโทรศัพท์อื่น ๆ ในเครือข่ายจีเอสเอ็ม และเพียงเตรียมพร้อมในส่วนของเครื่องมือและซอฟท์แวร์


*********************************************


ต้นฉบับภาษาอังกฤษ


ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อัพเดต "20คดีเสื้อแดง" ประชิด "ความจริง98 ศพ"



(ที่มา:มติชนรายวัน 24 สิงหาคม 2555)

ภายหลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ส่งสำนวนชันสูตรพลิกศพการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงระหว่างสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 จำนวน 22 สำนวน มายังกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)

ก็เป็นหน้าที่ของ พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง รอง ผบช.น. ดูแลงานกฎหมายและสอบสวน เป็นหัวหน้า ร่วมกับพนักงานอัยการ ทำการสอบสวนสำนวนชันสูตรพลิกศพดังกล่าว จนเสร็จสิ้นแล้ว 19 สำนวน

อยู่ระหว่างการสอบสวน 3 สำนวน ได้แก่ สำนวนชันสูตรพลิกศพ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก กับอีก 2 สำนวน คือ นายสยาม วัฒนนุกูล และ นายจรูญ ฉายแม้น พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1

ตำรวจยังได้ทำสำนวนของ "ลุงคิม" หรือ นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง และส่งให้อัยการพิจารณา

สำหรับลุงคิมหรือนายฐานุทัศน์ เสียชีวิตในภายหลัง เหตุเกิดหน้าธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ กทม.

ซึ่งพนักงานสอบสวนพบว่า การเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐจึงทำสำนวนเอง ขณะนี้ส่งให้อัยการพิจารณาแล้ว

สรุปล่าสุด มีสำนวนเสร็จแล้วจำนวน 19 สำนวน ตามที่ดีเอสไอส่งมาให้ และอีก 1 สำนวน เป็นคดีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการเอง

สำหรับรายละเอียดคดีชันสูตรพลิกศพแต่ละคดี มีดังนี้

1.นายฮิโรยูกิ มูราโมโต้ ช่างภาพรอย เตอร์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้า ร.ร.สตรีวิทยา ถนนดินสอ กทม. พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปวันที่ 4 กันยายน

2.นายชาติชาย ชาเหลา เสียชีวิตวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 เวลา 22.50 น. หน้า อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 พื้นที่สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนพยานฝ่ายผู้ร้องวันที่ 5 ตุลาคม

3.นายบุญมี เริ่มสุข เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.00 น. หน้าร้านอาหารระเบียงทอง บ่อนไก่ พื้นที่ สน.ปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 สิงหาคม

4.นายรพ สุขสถิต ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

5.นายมงคล เข็มทอง ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

6.นายสุวัน ศรีรักษา ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

7.นายอัฐชัย ชุมจันทร์ ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

8.น.ส.กมนเกด อัคฮาด ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

9.นายอัครเดช ขันแก้ว ถูกยิงหน้าวัดปทุมวนาราม ถนนพระราม 1 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 17.00-20.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 30 สิงหาคม

10.นายฐานุทัศน์ อัศวสิริมั่นคง เสียชีวิตวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 เวลา 12.20-13.06 น. หน้า ธนาคารไทยพาณิชย์ บ่อนไก่ พื้นที่ สน.บางรัก ส่งสำนวนให้อัยการแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณา

11.นายชาญณรงค์ พลศรีลา เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 14.00 น. หน้าปั๊มเชลล์ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานวันที่ 24 กันยายน

12.พลทหาร ณรงค์ฤทธิ์ สาละ เสียชีวิตวันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 15.00 น. หน้าอนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต พื้นที่ สน.พญาไทศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไป วันที่ 14 กุุมภาพันธ์ 2556

13.ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.10-01.00 น. ซอยโรงหนังโอเอ ถนนราชปรารภ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลอาญานัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 29 ตุลาคม

14.นายพัน คำกอง เสียชีวิตวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลา 00.05-01.00 น. หน้าคอนโดไอดีโอ ใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ พื้นที่ สน.พญาไท ศาลนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม และนัดฟังคำสั่งวันที่ 17 กันยายน

15.นายมานะ อาจราญ เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 23.30 น. ภายในสวนสัตว์ดุสิต เขตดุสิต พื้นที่ สน.ดุสิต สำนวนส่งให้อัยการแล้ว ขณะนี้รอศาลนัดไต่สวน

16.นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้ไต่สวนนัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน เวลา 09.00 น.

17.นายประจวบ ประจวบสุข เสียชีวิตวันที่ 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 15.30 น. บริเวณใต้ทางด่วน ถนนพระราม 4 พื้นที่ สน.วัดพระยาไกร ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 3 กันยายน

18.นายวสันต์ ภู่ทอง เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

19.นายทศชัย เมฆงามฟ้า เสียชีวิตวันที่ 10 เมษายน 2553 เวลา 19.00-21.00 น. หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ถนนดินสอ พื้นที่ สน.พลับพลาไชย 1 ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดสืบพยานครั้งต่อไปวันที่ 28 สิงหาคม

20.นายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพอิตาลี เสียชีวิตวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.45 น. ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนวันที่ 23 กันยายน เวลา 09.00 น.

การดำเนินการในคดีสลายม็อบ จะเป็น "มาตรฐาน" ต่อไปในอนาคต

ไม่ว่าใครจะผิดหรือถูก ภายใต้กระบวน การยุติธรรมปกติ ทุกฝ่ายมีสิทธิต่อสู้อย่าง เต็มที่ และเท่าเทียมกัน

"มาตรฐาน" ที่จะเกิดขึ้น จะป้องกันสังคมจากความรุนแรงในอนาคต
 
ที่มา matichon

"สุชาติ นาคบางไทร - สุริยันต์ กกเปื่อย" ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำแล้ว



เวลา 09.40 น. เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ  ปล่อยตัวผู้ต้องขังที่ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2555 เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม จำนวน 300 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ต้องขังตามมาตรา 112 จำนวน 2 รายคือ นายวราวุธ ฐานังกรณ์ หรือนายสุชาติ นาคบางไทร ต้องโทษจำคุก 6 ปี รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี และนายสุริยันต์ กกเปือย ต้องโทษจำคุก 6 ปี 1 เดือน รับสารภาพเหลือจำคุก 3 ปี 15 วัน  โดยทั้งสองคนได้รับการปล่อยตัวเรียบร้อยแล้ว

วินาทีรอคอย นายสุชาติ นาคบางไทร (วราวุธ ฐานังกรณ์) ได้รับอิสรภาพแล้ว 

นายสุริยันต์ กกเปื่อย หรือพี่หมี ช่างซ่อมรองเท้า (เสื้อสีแดงตรงกลาง)

ด้านหลังเสื้อ "สุริยันต์ กกเปลือย" มีลายเซ็นต์ "สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์" และ "หนุ่มแดงนนท์"

 
บัญชีรายชื่อนักโทษที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ที่มา go6tv

ฟรีอีบุ๊ค "เชิงอรรถความตายฯ" รวมบทกวีรำลึก "อากง"


>>ดาวน์โหลดได้ที่นี่<<

เชิงอรรถ ณ เชิงตะกอน

อาจไม่ผิดจากความจริงนักหากจะบอกว่า กระบวนการและขบวนการอันอยุติธรรมได้จองจำและทำให้ช่วงเวลา 478 วัน กลายเป็นช่วงเวลาสุดท้ายในชีวิตของ “อากง” อำพล ตั้งนพกุล

ช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ หากเพียงแต่เขาจะได้ใช้ร่วมกับบุคคลที่เขาผูกพันกลับได้กลายเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายและโดดเดี่ยวที่สุดสำหรับชายชราวัยหกสิบเอ็ด

สิ่งที่เป็นคำถามท้าทายต่อสิ่งมีชีวิตที่เรียกตนว่ามนุษย์ก็คือ ทำอย่างไรถึงจะยุติโศกนาฏกรรมอันวนเวียนไม่รู้จบนี้ได้

23 บทกวีกับอีก 1บทเพลง ในบันทึกฉบับนี้เกิดจากหลากชีวิตทั้งคนใกล้ชิดและมิตรที่ไม่เคยได้พบหน้า ได้จารความรู้สึก ต่อข่าวร้ายของ “อากง” ที่ทยอยมาอย่างต่อเนื่อง มันเป็นความรู้สึกที่รุนแรงกระชั้น จนทำให้หลายท่านยังไม่ได้ตั้งชื่อ และอุกอั่งจนอีกหลายท่านไม่สามารถตั้งชื่อ

มิตรสหายหลายท่านได้กรุณารวบรวมให้ประชาไทเผยแพร่ ด้วยความหวังว่า การยืดระยะความรู้สึกและความทรงจำในช่วงนี้ออกไปสักระยะ อาจเป็นการให้เวลาแก่ผู้รักในเสรีภาพในการที่จะยุติวงวัฏที่ลดคุณค่าของเราลงเหลือเพียงคำว่า ”สัตว์” เสียที

23 สิงหาคม 2555
ประชาไท

หมายเหตุ:
ขอบคุณเพื่อนมิตรที่กรุณาให้เผยแพร่ผลงานของท่าน
ขอบคุณ วฒน และ รางชางฯ "เพื่อน" ที่ช่วยรวบรวมบทบันทึก

เกี่ยวกับอากง

อำพล ตั้งนพกุล วัย 61 ปี (ในวันที่ถูกจับ) อดีตพนักงานขับรถ ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีอำพลอาศัยอยู่กับ รสมาลิน ตั้งนพกุล (ภรรยา)ในห้องเช่าที่มีค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง สมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ เพียงเล็กน้อย โดยแต่ละวันอำพลและภรรยามีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลานจำนวน 3-4 คน อำพล เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดงบ้างเป็นครั้งคราว
อำพล ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือส่งข้อความหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ไปยังโทรศัพท์มือถือ ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553

3 สิงหาคม 2553 อำพล ถูกจับกุมตัวเมื่อ เขาถูกคุมตัวในเรือนจำเป็นเวลา 63 วัน ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

18 มกราคม 2554 อัยการมีคำสั่งฟ้อง อำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา ครั้งนี้ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

23 พฤศจิกายน 2554 ศาลชั้นต้นพิพากษา อำพล ฐานส่ง SMS หมิ่นฯ 4 ครั้ง ผิดตาม ปอ.มาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (2) และ (3) ลงโทษกรรมละ 5 ปีรวมจำคุก 20 ปี ชี้หลักฐานอิเล็กทรอนิคส์น่าเชื่อว่าส่งจากเครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยใช้ และจากย่านที่พักของจำเลย

22 กุมภาพันธ์ 2555 ทนายความจำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้หลักทรัพย์เงินสด และตำแหน่งนักวิชาการ 7 คน ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลย

8 พฤษภาคม 2555 เวลาประมาณ 9.10 น. อำพล ได้เสียชีวิต ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ หลังจากถูกส่งเข้ารักษาเนื่องจากมีอาการปวดท้องเมื่อช่วงก่อนเที่ยงของวันที่ 4 พฤษภาคม

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดีเอสไอเบิกความคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่มีการตรวจลายนิ้วมือแฝงของกลาง

21 ส.ค. 55 เวลา 10.00 น. ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ห้องพิจารณาคดี 405 มีการสืบพยานในคดีเลขดำที่ 2478/2553 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 4  เป็นโจทก์ฟ้อง นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 อายุ 28 ปีอาชีพรับจ้าง และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง ในความผิดะร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งเป็นโรงเรือนที่เก็บสินค้าจน เป็นเหตุให้นายกิติพงษ์ สมสุข ซึ่งอยู่ในอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ถึงแก่ความตายและฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุเกิดที่ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ บ่ายวันที่ 19 พ.ค.53 ช่วงที่มีการสลายการชุมนุของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในวันนี้(21 ส.ค.) มีการสืบพยานโจทก์คือ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้รับผิดชอบคดีดังกล่าว

ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล เบิกความว่าคดีนี้พนักงานสอบสวนได้ทำสำนวนมายัง DSI เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.53 ซึ่งขณะนั้น สน.ปทุมวัน ซึ่งเป็น สน.ในท้องที่เกิดเหตุได้ฝากขังจำเลยไว้แล้ว ในชั้นพนักงานสอบสวนจำเลยทั้ง 2 ได้ให้การปฏิเสธ และจากนั้นดีเอสไอได้มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งจากห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ห้างเซนและร้านค้าที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ในห้างเซ็นทรัลเวิลด์ประมาณ 300 คน ส่วนผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุคือนายกิติพงษ์ สมสุข ได้ทำการชันสูตรพลิกศพ พบสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องมาจากการขาดอากาศหายใจ  นอกจากนี้ในที่เกิดเหตุยังพบถังแก๊สและขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมัน เชื้อเพลิง และทางเจ้าหน้าที่ของ เซ็นทรัลเวิลด์  ได้มอบซีดี 3 แผ่นที่เป็นภาพถ่ายมาให้เป็นหลักฐานด้วย

อัยการได้สอบถามว่าทำไมดีเอสไอถึงไม่ทำคดีนี้แต่แรก ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ตอบว่า โดยหลักการรับคดี เมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนในท้องที่จะรับเรื่องและหากพิจารณาแล้วว่าคดีดังกล่าวเป็นคดี พิเศษก็จะส่งสำนวนมาให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ ส่วนคดีนี้เป็นคดีพิเศษตามมติของคณะกรรมการคดีพิเศษในการประชุมที่ 3/2553 ลงวันที่ 16 เม.ย. 53 และตามคำสั่งนายกฯ ขณะนั้นได้ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ร่วมเป็นทีมสอบสวนคดีพิเศษด้วย

จากการสอบสวนจำเลยที่ 1 พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันได้มีการจับตัวมาดำเนินคดี โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชี้ตัวยืนยันว่าเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ แต่ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน จึงทำให้มีความเห็นส่งฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ถูกจับกุมในคดีปล้นทรัพย์ ในวันและที่เกิดเหตุเดียวกัน โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ได้ชี้รูปถ่าย พนักงานสอบสนของ สน.ปทุมวัน จึงแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธ แต่ก็ไม่ได้อ้างพยานหลักฐานแก้ข้อกล่าวหาเช่นกัน ดังนั้นพนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นส่งฟ้อง

พนักงานดีเอสไอเบิกความต่อว่า รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ให้การว่าจำเลยทั้ง 2 ได้บุกเข้ามาในห้างร่วมกับพวกในกลุ่มหลายๆ คนทุบกระจกและร่วมกันวางเพลิง นอกจากจำเลยทั้ง 2 แล้วยังมีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนและได้ออกหมายจับ 9 คน รวมจำเลยทั้ง 2 คนนี้ด้วย แต่สามารถจับดำเนินคดีได้ 4 คน ซึ่งเป็นเยาวชน 2 คน และที่เหลืออีก 5 คน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจับกุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการได้นำภาพถ่ายกลุ่มบุคคลที่เจ้าพนักงานอ้างว่าเป็นจำเลยทั้ง 2 รวมถึงอีก 5 คนที่ออกหมายจับไปแล้วแต่ยังจับไม่ได้ และยังมีบุคคลอื่นๆ รวมอยู่ด้วย โดยได้สอบถามถึงการดำเนินคดีกับคนอื่นๆในรูป ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ชี้แจงว่า เนื่องจากคนอื่นๆในภาพไม่สามารถระบุตำหนิรูปพรรณได้ชัดเจนว่าเป็นใคร ดังนั้นแม้ส่งไปขอหมายจับต่อศาลก็มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะไม่อนุมัติ จึงไม่ได้มีการขอหมายจับ

นายบพิตร ชำนาญเอื้อ ทนายจำเลยที่ 1 ได้ซักค้านพยานโจทย์ต่อถึงเรื่องหลักเกณฑ์การรับคดีของดีเอสไอ ซึ่งพยานอ้างว่าคดีนี้รับเป็นคดีพิเศษเป็นผลสืบเนื่องจากมติการประชุมของคณะ กรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 แต่มติดังกล่าวเกิดขึ้นวันที่ 16 เม.ย.53 ให้รับคดีอันเกิดจากการชุมนุมโดยมิชอบในช่วงปลายปี 2552 ขณะที่คดีนี้เกิดหลังจากมติแล้วคือ วันที่ 19 พ.ค.53 ทำไมจึงสามารถรับเป็นคดีพิเศษได้ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าถ้าดูในเนื้อหาของมติดังกล่าว ระบุให้รับเป็นคดีพิเศษในส่วนของคดีที่เป็นความต่อเนื่องจากการชุมนุมปลายปี 2552 เป็นต้นไป คำว่า “เป็นต้นไป” บ่งชี้ว่าให้มีผลหลังวัน 16 เม.ย.53 ได้


มติจากการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ  ครั้งที่ 3/2553 ที่มา เว็บไซต์ดีเอสไอ


ทนายจำเลยที่ 1 ถามต่อว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของ นปช.มีหลายคดีดีเอสไอ มีหลักการพิจารณาเป็นรายคดีใช่หรือไม่ พยานโจทย์ชี้แจงว่าเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีที่คณะกรรมการคดีพิเศษมีมติแล้ว โดยอ้างว่าเป็นคดีที่ต่อเนื่องเกี่ยวพัน ดังนั้นอธิบดีดีเอสไอมีอำนาจวินิจฉัยได้เลยในการส่งฟ้องต่อพนักงานอัยการ  นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ถูกจับกุมในวันที่ 19 พ.ค.53 แต่มาถูกจับกุมภายหลังที่สนามหลวง ส่วนการชี้ตัวจำเลยในชั้นพนักงานสอบสวนนั้น ทางดีเอสไอไม่ได้เข้าร่วม และไม่ได้มีการนำตัวพนักงานรักษาความปลอดภัยห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ที่ชี้ตัวจำเลยในชั้นสอบสวนมาชี้ตัวจริงๆ ในชั้นการสอบสวนของ DSI

ทนายจำเลยที่ 1 ได้ถามว่าภาพถ่ายที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  ส่งมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ได้สอบถามว่ามีรูปจำเลยที่ 1 และ 2 ในคดีนี้หรือไม่ พยานตอบว่าไม่ได้สอบถาม และไม่สามารถระบุได้ว่าขวดเครื่องดื่มชูกำลังบรรจุน้ำมันที่เป็นวัตถุพยาน นั้นเป็นของใคร


ภาพซ้าย : ภาพ1 ที่ รปภ.ห้าง เซ็นทรัลเวิลด์  มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานในการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าภาพชายชุดดำดัง กล่าวคือจำเลยที่ 1 ในที่เกิดเหตุ

ภาพขวา : นายสายชล จำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 ภาพจากเว็บไซต์มติชน


ทนายได้นำภาพที่ตำรวจใช้เป็นหลักฐานจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งเห็นใบหน้าชายชุดดำขณะเกิดเหตุ เทียบกับภาพจำเลยที่ 1 ขณะถูกนำตัวมาแถลงข่าวหลังถูกจับกุม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.53 (ดูภาพประกอบด้านบน) มาเปรียบเทียบถามว่าเป็นคนๆ เดียวกันหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่า ภาพไม่ชัด จึงไม่สามารถยืนยันด้วยตาว่าใช่หรือไม่ใช่



ภาพ2 ที่ รปภ.ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มอบให้พนักงานสอบสวน และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐาน


ทนายจำเลยที่ 1 ได้ให้พยานดูภาพจังหวะที่มีชายถือวัตถุสีเขียว(ถังดับเพลิง)ซึ่งเป็นภาพต่อ เนื่องกับภาพก่อนหน้าว่า เห็นรอยสักหรือที่แขนขวาของชายคนดังกล่าวหรือไม่ ร.ต.อ.ปิยะ ตอบว่าไม่เห็น รวมถึงไม่มีรอยสักที่หลังมือบุคคลในรูปด้วย

จากนั้นทนายจำเลยที่ 1 จึงได้นำตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกควบคุมตัวและมาร่วมฟังการพิจารณาคดีนี้มาแสดงแขนขวาให้พยานได้ พิจารณาดูรอยสัก ซึ่งพยานได้เบิกความต่อศาลว่าจำเลยที่ 1 มีรอยสักที่ไหล่  ท้องแขนด้านหน้า และหลังมือ ส่วนด้านหลังแขนไม่มี

ผู้พิพากษาได้สอบถามจำเลยว่า รอยสักดังกล่าวสักนานหรือยัง จำเลยที่1 ตอบว่า สักตั้งแต่เด็กๆ

ร.ต.อ.ปิยะ เบิกความด้วยว่า ถังแก๊สหุงต้ม 7 ใบที่เป็นวัตถุพยานของกลางรวมถึงวัตถุพยานอื่นๆ ที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นของจำเลยทั้ง 2 และไม่มีการตรวจลายมือแฝงของจำเลยกับวัตถุพยานของกลางดังกล่าว ขณะนี้เก็บไว้ที่ สน.ปทุมวัน

อย่างไรก็ตาม การสืบพยานในส่วนของทนายจำเลยที่ 1 เสร็จในเวลา 15.45 น. แล้ว ในส่วนของทนายจำเลยที่ 2 ได้มีการแจ้งต่อศาลว่าจะใช้เวลานานประกอบกับสุขภาพไม่ดี ศาลจึงได้มีการเลื่อนการพิจารณาไปนัดหน้าต่อในวันที่ 5 พ.ย.55 เวลา 9.30 น.

สำหรับอีก 2 ผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชนในคดีที่เกี่ยวข้องกัน ได้มีการพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มาหลายนัดแล้ว ในคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่ 1682/2553 ระหว่างพนักงานอัยการ กับนายอัตพล (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 1 นายภาสกร (สงวนนามสกุล) จำเลยที่ 2 ทั้งสองมีอายุ 16 ปีในวันเกิดเหตุ โดยนัดสืบพยานในครั้งถัดไปเป็นวันที่ 17 ก.ย.55

ทั้งนี้นาย สายชล แพบัว จำเลยที่ 1 และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ จำเลยที่ 2 ปัจจุบันยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำชั่วคราวหลักสี่หรือโรงเรียนพลตำรวจบางเขน โดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว ตั้งแต่กลางปี 2553

ที่มา prachatai

เบิกความผู้เกี่ยวข้องคลิปสัมภาษณ์ลุงบุญมี เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53 ก่อนตาย


 22 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำนายพิชา วิจิตรศิลป์ อายุ 64 ปี อาชีพทนายความและประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย เข้าเบิกความในฐานะผู้นำวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)

นายพิชา เบิกความต่อศาลว่าหลังสลายการชุมนุมวันที่ 19 พ.ค.53 แล้วประมาณ 1 เดือนมีผู้นำแผ่นวีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ดังกล่าวมาวางไว้หน้าสำนักงานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทย แต่ไม่ทราบว่าเป็นใคร ตนได้เปิดดูพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ผู้ได้รับบาดเจ็บคนหนึ่งที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และทราบภายหลังว่าชายคนดังกล่าวในวีดีโอคลิปเสียชีวิต และทราบว่าทางกรมสอบสวนคดีพิเศษต้องการพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 จึงได้มอบวีดีโอคลิปดังกล่าวให้

ทั้งนี้ ตามหมายเรียกพยานแล้วจะมีการเบิกพยานอีก 2 ปาก คือ ผู้สัมภาษณ์ในคลิปคือ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี และผู้ถ่ายวีดีโอคลิป แต่เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการไต่สวนนายวสันต์ สายรัศมี หรือเก่ง อายุ 28 ปี เจ้าหน้าที่กู้ภัยและอาสาพยาบาลฯ ผู้ที่ร่วมสัมภาษณ์ในวีดีโอคลิปดังกล่าวไปก่อนหน้าแล้ว ผู้พิพากษา อัยการและทนายญาติผู้เสียชีวิต จึงตกลงไม่เบิกตัวทั้ง 2 คนมาไต่สวนเพิ่ม

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าในนัดหน้าวันพุธ ที่ 29 ส.ค.53 จะมี 4 ปากเบิกความ ซึ่งเป็นทหารที่เกี่ยวข้อง ส่วนในวันพรุ่งนี้(23 ส.ค.)การไต่สวนการตายกรณี 6 ศพวัดปทุมฯ จะมีการไต่สวนที่ศาลอาญากรุงเทพใต้เช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์วัดปทุมฯ และถ่ายวีดีโอคลิปมาเบิกความจำนวน 3 ปาก


วีดีโอคลิปสัมภาษณ์นายบุญมี ขณะเข้ารับการรักษาที่ รพ.ตำรวจ ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
คลิปจาก กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี

โดยในวีดีโอคลิป น.ส.กาญจน์ชนิษฐา และนายวสันต์ ได้มีสอบถามถึงอาการบาดเจ็บและการรักษาพยาบาลกับนายบุญมี และนายบุญมียังได้กล่าวถึงกระสุนที่ยังฝังอยู่บริเวณสะโพกของตนและเล่าเหตุการณ์ที่ตนถูกยิงด้วยว่ากระสุนยิงมาจากฝั่งทหารและขณะนั้นตนอยู่ไกลฝั่งทหาร โดนยิงเวลาประมาณ 4 โมงเย็น ซึ่งปรกติเวลานั้นบริเวณดังกล่าวจะเป็นตลาดนัดจึงได้ออกมาหาของกินตามปรกติ

นอกจากนี้ น.ส.กาญจน์ชนิษฐา ยังได้มีการโพสต์ข้อความกำกับไว้ใต้วีดีโอคลิปด้วยว่า ลุงบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ยืนยันว่าถูกทหารยิง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยโดนยิงเข้าบริเวณช่องท้อง ลุงเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ว่า "ผมคิดว่าที่ทหารเขายิงชาวบ้าน เพราะถูกนักรบโบราณยิงหนังสติ๊กใส่ ผมมองเห็นว่าทหารหลายนายหลบกลัวกระสุนหนังสติ๊ก ทหารจึงใช้ทั้งกระสุนจริง กระสุนยาง แก๊สน้ำตายิงใส่ประชาชน สังเกตว่ากระสุนยางจะยิงทีละนัด หากเป็นเอ็ม 16 จะยิงเป็นชุด"

ที่มา prachatai

อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี



เมื่อวันที่ 20 ส.ค.55 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พบผู้แทนตำรวจเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถิติคดี มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาและสั่งคดี รวมถึงความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ หนึ่งในอนุกรรมการ เปิดเผยว่า สำหรับข้อมูลด้านการดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 นั้น นับแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา มีคดีที่เกิดขึ้น และตำรวจรับคำร้องทุกข์ เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุด ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง โดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบ กลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 URLs ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ จริง ๆ เพียงไม่ถึง 20 คดี นอกจากนั้นจะเป็นการ เชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทั้งนั้น

ศิริพล ระบุด้วยว่า สำหรับการพิจารณาคดีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายอาญา และแนวคำพิพากษาฎีกา เป็นหลัก

“ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าประเทศไทย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรามักจะไม่กล้าใช้หลักกฎหมายอาญาเคร่งครัด ตามหลักการตีความกฎหมายอาญา ตีความเคร่งครัด และห้ามใช้กฎหมายประเพณีมาขยายความ ตลอดจนการตีความกฎหมายอาญาที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หลักการที่ว่า บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ทุกตำแหน่งต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบได้เสมอ”

“แนวคำพิพากษาฎีกา ยังมีปัญหาอีกมาก เพราะเขียนว่า สถาบันฯ ซึ่งเป็น Public Figure ไม่อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย ซึ่งหากนำหลักการของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย มาพิจารณา จะเห็นว่า เป็นคำพิพากษาที่ขัดต่ออุดมการณ์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง ดังนั้น ตามแนวคำพิพากษาฎีกา การวิพากษ์วิจารณ์ หรือ ตั้งคำถามต่อสถาบันฯ จึงเป็นสิ่งต้องห้าม แม้จะเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือ เป็นความจริง ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ ให้พ้นความรับผิดทางอาญาได้”ศิริพลระบุ

เขาเปิดเผยด้วยว่าคณะอนุกรรมการฯ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ถามประเด็นสำคัญ คือ 1) หากเปลี่ยนวิธีการร้องทุกข์ให้มีคณะทำงานกลั่นกรอง หรือมีองค์กรพิจารณากลั่นกรองการรับคำร้องทุกข์ ตั้งแต่ขั้นต้น จะเกิดผลดีต่อสถาบันกษัตริย์ หรือไม่ 2) การแก้ไขปัญหาการพิจารณาคดี ทำอย่างไร คณะหารือให้คำตอบว่า จะมีผลดีต่อสถาบันหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่า จะให้บุคคลใด หรือองค์กรใด ร้องทุกข์ บุคคลดังกล่าว มีอุดมการณ์ และความเข้าใจหลักกฎหมายอาญา และหลักการพื้นฐานของหลักเสรีภาพมากน้อยเพียงใด สำหรับหลักการที่คณะอนุกรรมการเสนอฯ มาก็สดคล้องกับหลักพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2548 ที่ไม่ต้องการให้มีคดีเช่นนี้

ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ

ศปช.เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่ www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์จำหน่าย 1 ก.ย.ขณะที่ฉบับ คอป.ยังเงียบ ส่วน กสม.เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่



เว็บ www.pic2010.org มีอินโฟกราฟฟิคแสดงรายละเอียดผู้เสียชีวิตในจุดต่างๆ

19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53  หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น

ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org  นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราว เดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อ เดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้

พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ และนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว

“นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม  เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูก กฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทองกล่าว


ภาพจากสไลด์นำเสนอของกฤตยา อาชนิจกุล


กฤตยา อาชวนิจกุล  อาจารย์จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช.เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกับการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่

กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ  และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงานการ ชันสูตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง

“ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการได้” กฤตยากล่าว

นอกจากนี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้มี การไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกับ นปช.และกลุ่มเกี่ยวพัน  จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมาระบุว่ามี  22 ศพ  กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี



 

เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมงาน กล่าวว่า กลุ่ม นปช.ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองตามครรลอง แต่สถานการณ์กลับพาไปสู่ความรุนแรง โดยความรุนแรงเริ่มต้นจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.จากเหตุการณ์ล้อมสภาของกลุ่ม นปช. ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็เป็นการจัดการที่เกินกว่าเหตุ และการใช้กฎหมายนี้นำไปสู่การใช้กำลังของหน่วยทหารจนเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการประกาศ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ซึ่งเกิดการปะทะกัน ดันกันในพื้นที่โดยรอบราชดำเนิน  แต่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเกิดขึ้นหลัง 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่มครึ่ง

เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

เกษมกล่าวว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมืองของตนเองและมีการเรียกร้องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้

ขวัญระวี  วังอุดม
จากโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การวิเคราะห์จากเอกสารทางการ เอกสารชันสูตรศพ มีข้อจำกัดที่เอกสารเหล่านี้อาจระบุข้อมูลคลาดเคลื่อน และศปช.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกระสุนปืน แต่ก็พยายามตรวจเช็คจากพยานในเหตุการณ์และญาติ โดยมีการสัมภาษณ์พยานเกือบ 80 คน ซึ่งถึงที่สุดรายงานนี้ควรนำมาเทียบดูกับฉบับของ คอป.ที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม
ทนายความอิสระ ที่ร่วมรวบรวมข้อมูลเรื่องการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมกล่าวว่า การรวมรวมข้อมูลยากมากเพราะไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการทำจดหมายขอข้อมูลไป บางหน่วยงานก็ไม่ให้เพราะถือว่าไม่ใช่คู่ความในคดี นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลจากผู้จับกุมต่างๆ ในหมู่ประชาชนเองก็เกิดสงสัยหวาดระแวงว่าอาจจะเป็น กอ.รมน. หรือเปล่าก็จะถูกปฏิเสธการให้ข้อมูลจากประชาชนด้วย

ในการชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย.2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่น

ในการดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิด ระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง

จากการอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้น

เสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมืองทำให้เห็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติบโตมาจากหยาด เหงื่อและเลือดเนื้อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิทธิประกันตัวแก่นักโทษการ เมืองเหล่านั้น

ที่มา prachatai

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่น้องเกด ระบุศาลอาญาระหว่างประเทศแม้จะริบหรี่แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตรเรียกร้องรัฐบาลจริงใจ



แม่น้องเกดเปิดใจ รู้ศาลอาญาระหว่างประเทศริบหรี่ แต่ดีกว่าไม่มีหวัง ปิยบุตร แสงกนกกุลเรียกร้องรัฐบาลจริงใจจะให้สัตยาบันหรือจะประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลาอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจเข้ามาพิจารณาย้องหลังหรือไม่ ก็ควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่เลี้ยงกระแสให้ความหวังกับคนเสื้อแดง

19 ส.ค. การเสวนาที่จัดขึ้นโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 ในช่วงบ่าย นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของอาสาพยาบาลกมนเกด อัคฮาดที่เสียชีวิตในการสลายการชุมนุม 19 พ.ค. 2553 ที่วัดปทุมวนารามกล่าวถึงเหตุที่เธอต้องการดำเนินคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าแม้จะได้คำแนะนำจากนายโรเบิร์ต

อัมสเตอร์ดัม ทนายความว่า เป็นช่องทางที่เหมือนไฟริบหรี่ แต่ก็เพียงพอแล้วต่อความหวังที่จะไม่ให้คดีที่ลูกสาวเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมจะจบลงด้วยการนิรโทษกรรมเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นกับการสังหารหมู่ประชาชนที่ผ่านมาในอดีต และพร้อมจะโหมไฟที่ริบหรี่ให้ลุกโชนขึ้น ความกังวลของเธอขณะนี้คือ รัฐบาลจะใช้คำว่าปรองดองมาครอบหัวให้ยอมรับการนิรโทษกรรม

โดยเธอกล่าวว่า เธอยืนยันต่อเจ้าหน้าที่ศาลอาญาระหว่างประเทศว่า แม้ครั้งนี้คนตายอาจจะไม่มาก แต่ถ้าย้อนพิจารณาประวัติศาสต์ของไทยจะพบว่าคนไทยตายไปหลายพันศพแล้วจากการกระทำของรัฐ

วิธีการไปศาลาอาญาระหว่างประเทศริบหรี่แค่ไหน เพียงใด มีโอกาสไหม
ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายว่า วิธีการที่ไทยจะเข้าสู่กระบวนการศาลอาญาระหว่างประเทศมี 2ทาง ที่จะให้ไทยอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลฯ ได้ 1) คือ ไปลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะมีผลต้องบวก 60 วัน บวกวันที่ 1 ของวันถัดไปจากนั้น คือมีผลไปข้างหน้าไม่มีผลถอยไปข้างหลัง 2) อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ไม่ได้ลงสัตยาบันสามารถประกาศให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจย้อนหลังได้

กรณีที่สอง คือ (โกตดิวัวร์)ไอวอรี่โคสต์ ลงนามประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลเมื่อ 18 เม.ย. 2003 เขียนยอมรับว่า ตามมาตรา 12 วรรค 3 ของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ยอมรับให้เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ 19 กันยายน 2002 จากนั้นมีการให้สัตยาบัน แล้วเมื่อปี 2010 เมื่อเปลี่ยนประธานาธิบดีคนใหม่ก็ประกาศซ้ำอีกรอบหนึ่ง สุดท้ายวันที่ 10 ก.พ. 2012 ให้ย้อนกลับไปสอบสวนตั้งแต่ 19 กันยายน 2002

อย่างไรก็ตาม การยอมรับเขตอำนาจศาลนั้นถอยไปไม่เกิน 1 ก.ค. 2545 ซึ่งเป็นวันที่ธรรมนูญกรุงโรมประกาศใช้
นายปิยบุตรกล่าวว่า หากถามเขาว่าจะให้เลือกทางไหน ถ้าพูดแบบฝันก็เอาทั้งสองทาง คือ หนึ่งประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลก่อน จากนั้นให้สัตยาบัณซ้ำอีกที แต่กรณีของไทย แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ยังไม่ได้ ถ้าให้หวังว่ารัฐบาลไทยจะทำทั้งสองอย่างยิ่งเป็นไปไม่ได้

นายปิยบุตรอธิบายต่อไปว่า เมื่อประกาศรับเขตอำนาจศาลแล้ว ศาลจะรับพิจารณาคดีของเราหรือไม่เป็นอีกเรื่อง ซึ่งศาลมี
ฆ่าล่งเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ, สงคราม และการรุกราน

ทั้งนี้ ศาลอาญาระหว่างระเทศเป็นศาลเสริม ศาลเสริมในที่นี่มาตรา 17 ธรรมนูญกรุงโรมก็เขียนไว้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศของคุณต้องดำเนินการให้เสร็จครบถ้วนเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ แต่ธรรมนูญกรุงโรมก็ระบุลักษณะที่ศาลอาญาระหว่างประเทศที่จะมีอำนาจเข้ามาพิจารณาคดีว่า กระบวนการยุติธรรมของประเทศไม่มีเจตจำนงจะดำเนินคดี หรือไม่มีความสามารถในการดำเนินคดี

คดีที่วางบรรทัดฐานไว้คือคดีซูดานซึ่งไม่ได้เป็นรัฐสมาชิก แต่ไปสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศได้เพราะคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติให้ส่งให้ แต่ของไทยโรเบิร์ตอัมสเตอร์ดัมส่งคดีให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเช่นกัน แต่หวังยากเพราะเมื่อเทียบซูดานนั้นมีคนตายจำนวนมาก

ส่วนคำว่า ไม่มีความสามารถหรือไม่มีเจตจำนงในการดำเนินคดีมีความหมาย เช่น ประเทศที่มีการนิรโทษกรรมบ่อยๆ แสดงว่าไม่มีเจตจำนง ส่วนคำว่าไม่มีความสามารถคือศาลไม่เป็นกลาง ไม่มีความน่าเชื่อถือ ถ้าเกิดเหตุการเช่นนี้ศาลเสริมก็มีอำนาจที่จะเข้ามาพิจารณาได้

จากเงื่อนไขเหล่านี้ เงื่อนไขการกระทำความผิด ต้องเป็นความผิดร้ายแรงอย่างยิ่ง ซึ่งแนวบรรทัดฐานที่ผ่านมามีคดีที่ได้พิพากษาไป 1 คดีที่วางแนวว่าร้ายแรงเพียงพอคือ มีขนาดใหญ่มาก และวิธีการที่กระทำความผิดเป็นวิธีการที่รุนแรงร้ายแรงอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ก็จะมาสู่การพิจารณาในประเด็นสุดท้ายคือ คนๆ หนึ่งถูกพิพากษาไปแล้วจะไม่ถูกพิพากษาซ้ำอีก

“ดังนั้นจะเห็นได้ว่าขึ้นตอนต่างๆ ที่จะไปสู่การพิจารณาของศาลาอญาระหว่างประเทศนั้นยากมาก แต่ถ้าจะไม่ทำอะไรเลยก็คงไม่ถูกต้อง และเมื่อผมได้ฟังจากผู้ได้รับผลกระทบแล้วมันสะท้อนว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่มีใครเชื่อถือ เขาจึงต้องไปฝันถึงสิ่งไกลตัวแม้มันจะริบหรี่

“เราต้องพยายามทำใหเรื่องของศาลอาญาระวห่าปงระเทศไม่ใช่เป็นหัวข้อเฉพาะคนเสื้อแดงเท่านั้น มันเป็นประโยชน์ต่อปัจเจกบุคคลทุกคน เพราะไม่ว่านรัฐภายหน้าจะเป็นใครแต่ถ้าคิดจะทำความรุนแรงกับประชาชนก็จะฉุกคิดได้ถึงเขตอำนาจของศาล

“แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงกล่าวกันบ่อยๆ ว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่พร้อม อ้างว่าเราต้องทำการศึกษาก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัฐ เป็นเหตุผลคลาสสิกเพื่อดึงเวลา เหตุผลประการที่สองคือ สี่ฐานความผิดนั้นประเทศไทยไม่เคบมีองค์ประกอบความผิดนี้ในประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งไม่เกี่ยวกันเลย เขาใช้ธรรมนูญกรุงโรมตัดสิน เหตุผลนี้ไม่สมบูรณ์”

ปิยบุตรวิพากษ์ว่าหตุผลอีกประการที่สำคัญคืออ้างว่าธรรมนูญกรุงโรมขัดกับมาตรา 8 รธน.วรรค 2 ของไทยที่ระบุว่า ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ ไม่ได้ โดยธรรมนูญกรุงโรมระบุว่า ถ้ากฎหมายภายในให้เอกสิทธิ์คุ้มกันบุคคลใดๆ นั้นอ้างไม่ได้ในศาลอาญาระหว่างประเทศ “วิธีอธิบายที่ง่ายที่สุดเลยว่า แล้ว 121 ประเทศที่ให้สัตยาบันมีประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในยุโรปทั้งหมดที่มีพระมหากษัตริย์ก็ให้สัตยาบันทั้งหมด ญี่ปุ่น กัมพูชา ก็เช่นกัน” โดยนายปิยบุตรตั้งข้อสังเกตว่าประเทศที่ไม่ยอมลงนาม เพาะรู้สึกว่าวันข้างหน้าจะโดนหรือไม่ เช่น อเมริกา รัสเซีย

“การอ้างรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ต่างประเทศเขาก็ถามว่าประเทศคุณพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้รัฐธรรมนูญหรือ ก็เรียนไปยังส่วนราชการต่างๆ อย่าอ้างเหตุผลมาตรา 8 เลยเพราะไม่เป็นผลดีต่อสถาบันกษัตริย์”

สถิติศาลอาญาระหว่างประเทศเพิ่งดำเนินคดี 7 กรณีจากสามพันกว่ากรณี
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากคดีที่ฟ้องร้องไปยังศาลฯ กว่าสามพันคดี มี 7 คดีเท่านั้นที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณา คือยูกานดา คองโก เป็นสมาชิก รัฐบาลส่งเอง เคนยา เป็นสมาชิก อัยการศาลอาญาระหว่าประเทศลงมาขอเปิดการสอบสวนเอง ลิเบีย และโกตดิวัวร์ ทั้งหมดเป็นประเทศอาฟริกา

อีกแปดกรณีกำลังอยู่ชั้นการไต่สวนเบื้องต้น มีเกาหลีใต้ มาลี ฮอนดูรัส จอร์เจีย โซมาลี เป็นต้น กรณีมาลี กับฮอนดูรัสพัวพันกับการรัฐประหารด้วย

ส่วนขั้นตอนของญาติฯ ที่ร้องโดยโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมเป็นทนายนั้นจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน และเมื่อเป็นกฎหมายระหว่างประเทศก็พันกับการเมืองระหว่างประเทศ

“เราจะเห็นกรณีโกตดิวัวร์ ยื่นคำร้องปี 2002 กว่าจะพิจารณาคดีก็ปี 2012 ซึ่งประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามา ปนะเทศยุโรปหนุนหลังเกือบทั้งหมด

“สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลก็คือ น่าจะพูดกันตรงไปตรงาว่าไม่ลง หรือลง จะให้เขตอำนาจย้อนหลัง หรือจะให้สัตยาบัน ก็บอกมา แต่อย่าขายความฝันว่ายังศึกษาอยู่ แล้วคนเสื้อแดงที่สู้เรื่องนี้ ผมก็นับถือหัวจิตหัวใจ คือคนที่ไม่รู้จะหวังกับอะไร แล้วความหวังริบหรี่แบบนี้มันมีคุณค่ามหาศาลมากกว่าให้นักการเมืองเอาความหวังที่ริบหนี่นี้โหนกระแสไปเรื่อยๆ”

ส่วนกรณีที่จะอาศัยช่องทางสัญชาติอังกฤษ ต้องมีการดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ประเทศอังกฤษก่อน ปัญหาคือใครจะไปดำเนินการดังกล่าว อีกส่วนหนึ่งคือ ศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คนทำเพียงคนเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องกลับไปที่ช่องทางการให้สัตยยาบันธรรมนูญกรุงโรม หรือประกาศฝ่ายเดียวให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจในการพิจารณาคดี

ที่มา prachatai

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำสั่งรักษาด่านศอฉ.ใช้ "พลแม่นปืน" หากผู้ก่อเหตุปะปนผู้ชุมนุม - หากยิงไม่ได้ให้ใช้ "สไนเปอร์"


เปิดเอกสาร “ศอฉ.” เผยแนวทางปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อรักษาที่ตั้งสำคัญ จุดตรวจ ด่านตรวจ ของช่วงสลายชุมนุม เม.ย. – พ.ค. 53 ระบุหากมีผู้ก่อเหตุใช้อาวุธแล้วอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม ให้เจ้าหน้าที่งดใช้อาวุธยกเว้นถ้าในหน่วยมี “พลแม่นปืน” ให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ และหากไม่สามารถยิงได้ สามารถร้องขอ “พลซุ่มยิง (Sniper)” จาก ศอฉ. ได้




18 ส.ค. 55 – ผู้สื่อข่าวประชาไท ได้รับเอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ. ในเวลานั้น


โดยเอกสารมีทั้งหมด 5 หน้า ใจความสำคัญคือการระบุแนวทางปฏิบัติ หากมี “ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์”

 


เอกสาร ส่วนราชการ สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ 17 เม.ย. 53 เรื่อง “ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่” ลงนามโดย พล.ท.อักษรา เกิดผล หน.สยก.ศอฉ. เสนอ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผอ.ศอฉ.

โดยในข้อ 2.5 ระบุว่า “ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้”



ต่อมามี ที่ใบปะหน้าของเอกสาร กห.0407.45 (สยก.)/130 ลงวันที่ วันที่ 17 เม.ย. 53 “เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่” เรียน ผอ. ศอฉ. โดย พล.อ. รอง เสธ.ศอฉ. (3) 18 เม.ย. 54 ดังกล่าว ในท้ายเอกสารมีข้อความว่า “อนุมัติตามเสนอในข้อ 4” ลงนามโดย “สุเทพ เทือกสุบรรณ” ในฐานะ ผอ.ศอฉ. โดยลงนามวันที่ 18 เม.ย. 53


โดยก่อนหน้านี้ ในการแถลงข่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อ 16 ส.ค. 55 กล่าวปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ เป็นเพียงปืนติดลำกล้องเพื่อใช้ระวังป้องกัน ซึ่งในตลาดนัดก็มีขายสำหรับใช้ยิงนก ขณะที่เมื่อ 16 พ.ค. 53 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ศอฉ. ก็ปฏิเสธว่าไม่มีการใช้สไนเปอร์ มีเพียง “พลแม่นปืนระวังป้องกัน” ทำหน้าที่คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ต่ำหรือตามถนนหนทางโดยทั่วไป เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบว่ามีบุคคลผู้ใดถืออาวุธหรือจะ เข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ และจะใช้การยิงคุ้มครอง (อ่านข่าวย้อนหลัง)


ต่อมาเมื่อ 18 มี.ค 54 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ได้นำรายงานบัญชีสรุปรายการเบิกจ่ายกระสุนจากหน่วยคลังแสงสรรพาวุธทหารบก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ตั้งแต่ 11 มี.ค. 53 จนถึงเสร็จสิ้นการโดยมีการเบิกกระสุนจากคลังแสงทหารบกกว่า 597,500 นัด ส่งคืน 479,577 นัด ใช้ไป 117,923 นัด เผยมีการเบิกกระสุนปืนซุ่มยิง 3,000 นัด คืนเพียง 880 นัด ขณะที่เบิกกระสุนซ้อมเพียง 10,000 นัด ส่งคืน 3,380 นัด (อ่านข่าวย้อนหลัง)
สำหรับรายละเอียดเอกสาร  สยก.ศอฉ. ที่ กห.0407.55 มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในท้ายข่าว

00000000000

บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ สยก.ศอฉ.
ที่ กห. 0407.45 (สยก.)/130 วันที่ 17 เม.ย. 53

เรื่อง ขออนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจและสายตรวจเคลื่อนที่

เรียน ผอ.ศอฉ.
อ้างถึง 1. หนังสือ สยก.ศอฉ. ที่ กท. 0407.45 (สยก.)/13 ลง 8 เม.ย. 53
2. หนังสือ สยก.ศอฉ. ลับ - ด่วนที่สุด ที่ คห.0407.45 (สยก.)/106 ลง 15 เม.ย. 53


สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่

1. ตามที่ รอง นรม./ผอ.ศอฉ. ได้กรุณาอนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญ และประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจในพื้นที่ นำไปใช้ยึดถือปฏิบัติ รายละเอียดตามอ้างถึง 1 นั้น

2. เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารซึ่งทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ได้มีกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าว สยก.ศอฉ. จึงได้พิจารณาปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติโดยเพิ่มเติมและแก้ไขรายละเอียดการ ปฏิบัติฯ ตามข้อ 1 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้.-

2.1 แนวทางปฏิบัติทั่วไป ในหัวข้อการใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ได้เพิ่มเติมข้อความเกี่ยวกับการป้องกันบุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ให้หน่วยกำหนดแนวห้ามผ่านเด็ดขาด โดยให้ทำเครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ และในหัวข้อการปฏิบัติภายหลังเกิดเหตุ ได้แก้ไขให้เจ้าหน้าที่ทำการปฐมพยาบาลผู้ก่อเหตุตามหลักมนุษยธรรม ภายหลังจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว

2.2 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีผู้ชุมนุมพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดการปฏิบัติโดยให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้โล่และไม้พลอง ยาว เพื่อต้านทานการบุกรุก และเมื่อมีแนวโน้มจะต้านทานไม่อยู่ให้ใช้การฉีดน้ำ และ/หรือคลื่นเสียงได้ แต่ถ้าผู้ชุมนุมยังสามารถปีนรั้ว/เครื่องกีดขวาง/ฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้า มาได้ หากมีผู้บุกรุกมีจำนวนน้อยและไม่มีอาวุธ ให้เข้าทำการจับกุม หากมีจำนวนมาก ให้ใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง, กระสุนยาง และยิงเตือนตามลำดับและเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว ผู้ชุมนุมยังคงบุกรุกเข้ามาจนอาจก่อให้เกิดอันตราย ให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธตามสมควรแก่เหตุ โดยการใช้กระสุนจริงจาก ปลซ. และ ปลย. ตามลำดับ ทั้งนี้ หากผู้บุกรุกมีอาวุธเช่น มีด, ปืน, วัตถุระเบิด ฯลฯ และฝ่าแนวห้ามผ่านเด็ดขาดเข้ามาได้ เจ้าหน้าที่สามารถข้ามขั้นตอนการใช้แก๊สน้ำตา, กระบอง หรือกระสุนยาง ไปสู่การใช้กระสุนจริงได้ โดยในการใช้อาวุธกระสุนจริง ทั้งสองกรณี ผู้มีอำนาจตกลงใจสั่งการ คือ ผบ.หน่วยที่รับผิดชอบสถานที่นั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

2.3 แนวทางการปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ในกรณีการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ: ได้เพิ่มเติมข้อความ ในกรณีพบผู้ต้องสงสัย ซึ่งไม่ยอมให้ตรวจค้น/จับกุม และกำลังจะหลบหนี ให้ทำการยิงเตือน, ติดตาม และสกัดจับ รวมทั้งใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์ในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุ

2.4 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุเตรียมใช้อาวุธ/วัตถุระเบิด: ได้เพิ่มเติมรายละเอียดในการเข้าจับกุม โดยเจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธประจำกายเล็งไปยังผู้ก่อเหตุได้ และถ้าผู้ก่อเหตุพยายามหลบหนีให้ใช้เทคนิคการต่อสู้ระยะประชิด, การยิงเตือน และการใช้อาวุธยิงในจุดที่ไม่สำคัญของร่างกาย เพื่อหยุดการเคลื่อนที่ของผู้ก่อเหตุตามลำดับ

2.5 แนวทางปฏิบัติเฉพาะเหตุการณ์ ในกรณีพบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้

3. สยก.ศอฉ. พิจาณาแล้วมีความเห็น ดังนี้

3.1 แนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2 ได้ปรับปรุงในรายละเอียดการปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น โดยสอดคล้องกับการพัฒนาของสถานการณ์ ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ก่อการร้ายแฝงตัวมากับกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดโจมตีต่อเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำให้เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธในการป้องกันตนเองและบุคคลอื่น รวมทั้ง ทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงเห็นสมควรอนุมัติให้ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ ตามข้อ 1 และอนุมัติให้หน่วยที่เกี่ยวข้องใช้แนวทางการปฏิบัติในการ รปภ. ที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญฯ ตามข้อ 2 เป็นแนวทางการปฏิบัติต่อไป

3.2 สำหรับแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธเพื่อ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ ตามที่อ้างถึง 2 นั้น ได้กำหนดแนวทางการใช้อาวุธ และแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ต่อกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวปะปนมากับกลุ่ม ผู้ชุมนุม ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันจึงเห็นสมควรให้หน่วยยึดถือเป็น แนวทางปฏิบัติ ในการ รปภ. ที่ตั้ง บก.ศอฉ. ได้ต่อไป

4. ข้อเสนอ เห็นสมควรดำเนินการตามการพิจารณาในข้อ 3 ดังนี้

4.1 ยกเลิกแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. ตามข้อ 1

4.2 อนุมัติแนวทางการปฏิบัติในการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ ศอฉ. สำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ ตามข้อ 2
จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณาอนุมัติตามเสนอในข้อ 4
(ลายมือชื่อ) พล.ท.อักษรา เกิดผล
หน.สยก.ศอฉ.




แนวทางการปฏิบัติของ เจ้าหน้าที่ ศอฉ. ในการใช้อาวุธสำหรับการรักษาความปลอดภัยที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ รวมทั้งการปฏิบัติ ณ จุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่

1.แนวทางการปฏิบัติทั่วไป

1.1 แนวทางการปฏิบัตินี้ ใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาที่ตั้ง หน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่บริเวณจุดตรวจ/ด่านตรวจ และสายตรวจเคลื่อนที่ซึ่งอนุญาตให้กำลังพลสามารถใช้อาวุธประจำกายและอาวุธ ปืนพกได้ตามความจำเป็นของสถานการณ์

1.2 การใช้อาวุธในการป้องกันตนเอง และรักษาความปลอดภัยฯ ต้องการเป็นป้องกันอันตรายที่ใกล้จะมาถึง และเป็นอันตรายต่อชีวิตของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินทางราชการ และเอกชนที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ก่อเหตุกำลังระเบิดใส่ กำลังเล็งปืนใส่ กำลังถือมีดเข้าทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

1.3 การป้องกันตนเองและรักษาความปลอดภัยฯ ต้องเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น และสมควรแก่เหตุ รวมทั้งการใช้อาวุธนั้น ต้องใช้เท่าที่จำเป็น จากเบาไปหาหนัก และมีแจ้งเตือนการปฏิบัติกับผู้ก่อเหตุก่อนเสมอ

1.4 การใช้อาวุธจะไม่อนุญาตให้ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัด หรือการใช้อาวุธที่ปราศจากความแม่นยำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ไม่เกี่ยวข้องได้ เช่น การยิงกราด การยิงสุ่ม และการยิงที่ไม่เล็ง รวมทั้งไม่อนุญาตให้ใช้การยิงอัตโนมัติ โดยหากจะใช้อาวุธต้องทำการยิงทีละนัดเท่านั้น และห้ามใช้อาวุธเล็งศีรษะหรือส่วนสำคัญของร่างกายโดยเด็ดขาด

1.5 ให้หน่วยกำหนดแนวทางห้ามผ่านเด็ดขาดบริเวณที่ตั้งหน่วย และสถานที่สำคัญ รวมทั้งใช้เครื่องหมายหรือประกาศให้กลุ่มผู้ชุมนุมที่มากดดันทราบ

1.6 หากมีความจำเป็นในการใช้อาวุธแล้ว ต้องใช้ตามลำดับขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 แจ้งเตือนด้วยวาจา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีระดับความดังเสียงที่ผู้ก่อเหตุได้อย่างชัดเจน และกล่าวซ้ำหลายๆ ครั้ง อย่างน้อย 3 ครั้ง เพื่อให้ผู้ก่อเหตุหยุดการกระทำดังกล่าว ... "หยุดนี่คือเจ้าหน้าที่"

ขั้นที่ 2 การยิงเตือนขึ้นฟ้า หรือเป็นการยิงในทิศทางที่ปลอดภัย

ขั้นที่ 3 การใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและสมควร แก่เหตุ สรุปคือเป็นการยิงที่ไม่ประสงค์ให้ผู้ก่อเหตุเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ การปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าวอาจปฏิบัติข้ามการปฏิบัติเป็นขั้นที่ 2 หรือ 3 โดยทันที ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ประสบกับภัยคุกคามที่ใกล้จะมาถึงและเป็นอันตรายต่อ ชีวิตของตนเองและบุคคลอื่นที่อยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่


เหตุการณ์ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่อนุญาตให้ทำได้
ผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธวัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยหรือสถานที่สำคัญ
1) ใช้อาวุธตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมควรแก่เหตุโดยสามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุ เพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติได้
2) หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุมจนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แล้ว ให้งดเว้นการปฏิบัติยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้
3) ในกรณีที่หน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบังหน่วยสามารถร้องขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ. ได้
หมายเหตุ:
1. เมื่อผู้ชุมนุมมีการรวมตัวที่บริเวณภายนอกที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญให้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศให้ผู้ชุมนุทราบว่า หากมีการบุกรุกเข้ามา เจ้าหน้าที่จะมีขั้นตอนการปฏิบัติและการใช้อาวุธอย่างไร โดยให้มีการประกาศซ้ำหลายๆ ครั้ง

2. แนวทางการใช้อาวุธตามคำแนะนำฯ นี้ ไม่จำกัดสิทธิ์ในการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองและบุคคลอื่นจากการกระทำของ ผู้ก่อเหตุ ที่เป็นไปโดยสมควรแก่เหตุ

3. กรณีประสบเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสให้เจ้าหน้าที่ที่ประสบเหตุสามารถใช้อาวุธ เพื่อระงับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งใดๆ

4. ห้ามใช้อาวุธยิงใส่ยานพาหนะต้องสงสัยใดๆ ที่ขับฝ่าด่านตรวจ/จุดตรวจ/จุดสกัด โดยให้จดจำเลขทะเบียนและลักษณะที่สำคัญแจ้งให้หน่วยในพื้นที่ใกล้เคียง (ทั้งทหาร - ตำรวจ) ดำเนินการสกัดให้หยุดและตรวจค้น เว้นแต่ได้รับแจ้งยืนยันแน่ชัดแล้วว่ายานพาหนะนั้นเป็นการหลบหนีของผู้ก่อ เหตุ จึงสามารถใช้อาวุธยิงโดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ เพื่อสกัดให้หยุดการเคลื่อนที่

5. ยานพาหนะที่จงใจขับพุ่งชนเพื่อฝ่าแนวต้านทานเข้ามาในที่ตั้งหน่วย หรือสถานที่สำคัญที่ ศอฉ. กำหนด ให้สามารถใช้อาวุธยิงเพื่อหยุดยานพาหนะนั้นได้โดยเล็งที่บริเวณเครื่องยนต์ หรือหม้อน้ำของยานพาหนะ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องประกาศให้ผู้ก่อเหตุทราบ ในลักษณะ "หยุด ถ้าไม่หยุดเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธ"

ที่มา prachatai

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ช่างภาพทีวีเบิกความคดี ‘ลุงบุญมี’ เหยื่อสลายชุมนุม พ.ค.53

แสดงหลักฐานภาพถ่ายขณะ ‘ลุงบุญมี’ ถูกยิงโดยทหาร แจงเพื่อนนักข่าวเตือนทหารใช้กระสุนจริง ทนายญาติผู้ตายเผย คดีนี้ไต่สวนทุกพุธถึงต้นปีหน้า

15 ส.ค.55 - เวลาประมาณ 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 402 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง คดีหมายเลขดำที่ ช. 7/2555  ที่พนักงานอัยการ จากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4  ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ  71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้องด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 ขณะถูกยิงเป็นช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยพนักงานอัยการ ได้นำช่างภาพสถานีโทรทัศน์หลักแห่งหนึ่ง มาเบิกความในฐานะพยานที่ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ช่วงเวลาขณะเกิดเหตุได้

ช่างภาพที่เดินทางมาเป็นพยานได้เบิกความต่อศาลว่า ในวันเกิดเหตุ 14 พ.ค.53 ได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่เกิดเหตุบริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี ถนนพระราม 4 เพื่อเก็บภาพ ต่อมาเวลาประมาณ 13.00 น. ได้มีการตอบโต้กันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั๊มน้ำมันปตท. และพยานได้ถ่ายภาพผู้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ทราบว่าผู้ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตบริเวณดังกล่าวคือใคร จนกระทั่งพนักงานสอบสวนในคดีนี้ได้นำภาพถ่ายที่พยานได้ถ่ายไว้ให้ดู และไม่ทราบว่า หลังจากนั้น ผู้ตายไปรักษาพยาบาลใดและเสียชีวิตเมื่อใด

พยานเบิกความต่ออีกว่า ในวันเกิดเหตุต่อมา เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าจับกุมกลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ นักข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพยานได้เตือนให้ระวังตัวด้วยเนื่องจากเจ้า หน้าที่ทหารจะมีการใช้กระสุนจริง ขณะที่ถ่ายภาพยังมีเสียงระเบิดดังขึ้นมาจากฝั่งผู้ชุมนุมด้วย ส่วนพลุที่กลุ่มผู้ชุมนุมยิงมาใส่ฝั่งทหารนั้นไม่เป็นเหตุให้ทหารได้รับบาด เจ็บ ขณะบันทึกภาพมีกลุ่มผู้ชุมนุมถือไม้กระบองและขว้างก้อนหิน

นายณัฐพล ปัญญาสูง ทีมทนายจากมูลนิธิไทยรักไทย ในฐานะทนายญาติผู้เสียชีวิตสอบถามพยานถึงสาเหตุที่ทหารปฏิบัติการในบริเวณ นั้นจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตว่าเป็นไปเพื่ออะไร พยานตอบว่าเพื่อที่จะสลายการชุมนุม ตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) และขณะที่ถ่ายภาพในวันเกิดเหตุมีรถพยาบาลมารับผู้บาดเจ็บตลอดทั้งวันอีกด้วย


ภาพนายบุญมี เริ่มสุข ขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ 
 
หลังจากไต่สวนเสร็จ นายณัฐพล เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นายบุญมี เป็นผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุม วันที่ 14 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าสนามมวยลุมพินี แถวบ่อนไก่ ซึ่งในวันนี้ ช่างภาพคนดังกล่าวที่เป็นพยาน ซึ่งปฏิบัติงานในบริเวณที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วันที่ 11 - 19 พ.ค.53 ได้นำหลักฐานมาเสนอต่อศาลเพิ่มเติมเพื่อให้พิจารณาถึงลำดับเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น โดยได้นำภาพถ่ายของตนเองที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นที่แสดงถึงการปฏิบัติการ ของทหารที่ใช้อาวุธยิงเข้าใส่ผู้ชุมนุม และแผ่น VCD ที่ถ่ายขณะเกิดเหตุว่ามีทหารเริ่มปฏิบัติการเพื่อสลายการชุมนุม รวมถึงภาพถ่ายเห็นผู้ชุมนุมถูกฝ่ายทหารยิงบริเวณบ่อนไก่ ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นลุงบุญมี (ผู้เสียชีวิตในคดีนี้) มาเสนอต่อศาลด้วย
 
นายณัฐพล กล่าวว่า ลุงบุญมีไม่ได้เป็นผู้ชุมนุมแต่เป็นประชาชนที่อยู่ในที่เกิดเหตุมานั่งรอรับหลานและถูกยิง
 
ทนายญาติผู้เสียชีวิต เปิดเผยว่า ในวันนี้ ( 15 ส.ค. 55) เดิมอัยการจะเรียกทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นมาไต่สวน อย่างไรก็ตาม ทางทหารได้ขอเลื่อนจึงได้นำพยานปากนี้มาแทน ซึ่งคาดว่าทหารจะเข้าเบิกความในวันพุธหน้า โดยคดีนี้จะมีการไต่สวนทุกวันพุธ ไปจนจบประมาณต้นปีหน้า
 
ที่มา prachatai