News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สังคมนิยมคืออะไร โดย กองบรรณาธิการ องค์กรเลี้ยวซ้าย และ บทวิจารณ์ บทบรรณาธิการ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้าย

(บทตั้ง)
แนะนำ “สังคมนิยม” และความคิด “มาร์คซิสต์ เบื้องต้น
โดย กองบรรณาธิการ    องค์กรเลี้ยวซ้าย วันพุธที่   20 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สังคมนิยมคืออะไร


“สังคมนิยม” เป็นระบบที่มนุษย์ฝันถึงมานาน ตั้งแต่เกิดสังคมชนชั้นที่ไร้ความเสมอภาคและความยุติธรรม ในสมัยก่อนเขาอาจไม่เรียกว่า “สังคมนิยม” แต่อาจมีคนเรียกว่า “ยุคพระศรีอารย์” หรือชื่ออื่นๆ แต่มันมีความหมายเดียวกันคือ “สังคมที่สงบสุขเท่าเทียมกัน” นักสังคมนิยมที่ทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาทางปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม คือ คาร์ล มาร์คซ์ และเพื่อนเขาชื่อ เฟรดเดอริค เองเกิลส์ ดังนั้นชาวสังคมนิยมมักจะเรียกตัวเองว่า “มาร์คซิสต์”


พวกเราชาว “มาร์คซิสต์” เชื่อว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพ[1]เอง ไม่ใช่มาจากการวางแผนโดยผู้นำคนเดียว กลุ่มคนชั้นสูงในวงแคบ ๆ ผู้นำพรรค หรือกองทัพปลดแอก มันเป็นเรื่องรากหญ้า ดังนั้นสังคมนิยมจะมีลักษณะตามที่กรรมาชีพและพลเมืองส่วนใหญ่พึงปรารถนา ต้องออกแบบและสร้างจากล่างสู่บนโดยคนรากหญ้าเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม มันน่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ


1. เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างทุนนิยมซึ่งอำนาจควบคุมการผลิตเป็นของนายทุน ทั้งนี้เพราะในระบบสังคมนิยมระบบเศรษฐกิจการผลิตจะถูกควบคุมโดยพลเมืองทุกคน ดังนั้นสังคมนิยมจะเป็นระบบก้าวหน้าที่ปลดแอกมนุษย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์


2. ในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อสะสมอาวุธ หรือเพื่อการหวังกำไรของคนส่วนน้อย จะเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเต็มที่ ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน ไม่มีการกดขี่ทางเพศหรือเชื้อชาติ


3. ในระบบสังคมจะยกเลิกการขูดรีดของนายทุน โดยการยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมของคนบางคน ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างผูกขาดแล้วนำกำไรเข้ากระเป๋าตนเองหรือลงทุนเพื่อหากำไรเพิ่ม ทุกสถานที่ทำงานจึงต้องเป็นของคนงานเอง ของสังคมโดยรวม ไม่มีเจ้านาย ไม่มีชนชั้น บริหารกันเองประสานกับส่วนอื่นของสังคม ทรัพยากรของโลกจะเป็นของส่วนรวม ดังนั้นการกดขี่แย่งชิงกันระหว่างชาติก็จะค่อยๆ หมดไป


4. มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ที่หลากหลายของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน

“สังคมนิยม” สองรูปแบบ

เมื่อเราพูดถึงสังคมนิยม มักจะมีคนนึกถึงระบบเผด็จการ “คอมมิวนิสต์” ในรัสเซีย เวียดนาม หรือจีน หรือบางครั้งอาจนึกถึงระบบพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยภายใต้ทุนนิยมในประเทศสแกนดิเนเวีย อังกฤษ หรือออสเตรเลีย แต่แนวคิดสังคมนิยมมีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ

1. สังคมนิยมจากบนสู่ล่าง
ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือบริหาร เช่นสังคมนิยมที่มาจากการสร้างเผด็จการของกลุ่มข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน เวียดนาม ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย(ภายใต้สตาลิน) หรือสังคมนิยมปฏิรูปที่มาจากการกระทำของ ส.ส. พรรคสังคมนิยมในรัฐสภา สังคมนิยมดังกล่าวเป็นสังคมนิยมประเภท “ท่านให้” ซึ่งเป็นสังคมนิยมจอมปลอม อาจเป็นเผด็จการ หรือเป็นการประนีประนอมกับระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมและอำนาจนายทุน

2. สังคมนิยมจากล่างสู่บน
เป็นสังคมนิยมที่สร้างโดยมวลชนกรรมาชีพเอง ร่วมกับเกษตรกรระดับรากหญ้า โดยอาศัยการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมเพื่อสถาปนารัฐกรรมาชีพ และรัฐกรรมาชีพดังกล่าวต้องมีกลไกในการควบคุมรัฐตามแนวประชาธิปไตยอย่างชัดเจน เช่นต้องมีสภาคนงานในรูปแบบที่เคยมีในคอมมูนปารีส หรือสภาโซเวียด หลังการปฏิวัติรัสเซีย 1917 สมัยเลนิน ..... สังคมนิยมประเภทนี้คือสังคมนิยมแบบ “มาร์คซิสต์” ที่องค์กร “เลี้ยวซ้าย” ชื่นชม สังคมนิยมเหมือนกับประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ไม่มีใครยกให้ได้ ต้องมาจากการต่อสู้เรียกร้องของมวลชนรากหญ้า  นี่คือสังคมนิยมที่เราชื่นชมและอยากได้


สังคมนิยมมาร์คซิสต์ แตกต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์แบบ “สตาลิน-เหมา เจ๋อ ตุง” ที่พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกนำมาใช้ใน รัสเซีย จีน ลาว เขมร เวียดนาม คิวบา หรือ เกาหลีเหนือ และที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเสนอ
เนปาล
ถ้าเราไปดูประเทศเนปาล เราจะได้บทเรียนเพิ่มเติม ในเนปาลพรรคคอมมิวนิสต์สายเหมา เจ๋อ ตุง ใช้วิธีจับอาวุธสู้กับเผด็จการทุนนิยมของกษัตริย์เนปาล การต่อสู้นี้บวกกับการต่อสู้ของมวลชนในเมือง เช่นนักศึกษาและสหภาพแรงงาน ในที่สุดนำไปสู่ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการเลือกตั้ง มีการยกเลิกสถาบันกษัตริย์ แต่ระบบที่พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลเสนอคืออะไร? พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลต้องการกลไกตลาดเสรีของนายทุน!! และต้องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ!! ซึ่งแปลว่าต้องคงไว้การขูดรีดกรรมกรและเกษตรกร เพียงแต่เปลี่ยนประเทศไปเป็นสาธารณะรัฐเท่านั้น
   
การจับอาวุธปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประนีประนอมกับระบบทุนนิยม แต่ข้อแตกต่างกับไทยคือ ในเนปาลไม่มีนายทุนใหญ่อย่างทักษิณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการและสามารถดึงการ ต่อสู้ไปเพื่อคงไว้ระบบเดิมที่มีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
    

ประชาธิปไตยแท้จะเกิดจากการเปลี่ยนประมุขอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีการยึดอำนาจโดยประชาชนในทุกเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ถ้าเรายกอำนาจให้นายทุนดำรงอยู่และขูดรีดต่อไป และถ้าเราเกาะติดนายทุนใหญ่ในขณะที่เขาประนีประนอมกับอำมาตย์ทุนนิยม เราก็จะปลดแอกสังคมไม่ได้
  
การจับอาวุธหรือสร้างกองกำลัง เป็นการตัดขาดบทบาทมวลชนจำนวนมาก เป็นการผูกขาดสิทธิที่จะกำหนดแนวทางโดยแกนนำเผด็จการใต้ดิน ถ้ามีการถกเถียงเกิดขึ้นในแกนนำ จะใช้ปืนแทนปัญญาในการตัดสิน และเมื่อมีการลดบทบาทหรือสลายพลังมวลชน เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ที่พลเมืองนำตนเองและร่วมสร้างสังคมใหม่ได้
[1] กรรมาชีพคือคนทำงานทั้งหลายที่เป็นลูกจ้าง
เชิญอ่านรายละเอียดเพิ่มเรื่อง แนวความคิดมาร์คซิสต์ได้ โดยดาว์น โหลด หนังสือเล่มเล็กอันนี้

จาก redthaisocialist


บทวิจารณ์  บทบรรณาธิการ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้าย

                       ฉบับที่ ๒๐ ตุลาคม ๕๓

 เมื่อเห็นบทบรรณาธิการของ นสพ.องค์กรเลี้ยวซ้ายเรื่อง “สังคมนิยมและแนวคิดมาร์กซิสเบื้องตัน “    จึงอ่านด้วยความสนใจและชื่นชม   โดยหวังว่าจะได้รับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดใหม่ๆที่แตกต่างออกไปจากความ รู้ของตน       เพื่อจะได้นำมายกระดับพัฒนา ให้เกิดก้าวหน้าขึ้นได้บ้าง      แต่เมื่ออ่านจบแล้วกลับมีความรู้สึกว่าคำอธิบาย ”สังคมนิยม” ที่บทบรรณาธิการนำเสนอนี้ออกจะค่อนไปในทาง ”วิพากษ์ลัทธิขุนนางสตาลิน”  “ประชาธิปไตยรวมศูนย์”  “ลัทธิเหมา”  “การเปลี่ยนสีแปรธาตุของสังคมนิยม”  “การต่อสู้ด้วยอาวุธ” “พคท”ฯลฯ  พร้อมกับเสนอแนวคิดบางประการซึ่งคล้ายๆกับแนวคิดของนักอุดมคติที่มีชีวิต อยู่ก่อนหน้าและร่วมสมัยกับมาร์กซเช่น   โทมัส มอร์    ฟูริเยร์    แซงต์ ซิมอง  โรเบิร์ต  โอเวน   และอีกหลายๆความคิดมาผสมผสานกัน   โดยอาศัยชื่อของมาร์กซ์มากลบเกลื่อนความคิดที่โน้มเอียงไปในทาง ”ลัทธิสังคมนิยมปฏิรูป”   จากที่เคยศึกษาลัทธิมาร์กซมาบ้างแม้ไม่ค่อยจะเป็นระบบนัก    แต่ก็ใคร่ขอชี้แจงความเข้าใจของเราที่มีต่อลัทธิมาร์กซในประเด็นที่แตกต่าง กันดังต่อไปนี้


การเคลื่อนไหวของบรรดานักคิดทั้งหลายในสมัยของมาร์กซและก่อนหน้ามาร์กซที่ กล่าวนามมาข้างต้น   เป็นการเคลึ่อนไหวที่รู้จักกันในนามของการเคลึ่อนไหวของชนชั้นนายทุนที่ เรียกว่าสังคมนิยม(อุดมคติ )     เพื่อจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นคนละอย่างกัน  มาร์กซได้ประกาศตนและแนวคิดของตนว่าเป็นชาวคอมมิวนิสต์      พร้อมทั้งได้เสนอหลักการที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมว่า   มีเพียงทางเดียวเท่านั้นคือต้องโค่นล้มชนชั้นผู้กดขี่รวมทั้งระบอบการปกครอง ของพวกเขาลงไปเสียก่อนเท่านั้นจึงจะสามารถสร้างสังคมใหม่และขจัดสิ่งเลวร้าย เหล่านี้ไปได้     มาร์กซยังมีความเห็นว่ากำลังหลักในการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ที่พลังของชนชั้น กรรมาชีพ(proletariat)  ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ไร้สมบัติทั้งมวลที่ขายแรงงานเพื่อการดำรงชีพ โดยมีกรรมกร(workers) ในโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่เป็นกองหน้าในการเคลื่อนไหวต่อสู้     เป็นซนซั้นที่มาร์กซได้ค้นพบว่าเป็นคู่ความขัดแย้งโดยธรรมชาติของชนชั้นนาย ทุนในสังคมทุนนิยม      การต่อสู้นี้เป็นการต่อสู้ทางชนชั้นที่มันจะดำรงอยู่ตลอดและจะสิ้นสุดลงก็ ต่อเมื่อชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งถูกโค่นล้มลงหรือไม่ก็สูญสลายไปทั้งคู่


หลังจากได้อำนาจรัฐแล้ว    ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องสถาปนาเผด็จการของตนซึ่งเป็นประ ชาธิปไตยของคนส่วนใหญ่ขึ้นมาแทนที่ประชาธิปไตยแบบเก่าของชนชั้นนายทุนที่ เป็นเผด็จการของคนส่วนน้อย    เพื่อปกป้องรักษาดอกผลของการปฏิวัติว่าจะไม่ถูกทำลายไปหรือถูกเปลี่ยนมือไป อยู่กับชนชั้นนายทุนอีก        เป็นการปูทางไปสู่การสร้างสรรค์สังคมที่ปราศจากการขูดรีดในลำดับต่อไป      ดังนั้นการตีความในประเด็น ”เผด็จการ”   ควรจำแนกให้ชัดเจนถึงรากฐานความคิดทางปรัชญาของลัทธิมาร์กซให้ถ่องแท้เสีย ก่อนว่ามันหมายถึงเผด็จการของใคร   เป็นเผด็จการของชนชั้นทั้งชนชั้น?   หรือเป็นเผด็จการของกลุ่มบุคคล?    หรือเป็นเผด็จการเฉพาะของคนๆเดียว ?
จากมุมมองของนักมนุษยธรรม    นักสังคมนิยมอุดมคติเหล่านั้นได้วิพากษ์วิจารณ์วิถีการผลิตของระบอบทุนนิยม    เพราะได้เห็นถึงความเลวร้ายของมันที่ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในทาง เศรษฐกิจ-สังคม   การกดขี่ขูดรีด   ความอยุติธรรม   ความยากจน   และความขาดแคลนทั้งปวงแต่พวกท่านไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่แท้จริงได้    จึงเสนอแนวทางแก้ปัญ หาโดยการสร้างสังคมใหม่ขึ้นตามจินตนาการของพวกท่าน     มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงความสัม  พันธ์ทางการผลิตและความสัมพันธ์อื่นๆในสังคม    ว่าจะผ่อนคลายความขัดแย้งลงไปได้     โดยที่ไม่ได้ให้ความความสำคัญและมองข้ามการต่อสู้ทางชนชั้น     และยังหวังที่จะได้รับความร่วมมือจากชนชั้นปกครองและบรรดานายทุนทั้งหลายอีก ด้วย


ชาวมาร์กซเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้จากการปฏิวัติ   โดยเชื่อมโยงความพยายามทางอัตวิสัยเข้ากับกับความเป็นจริงทางภววิสัย     ภาระหน้าที่แรกสุดของชาวมาร์กซที่จำเป็นต้องกระทำคือการสร้างจิตสำนึก ปฏิวัติให้แก่ชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นกองหน้าของการปฏิวัติ    ไม่ใช่วาดฝันอยู่กับความต้องการทางอัตวิสัยแต่เพียงอย่างเดียว    ชาวมาร์กซเองก็จะต้องปรับปรุงทบทวนพัฒนายกระดับความรับรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ ของตนอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน     เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในแง่มุมที่หลากหลายไปช่วยสร้าง จิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชนกรรมกร     หากว่าการรับรู้ทางทฤษฎียังไม่ถูกต้องชัดเจนเพียงพอแล้ว    จะเกิดความเบี่ยงเบนทางความคิดและแนวทางปฏิบัติได้     เอาแค่ว่าจะให้คำตอบอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรต่อคำถามของกรรมกรพื้นฐานที่ว่า

“นายจ้างของผมดีมากไม่เห็นจะกดขี่ขูดรีดตรงไหน? เขาให้งานทำ  ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมทำไมจะต้องไปโค่นล้มพวกเขาด้วย”  (จากประสบการณ์)
การตอบคำถามนี้ไม่ใช่เพียงแค่ให้คำอธิบายอย่างเป็นนามธรรมตามเนื้อหาทาง ทฤษฎีเท่านั้น  แต่ยังต้องอาศัยความรู้จากประสบการณ์มาอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย   ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะประยุกต์ทฤษฎีไปอธิบายปัญหาให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ อย่างไร?   สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จำต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ  

“โลกทัศน์ของลัทธิมาร์กซได้ค้นพบว่าชนชั้น กรรมาชีพเป็นอาวุธสำคัญในการปฏิบัติ   ในขณะเดียวกันชนชั้นกรรมาชีพก็ได้ค้นพบเช่นกันว่าลัทธิมาร์กซเป็นอาวุธทาง ปัญญา“

ดังนั้นหน้าที่ของปัญญาชนคือการเข้าไปช่วยสร้างจิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชน กรรมกรไม่ใช่ทำตัวเป็นอาจารย์หรือผู้นำที่คอยชี้นิ้วออกคำสั่ง     ดังนั้นความหนักแน่นชัดเจนทางทฤษฎีและประสบการณ์จากการปฏิบัติจึงมีความจำ เป็นสำหรับชาวมาร์กซผู้มีความปรารถนาจะสร้างกองหน้าแห่งสังคมนิยมขึ้นมา  
การสร้างจิตสำนึกปฏิวัติให้แก่มวลชนกรรมกรเพียงเรื่องเดียว   ก็เป็นปัญหาที่ต้องใช้ความพยายามอย่างมากมายอยู่แล้ว      ปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษวิธีไม่ได้สอนให้คิดและกระทำอย่างกลไกหรือให้เชื่อแบบ ลัทธิคัมภีร์   ไม่ได้สอนให้ชี้ชัดลงไปในทันทีทันใดว่าสิ่งไหนผิดหรือถูก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะไม่มองและตัดสินแนวคิดทฤษฎีใดๆที่ประสบความสำเร็จในการ ปฏิบัติว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด     ส่วนที่ยังไม่ได้นำไปปฏิบัติหรือปฏิบัติแล้วล้มเหลวเป็นสิ่งที่ผิดไปเสีย ทั้งหมดโดยยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดแบบวิภาษวิธี
ความ”เหมือน”และ”ความแตกต่าง”ของความคิดทางทฤษฎีที่หลากหลาย   จะเป็นเครื่องมือกรุยทางไปสู่ความถูกต้องของรูปแบบการจัดองค์กร   การให้การศึกษา   การสร้างจิตสำนึกปฏิวัติ    การนำ   การสร้างกองกำลัง    การยกระดับความคิด     ยกระดับการเคลื่อนไหว   ตลอดไปจนถึงการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์-ยุทธวิธี      อย่างน้อยที่สุดก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการต่อสู้แบบ ”เป็ดไล่ทุ่ง” ได้ (คือการถูกศัตรูขีดเส้นให้เดิน)
ในทัศนะของชาวมาร์กซสิ่ง


ต่อปัญหา ความเท่าเทียมหรือสิทธิเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยที่พวกนายทุนชอบอ้างอยู่ เสมอคือ   ทุกคนในสังคมมีสิทธิเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้ (ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและความเห็นชอบของพวกเขา) ทุกคนมีสิทธิ์กินอาหารในภัตตาคารหรู    ดื่มไวน์ขวดละแสน    ซื้อรถสปอร์ตรุ่นใหม่    ซื้อเครื่องบินส่วนตัว ฯลฯ  แต่ในความเป็นจริง   กรรมกรรากหญ้าอย่างพวกเราแค่ “มีกิน” และไม่เป็นหนี้ก็ดีใจแล้ว     ดังนั้นความเสมอภาคในสังคมทุนนิยมจึงเป็นแค่ความเสมอภาคตามตัวอักษรที่ชน ชั้นนายทุนเขียนขึ้นมาเท่านั้น    สิ่งที่ปรากฏอยู่จริงคือความเสมอภาคใน “ความไม่เท่าเทียม” และ ”ความยากจน    มาร์กซได้อธิบายไว้ใน “วิพากษ์นโยบายโกธา” ว่า

“ความเสมอภาคนั้นวัดได้จากบรรทัดฐานเดียวกันคือแรงงาน ....แต่ทว่าคนๆหนึ่งมีความเหนือกว่าอีกคนหนึ่งในทางกำลังกายและสติปัญญา      ดังนั้นจึงสนองแรงงานได้มากกว่าหรือทำงานได้มากกว่าในช่วงเวลาเดียวกัน   และเพื่อจะให้แรงงานเป็นบรรทัดฐานต้องว่ากันตามเวลาที่ใช้หรือความหนักเบา ของมัน     ถ้าไม่แล้วก็ถือเป็นบรรทัดฐานไม่ได้”........และ

“สิทธิเสมอภาคนี้เป็นสิทธิของ ”ความไม่เสมอภาค” สำหรับแรงงานที่ ” ไม่เท่าเทียมกัน”   มันไม่ได้รับรองความเหลื่อมล้ำใดๆทางชนชั้น......แต่มันรับรองโดยดุษฎีของ สติปัญญาที่ไม่เท่าเทียมกัน”  

จากคำกล่าวของมาร์กซที่ยกมานี้พอจะเห็นได้ว่า  อะไรคือความเสมอภาค  มันเป็นความเสมอภาคของใคร   เสมอภาคอย่างไร   และใช้อะไรมาเป็นบรรทัดฐาน   ดังนั้นในสังคมทุนนิยม แม้แต่คำขวัญ “เสรีภาพ  เสมอภาค  ภราดรภาพ”  ของการปฏิวัติฝรั่งเศสอันลึอลั่นนั้นก็ไม่เคยเป็นจริง  และไม่เคยมีอยู่จริง

ส่วนประเด็นการยกเลิกการขูดรีดและยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมนั้น   ในระบอบสังคมนิยมมีความชัดเจนอยู่แล้ว    คือต้องยกเลิกสิทธิของผู้กดขี่ทั้งมวลไม่มีการยกเว้น   ไม่ใช่เลือกที่จะยกเลิกเฉพาะสิทธิ์หรืออภิสิทธิ์ของใครบางคนเท่านั้น     สังคมนิยมวิทยาศาสตร์ไม่มีความคิดที่จะดำรงสถานภาพและอภิสิทธิ์ของชนชั้นผู้ กดขี่เอาไว้     แต่ยินดีให้พวกเขาได้ใช้วิชาความรู้มาช่วยสร้างสังคมใหม่ในฐานะทรัพยากร มนุษย์ที่ตกค้างมาจากสังคมเก่าฉันท์พี่น้องร่วมชาติ    แต่จะไม่ยอมรับฐานะของปัญญาชนปฏิกิริยาที่ต่อต้านการปฏิวัติ

ดังนั้นสังคมนิยมในความหมายของชาวมาร์กซคือ”สังคมนิยมวิทยาศาสตร์”เพียงอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่น    เป็นสังคมที่ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาโค่นล้มชนชั้นปกครองเพื่อสถาปนา อำนาจรัฐของชนชั้นตนขึ้นมาแทน   โดยมีกรรมกรเป็นกองหน้าร่วมกับผู้ถูกกดขี่ทั้งมวล     เป็นสังคมที่ชนชั้นกรรมาชีพเป็นเจ้าของอำนาจรัฐหรืออยู่ในฐานะของชนชั้น ปกครอง   นอกเหนือจากนี้ถือว่าเป็นแนวคิดเพ้อฝันที่เรียกตัวเองว่าสังคมนิยมเท่านั้น    แม้ปัจจุบันจะมีนักคิดมากมายที่พยายามจะวิเคราะห์ชนชั้นในสังคมบนพื้นฐาน ของทุนนิยมสมัยใหม่     โดยใช้ปัจจัยทางเทคโนโลยี่   และลักษณะการทำงาน การจ้างงานเข้ามาร่วมพิจารณาด้วยก็ตาม   เพื่อโต้แย้งคำสอนของมาร์กซ     มันเป็นเพียงการจำแนก”ชั้นชน”ของ”ชนชั้น”หนึ่งๆในเชิงพัฒนาการเท่านั้น       ยังไม่อาจก้าวข้ามสัจธรรมของลัทธิมาร์กซดั้งเดิมอยู่ดี   โดยเฉพาะเรื่อง ”ชนชั้นและการต่อสู้ทางชนชั้น”
ที่ว่าทำไม? และด้วยสาเหตุใด? จึงมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมนิยม?  ไปเป็นลัทธิเผด็จการขุนนางแบบสตาลิน     ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากจะลองมาพิจารณาทัศนะของ  โรซ่า ลุกเซมบวร์ก  ที่ได้วิจารณ์ปัญหาการรวมศูนย์ประชาธิปไตยภายในพรรคแบบเลนิน   และท่วงทำนอง ”ขุนนาง”ของปัญญาชนในพรรคสังคมประชาธิปไตยว่ามันจะเป็นมูลเหตุหนึ่งของการ เปลี่ยน สีแปรธาตุได้ในอนาคต

ถ้าสนใจศึกษาแนวคิดของมาร์กซิสต์และแอนตี้-มาร์กซิสต์ท่านอื่นๆทั้งในอดีต และปัจจุบันบ้าง   ก็จะไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าทำไมทุกวันนี้ประเทศที่เรียกตัวเองว่า ”สังคมนิยม”  ที่เคยผ่านความปวดร้าวขมขื่นของการถูกกดขี่ขูดรีดจากระบอบทุนนิยมมาแล้วใน อดีต    จึงถูกวิพากษ์ วิจารณ์ว่ากำลังเดินถอยหลังกลับไปสู่ระบอบทุนนิยมอีก    มันเป็นความจริงหรือไม่?   ถ้าจริง...มันเป็นเพราะอะไร?      หรือเป็นเพราะสู้กับความเข้มแข็งของระบอบทุนนิยมโลกไม่ได้ ?    หรือเป็นเพราะว่าจิตสำนึกของชนชั้นกรรมาชีพในประเทศเหล่านั้นกำลังเปลี่ยน ไป?    เป็นเรื่องที่น่าติดตามศึกษาเป็นอย่างยิ่ง     ส่วนข้อสังเกตเรื่องสังคมนิยมแบบ ”บนสู่ล่าง” หรือจาก ”ล่างสู่บน” นั้น      ไม่ใช่วิธีจำแนกความ”เป็น” หรือ “ไม่เป็น” สังคมนิยมแต่อย่างใด   เพราะไม่มีพื้นฐานทางทฤษฎีใดๆมารองรับ     มันเป็นเพียงรูปแบบการจัดการที่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในขั้นตอนของการ ปฏิวัติในแต่ละแห่ง    หรือเป็นการแสดงออกของรูปการจิตสำนึกทางชนชั้นมากกว่า


คราวนี้มาพิจารณาเกี่ยวกับคำวิจารณ์ที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลบ้าง     การวิจารณ์เช่นนั้นออกจะเป็นการ “รวบรัด” ไปสักหน่อย     ซึ่งน่าจะสืบเนื่องมาจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ    การวิจารณ์โดยพิจารณาแต่เปลือกนอกของปรากฏการณ์เพียงด้านเดียวนั้นเป็นการ มองปัญหาแบบ ”เมตาฟิสิคส์” ที่มีลักษณะกลไกและไม่รอบด้าน   ไม่ใช่วิธีของชาวมาร์กซ     พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล(เหมาอิสต์)    เป็นพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมาชีพ   ต้องการทำลายการกดขี่ขูดรีดและสร้างสังคมนิยม     ย่อมเข้าใจอย่างลึกซึ้ง     ถึงผลประโยชน์ทางชนชั้นที่ไม่อาจประนีประนอมได้    จึงได้นำพาประซาซนผู้ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อจะสถาปนาอำนาจรัฐของชน ชั้นตนขึ้นมา     ถ้าพรรคเนปาลต้องการปฏิวัติเพียงเพื่อจะประนีประนอมกับชนชั้นนายนายทุนจริง   หรือแค่เพื่อการสร้างสาธารณรัฐอย่างที่ถูกวิจารณ์แล้ว    ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องไปสร้างกองกำลังมาต่อสู้ให้ยากลำบากถึง เพียงนั้น       และภายหลังการปฏิวัติหากพรรคฯทรยศต่ออุดมการณ์ลัทธิมาร์กซและประชาชนเนปาล โดยไม่พยายามรักษาดอกผลของการปฏิวัติเอาไว้    ก็คงยอมสลายกองกำลัง    สลายการจัดตั้ง    เลิกล้มกิจกรรมการเคลึ่อนไหวต่างๆของตนตามความเรียกร้องต้องการของชนชั้น นายทุนไปแล้ว    

ก่อนหน้าชัยชนะของประชาชนเนปาล      สิ่งที่ดำรงอยู่จริงในทางการเมืองก็คืออำนาจเบ็ด เสร็จของระบอบกษัตริย์โดยใซ้พรรคการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมเป็นเครื่องมือ   ซึ่งจะไม่มีวันยอมให้เกิดประชาธิปไตยของประชาชนขึ้นอย่างเด็ดขาด      พรรคปฏิวัติแนวทางมาร์กซิสต์ได้ตระหนักดีถึงสิ่งนี้     และเห็นว่าการต่อสู้ทางรัฐสภาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถโค่นล้มระบอบอัตตา ธิปไตยของกษัตริย์  คเยนทรา  และเปลี่ยนแปลงสังคมได้ต้องผสมผสานการเคลึ่อนไหวต่อสู้ที่หลากหลายรวมไปถึง การต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธจึงจะบรรลุผล   พรรคฯได้แตกแนวออกเป็นสองทางใหญ่ๆคือ    ด้านหนึ่งต่อสู้ทางรัฐสภา   อีกด้านหนึ่งสหายประจันดาได้แยกออกมาสร้างกองกำลังเพื่อต่อสู้ด้วยอาวุธใน ชนบท      โดยยึดหลักของประธานเหมาที่ว่า ”อำนาจรัฐมาจากกระบอกปืน”  กำหนดยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีการปฏิวัติจากเงื่อนไขต่างๆของเนปาล      และแน่นอนย่อมมีการทำงานการเมืองในระดับสากลด้วย

ดังนั้นการต่อสู้ปฏิวัติของเนปาลจึงไม่ใช่เป็นการนำของพรรคเดียวโดดๆ     แต่เป็นลักษณะ ร่วมกันของหลายๆพรรคและกลุ่มการเมือง   ทั้งพรรคก้าวหน้า  เป็นกลาง   และพวกอนุรักษ์ปีกซ้าย   ที่ต้องการโค่นล้มระบอบอัตตาธิปไตยของกษัตริย์ลงเพื่อสถาปนาประชาธิปไตย    
ขบวนการปฏิวัติจึงมีความสัมพันธ์กันในลักษณะ”แนวร่วม” ทั้งในรูปแบบของแนวร่วมทั่วไป (popular front) และแนวร่วมที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองสอดคล้องกัน (united front)     พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล(เหมาอิสต์)ที่มีกองกำลังเป็นของตนเองจึงมีเงื่อนไขการ ต่อรองสูง    ทำให้มีบทบาทเด่นกว่ากลุ่มการเมืองอื่นๆ

อนึ่งโดยสภาพภูมิศาสตร์   เนปาลเป็นประเทศที่ถูกประกบอยู่ระหว่างกลางของสองมหา อำนาจของเอเชียคือจีนและอินเดีย     ประชาชนประกอบด้วยเชื้อชาติต่างๆมากมายส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู    มีลักษณะพิเศษทางสังคมโดยเฉพาะระบบ ”วรรณะ” ยังฝังรากลึกอยู่ (สหายประจันดาก็มาจากตระกูลพราหมณ์ชั้นสูง)     มีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมกับอินเดียมายาวนานและถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมฮินดู โดยผ่านชนชั้นสูง    บรรดาปัญญาชนส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากอินเดียและประเทศตะวันตก      ต้องพึ่งพาอินเดียในแทบทุกด้านตั้งแต่อดีตจวบจนกระทั่งปัจจุบัน      เป็นประเทศเกษตรกรรมล้าหลังและยากจนมีปัญหาความขัดแย้งต่างๆในสังคมอีกมาก มาย    พรรคได้วิเคราะห์ดุลยภาพของตนแล้วว่าไม่อาจแข็งขืนผลักดันนโยบายที่ก้าว หน้าของตนเองโดยลำพังได้ในขณะนั้นๆ    จำต้องผ่อนปรนต่อผลประ โยชน์ที่ประนีประนอมได้กับของแนวร่วมของตนบ้างในบางเรื่อง     แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะยินยอมไปเสียทั้งหมดในทุกๆกรณีโดยไม่คำนึงถึงหลักการและนโยบายของตน

สาเหตุหนึ่งที่จำต้องผ่อนปรนก็เพราะภาระหน้าที่เฉพาะหน้าที่สำคัญแรกสุดของ พรรคฯคือต้องพิทักษ์หน่ออ่อนของการปฏิวัติไม่ให้ถูกทำลาย!!!     ไม่ว่าจะจากจักรพรรด์นิยมโดยตรง หรึอจากพวกปฏิปักษ์ปฏวัติที่หนุนหลังโดยจักรพรรดิ์นิยม    ดังนั้นการยินยอมให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ(อย่างที่ถูกวิจารณ์)


ในสายตาของคนภายนอกมี ความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาทั้งในแง่ของยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีและ หลักการด้วย ถ้าหากว่าการลงทุนของต่างชาติเป็นการลงทุนร่วมกับรัฐ    ผลประโยชน์ส่วนข้างมากตกเป็นของรัฐโดยรัฐถือหุ้นข้างมากก็ยังต้องถือว่าไม่ ผิดจากหลักการ   ไม่ใช่ได้ยินเพียงคำว่า ”ทุนนิยม” “การลงทุน” หรืออะไรที่เกี่ยวกับทุนแล้วหวาดผวาโดยไม่มีการไตร่ตรองพิจารณา    
หากเมื่อใดมีการเปิดโอกาสให้มีการลงทุนของภาคเอกชนทั้งต่างชาติและคนในชาติ ที่มีอัตรา ส่วนมากกว่าภาครัฐ    ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกเป็นของเอกชน  ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเนปาลโดยเฉพาะชนชั้นกรรมาชีพและผู้ยากไร้ถูก ละเลยไม่ได้รับการใส่ใจดูแลพัฒนายกระดับ     การขูดรีดยังดำรงอยู่โดยไม่ถูกแตะต้องยกเลิก      รายได้ของกรรมกรห่างจากรายได้ของผู้บริหารเป็นสิบๆเท่า และ ฯลฯ (อย่างสูงควรเป็นแค่ 1:4  ตามความเห็นของเลนิน) โดยพรรคฯไม่สนใจต่อสู้คัดค้าน    เมื่อนั้นไม่เพียงแต่จะได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์เท่านั้น   หากยังต้องได้รับการประณามอีกด้วยว่าทรยศต่อการปฏิวัติและต่อประชาชน    

ความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ    หลังการปฏิวัติประเทศที่ยากจนล้าหลังอย่างเนปาลจะอย่างไรก็ยังต้องติดต่อ สัมพันธ์ในด้านต่างๆกับประเทศทุนนิยมอื่นๆอยู่ดี     ไม่อาจโดดเดี่ยวตัวเองจากสังคมโลกได้โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ   ทั้งยังต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อการสร้างชาติจากประเทศทุนนิยมเหล่านั้นอยู่    
 สังคมนิยมไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีเพราะเทคโนยีไม่มีชนชั้น!!!    มันขึ้นอยู่ที่ว่าชนชั้นใดเป็นผู้ใช้   ใช้เพื่อสนองประโยชน์ของใครเท่านั้น    และในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามสร้างพลังวิริยภาพทางอัตวิสัยของประชาชนขึ้น มาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม-เทคโนโลยี บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองควบคู่ไปด้วย    

สังคม”สังคมนิยม”นั้นยังไม่มีใครไปถึง   รูปแบบของมันจึงไม่น่าจะมีความจำกัดว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้     การสร้างสังคมนิยมหลังการปฏิวัติคือการสร้างสังคมใหม่ขึ้นบนซากปรัก หักพังของสังคมเก่าที่ถูกโค่นล้มลงไปได้ไม่นาน   เศษเดนความคิดและวัฒนธรรมของมันยังหลงเหลืออยู่      ทั้งประชาชนเองก็ยังมีความเคยชินและมีความสัมพันธ์กับสิ่งเดิมๆเหล่านี้ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้     ปัจจัยหลักที่ไม่อาจละเว้นคือจะต้องปลดปล่อยประชาชนให้หลุดพ้นจากการครอบงำ ของเศษเดนความคิดและวัฒนธรรมเก่าที่หลงเหลืออยู่เหล่านี้ให้ได้    

สังคมนิยมไม่ใช่ลัทธิ ”เฉลี่ยสมบูรณ์”   คือไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์     หากแต่ต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากการกดขี่ขูดรีด   ทำให้ประชาชนมีความสุข   มีงานทำ   กินอิ่ม  นอนหลับ   มีปัจจัยในการดำรงชีวิตและมีหลักประกันอย่างเพียง พอ     การกักขังตัวเองอยู่ในกรอบทฤษฎีอย่างเคร่งครัดจนไม่ยอมกระดิกกระเดี้ยเพราะ กลัวผิดนั้น     ไม่ใช่เป็นการแสดงความซื่อสัตย์ต่อหลักการของสังคมนิยมแต่อย่างใด     หากแต่เป็นเพียงซื่อตรงต่อตัวอักษรที่เขียนไว้เท่านั้น      อีก ทั้งยังละเมิดกฎเกณฑ์ของปรัชญาวัตถุนิยมวิภาษที่ว่า “สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลง พัฒนา ตลอดเวลา” อีกด้วย      และมันก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรมที่ล้ำเลิศและเป็นผลดีต่อการ ปฏิวัติแต่อย่างใด     หากจะเป็นการฉุดรั้งทำลายการปฏิวัติเสียมากกว่า    

ขอเพียงยึดมั่นในหลักการของลัทธิมาร์กซ   มั่นคงในจิตสำนึกและจุดยืนของชนชั้นกรรมาชีพ     ถนัดที่จะศึกษาพัฒนาทฤษฎีแล้วนำไปประยุกต์ ใช้ให้เป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติ    การสร้างสังคมนิยมจึงจะมีความเป็นไปได้
สิ่งที่ชนชั้นนายทุนประสบความสำเร็จอย่างมากมายในหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็คือ    พวกเขาได้สร้างระบบความคิดและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง   ได้สร้างปัญญาชนของชนชั้นตนขึ้นมาในทุกๆด้านและสามารถนำมาใช้งานได้อย่าง เต็มประสิทธิภาพ    แล้วคนที่คิดว่าตัวเองเป็นชาวมาร์กซนั้นจะสามารถสร้างปัญญาชนของชนชั้น กรรมาชีพที่มีจิตสำนึกปฏิวัติและความเข้มแข็งทางทฤษฎีขึ้นมาเพื่อสร้าง สังคม”สังคมนิยม” ได้อย่างไร?   
หากยังไม่ยอมพัฒนาความคิด   ไม่ยอมยกระดับจิตสำนึก   แม้แต่หลักการสำคัญทางทฤษฎีก็ยังไม่อาจยึดกุมได้     โปรดอย่าลืมว่า ชั้นปกครองไม่ได้นิ่งเฉยอยู่บนความประมาทแต่อย่างใด...พวกเขามีการ พัฒนา!!!!!

ด้วยความปรารถนาดี   แก้ว กรรมกร  แนวร่วมสหกรรมาชีพ


ที่มา redsiam

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น