News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้

อ้างอิง: http://www.bangkokpost.com/news/politics/217766/reds-unfazed-after-icc-says-it-can-t-help

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554



แปลโดย: ดวงจำปา

นปช พยายามวิเคราะห์ หนทางอื่นๆ ต่อการยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์

การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงต่อการปฎิญญาว่าจะต่อสู้ต่อไปกับฝ่ายรัฐบาลถึงแม้ว่าจะได้รับทราบจากศาลอาญาระหว่างประเทศ (องค์กร ไอซีซี) ว่า ทางศาลไม่สามารถที่จะช่วยกลุ่มเขาได้ เพื่อปฎิบัติการฟ้องร้องต่อรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ในเรื่องข้อหาการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มคนที่วิจารณ์ทั้งหลาย

ผู้สนับสนุนของทางฝ่ายเสื้อแดงได้ยกมือและแกว่งรูปตีนตบระหว่างการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อคืนที่ผ่านมา ฝ่ายเสื้อแดงซึ่งต่อต้านรัฐบาลได้เดินทางจากสี่แยกราชประสงค์มายังที่อนุสาวรีย์นี้ในตอนกลางวันและคาดว่าคงจะสลายตัวไปก่อนเวลาเที่ยงคืนของเมื่อคืนที่ผ่านมานี้

ประธานขององค์กรแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) คุณธิดา ถาวรเศรษฐ์ กล่าวเมื่อวานนี้ว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้สามารถตามไปยังหนทางสากลอื่นๆ ได้ หลังจากที่ตัวแทนขององค์กร ไอซีซี ได้ระบุว่า ทางศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเขตอำนาจของศาลในการตัดสินเรื่อง “อาชญากรรมทางการเมือง” ในประเทศไทย

คุณธิดาและคุณจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎาของพรรคเพื่อไทยและเป็นแกนนำของ นปช ได้พบกับ ท่าน ฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล ซึ่งเป็นรองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศคนที่สองเมื่อวานนี้ เพื่อสนทนาถึงขอบเขตของอำนาจศาล ในความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย

การประชุมกันได้เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่ทางฉากหลังนั้น มีการชุมนุมครั้งใหญ่ของทางฝ่ายเสื้อแดงนับหมื่นคน ซึ่งอยู่ที่สี่แยกราชประสงค์ในตอนบ่าย ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน การจราจรกลายเป็นอัมพาตไปบนถนนเพชรบุรีและในพื้นที่ใกล้เคียง

แกนนำฝ่ายเสื้อแดงได้ประกาศว่า พวกเขาตกลงที่จะทำการชุมนุมกันเพียงเดือนละครั้ง แทนที่จะเป็นเดือนละสองครั้ง ตามที่เคยกระทำกันมาก่อน

ท่านคาอูลกล่าวกับ คุณธิดาและคุณจตุพรว่า ประเทศไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทางประเทศไทยเอง ก็ยังไม่ได้ลงนามให้สัตยาบันกับสนธิสัญญาซึ่งประเทศตนเองได้ลงนามไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2543

เขายังได้อธิบายต่อไปว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศมีกฎเกณฑ์อย่างไรและได้แสดงให้แกนนำทั้งสองได้เห็นหนังสือของแนวทางการปฎิบัติ ท่านคาอูลปฎิเสธที่จะสนทนาเกี่ยวกับประเด็นการเมืองของประเทศไทย

คุณธิดาและคุณจตุพรพยายามอธิบายถึงรากของปัญหาซึ่งนำไปสู่ความรุนแรง ที่ทำให้ประชาชนสูญเสียชีวิตไป 93 คนในเดือนเมษายน และ เดือน พฤษภาคม ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2553 – ผู้แปล) เมื่อผู้ประท้วงฝ่ายเสื้อแดงพยายามกระทำการล้มล้างรัฐบาล เอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย คุณเฮนริช ชูมัคเกอร์ ได้เข้ามาร่วมการสนทนาครั้งนี้ด้วย ซึ่งเกิดขึ้น ข้างนอกห้องประชุมขององค์กร ไอซีซี ที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน

“เราได้รับทราบว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ทาง องค์กร ไอซีซีจะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับวินิจฉัยในกรณีของการกวาดล้างกับผู้ประท้วงฝ่ายเสื้อแดง” คุณธิดาได้กล่าว

“แต่เราไม่ได้หมดกำลังใจในเรื่องของข้อจำกัดทางเทคนิค เราสามารถติดตามหาหนทางอื่นๆ เกี่ยวกับทางต่างประเทศได้ ในการนำเอารัฐบาลนี้ให้เข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม”

ผู้มีความเห็นใจกับทางฝ่ายเสื้อแดงหวังว่า องค์กร ไอซีซี จะยอมรับนำเอาคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลนี้ เข้ามาทำการพิจารณาความ

ทางฝ่ายตำรวจได้กล่าวว่า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ รอบๆ สี่แยกราชประสงค์ ได้เปิดทำการอย่างเป็นปรกติระหว่างการชุมนุมของฝ่ายเสื้อแดงเมื่อวานนี้ คุณจตุพรได้กล่าวว่า แกนนำเสื้อแดงมีแผนที่จะแจ้งให้กับผู้ร่วมชุมนุมที่ถนนราชดำเนินได้ทราบ จนกระทั่งถึงเวลาเที่ยงคืนก่อนที่จะสลายตัวไป

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรีได้กล่าวกับ นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่โดยการผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ป้องกันการนองเลือดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นระหว่างฝ่าย นปช กับ กลุ่มคู่ปรับคือ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

กลุ่มพันธมิตรฯ จะดำเนินการชุมนุมในวันพรุ่งนี้ที่สะพานมัฆวานใกล้กับทำเนียบรัฐบาลและนายตำรวจบางคนมีความหวั่นวิตกว่า ทางฝ่ายเสื้อแดงอาจจะเดินมาเผชิญหน้ากัน ฝ่ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ได้มีคำสั่งให้ควบคุมผู้ชุมนุมทั้งสองกลุ่มนี้ ให้ออกมาไกลจากสถานที่ราชการอันสำคัญรวมไปถึงอาคารรัฐสภาด้วย



ความเห็นของผู้แปล:

บทความนี้ ได้ถูกตีพิมพ์อยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เป็นหัวข้อเล็กๆ แต่เราไม่ทราบจากรายละเอียดเลยว่า ทางศาลอาญาระหว่างประเทศ เขาไม่สามารถพิจารณาคดีเรื่องเหล่านี้ได้
คุณจตุพรและคุณธิดาทราบเรื่องนี้เป็นอย่างดีมาเกือบปีหนึ่งแล้ว

แต่ทำไมทางพรรคเพื่อไทย ถึงส่ง สส สุนัยไปที่ ไอซีซี อีกล่ะคะ? สส สุนัยไม่ได้รับข้อมูลจาก คุณจตุพรหรือ?

อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า สื่อหลักภาษาไทย ไม่ได้ลงรายละเอียดในเรื่องนี้เช่นเคย

ยังไม่สายจนเกินไปนะคะ แต่อยากจะทราบสักนิดหนึ่งว่า เวลาผ่านมาเกือบหนึ่งปีแล้ว ทางคุณธิดาและคุณจตุพร พบหนทางอื่นๆ อย่างที่กล่าวแล้วหรือยังคะ ในการแสวงหาความยุติธรรมให้กับพี่น้องเสื้อแดงที่ถูกสังหารในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2553?

ดิฉันคิดว่า ท่านทั้งสองคงไม่ได้กล่าวเรื่องนี้ต่อประชาชนที่ไปชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อคราวนั้นนะคะ ไม่อย่างนั้น เราคงจะได้รู้เรื่องตั้งแต่คราวนั้นแล้ว....

หวังว่าในการประชุมหรือระดมพลครั้งต่อไป ทาง นปช คงจะไม่ต้องอ้างเรื่อง ไอซีซี แล้วนะคะ

ดวงจำปา



ลิงค์ของบทความเกี่ยวเนื่อง:
บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย

บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว

บทความแปล: ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา

ที่มา internetfreedom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น