Fri, 2011-12-09 20:21
ทีมข่าวการเมือง
กรณีการตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือนของโจ กอร์ดอน เป็นที่กล่าวขานอีกครั้งหลังกระแส “อากง” เกินขึ้นไม่นาน โดยวานนี้ (8 ธ.ค.) มีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศมาเฝ้าทำข่าวและถ่ายรูปโจระหว่างเดินลงจากรถควบคุมผู้ต้องขังไปยังห้องขังรวมใต้ถุนศาลอาญา โดยโจ ในชุดนักโทษและใส่ตรวนที่ขาได้กล่าวทักทายกองทัพผู้สื่อข่าวสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Thank you for coming”
บรรยายกาศภายในห้องพิจารณาคดี 812 มีผู้คนล้นจนไม่มีที่นั่ง ทั้งผู้สนใจติดตามคดี เจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกา นักข่าว รวมถึงเพื่อนสนิทของโจที่ใครๆ เรียกว่า “พี่นุช” ซึ่งเป็นบุคคลที่คอยดูแลโจตลอดเวลา 199 วันที่ถูกคุมขัง (นับถึงวันพิพากษา) โดยเธอขับรถจากนครราชสีมาเข้ากรุงเทพฯ เกือบทุกวัน สำหรับคนในครอบครัวของเขา ไม่มีใครเข้าร่วมรับฟังคำพิพากษาในครั้งนี้
เมื่อผู้พิพากษานั่งบัลลังก์ หนึ่งในนั้นได้สอบถามโจเกี่ยวกับคำให้การต่อพนักงานที่ทำการสืบเสาะพฤติการณ์ตามคำสั่งศาลไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากเขาให้การไว้ว่า 1.ไม่เคยสนใจการเมืองไทยมาก่อน 2.ไม่เคยรู้จักกับใครทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง 3.ไม่ใช่นายสิน แซ่จิ้ว [เจ้าของบล็อกที่ถูกฟ้อง] และ 4.ไม่เคยโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาอธิบายว่า การให้การเช่นนี้ขัดกับการรับสารภาพของเขา ทำให้ทนายความส่วนตัวรีบออกมาแจ้งต่อศาลว่า คำให้การนี้หมายถึงในกรณีอื่น นอกเหนือจากกรณีที่ถูกฟ้องนี้ จากนั้นโจจึงได้ยืนยันต่อศาลว่า เป็นดังที่ทนายความชี้แจง
สภาพลักลั่นในช่วงแรกเกิดขึ้นนี้ อาจเป็นดังที่โจ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศนับสิบคนที่ (นั่งยองๆ) ล้อมวงสัมภาษณ์เขากันสดๆ ทันทีหลังฟังคำพิพากษา ว่า เขาไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการยุติธรรมเท่าไรนัก และในการมาฟังคำพิพากษาในวันนี้เขาก็ไม่ได้คาดหวังอะไรเป็นพิเศษกับประเทศนี้ (เหตุการณ์ล้อมวงสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ระหว่างรอเจ้าหน้าที่พิมพ์รายงาน ซึ่งผู้พิพากษาก็ไม่ได้ว่ากล่าวแต่อย่างใด)
“มันทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ช่วงหนึ่งที่เขาตอบคำถามนักข่าว
ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการในห้องพิจารณาคดี นักข่าวพากันรุมซักถาม อานนท์ นำภา ทนายความ โดยมีนักข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศบางคนถามว่าข้อความที่หมิ่นคืออะไร ซึ่งทำให้นักข่าวอาวุโสพากันหัวเราะและแซวทนายความ ว่าหากทนายตอบคำถามนี้ อาจต้องเป็นจำเลยเสียเอง อย่างไรก็ตาม อานนท์ ระบุว่าข้อความในบล็อกนั้นเป็นข้อความทางวิชาการ และแปลเนื้อหาในหนังสือ The King Never Smiles บางบท
หากใครเคยเข้าไปอ่านบล็อกดังกล่าวก่อนจะถูกทางการปิดกั้นก็จะเห็นว่า มีการเขียนบรรยายว่า เป็นไปเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในอีกด้านหนึ่งของประเทศไทย พร้อมทั้งกำชับให้ผู้อ่านให้อ่านเชิงอรรถเพื่อพิจารณาว่าข้อสรุปของผู้เขียน Paul M. Handley เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด
นอกจากนี้ทนายความยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า กรณีนี้นับว่าได้รับโทษน้อยที่สุดเพียง 2 ปีครึ่งจากโทษเต็ม 5 ปี เพราะโดยปกติคดีหมิ่นที่ผ่านๆ มามีฐานของโทษต่อหนึ่งกรรมอยู่ที่ 6 ปี และ 10 ปี
ขณะที่นางอลิซาเบธ แพรตต์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาที่มาร่วมฟังคำพิพากษาตอบคำถามผู้สื่อข่าวในเรื่องโทษว่า ไม่ว่าจะอย่างไรมันก็ยังเป็นโทษที่หนักมากสำหรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
000000
ไม่กี่ชั่วโมงถัดจากนั้น เฟซบุ๊คก็เริ่มเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรณีนี้ หลายคำถามก่อเกิด เนื่องจากรายงานข่าวก็ไม่ได้ระบุที่มาที่ไปของความผิด ทั้งนี้ก็เนื่องจากศาลมิได้อ่านทวนคำฟ้องของโจทก์ให้นักข่าวได้รายงาน
คำถามหลักอันหนึ่งของเรื่องนี้ อาจดูได้จากข้อความในเฟซบุ๊คของสาวตรี สุขศรี แห่งกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นข้อสังเกตได้รับการ share อย่างกว้างขวาง
อย่างไรก็ตาม ในคำฟ้องของโจทก์ระบุการฟ้องร้องอยู่หลายประเด็น แต่ยังคงให้น้ำหนักกับหนังสือต้องห้ามดังกล่าว ทำให้คำถามต่อหนังสือ The King Never Smiles ยังเป็นคำถามใหญ่ที่ยังไม่มีความชัดเจน
คำฟ้องลงวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ1 สำนักงานอัยการสูงสุด กับนายเลอพงษ์ (สงวนนามสกุล) หรือ สิน แซ่จิ้ว หรือ นายโจ กอร์ดอน
โดยระบุว่า ราชอาณาจักรไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระภัทรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และทรงอยู่เหนือคำติชมใดๆ ทั้งปวง เมื่อระหว่างวันที่ 2 พ.ย.50 ถึงวันที่ 24 พ.ค.54 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย โดยบังอาจนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เกี่ยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ลงในเว็บบล็อกไทยทีเคเอ็นเอสยูเอสเอ (ตามคำฟ้องระบุเป็น url – หมายหตุโดยประชาไท) และจำเลยยังทำจุดเชื่อมโยงให้บุคคลที่เข้าเว็บบอร์ดคนเหมือนกันทำการดาวน์โหลด โดยจำเลยใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว และมีคำนิยามเกี่ยวกับตัวเองว่า “กูไม่ใช่ฝุ่น....” (เซ็นเซอร์โดยประชาไท) และจำเลยอ้างตัวเป็นผู้แปลหนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรชื่อ “The King Never Smiles” (กษัตริย์ผู้ไม่เคยยิ้ม) จากฉบับภาษาอังกฤษเป็นฉบับภาษาไทย และจำเลยนำข้อความซึ่งเป็นคำแปลดังกล่าวลงเผยแพร่ในเว็บบอร์ดดังกล่าว ทำการเผยแพร่บทความที่มีลักษณะกล่าวพาดพิงวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์
ต่อมาจำเลยได้ทำความเชื่อมโยงเพื่อเผยแพร่หรือส่งต่อข้อความซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักรลงในเว็บไซต์ชุมชนฟ้าเดียวกัน หรือเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าไปอ่านคำแปลในเว็บบล็อกดังกล่าว
จำเลยได้นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยเขียนบทความลงในเว็บบล็อกบาทเดียว (ในคำฟ้องระบุเป็น url – หมายเหตุประชาไท) ซึ่งมีข้อความ...... (เนื่องจากไม่สามารถเผยแพร่ข้อความซ้ำได้ จึงต้องสรุปความ– ประชาไท) เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิวัติวัฒนธรรมโบราณ และสถานการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยในช่วงผลัดเปลี่ยนรัชกาล
คำฟ้องระบุว่า การกระทำของจำเลยยังเป็นการทำให้ข้อมูลดังกล่าวปรากฏแก่ประชาชนอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต และเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
สำหรับต้นเรื่องของคดีความ ในคำร้องขอฝากขังครั้งที่หนึ่ง ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษยื่นต่อศาลนั้นได้ระบุไว้ว่า คดีพิเศษดังกล่าวเป็นกรณีเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร สำนักงานอัยการสูงสุด มีหนังสือที่ อส 0025 (กต3)/9060 ลงวันที่ 28 ก.ค.53 มอบหมายให้พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ และพนักงานอัยการที่อัยการสูงสุดมอบหมาย
คำร้องยังระบุถึงผู้กล่าวหาด้วยว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพันเอก วิจารณ์ จดแตง เป็นผู้กล่าวหาที่ 1 ร่วมกับนายเกริกไชย ศรีศุกร์เจริญ จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร้องทุกข์กล่าวหาต่อพนักงานสอบวนคดีพิเศษ
ในคำบรรยายการกระทำความผิดของผู้ต้องหาในเอกสารดังกล่าวได้กล่าวถึงบล็อกบาทเดียวและเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน โดยระบุว่านายสิน แซ่จิ้ว เป็นเจ้าของบล็อกบาทเดียวที่เผยแพร่เนื้อหาการแปลหนังสือเล่มนี้ และนำไปลิงก์ไปเผยแพร่ในเว็บบอร์ด
0000000
ก่อนหน้าที่จะถึงวันตัดสิน เราเข้าไปเยี่ยมเขาหลายครั้งในเรือนจำ เขาเป็นคนบุคลิกสุขุม และไม่ค่อยพูด ในช่วงแรกที่ถูกคุมขัง เขาป่วยหนักจากโรคเก๊าต์ และมีสภาพที่ย่ำแย่ทั้งจิตใจและร่างกาย จนต้องมีนักโทษพยุงปีกซ้ายขวามาพบญาติเนื่องจากเก๊าต์กำเริบหนัก ช่วงแรกโจไม่สามารถปรับตัวกับสภาพในเรือนจำได้ และไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำที่จัดให้ได้เลย กระทั่ง “พี่นุช” คอยขับรถระยะทางกว่า 200 กม. มาซื้อของกินของใช้ให้โดยตลอด จนเขาค่อยๆ ปรับตัวได้ในที่สุด
ในช่วงแรกเขาดูตั้งใจจะต่อสู้คดี แต่ผ่านมาระยะหนึ่ง พร้อมกับความพยายามประกันตัวนับสิบครั้ง ทำให้เขาตัดสินใจรับสารภาพ
เรื่องการไม่ได้ประกันตัวเป็นสิ่งที่โจเข้าใจไม่ได้ และมักจะพูดถึงมันเสมอ เขาว่าที่อเมริกาไม่มีทางทำแบบนี้ เพราะเขายังไม่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดแต่อย่างใด
โจป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย และไม่ค่อยไปรับยาที่โรงพยาบาลในเรือนจำ เจ้าหน้าที่จากสถานทูตอเมริกาที่คอยเข้าเยี่ยมเขาเป็นระยะบอกกับเขาว่าอย่างไรเสียเขาควรไปรับยาที่โรงพยาบาล คำตอบจากโจคือ การไปรับยานั้นต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันรอคิว นอกจากนี้เขายังรับไม่ได้กับการปฏิบัติต่อคนนักโทษจากบุคคลากรที่นั่น
โจ ใช้ชีวิตอยู่อเมริกานาน เกือบ 30 ปี อาจจะนานเกินไปจนทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนอเมริกันมากกว่าคนไทย เขาเดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อราว 2 ปีก่อน เนื่องจากภรรยาของเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และเขาเองต้องการกลับมารักษาตัวในประเทศบ้านเกิดซึ่งค่ารักษาพยาบาลถูกกว่ามาก
“รู้สึกยังไงกับประเทศไทย” คำถามผ่านผนังกระจกกั้นในห้องเยี่ยม
“ประเทศนี้ดีทุกอย่าง แต่คนไทยเป็นคนไม่ยอมรับความจริง” “มองจากข้างนอกบรรยากาศเหมือนจะเปิดกว้าง แต่จริงๆ แล้ว ...ไม่” คำตอบลอดผ่านผนังกระจกกลับมา
เมื่อกลับมาอยู่บ้านที่จังหวัดนครราชสีมา โจหารายได้เล็กๆ น้อยๆ จากการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ที่สนใจ และมีงานอดิเรกเป็นการถ่ายภาพ จนกระทั่งถูกจับกุม ซึ่งในวันจับกุมเขาระบุว่าบ้านพี่น้องที่อยู่นอกเหนือหมายจับก็ถูกรื้อค้นด้วยเช่นเดียวกัน
เนื่องจากจำเลยตัดสินใจไม่ต่อสู้คดี ทำให้ผู้ที่สนใจติดตามกรณีนี้ซึ่งเกี่ยวพันกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ไม่สามารถหาคำตอบในการเชื่อมโยงสู่การจับกุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งหมดกระทำการในสหรัฐอเมริกา
สำหรับคำถามหลักๆ ของการสืบเสาะ โจระบุว่า เจ้าหน้าที่ถามเขาหลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่มีทางที่คนจะถามกันในประเทศที่เขาอยู่ นอกจากนี้ยังถามเขาว่า รู้จักกับทักษิณใช่ไหม, รู้จักแกนนำคนใดบ้าง ฯลฯ ซึ่งมันสร้างความประหลาดใจให้เขามากพอควร
00000000
ก่อนวันพิพากษา มีคนถามถึงความคาดหวังของผู้แปลหนังสือของสำนักพิพม์ Yale เล่มนี้
เขาบอกว่าเขาอยากกลับ “บ้าน” แล้วก็เล่าถึงบรรยากาศในรัฐโคโลลาโด สถานที่ที่เขาชอบไปซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่อยู่บนภูเขาที่เงียบสงัด
“ผมอยากกลับไปให้ทันวัน Thanksgiving ผมอยากกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบ”
วันขอบคุณพระเจ้าคือวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ..มันเลยมาแล้ว และไม่มีใครรู้ว่าเขาจะได้กลับเมื่อไร
***หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก อานนท์ นำภา สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ที่มา prachatai
ทีมข่าวการเมือง
กรณีการตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือนของโจ กอร์ดอน เป็นที่กล่าวขานอีกครั้งหลังกระแส “อากง” เกินขึ้นไม่นาน โดยวานนี้ (8 ธ.ค.) มีผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศมาเฝ้าทำข่าวและถ่ายรูปโจระหว่างเดินลงจากรถควบคุมผู้ต้องขังไปยังห้องขังรวมใต้ถุนศาลอาญา โดยโจ ในชุดนักโทษและใส่ตรวนที่ขาได้กล่าวทักทายกองทัพผู้สื่อข่าวสั้นๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า “Thank you for coming”
บรรยายกาศภายในห้องพิจารณาคดี 812 มีผู้คนล้นจนไม่มีที่นั่ง ทั้งผู้สนใจติดตามคดี เจ้าหน้าที่สถานทูตอเมริกา นักข่าว รวมถึงเพื่อนสนิทของโจที่ใครๆ เรียกว่า “พี่นุช” ซึ่งเป็นบุคคลที่คอยดูแลโจตลอดเวลา 199 วันที่ถูกคุมขัง (นับถึงวันพิพากษา) โดยเธอขับรถจากนครราชสีมาเข้ากรุงเทพฯ เกือบทุกวัน สำหรับคนในครอบครัวของเขา ไม่มีใครเข้าร่วมรับฟังคำพิพากษาในครั้งนี้
เมื่อผู้พิพากษานั่งบัลลังก์ หนึ่งในนั้นได้สอบถามโจเกี่ยวกับคำให้การต่อพนักงานที่ทำการสืบเสาะพฤติการณ์ตามคำสั่งศาลไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากเขาให้การไว้ว่า 1.ไม่เคยสนใจการเมืองไทยมาก่อน 2.ไม่เคยรู้จักกับใครทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง 3.ไม่ใช่นายสิน แซ่จิ้ว [เจ้าของบล็อกที่ถูกฟ้อง] และ 4.ไม่เคยโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ผู้พิพากษาอธิบายว่า การให้การเช่นนี้ขัดกับการรับสารภาพของเขา ทำให้ทนายความส่วนตัวรีบออกมาแจ้งต่อศาลว่า คำให้การนี้หมายถึงในกรณีอื่น นอกเหนือจากกรณีที่ถูกฟ้องนี้ จากนั้นโจจึงได้ยืนยันต่อศาลว่า เป็นดังที่ทนายความชี้แจง
เมื่อเป็นที่เข้าใจตรงกัน ผู้พิพากษาจึงอ่านคำตัดสินระบุว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , มาตรา 116 (2),(3) และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3),(5) ลงโทษตามมาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักที่สุด จำคุก 5 ปี จำเลยรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน ริบของกลาง
สภาพลักลั่นในช่วงแรกเกิดขึ้นนี้ อาจเป็นดังที่โจ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศนับสิบคนที่ (นั่งยองๆ) ล้อมวงสัมภาษณ์เขากันสดๆ ทันทีหลังฟังคำพิพากษา ว่า เขาไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการยุติธรรมเท่าไรนัก และในการมาฟังคำพิพากษาในวันนี้เขาก็ไม่ได้คาดหวังอะไรเป็นพิเศษกับประเทศนี้ (เหตุการณ์ล้อมวงสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าผู้พิพากษาที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ระหว่างรอเจ้าหน้าที่พิมพ์รายงาน ซึ่งผู้พิพากษาก็ไม่ได้ว่ากล่าวแต่อย่างใด)
“มันทำให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น” ช่วงหนึ่งที่เขาตอบคำถามนักข่าว
ภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการในห้องพิจารณาคดี นักข่าวพากันรุมซักถาม อานนท์ นำภา ทนายความ โดยมีนักข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศบางคนถามว่าข้อความที่หมิ่นคืออะไร ซึ่งทำให้นักข่าวอาวุโสพากันหัวเราะและแซวทนายความ ว่าหากทนายตอบคำถามนี้ อาจต้องเป็นจำเลยเสียเอง อย่างไรก็ตาม อานนท์ ระบุว่าข้อความในบล็อกนั้นเป็นข้อความทางวิชาการ และแปลเนื้อหาในหนังสือ The King Never Smiles บางบท
หากใครเคยเข้าไปอ่านบล็อกดังกล่าวก่อนจะถูกทางการปิดกั้นก็จะเห็นว่า มีการเขียนบรรยายว่า เป็นไปเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์ในอีกด้านหนึ่งของประเทศไทย พร้อมทั้งกำชับให้ผู้อ่านให้อ่านเชิงอรรถเพื่อพิจารณาว่าข้อสรุปของผู้เขียน Paul M. Handley เชื่อถือได้หรือไม่เพียงใด
นอกจากนี้ทนายความยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า กรณีนี้นับว่าได้รับโทษน้อยที่สุดเพียง 2 ปีครึ่งจากโทษเต็ม 5 ปี เพราะโดยปกติคดีหมิ่นที่ผ่านๆ มามีฐานของโทษต่อหนึ่งกรรมอยู่ที่ 6 ปี และ 10 ปี
ขณะที่นางอลิซาเบธ แพรตต์ กงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาที่มาร่วมฟังคำพิพากษาตอบคำถามผู้สื่อข่าวในเรื่องโทษว่า ไม่ว่าจะอย่างไรมันก็ยังเป็นโทษที่หนักมากสำหรับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
000000
ไม่กี่ชั่วโมงถัดจากนั้น เฟซบุ๊คก็เริ่มเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรณีนี้ หลายคำถามก่อเกิด เนื่องจากรายงานข่าวก็ไม่ได้ระบุที่มาที่ไปของความผิด ทั้งนี้ก็เนื่องจากศาลมิได้อ่านทวนคำฟ้องของโจทก์ให้นักข่าวได้รายงาน
คำถามหลักอันหนึ่งของเรื่องนี้ อาจดูได้จากข้อความในเฟซบุ๊คของสาวตรี สุขศรี แห่งกลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่งเป็นข้อสังเกตได้รับการ share อย่างกว้างขวาง
“กรณีโจ กอร์ดอน มีเรื่องน่าสนใจอีกดังนี้ 1) ตกลงหนังสือกษัตริย์ไม่เคยยิ้มมีเนื้อหาผิด 112 หรือไม่ ถ้าผิด ส่วนไหนผิด ? 2) การประกาศหนังสือต้องห้าม เป็นอำนาจของ ผบ.ตร โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ซึ่งต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย แต่เล่มนี้ไม่มีการประกาศตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีแต่คำสั่งตำรวจลอย ๆ ว่าห้าม มีผลทางกฎหมายหรือไม่ ? 3) ตาม พรบ.จดแจ้งฯ ถ้าฝ่าฝืน คือ สั่งหรือนำเข้ามาเพื่อเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ.. แต่ครั้งนี้ศาลจำคุก 5 ปี (สารภาพเลยลดเหลือ 2 ปีครึ่ง) หมายความว่าอะไร ตกลงผิด 112 ? ถ้าใช่ ย้อนกลับไปดูคำถามข้อ 1) ใหม่”
อย่างไรก็ตาม ในคำฟ้องของโจทก์ระบุการฟ้องร้องอยู่หลายประเด็น แต่ยังคงให้น้ำหนักกับหนังสือต้องห้ามดังกล่าว ทำให้คำถามต่อหนังสือ The King Never Smiles ยังเป็นคำถามใหญ่ที่ยังไม่มีความชัดเจน
คำฟ้องลงวันที่ 17 สิงหาคม 2554 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ1 สำนักงานอัยการสูงสุด กับนายเลอพงษ์ (สงวนนามสกุล) หรือ สิน แซ่จิ้ว หรือ นายโจ กอร์ดอน
โดยระบุว่า ราชอาณาจักรไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระภัทรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และทรงอยู่เหนือคำติชมใดๆ ทั้งปวง เมื่อระหว่างวันที่ 2 พ.ย.50 ถึงวันที่ 24 พ.ค.54 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย โดยบังอาจนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เกี่ยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา โดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ลงในเว็บบล็อกไทยทีเคเอ็นเอสยูเอสเอ (ตามคำฟ้องระบุเป็น url – หมายหตุโดยประชาไท) และจำเลยยังทำจุดเชื่อมโยงให้บุคคลที่เข้าเว็บบอร์ดคนเหมือนกันทำการดาวน์โหลด โดยจำเลยใช้นามแฝงว่า นายสิน แซ่จิ้ว และมีคำนิยามเกี่ยวกับตัวเองว่า “กูไม่ใช่ฝุ่น....” (เซ็นเซอร์โดยประชาไท) และจำเลยอ้างตัวเป็นผู้แปลหนังสือต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรชื่อ “The King Never Smiles” (กษัตริย์ผู้ไม่เคยยิ้ม) จากฉบับภาษาอังกฤษเป็นฉบับภาษาไทย และจำเลยนำข้อความซึ่งเป็นคำแปลดังกล่าวลงเผยแพร่ในเว็บบอร์ดดังกล่าว ทำการเผยแพร่บทความที่มีลักษณะกล่าวพาดพิงวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์
ต่อมาจำเลยได้ทำความเชื่อมโยงเพื่อเผยแพร่หรือส่งต่อข้อความซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักรลงในเว็บไซต์ชุมชนฟ้าเดียวกัน หรือเว็บไซต์ชุมชนคนเหมือนกัน เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าไปอ่านคำแปลในเว็บบล็อกดังกล่าว
จำเลยได้นำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยจำเลยเขียนบทความลงในเว็บบล็อกบาทเดียว (ในคำฟ้องระบุเป็น url – หมายเหตุประชาไท) ซึ่งมีข้อความ...... (เนื่องจากไม่สามารถเผยแพร่ข้อความซ้ำได้ จึงต้องสรุปความ– ประชาไท) เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิวัติวัฒนธรรมโบราณ และสถานการณ์ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมไทยในช่วงผลัดเปลี่ยนรัชกาล
คำฟ้องระบุว่า การกระทำของจำเลยยังเป็นการทำให้ข้อมูลดังกล่าวปรากฏแก่ประชาชนอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความเห็นหรือติชมโดยสุจริต และเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
สำหรับต้นเรื่องของคดีความ ในคำร้องขอฝากขังครั้งที่หนึ่ง ซึ่งพนักงานสอบสวนคดีพิเศษยื่นต่อศาลนั้นได้ระบุไว้ว่า คดีพิเศษดังกล่าวเป็นกรณีเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร สำนักงานอัยการสูงสุด มีหนังสือที่ อส 0025 (กต3)/9060 ลงวันที่ 28 ก.ค.53 มอบหมายให้พนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการ สำนักงานต่างประเทศ และพนักงานอัยการที่อัยการสูงสุดมอบหมาย
คำร้องยังระบุถึงผู้กล่าวหาด้วยว่า ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยพันเอก วิจารณ์ จดแตง เป็นผู้กล่าวหาที่ 1 ร่วมกับนายเกริกไชย ศรีศุกร์เจริญ จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร้องทุกข์กล่าวหาต่อพนักงานสอบวนคดีพิเศษ
ในคำบรรยายการกระทำความผิดของผู้ต้องหาในเอกสารดังกล่าวได้กล่าวถึงบล็อกบาทเดียวและเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน โดยระบุว่านายสิน แซ่จิ้ว เป็นเจ้าของบล็อกบาทเดียวที่เผยแพร่เนื้อหาการแปลหนังสือเล่มนี้ และนำไปลิงก์ไปเผยแพร่ในเว็บบอร์ด
0000000
ก่อนหน้าที่จะถึงวันตัดสิน เราเข้าไปเยี่ยมเขาหลายครั้งในเรือนจำ เขาเป็นคนบุคลิกสุขุม และไม่ค่อยพูด ในช่วงแรกที่ถูกคุมขัง เขาป่วยหนักจากโรคเก๊าต์ และมีสภาพที่ย่ำแย่ทั้งจิตใจและร่างกาย จนต้องมีนักโทษพยุงปีกซ้ายขวามาพบญาติเนื่องจากเก๊าต์กำเริบหนัก ช่วงแรกโจไม่สามารถปรับตัวกับสภาพในเรือนจำได้ และไม่สามารถรับประทานอาหารและน้ำที่จัดให้ได้เลย กระทั่ง “พี่นุช” คอยขับรถระยะทางกว่า 200 กม. มาซื้อของกินของใช้ให้โดยตลอด จนเขาค่อยๆ ปรับตัวได้ในที่สุด
ในช่วงแรกเขาดูตั้งใจจะต่อสู้คดี แต่ผ่านมาระยะหนึ่ง พร้อมกับความพยายามประกันตัวนับสิบครั้ง ทำให้เขาตัดสินใจรับสารภาพ
เรื่องการไม่ได้ประกันตัวเป็นสิ่งที่โจเข้าใจไม่ได้ และมักจะพูดถึงมันเสมอ เขาว่าที่อเมริกาไม่มีทางทำแบบนี้ เพราะเขายังไม่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดแต่อย่างใด
โจป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วย และไม่ค่อยไปรับยาที่โรงพยาบาลในเรือนจำ เจ้าหน้าที่จากสถานทูตอเมริกาที่คอยเข้าเยี่ยมเขาเป็นระยะบอกกับเขาว่าอย่างไรเสียเขาควรไปรับยาที่โรงพยาบาล คำตอบจากโจคือ การไปรับยานั้นต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันรอคิว นอกจากนี้เขายังรับไม่ได้กับการปฏิบัติต่อคนนักโทษจากบุคคลากรที่นั่น
โจ ใช้ชีวิตอยู่อเมริกานาน เกือบ 30 ปี อาจจะนานเกินไปจนทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนอเมริกันมากกว่าคนไทย เขาเดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อราว 2 ปีก่อน เนื่องจากภรรยาของเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และเขาเองต้องการกลับมารักษาตัวในประเทศบ้านเกิดซึ่งค่ารักษาพยาบาลถูกกว่ามาก
“รู้สึกยังไงกับประเทศไทย” คำถามผ่านผนังกระจกกั้นในห้องเยี่ยม
“ประเทศนี้ดีทุกอย่าง แต่คนไทยเป็นคนไม่ยอมรับความจริง” “มองจากข้างนอกบรรยากาศเหมือนจะเปิดกว้าง แต่จริงๆ แล้ว ...ไม่” คำตอบลอดผ่านผนังกระจกกลับมา
เมื่อกลับมาอยู่บ้านที่จังหวัดนครราชสีมา โจหารายได้เล็กๆ น้อยๆ จากการสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็กๆ รวมถึงผู้ใหญ่ที่สนใจ และมีงานอดิเรกเป็นการถ่ายภาพ จนกระทั่งถูกจับกุม ซึ่งในวันจับกุมเขาระบุว่าบ้านพี่น้องที่อยู่นอกเหนือหมายจับก็ถูกรื้อค้นด้วยเช่นเดียวกัน
เนื่องจากจำเลยตัดสินใจไม่ต่อสู้คดี ทำให้ผู้ที่สนใจติดตามกรณีนี้ซึ่งเกี่ยวพันกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ไม่สามารถหาคำตอบในการเชื่อมโยงสู่การจับกุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งหมดกระทำการในสหรัฐอเมริกา
สำหรับคำถามหลักๆ ของการสืบเสาะ โจระบุว่า เจ้าหน้าที่ถามเขาหลายอย่างเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่มีทางที่คนจะถามกันในประเทศที่เขาอยู่ นอกจากนี้ยังถามเขาว่า รู้จักกับทักษิณใช่ไหม, รู้จักแกนนำคนใดบ้าง ฯลฯ ซึ่งมันสร้างความประหลาดใจให้เขามากพอควร
00000000
ก่อนวันพิพากษา มีคนถามถึงความคาดหวังของผู้แปลหนังสือของสำนักพิพม์ Yale เล่มนี้
เขาบอกว่าเขาอยากกลับ “บ้าน” แล้วก็เล่าถึงบรรยากาศในรัฐโคโลลาโด สถานที่ที่เขาชอบไปซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่อยู่บนภูเขาที่เงียบสงัด
“ผมอยากกลับไปให้ทันวัน Thanksgiving ผมอยากกลับไปใช้ชีวิตที่เหลืออย่างสงบ”
วันขอบคุณพระเจ้าคือวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนพฤศจิกายน ..มันเลยมาแล้ว และไม่มีใครรู้ว่าเขาจะได้กลับเมื่อไร
***หมายเหตุ ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก อานนท์ นำภา สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ที่มา prachatai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น