โดย ศรีสองเมือง
คำว่า”ปฏิวัติ” นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากคุณภาพเก่าไปสู่คุณภาพใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลง ในระดับโครงสร้างพื้นฐานเลยทีเดียว เช่นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนจากระบอบสังคมที่ล้าหลังไปสู่สังคมที่ ก้าวหน้ากว่า หรือเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือจากระบบความคิดเก่าไปสู่ระบบความคิดใหม่
ส่วนการ ปฏิรูป นั้นหมายถึงการปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ใช่การเปลี่ยนไปสู่คุณภาพใหม่แต่อย่างใด จะลดหรือเพิ่มก็เพียงด้านปริมาณเท่านั้น
แนวคิดปฏิรูปจึงสามารถโน้มน้าวปัญญาชนนายทุนน้อยทั้งหลายให้เห็นดีเห็นงาม ไปด้วย พวกเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับคุณภาพที่ไม่ผ่านความรุนแรงนั้นมีความ เป็นไปได้ โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เลยว่ามันไม่เคยเป็นจริง ขอให้เรามาเปรียบเทียบคุณภาพของการปฏิรูปและการปฏิวัติว่ามันมีความแตกต่าง กันอย่างไร
หากเราต้องการต้มน้ำให้เดือดโดยใช้อุณหภูมิแค่ 40 องศา(c) น้ำจะค่อยๆสะสมอุณหภูมิให้สูงขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แต่จะไม่มีวันถึงจุดเดือดและกลาย เป็นไอได้เลย น้ำจะยังคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ เพียงแต่มีอุณหภูมิสูงขึ้นบ้างเท่านั้น ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ(กลายเป็นไอ)แต่อย่างใด เปรียบได้ดั่งแนวคิดของนักปฏิรูปที่ฝันถึงความค่อยเป็นค่อยไปและมีความหวัง ว่าถ้าเผด็จการทรราชล่วงไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีตามมา โดยมิได้คำนึงถึงการก้าวขึ้นมาแทนที่ของทรราชคนใหม่คนต่อไป และคนต่อไปเลย ดังนั้นแนวคิดปฏิรูปจึงไม่มีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสังคมได้ ทั้งนี้เพราะรากฐานและโครงสร้างทางอำนาจของเผด็จการดั้งเดิมยังคงดำรงอยู่ อย่างเหนียวแน่น แนวทางปฏิรูปจึงเป็นแค่เพียงความเพ้อฝันของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เปรียบใน สังคมเท่านั้น
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ผ่านมามันได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างเด่น ชัดว่า สังคมไทยภายใต้การครอบงำของลัทธิเผด็จการ หรือคนที่มีความคิดเผด็จการ หรือคนที่ยอมรับใช้เผด็จการตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนรากหญ้ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้นเลย ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของความยากจน หนี้สิน และความอยุติธรรมนานาชนิดท่ามกลางการกดขี่ ประเทศชาติมีหนี้สินพอกพูนขึ้นมากมาย ในขณะที่ชนชั้นปกครองและบริวารกลับมีความสุขและร่ำรวยขึ้นท่ามกลางความอด อยากยากจนของประชาชน
มันเป็นไปได้อย่างไร... ที่ประชาชนของประเทศซึ่งได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแห่งหนึ่ง ของโลก ต้องมาประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายถึงปานนี้ เท่านั้นไม่พอยังถูกยัดเยียดให้ซึมซับรับเอาค่านิยมสามานย์เพ้อฝันและถูก มอมเมาด้วยวัฒนธรรมที่ไร้สาระอีกด้วย พวกเขาผลิตคติธรรมคำพูดที่สละสลวยสวยงามขึ้นมาอย่างไม่ขาดสาย จากสติปัญญาของ ลูกหลานกรรมกรชาวนาที่ทรยศต่อชนชั้นเดิมของตน แต่ละวันเราจะพบเห็นได้ยินการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อที่เป็นองค์กรจัดตั้งของพวก เขา เพราะพวกเขามีเจตนาที่จะกักขังประชาชนให้ตกอยู่ในความมืดบอดทางปัญญาและ เป็นเบี้ยล่างที่สิ้นหวังไปตลอดชีวิต กดหัวให้ยอมเป็นเครื่องมือที่มีลมหายใจทำการผลิตปัจจัยต่างๆเพื่อการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยของพวกเขาเท่านั้น
สำหรับแนวคิดที่ว่าจะได้ประชาธิปไตยมาโดยร้องขอนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความคิดเพ้อฝันและไร้เดียงสาอย่างยิ่งในทางการเมือง ไม่แน่ว่าอีกกี่ชั่วคนจึงจะได้รับการตอบสนอง สำหรับประชาชนที่ตาสว่างแล้วจะไม่ยอมเลือกเส้นทางนี้อย่างเด็ดขาด แต่จะเพิ่มอุณหภูมิของการต่อสู้ให้สูงขึ้นจนกว่าถึงจุดเดือดเพื่อจะเปลี่ยน สถานะภาพของสังคมที่เลวร้ายให้กลายเป็นสังคมที่ดีงามของประชาซน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพจากสถานะเก่าไปสู่สถานะใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะปฏิวัติ!!!!! ต่อจากนั้นค่อยทำการปฏิรูป
การเพิ่มอุณหภูมิคืออะไร? ก็คือการเพิ่มนักปฏิบัติเข้าไปในหมู่ผู้นำมวลชนทุกระดับในขบวนแถวของ ประชาชน เป็นการแก้ปมทางยุทธศาสตร์ที่พวกเผด็จการพยายามสกัดกั้นทำลายหัวขบวนของ ประชาชน เพราะเขายังมีความเชื่ออย่างเก่าว่าเมื่อไม่มีหัวขบวนก็จะเคลื่อนไหวไม่ได้ เราจะเห็นได้ว่าความคิดนี้ได้แปรไปสู่การกระทำด้วยการพยายามคุกคามในรูปแบบต่างๆต่อ ผู้ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทุกๆระดับทั่วประเทศ ในอดีตมันอาจจะได้ผลแต่สำหรับปัจจุบันเงื่อนไขต่างๆไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นแล้ว เพียงเงื่อนไขของเวลาเพียงอย่างเดียวก็ได้ผลักดันให้สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงสาเหตุของ ”ความขัดแย้งภายใน” ของพวกเขา ประชาชนได้พัฒนาความรับรู้มากขึ้นและกำลังอยู่ในระยะสะสมปริมาณเพื่อจะก้าว ไปสู่คุณภาพใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
การที่มวลชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างมากมายมหาศาลนั้น ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยว่านี่เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แม้การเคลื่อน ไหวต่อสู้ที่ผ่านมาจะเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่ก่อให้เกิด”พลวัตร” ที่มากพอจะไปเอาชนะผู้กดขี่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างและยกระดับความรับรู้ของประชาชนขึ้นมาให้ถึงขั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยพื้นฐาน ต้องเอาจริงเอาจังกับปัญหานี้และต้องถือว่าเป็นภาระ หน้าที่ๆสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งไม่อาจละเลยได้ ยิ่งในขณะนี้ต้องถือว่ามันเป็นปัญหาใจกลางที่มีความสำคัญ
ในยามที่จิตใจสู้รบของมวลชนอยู่ในกระแสสูง จะต้องเร่งสร้างผู้ปฏิบัติ งานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการชี้ขาดชัยชนะขึ้นมาอย่างเร่งด่วน เสริมสร้างปัจจัยที่เป็นคุณและสิ่งที่ขาดหายไปขึ้นมาเพื่อพัฒนาดุลยภาพใน การต่อสู้ การสร้างตัวแทนของมวลชนในระดับต่างๆนั้นยังไม่เพียงพอ ต้องติดอาวุธทางปัญญาให้พวกเขาสามารถไปทำหน้าที่เป็นผู้นำความคิดทางการ เมืองและแนวทางการต่อสู้ที่ถูกต้องสอดคล้องกับภววิสัยให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย ต้องทำให้พวกเขาเป็นเมล็ดข้าวเปลือกทางปัญญา ตกที่ไหนก็จะงอกงามที่นั่น
ยังไม่สายที่จะ ปรับความคิด ปรับขบวน
เลือกแนวทางให้ชัดเจนว่าเป้าหมายในการต่อสู้คืออะไร ปฏิรูปหรือปฏิวัติ
ที่มา redsiam
คำว่า”ปฏิวัติ” นั้นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากคุณภาพเก่าไปสู่คุณภาพใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลง ในระดับโครงสร้างพื้นฐานเลยทีเดียว เช่นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนจากระบอบสังคมที่ล้าหลังไปสู่สังคมที่ ก้าวหน้ากว่า หรือเปลี่ยนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่ระบอบประชาธิปไตย หรือจากระบบความคิดเก่าไปสู่ระบบความคิดใหม่
ส่วนการ ปฏิรูป นั้นหมายถึงการปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังคงไว้ซึ่งลักษณะโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ใช่การเปลี่ยนไปสู่คุณภาพใหม่แต่อย่างใด จะลดหรือเพิ่มก็เพียงด้านปริมาณเท่านั้น
ใครก็ตามที่เสนอแนวทาง ”ปฏิรูป” ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ และอ้างว่ามันเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดสำหรับแก้ไขความขัดแย้งต่างๆในสังคมได้ สามารถสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขารักสันติ แท้จริงแล้วเป็นเพราะแนวทางนี้จะเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกเขาที่จะคงสถานะได้ เปรียบทางสังคมของตนเอาไว้ต่างหาก
แนวคิดปฏิรูปจึงสามารถโน้มน้าวปัญญาชนนายทุนน้อยทั้งหลายให้เห็นดีเห็นงาม ไปด้วย พวกเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับคุณภาพที่ไม่ผ่านความรุนแรงนั้นมีความ เป็นไปได้ โดยไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เลยว่ามันไม่เคยเป็นจริง ขอให้เรามาเปรียบเทียบคุณภาพของการปฏิรูปและการปฏิวัติว่ามันมีความแตกต่าง กันอย่างไร
หากเราต้องการต้มน้ำให้เดือดโดยใช้อุณหภูมิแค่ 40 องศา(c) น้ำจะค่อยๆสะสมอุณหภูมิให้สูงขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แต่จะไม่มีวันถึงจุดเดือดและกลาย เป็นไอได้เลย น้ำจะยังคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ เพียงแต่มีอุณหภูมิสูงขึ้นบ้างเท่านั้น ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพ(กลายเป็นไอ)แต่อย่างใด เปรียบได้ดั่งแนวคิดของนักปฏิรูปที่ฝันถึงความค่อยเป็นค่อยไปและมีความหวัง ว่าถ้าเผด็จการทรราชล่วงไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีตามมา โดยมิได้คำนึงถึงการก้าวขึ้นมาแทนที่ของทรราชคนใหม่คนต่อไป และคนต่อไปเลย ดังนั้นแนวคิดปฏิรูปจึงไม่มีความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสังคมได้ ทั้งนี้เพราะรากฐานและโครงสร้างทางอำนาจของเผด็จการดั้งเดิมยังคงดำรงอยู่ อย่างเหนียวแน่น แนวทางปฏิรูปจึงเป็นแค่เพียงความเพ้อฝันของคนกลุ่มหนึ่งที่ได้เปรียบใน สังคมเท่านั้น
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ผ่านมามันได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างเด่น ชัดว่า สังคมไทยภายใต้การครอบงำของลัทธิเผด็จการ หรือคนที่มีความคิดเผด็จการ หรือคนที่ยอมรับใช้เผด็จการตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนรากหญ้ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ขึ้นเลย ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของความยากจน หนี้สิน และความอยุติธรรมนานาชนิดท่ามกลางการกดขี่ ประเทศชาติมีหนี้สินพอกพูนขึ้นมากมาย ในขณะที่ชนชั้นปกครองและบริวารกลับมีความสุขและร่ำรวยขึ้นท่ามกลางความอด อยากยากจนของประชาชน
มันเป็นไปได้อย่างไร... ที่ประชาชนของประเทศซึ่งได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแห่งหนึ่ง ของโลก ต้องมาประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายถึงปานนี้ เท่านั้นไม่พอยังถูกยัดเยียดให้ซึมซับรับเอาค่านิยมสามานย์เพ้อฝันและถูก มอมเมาด้วยวัฒนธรรมที่ไร้สาระอีกด้วย พวกเขาผลิตคติธรรมคำพูดที่สละสลวยสวยงามขึ้นมาอย่างไม่ขาดสาย จากสติปัญญาของ ลูกหลานกรรมกรชาวนาที่ทรยศต่อชนชั้นเดิมของตน แต่ละวันเราจะพบเห็นได้ยินการโฆษณาชวนเชื่อผ่านสื่อที่เป็นองค์กรจัดตั้งของพวก เขา เพราะพวกเขามีเจตนาที่จะกักขังประชาชนให้ตกอยู่ในความมืดบอดทางปัญญาและ เป็นเบี้ยล่างที่สิ้นหวังไปตลอดชีวิต กดหัวให้ยอมเป็นเครื่องมือที่มีลมหายใจทำการผลิตปัจจัยต่างๆเพื่อการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยของพวกเขาเท่านั้น
สำหรับแนวคิดที่ว่าจะได้ประชาธิปไตยมาโดยร้องขอนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความคิดเพ้อฝันและไร้เดียงสาอย่างยิ่งในทางการเมือง ไม่แน่ว่าอีกกี่ชั่วคนจึงจะได้รับการตอบสนอง สำหรับประชาชนที่ตาสว่างแล้วจะไม่ยอมเลือกเส้นทางนี้อย่างเด็ดขาด แต่จะเพิ่มอุณหภูมิของการต่อสู้ให้สูงขึ้นจนกว่าถึงจุดเดือดเพื่อจะเปลี่ยน สถานะภาพของสังคมที่เลวร้ายให้กลายเป็นสังคมที่ดีงามของประชาซน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพจากสถานะเก่าไปสู่สถานะใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะปฏิวัติ!!!!! ต่อจากนั้นค่อยทำการปฏิรูป
การเพิ่มอุณหภูมิคืออะไร? ก็คือการเพิ่มนักปฏิบัติเข้าไปในหมู่ผู้นำมวลชนทุกระดับในขบวนแถวของ ประชาชน เป็นการแก้ปมทางยุทธศาสตร์ที่พวกเผด็จการพยายามสกัดกั้นทำลายหัวขบวนของ ประชาชน เพราะเขายังมีความเชื่ออย่างเก่าว่าเมื่อไม่มีหัวขบวนก็จะเคลื่อนไหวไม่ได้ เราจะเห็นได้ว่าความคิดนี้ได้แปรไปสู่การกระทำด้วยการพยายามคุกคามในรูปแบบต่างๆต่อ ผู้ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทุกๆระดับทั่วประเทศ ในอดีตมันอาจจะได้ผลแต่สำหรับปัจจุบันเงื่อนไขต่างๆไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ตรงนั้นแล้ว เพียงเงื่อนไขของเวลาเพียงอย่างเดียวก็ได้ผลักดันให้สรรพสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงสาเหตุของ ”ความขัดแย้งภายใน” ของพวกเขา ประชาชนได้พัฒนาความรับรู้มากขึ้นและกำลังอยู่ในระยะสะสมปริมาณเพื่อจะก้าว ไปสู่คุณภาพใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้
การที่มวลชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวอย่างมากมายมหาศาลนั้น ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลยว่านี่เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แม้การเคลื่อน ไหวต่อสู้ที่ผ่านมาจะเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่ก่อให้เกิด”พลวัตร” ที่มากพอจะไปเอาชนะผู้กดขี่ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องสร้างและยกระดับความรับรู้ของประชาชนขึ้นมาให้ถึงขั้นที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยพื้นฐาน ต้องเอาจริงเอาจังกับปัญหานี้และต้องถือว่าเป็นภาระ หน้าที่ๆสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งไม่อาจละเลยได้ ยิ่งในขณะนี้ต้องถือว่ามันเป็นปัญหาใจกลางที่มีความสำคัญ
ในยามที่จิตใจสู้รบของมวลชนอยู่ในกระแสสูง จะต้องเร่งสร้างผู้ปฏิบัติ งานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการชี้ขาดชัยชนะขึ้นมาอย่างเร่งด่วน เสริมสร้างปัจจัยที่เป็นคุณและสิ่งที่ขาดหายไปขึ้นมาเพื่อพัฒนาดุลยภาพใน การต่อสู้ การสร้างตัวแทนของมวลชนในระดับต่างๆนั้นยังไม่เพียงพอ ต้องติดอาวุธทางปัญญาให้พวกเขาสามารถไปทำหน้าที่เป็นผู้นำความคิดทางการ เมืองและแนวทางการต่อสู้ที่ถูกต้องสอดคล้องกับภววิสัยให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย ต้องทำให้พวกเขาเป็นเมล็ดข้าวเปลือกทางปัญญา ตกที่ไหนก็จะงอกงามที่นั่น
ยังไม่สายที่จะ ปรับความคิด ปรับขบวน
เลือกแนวทางให้ชัดเจนว่าเป้าหมายในการต่อสู้คืออะไร ปฏิรูปหรือปฏิวัติ
ที่มา redsiam
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น