"เสียครั้งแรกเกาะหมากจากแผนผัง
เขาเปลี่ยนเป็นปีนังจำได้ไหม
นั่นแหละจากขวานทองเล่มของไทย
หนึ่งร้อยกว่าตารางไมล์หลักฐานมี "
ครั้งที่ 1 เกาะหมาก(ปีนัง) เสียให้กับประเทศอังกฤษ เมื่อ 11 สิงหาคม 2329 พื้นที่ 375 ตร.กม. ในสมัย ร.1 เกิดจาก พระยาไทรบุรี ให้อังกฤษเช่าเกาะหมากเพื่อหวังจะขอให้อังกฤษคุ้มครองเกาะหมากจากกองทัพ ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งยกทัพมาจัดระเบียบหัวเมืองปักษ์ใต้ ในที่สุดอังกฤษก็ยึดเอาไป
"ครั้งที่สองเสียซ้ำยังจำได้
เสียมะริดและทวายตะนาวศรี
ปีสองพันสามร้อยยี่สิบหกโชคไม่ดี
เสียเนื้อที่กว่าสองหมื่นตารางไมล์ "
ครั้งที่ 2 มะริด ทวาย ตะนาวศรี ให้กับพม่า เมื่อ 16 มกราคม 2336 พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ในสมัย ร.1 แต่เดิมเป็นของไทยครั้งสมัยสุโขทัย มังสัจจา เจ้าเมืองทวายเป็นไส้ศึกให้พม่า รัชกาลที่ 1 ไม่สามารถตีคืนจากพม่าได้ ประกอบกับชาวเมืองทวายไม่พอใจกองทัพไทยที่เข้ายึดครอง จึงตกเป็นของพม่าไป
"ครั้งที่สามบันทายมาศถูกตัดเฉือน
แล้วเปลี่ยนเป็นฮาเตียนตั้งชื่อใหม่
ปีสองพันสามร้อยหกสิบสามแสนช้ำใจ
เสียเนื้อที่เท่าไรไม่ปรากฎในบทความ "
ครั้งที่ 3 บันทายมาศ(ฮาเตียน) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.2336 ในสมัยรัชกาลที่ 2
"ครั้งที่สี่เจ็บแค้นเสียแสนหวี
กินเนื้อที่ถึงเชียงตุงเหนือกรุงสยาม
ตั้งหกหมื่นตารางกิโลโถมันทำ
ใครสร้างกรรมเดี๋ยวนี้เห็นดีกัน"
ครั้งที่ 4 แสนหวี เมืองพง เชียงตุง ให้กับพม่าเมื่อ พ.ศ.2368 พื้นที่ 62,000 ตร.กม.ในสมัย รัชกาลที่ 3 แต่เดิมเราได้ดินแดนนี้มาในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยพระเจ้ากาวิละ ยกทัพไปตีมาขึ้นอยู่กับไทยได้ 20 ปี เนื่องจากเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกลประกอบกับเกิดกบฏเจ้าอนุเวียงจันทร์และ เกิดกบฏทางหัวเมืองปักษ์ใต้(กลันตัน ไทรบุรี) ไทยจึงห่วงหน้าพะวงหลัง ไม่มีกำลังใจจะยึดครอง หลังจากนั้นพม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เชียงตุงก็เป็นของอังกฤษโดยสิ้นเชิง
"ครั้งที่ห้ามาเสียรัฐเปรัค
เขาหาญหักผลักล้มเชือดคมขวาน
ปีสองพันสามร้อยหกสิบเก้าแสนร้าวราน
ต่างหยิบขวานขึ้นถือกู้ชื่อไทย "
ครั้งที่ 5 รัฐเปรัค ให้กับอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นการสูญเสียที่ทำร้ายจิตใจ คนไทยทั้งชาติ เพราะเป็นการสูญที่ห่างจากครั้งก่อนไม่ถึง 1 ปี
"ครั้งที่หกอกตรมเดินก้มหน้า
เสียสิบสองพันนาน้ำตาไหล
ตั้งเก้าหมื่นกิโลโถทำได้
แทบขาดใจต่อสู้ศัตรูมา"
ครั้งที่ 6 สิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2397 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป
"ครั้งที่เจ็ดเสียดินแดนแคว้นเขมร
เกิดพิเรนเพราะฝรั่งกำลังบ้า
เที่ยวออกล่าเมืองขึ้นชื่นอุรา
เสียอีกหนึ่งแสนกว่าตารางกิโล"
ครั้งที่ 7 เขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2410 พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัย ร.4 ฝรั่งเศส บังคับให้เขมรทำสัญญารับความคุ้มครองจากฝรั่งเศส หลังจากนั้นได้ดำเนินการทางการฑูตกับไทย ขอให้มีการปักปันเขตแดนเขมรกับญวน แต่กลับตกลงกันไม่ได้ ขณะนั้นพระปิ่นเกล้า แม่ทัพเรือสวรรคต ไทยจึงอ่อนแอ ฝรั่งเศสจึงฉวยโอกาสบังคับทำสัญญารับรองความอารักขาจากฝรั่งเศสต่อเขมร ในช่วงนี้เอง อังกฤษกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันเมื่อ 15 มกราคม 2438 โดยตกลงกันให้ไทยเป็นรัฐกันชน ประกอบกับ การดำเนินนโยบายของ ร.5 ที่ไปประพาสยุโรปถึง 2 ครั้ง ทำให้อังกฤษ เยอรมัน รัสเซียเห็นใจไทย ฝรังเศสจึงยึดดินแดนไป
"ครั้งที่แปดเสียแคว้นดินแดนใหม่
ชื่อสิบสองจุไทยก็ใหญ่โข
เป็นเนื้อที่อีกแปดหมื่นตารางกิโล
ต้องร้องโฮใจระเหี่ยเพราะเสียดาย"
ครั้งที่ 8 สิบสองจุไทย (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 22 ธันวาคม 2431 พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ในสมัย รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อ ก่อกบฏ ไทยจัดกำลังไปปราบ 2 กองทัพ แต่ปฏิบัติเป็นอิสระแก่กัน อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองไม่ถูกกัน จึงเป็นโอกาสให้ฝรั่งเศสส่งทหารเข้าเมืองไล โดยอ้างว่า มาช่วยไทยปราบฮ่อ แต่หลังจากปราบได้แล้ว ก็ไม่ยอมยกทัพกลับ อีกทั้งไทยก็ไม่ได้จัดกำลังไว้ยึดครองอีกด้วย จนในที่สุด ไทยกับฝรั่งเศสได้ทำสัญญากันที่เมืองแถง(เบียนฟู) ยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเมืองเชียงค้อ
"ครั้งที่เก้าเศร้าแสนแค้นไม่สิ้น
เสียลุ่มน้ำสาละวินด้านฝั่งซ้าย
สิบสามหัวเมืองต้องจำเหมาให้เขาไป
ใครที่ทำช้ำใจไทยต้องจำ "
ครั้งที่ 9 ฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษในสมัย รัชกาลที่ 5 ในห้วงปี 2433 เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
"ครั้งที่สิบเลียบลำแม่น้ำโขง
ถูกเขาโกงฝั่งซ้ายเพราะไทยถลำ"
ครั้งที่ 10 ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาว) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 3 ตุลาคม 2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นของไทยมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร ต้องเสียให้กับฝรั่งเศสตามสัญญาไทยกับฝรั่งเศส เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสเรียกเงินจากไทย 1 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายที่ต้องรบกับไทย เสียค่าประกันว่าไทยต้องปฏิบัติตามสัญญาอีก 3 ล้านบาท และยังไม่พอฝรั่งเศสได้ส่งทหารมายึดเมืองจันทบุรีและตราด ไว้ถึง 15 ปี นับว่าเป็นความเจ็บปวดที่สุดของไทยถึงขนาดที่เจ้านายฝ่ายในต้องขายเครื่อง แต่งกายเพื่อนำเงินมาถวาย ร.5 เป็นค่าปรับ ร.5 ต้องนำถุงแดง(เงินพระคลังข้างที่) ออกมาใช้
"ครั้งที่สิบเอ็ดเสียฝั่งขวานั่งหน้าดำ
มันเจ็บช้ำฝังจำอยู่กลางใจ"
ครั้งที่ 11 ฝั่งขวาแม่น้ำโขง(ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์ ,มโนไพร)ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2446 พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ในสมัย.ร.5ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก 5 ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำบ้านนาดี,ด่านซ้าย จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย
"ครั้งที่สิบสองใจรันทดเพราะหมดท่า
เสียมณฑลบูรพาอีกจนได้
เขามาพรากจากแหลมทองถิ่นของไทย
อีกสองหมื่นตารางไมล์โดยประมาณ "
ครั้งที่ 12 มลฑลบูรพา(พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศส เมื่อ 23 2449 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ในสมัย ร.5 ไทยได้ทำสัญญากับฝรังเศส เพื่อแลกกับ ตราด,เกาะกง,ด่านซ้าย ตลอดจนอำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับของฝรั่งเศสในประเทศไทย เพราะขณะนั้นมีคนจีนญวนไปพึ่งธงฝรั่งเศสกันมากเพื่อสิทธิการค้าขาย ฝรั่งเศสก็เพียงแต่ถอนทหารออกจากตราดเมื่อ 6 กรกฎาคม 2450 กับด่านซ้าย คงเหลือแต่เกาะกงไม่คืนให้ไทย
"ครั้งที่สิบสามเสียตรังกานูไทรบุรี
ในแผนที่มองเห็นเป็นหลักฐาน
ไปถึงปะลิสติดรัฐกลันตัน
อีกสามหมื่นโดยประมาณตารางไมล์"
ครั้งที่ 13 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เสียหัวเมืองมลายู
(รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะลิส และไทรบุรี) เมื่อ พ.ศ. 2451 ให้กับอังกฤษ
จำนวนพื้นที่ 80,000 ตารางกิโลเมตร
เพื่อแลกกับอังกฤษยกเลิกสิทธิภาพนอกอาณาเขต
และให้ไทยกู้เงินเพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ปัจจุบันเป็นของมาเลเซีย
"ครั้งที่สิบสี่เสียเขาพระวิหาร
ปัจจุบันเป็นของเขมรท่านเห็นไหม"
ครั้งที่ 14 เขาพระวิหาร ให้กับเขมรเมื่อ 15 มิถุนายน 2505 พื้นที่ 2 ตร.กม. ในสมัย ร.9 ตามคำพิพากษาของศาลโลก ให้เขาพระวิหารตกเป็นของเขมร เนื่องมาจากหลักฐานสำคัญของเขมร ในสมัยที่เป็นของฝรั่งเศส เมื่อรู้ว่ากรมพระยาดำรงราชานุภาพจะเสด็จเขาพระวิหาร จึงไปก่อนแล้วชักธงชาติฝรั่งเศสรับเสด็จ แล้วจึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงต่อศาลโลก
รวมพื้นที่ที่เสียไป 782,877 ตร.กม.
จากพื้นที่ 1,294,992 ตร.กม. ในอดีต
ปัจจุบันเรามีพื้นที่ให้เหยียบกันอยู่เพียง 512,115 ตร.กม.
เหลือน้อยกว่าที่เราเสียไปซะอีก
ที่มา zone-it
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น