Mon, 2011-12-12 15:23
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.- พ.ค.53 (ศปช.)
บัณฑิต สิทธิทุม เกิดเมื่อพ.ศ. 2510 บ้านเดิมอยู่ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น จบการศึกษาที่ โรงเรียนตำรวจภูธร 2 จังหวัดชลบุรี ออกจากราชการประมาณปี 2545 เนื่องจากกระทำความผิดฐาน พ.ร.บ.ป่าไม้ มีลูก 3 คน ลูกชายคนเล็กอายุ 12 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บางแสน ชลบุรี
เขาถูกจับกุม เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 18.30 น.ในบ้านพักอาศัยที่บางแสน
เขาเล่าว่า ขณะเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมมีเจ้าหน้าที่ร่วมจับประมาณ 20 นาย อาวุธครบมือ หลังจากบุกเข้าจับที่บ้านพัก ตำรวจก็ค้นบ้านประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นก็นำตัวเขาไปขัง โดยเริ่มแรกยังไม่ได้ผูกตาเขา แต่เมื่อคุมตัวมาถึงย่านบางนา เขาถูกเจ้าหน้าที่นำผ้ามาปิดตา
ต่อมาเมื่อเขาถูกเปิดผ้าปิดตาออกเขาจึงรู้ตัวว่าเขาถูกจับนำตัวมาที่ร้านคาราโอเกะ โดยเจ้าหน้าที่ได้สอบถามเขาว่า ใครเป็นคนจ้างให้เขายิงระเบิด และถามว่าบิ๊กจิ๋วใช่หรือไม่
เขาเล่าว่าเขาถูกเจ้าหน้าสอบถามมากมาย พร้อมทั้งข่มขู่เขาว่าถ้าไม่ตอบ ไม่บอกความจริง จะเอาไปให้ทหารยิง ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นย่านรามอินทรา จากนั้นจึงนำตัวมาที่กองปราบฯ
คุณน้ำฝน ภริยาของบัณฑิต เล่าว่าหลังจากถูกจับกุมแล้ว เธอไม่ได้รับการติดต่อจากบัณฑิตเลยและไม่รู้ว่าจะไปติดต่อที่ไหน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน เห็นข่าวว่าคนเสื้อแดงถูกจับไปไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เธอจึงโทรศัพท์ไปสอบถามจึงทราบว่าสามีของเธอถูกขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้วจึงได้เดินทางมาเยี่ยมบัณฑิต
ในชั้นจับกุมเจ้าหน้าที่แจ้งว่า เขาเป็นคนยิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหมเมื่อเดือนมีนาคม 2553 และครอบครองอาร์พีจีและอาวุธสงครามอื่นๆ เช่น ปืนกล ระเบิด รวมทั้งปลอมทะเบียนรถ เขากล่าวว่าเขาได้รับสารภาพไปแล้ว และเหตุที่เขารับสารภาพเนื่องจากเจ้าหน้าที่ข่มขู่ว่าจะเอาไปให้ทหารและเอาไปยิงทิ้ง
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 อัยการได้ยื่นฟ้องโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553 เขาร่วมกันกับคนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ใช้เครื่องยิงอาร์พีจียิงใส่กระทรวงกลาโหมเพื่อข่มขู่ให้รัฐบาลไทยอันมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ประกาศยุบสภาตามความประสงค์ของจำเลยกับพวก อันเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการปกครองระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนอันเป็นการก่อการร้าย
นอกจากข้อหาก่อการร้ายและสนับสนุนก่อการร้ายแล้ว บัณฑิตยังถูกฟ้องด้วยข้อหาอื่นด้วย โดยมีข้อหา ครอบครองเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีจำนวน 1 กระบอก และเครื่องกระสุนปืนอาร์พีจีจำนวน 1 นัด ครอบครองลูกระเบิดเครื่องชนิดสังหาร แบบ 88 เอ็ม 67 จำนวน 3 ลูกไว้ในครอบครอง อันเป็นการสนับสนุนการก่อการร้ายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกันมีอาวุธปืนกลมือขนาด .45 จำนวน 1 กระบอกกับซองกระสุนปืน 1 อัน ไว้ในความครอบครองร่วมกันมีกระสุนปืน ออโตเมติกขนาด .45 จำนวน 48 นัดไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และระเบิดไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันปลอมทะเบียนป้ายทะเบียนรถและใช้ป้ายทะเบียนรถปลอม
บัณฑิตเล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้เขาถูกย้ายเรือนจำไปหลายแห่ง เนื่องจากพยานบุคคลอยู่ต่างจังหวัด โดยเขาถูกย้ายไปที่เรือนจำสงขลา เรือนจำพัทยา เรือนจำชลบุรี แต่ละครั้งที่เขาย้ายไปนั้นประสบความลำบากมาก เนื่องจากไม่มีเงินติดตัวไปเลย ส่วนญาติก็ไม่ได้ตามไปเยี่ยม โดยเฉพาะเมื่อไปเรือนจำทางภาคใต้
ในด้านการสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญานั้น มีพนักงานสอบสวนจากดีเอสไอ พ.ต.ท.สมชาย ขำล้อมเพชร มาเบิกความว่า ขณะทำการสอบสวนรับราชการอยู่ที่ สน.พลับพลาไชย 1 ตำแหน่งพนักงานสอบสวน ผู้ชำนาญการและได้รับคำสั่งให้เป็นพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ
โดยเขาเบิกความว่า ประมาณปลายปี 2552 นปช.ได้ชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและมีการชุมนุมและได้ก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการหลายแห่งจนนำไปสู่การประกาศพื้นที่ห้ามชุมนุมตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 โดยห้ามชุมนุมที่กทม.และปริมณฑล
ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ภายหลังมีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง มีการชุมนุมโดย นปช.ได้ตั้งเวทีใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าและปิดถนนตั้งแต่แยกมิกสิกาวันจนถึงแยกผ่านฟ้าถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้าทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้เส้นทางและทำให้ประชาชนเดือดร้อน มีวัตถุประสงค์เรียกร้องครั้งนี้ให้นายกฯยุบสภา โดย นปช.ได้วางแผนเป็นขั้นตอนในการปลุกระดมมวลชนขับเคลื่อนไปสู่ความขัดแย้ง ปลุกปั่นบิดเบือนความจริง ยุยงส่งเสริมด้วยคำพูดรุนแรงก้าวร้าวเพื่อสร้างความปมขัดแย้ง อาฆาตมาดร้าย ให้ประชาชนเกลียดชังรัฐบาล จนนำไปสู่ความรุนแรงซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย ในการชุนนุม นปช.มีการสะสมอาวุธและกำลังพล และมีการก่อวินาศกรรมควบคู่ไปกับการชุมนุมประท้วงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติซึ่งทำให้ประขาชนหวาดกลัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นายกฯยุบสภา
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553 มีคนร้ายเป็นชายสองคน ได้ใช้เครื่องยิงอาร์พีจีไปยังที่กระทรวงกลาโหมแต่จรวดยิงไปถูกสายไฟที่ ถ.อัษฎางค์ ฝั่งตรงข้ามกระทรวงกลาโหมทำให้จรวดไม่ตกตามเป้าหมาย การระเบิดทำให้ทรัพย์สินเสียหายและมีผู้บาดเจ็บ
จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุได้มีผู้พบเห็นคนร้ายชายสองคนขับรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ ที่ซอยแพร่งนรา ผ่านมาและจอดรถรถแวะทักทายพูดคุยกับพยานที่ซอยแพร่งนรา หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เกิดเสียงระเบิดขึ้นที่ปากซอยแพร่งภูธร
ต่อมามีผู้พบเห็นคนร้ายทั้งสองขับรถไปทิ้งไว้ที่โรงแรมที่อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อเสือและคนร้ายทั้งสองลงจากรถและรีบเดินหนีไป พยานที่พบเห็นคนร้ายที่จอดรถเดินหนีไปเป็นผู้หญิง 2 คน โดยคนทั้งสองได้เห็นหน้าคนร้ายที่นั่งคู่คนขับ พยานทั้งสองคนได้ไปให้ปากคำที่ สน.สำราญราษฎร์พร้อมกับพยานอีก 3 คนที่เห็นคนร้ายทั้งสองก่อนเกิดเหตุ
เมื่อไปดูสถานที่เกิดเหตุพบว่า สภาพรถยนต์กระจกรถด้านซ้ายแตกและกระจกด้านขวา(แคป)แตก ภายในรถพบเครื่องยิงอาร์พีจี ระเบิด 3 ลูก อาวุธปืนกล พบเสื้อผ้าพร้อมกระเป๋าเอกสารต่างๆ หลายรายการ และพบขวดน้ำดื่มภายในรถ จึงได้รวบรวมพยานวัตถุต่างๆ ที่ตรวจพบไปให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบตรวจพิสูจน์ต่อไป
ผลของการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่า 1.พบรอยลายนิ้วมือคนร้ายที่ประตูรถ 2.ที่ขวดน้ำพบดีเอ็นเอ
ส่วนพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานนิติวิทยาศาสตร์ เบิกความว่า เธอได้รับพยานวัตถุต่างๆ จากพนักงานสอบสวนโดยมีกระเป๋าสะพายที่พบในรถกระบะ โดยขณะทำการตรวจสอบพยานวัตถุได้เปิดกระเป๋าและดึงเสื้อออกมาเพื่อจะทำการตรวจหาดีเอ็นเอ ขณะดึงเสื้อออกมาปรากฏว่าซิมโทรศัพท์ได้หล่นออกมาจากกระเป๋าเสื้อแจ็คเก็ตสีดำ เธอจึงนำส่งซิมนี้แก่พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการต่อไป
ส่วน พ.ต.ท.ธนกฤต คณิตกุล เบิกความว่า เขาเป็นผู้ไปรับมอบซิมการ์ดจากเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ ปรากฏว่ามีการบันทึก 141 หมายเลข รายชื่อส่วนใหญ่เป็นชื่อของนักเรียนพลตำรวจภูธร 2 จ.ชลบุรี จากนั้นมีการตรวจสอบข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ และเปรียบเทียบกับข้อมูลเว็บไซต์ของนักเรียนพลตำรวจโรงเรียนตำรวจภูธร 2 ชลบุรี ปรากฏว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ของจำเลย
ทั้งนี้ พยานโจทก์ที่มาเบิกความเป็นพยานว่าเบอร์โทรศัพท์นี้เป็นเบอร์ที่จำเลยใช้ คือ เพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นนักเรียนพลตำรวจด้วยกัน
ส่วนจำเลยได้เบิกความว่า ในวันเกิดเหตุเขาไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ส่วนภริยาของจำเลยเบิกความว่าวันเกิดเหตุวันที่ 20 มีนาคม 2553 ตัวจำเลยไปกินข้าวที่ร้านอาหารอีสานย่านบางแสน
และวันพรุ่งนี้ (13 ธ.ค.54) จะมีการพิพากษาคดีนี้ ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เวลา 9.00 น.
ที่มา prachatai
ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.- พ.ค.53 (ศปช.)
บัณฑิต สิทธิทุม เกิดเมื่อพ.ศ. 2510 บ้านเดิมอยู่ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น จบการศึกษาที่ โรงเรียนตำรวจภูธร 2 จังหวัดชลบุรี ออกจากราชการประมาณปี 2545 เนื่องจากกระทำความผิดฐาน พ.ร.บ.ป่าไม้ มีลูก 3 คน ลูกชายคนเล็กอายุ 12 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่บางแสน ชลบุรี
เขาถูกจับกุม เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2553 เวลาประมาณ 18.30 น.ในบ้านพักอาศัยที่บางแสน
เขาเล่าว่า ขณะเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมมีเจ้าหน้าที่ร่วมจับประมาณ 20 นาย อาวุธครบมือ หลังจากบุกเข้าจับที่บ้านพัก ตำรวจก็ค้นบ้านประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นก็นำตัวเขาไปขัง โดยเริ่มแรกยังไม่ได้ผูกตาเขา แต่เมื่อคุมตัวมาถึงย่านบางนา เขาถูกเจ้าหน้าที่นำผ้ามาปิดตา
ต่อมาเมื่อเขาถูกเปิดผ้าปิดตาออกเขาจึงรู้ตัวว่าเขาถูกจับนำตัวมาที่ร้านคาราโอเกะ โดยเจ้าหน้าที่ได้สอบถามเขาว่า ใครเป็นคนจ้างให้เขายิงระเบิด และถามว่าบิ๊กจิ๋วใช่หรือไม่
เขาเล่าว่าเขาถูกเจ้าหน้าสอบถามมากมาย พร้อมทั้งข่มขู่เขาว่าถ้าไม่ตอบ ไม่บอกความจริง จะเอาไปให้ทหารยิง ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้นำตัวเขาไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นย่านรามอินทรา จากนั้นจึงนำตัวมาที่กองปราบฯ
คุณน้ำฝน ภริยาของบัณฑิต เล่าว่าหลังจากถูกจับกุมแล้ว เธอไม่ได้รับการติดต่อจากบัณฑิตเลยและไม่รู้ว่าจะไปติดต่อที่ไหน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน เห็นข่าวว่าคนเสื้อแดงถูกจับไปไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เธอจึงโทรศัพท์ไปสอบถามจึงทราบว่าสามีของเธอถูกขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แล้วจึงได้เดินทางมาเยี่ยมบัณฑิต
ในชั้นจับกุมเจ้าหน้าที่แจ้งว่า เขาเป็นคนยิงอาร์พีจีใส่กระทรวงกลาโหมเมื่อเดือนมีนาคม 2553 และครอบครองอาร์พีจีและอาวุธสงครามอื่นๆ เช่น ปืนกล ระเบิด รวมทั้งปลอมทะเบียนรถ เขากล่าวว่าเขาได้รับสารภาพไปแล้ว และเหตุที่เขารับสารภาพเนื่องจากเจ้าหน้าที่ข่มขู่ว่าจะเอาไปให้ทหารและเอาไปยิงทิ้ง
หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 อัยการได้ยื่นฟ้องโดยระบุว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553 เขาร่วมกันกับคนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง ใช้เครื่องยิงอาร์พีจียิงใส่กระทรวงกลาโหมเพื่อข่มขู่ให้รัฐบาลไทยอันมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ประกาศยุบสภาตามความประสงค์ของจำเลยกับพวก อันเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการปกครองระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชนอันเป็นการก่อการร้าย
นอกจากข้อหาก่อการร้ายและสนับสนุนก่อการร้ายแล้ว บัณฑิตยังถูกฟ้องด้วยข้อหาอื่นด้วย โดยมีข้อหา ครอบครองเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีจำนวน 1 กระบอก และเครื่องกระสุนปืนอาร์พีจีจำนวน 1 นัด ครอบครองลูกระเบิดเครื่องชนิดสังหาร แบบ 88 เอ็ม 67 จำนวน 3 ลูกไว้ในครอบครอง อันเป็นการสนับสนุนการก่อการร้ายของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกันมีอาวุธปืนกลมือขนาด .45 จำนวน 1 กระบอกกับซองกระสุนปืน 1 อัน ไว้ในความครอบครองร่วมกันมีกระสุนปืน ออโตเมติกขนาด .45 จำนวน 48 นัดไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันพกพาอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และระเบิดไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ร่วมกันปลอมทะเบียนป้ายทะเบียนรถและใช้ป้ายทะเบียนรถปลอม
บัณฑิตเล่าให้ฟังว่าก่อนหน้านี้เขาถูกย้ายเรือนจำไปหลายแห่ง เนื่องจากพยานบุคคลอยู่ต่างจังหวัด โดยเขาถูกย้ายไปที่เรือนจำสงขลา เรือนจำพัทยา เรือนจำชลบุรี แต่ละครั้งที่เขาย้ายไปนั้นประสบความลำบากมาก เนื่องจากไม่มีเงินติดตัวไปเลย ส่วนญาติก็ไม่ได้ตามไปเยี่ยม โดยเฉพาะเมื่อไปเรือนจำทางภาคใต้
ในด้านการสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญานั้น มีพนักงานสอบสวนจากดีเอสไอ พ.ต.ท.สมชาย ขำล้อมเพชร มาเบิกความว่า ขณะทำการสอบสวนรับราชการอยู่ที่ สน.พลับพลาไชย 1 ตำแหน่งพนักงานสอบสวน ผู้ชำนาญการและได้รับคำสั่งให้เป็นพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ
โดยเขาเบิกความว่า ประมาณปลายปี 2552 นปช.ได้ชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและมีการชุมนุมและได้ก่อวินาศกรรมตามสถานที่ราชการหลายแห่งจนนำไปสู่การประกาศพื้นที่ห้ามชุมนุมตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 โดยห้ามชุมนุมที่กทม.และปริมณฑล
ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ภายหลังมีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง มีการชุมนุมโดย นปช.ได้ตั้งเวทีใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้าและปิดถนนตั้งแต่แยกมิกสิกาวันจนถึงแยกผ่านฟ้าถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้าทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้เส้นทางและทำให้ประชาชนเดือดร้อน มีวัตถุประสงค์เรียกร้องครั้งนี้ให้นายกฯยุบสภา โดย นปช.ได้วางแผนเป็นขั้นตอนในการปลุกระดมมวลชนขับเคลื่อนไปสู่ความขัดแย้ง ปลุกปั่นบิดเบือนความจริง ยุยงส่งเสริมด้วยคำพูดรุนแรงก้าวร้าวเพื่อสร้างความปมขัดแย้ง อาฆาตมาดร้าย ให้ประชาชนเกลียดชังรัฐบาล จนนำไปสู่ความรุนแรงซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย ในการชุนนุม นปช.มีการสะสมอาวุธและกำลังพล และมีการก่อวินาศกรรมควบคู่ไปกับการชุมนุมประท้วงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติซึ่งทำให้ประขาชนหวาดกลัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นายกฯยุบสภา
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2553 มีคนร้ายเป็นชายสองคน ได้ใช้เครื่องยิงอาร์พีจีไปยังที่กระทรวงกลาโหมแต่จรวดยิงไปถูกสายไฟที่ ถ.อัษฎางค์ ฝั่งตรงข้ามกระทรวงกลาโหมทำให้จรวดไม่ตกตามเป้าหมาย การระเบิดทำให้ทรัพย์สินเสียหายและมีผู้บาดเจ็บ
จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุได้มีผู้พบเห็นคนร้ายชายสองคนขับรถกระบะยี่ห้อโตโยต้า รุ่นวีโก้ ที่ซอยแพร่งนรา ผ่านมาและจอดรถรถแวะทักทายพูดคุยกับพยานที่ซอยแพร่งนรา หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เกิดเสียงระเบิดขึ้นที่ปากซอยแพร่งภูธร
ต่อมามีผู้พบเห็นคนร้ายทั้งสองขับรถไปทิ้งไว้ที่โรงแรมที่อยู่ข้างศาลเจ้าพ่อเสือและคนร้ายทั้งสองลงจากรถและรีบเดินหนีไป พยานที่พบเห็นคนร้ายที่จอดรถเดินหนีไปเป็นผู้หญิง 2 คน โดยคนทั้งสองได้เห็นหน้าคนร้ายที่นั่งคู่คนขับ พยานทั้งสองคนได้ไปให้ปากคำที่ สน.สำราญราษฎร์พร้อมกับพยานอีก 3 คนที่เห็นคนร้ายทั้งสองก่อนเกิดเหตุ
เมื่อไปดูสถานที่เกิดเหตุพบว่า สภาพรถยนต์กระจกรถด้านซ้ายแตกและกระจกด้านขวา(แคป)แตก ภายในรถพบเครื่องยิงอาร์พีจี ระเบิด 3 ลูก อาวุธปืนกล พบเสื้อผ้าพร้อมกระเป๋าเอกสารต่างๆ หลายรายการ และพบขวดน้ำดื่มภายในรถ จึงได้รวบรวมพยานวัตถุต่างๆ ที่ตรวจพบไปให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบตรวจพิสูจน์ต่อไป
ผลของการตรวจพิสูจน์ปรากฏว่า 1.พบรอยลายนิ้วมือคนร้ายที่ประตูรถ 2.ที่ขวดน้ำพบดีเอ็นเอ
ส่วนพยานโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานนิติวิทยาศาสตร์ เบิกความว่า เธอได้รับพยานวัตถุต่างๆ จากพนักงานสอบสวนโดยมีกระเป๋าสะพายที่พบในรถกระบะ โดยขณะทำการตรวจสอบพยานวัตถุได้เปิดกระเป๋าและดึงเสื้อออกมาเพื่อจะทำการตรวจหาดีเอ็นเอ ขณะดึงเสื้อออกมาปรากฏว่าซิมโทรศัพท์ได้หล่นออกมาจากกระเป๋าเสื้อแจ็คเก็ตสีดำ เธอจึงนำส่งซิมนี้แก่พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการต่อไป
ส่วน พ.ต.ท.ธนกฤต คณิตกุล เบิกความว่า เขาเป็นผู้ไปรับมอบซิมการ์ดจากเจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ ปรากฏว่ามีการบันทึก 141 หมายเลข รายชื่อส่วนใหญ่เป็นชื่อของนักเรียนพลตำรวจภูธร 2 จ.ชลบุรี จากนั้นมีการตรวจสอบข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ และเปรียบเทียบกับข้อมูลเว็บไซต์ของนักเรียนพลตำรวจโรงเรียนตำรวจภูธร 2 ชลบุรี ปรากฏว่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ของจำเลย
ทั้งนี้ พยานโจทก์ที่มาเบิกความเป็นพยานว่าเบอร์โทรศัพท์นี้เป็นเบอร์ที่จำเลยใช้ คือ เพื่อนร่วมรุ่นที่เป็นนักเรียนพลตำรวจด้วยกัน
ส่วนจำเลยได้เบิกความว่า ในวันเกิดเหตุเขาไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ ส่วนภริยาของจำเลยเบิกความว่าวันเกิดเหตุวันที่ 20 มีนาคม 2553 ตัวจำเลยไปกินข้าวที่ร้านอาหารอีสานย่านบางแสน
และวันพรุ่งนี้ (13 ธ.ค.54) จะมีการพิพากษาคดีนี้ ที่ศาลอาญา ถนนรัชดา เวลา 9.00 น.
ที่มา prachatai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น