อ้างอิง: http://www.icc-cpi.int/NR/rdonlyres/33E021F0-8672-4210-8170-790E380A1AA1/282948/FINAL_Speech_Panel3_ICC_Features_Challenges.pdf
บทความแปลโดย: ดวงจำปา
ศาลอาญาระหว่างประเทศ – คุณสมบัติสำคัญ, สถานการณ์ในปัจจุบันและการท้าทายต่อปัญหา
รายงานของ ท่านผู้พิพากษา ดร. จูร์ เอช.ซี. ฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล
รองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศท่านที่สอง
ศาลอาญาระหว่างประเทศ
ที่การประชุมนานาชาติ
“การปกป้องสิทธิเสรีภาพโดยการใช้ศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อสร้างกฎหมายสูงสุดและการสร้างประเทศชาติ”
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – คณะนิติศาสตร์
ด้วยการร่วมมือกับ สถานเอกอัครราชฑูตเยอรมันประจำประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
.
บันทึกที่ตรวจสอบครั้งสุดท้าย ส่งมอบให้ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 9:00 น.
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งผ่านมาแล้วเป็นเวลา แปดปีครึ่ง ธรรมนูญของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ได้มีผลถูกบังคับนำมาใช้ เอกสารฉบับนี้ ได้ถูกเรียกชื่อว่า ธรรมนูญกรุงโรมตามสถานที่เกิดของมัน เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีความซับซ้อนเป็นอย่างสูง ได้มีการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างถาวรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เป็นครั้งแรกทีเดียว ที่ธรรมนูญฉบับนี้ โดยเฉพาะในมาตรา 6, 7 และ 8 ได้มีการประมวลครอบคลุมไปถึงเรื่อง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ, อาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมซึ่งเกี่ยวกับการรุกราน ข้าพเจ้าจะกลับมากล่าวถึงเรื่องอาชญากรรมซึ่งเกี่ยวกับการรุกราน ภายในการแสดงปาฐกถาครั้งนี้ เนื่องจากว่า เราได้เห็นเหตุการณ์ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2553 ระหว่างการประชุมปริทัศน์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งมีขึ้นที่นครกัมปาล่า ประเทศอูกานด้า ว่าเป็นการพัฒนาการอย่างยิ่งใหญ่ทีเดียว ถ้าไม่เช่นนั้นก็อาจจะเรียกว่า เป็นความก้าวหน้าอย่างแท้จริง มันเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเปรียบกับการปฎิวัติเปลี่ยนแปลงเลย ในทั้งหมดนี้ การประมวลครอบคลุมมีรากฐานมาจากไปถึงเรื่องความยินยอมพร้อมใจโดยอิสระและโดยจิตอาสาของชุมชนนานาอารยะประเทศ
องค์กร ไอซีที โดยทั่วไปแล้วนั้น เป็นศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องอนาคตกาล นั่นก็คือ สามารถกล่าวได้ว่า ไม่มีการคัดเลือกศาลยุติธรรมที่ไหน สามารถทำการพิจารณาความแบบเฉพาะกิจ ต่ออดีตประเทศยูโกสลาเวียและต่อประเทศราวันดา และสามารถเรียกว่า เป็นศาลลูกผสมต่อประเทศเซียร่า ลีโอเน และประเทศกัมพูชา ศาลของเราคือ – และยังเป็นพื้นฐานที่สำคัญเสียอีกด้วย – ว่า เป็น “ชัยชนะของความยุติธรรม” หลักทั่วไปของกฎหมาย, “ความเสมอภาคในทางกฎหมาย, การใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด” และเป็นการสนับสนุนอย่างอิสระและอย่างมีจิตอาสาและมีการร่วมมือกันระหว่างชุมชนนานาอารยะประเทศ – นั่นก็คือ การกล่าวได้ว่าไม่มีการสนับสนุนโดยการบังคับจากสภาความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติหรือมหาอำนาจประเทศของโลก – นี่คือแก่นแท้ของศาลของเรา และในอีก 30 หรือ 50 ปีและเกินเวลานั้นไป – มันคือความหวังและความมั่นใจของผมว่า ศาลของเราจะสร้างความมั่นใจว่า บุคคลที่ก่อกรรมทำเข็ญในเรื่องอาชญากรรมอันร้ายแรงที่สุดซึ่งเป็นที่น่าวิตกกังวลต่อชุมชนอารยะประเทศจะไม่สามารถเพลิดเพลินต่อการได้รับการคุ้มกันใดๆ แต่จะต้องถูกสอบสวนและถูกดำเนินการตามกฎหมายตามที่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรม
ในการเสนอรายงานครั้งนี้ ผมจะเผชิญอยู่กับคำถามทั้งหมด 3 ชุดด้วยกัน กล่าวคือ:
(1) องค์กร ไอซีซี คืออะไร? มีลักษณะที่สำคัญๆ อะไรบ้าง?
(2) สถานการณ์ของศาลในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง?
(3) คดีใดๆ บ้างที่กำลังถูกดำเนินการในขณะนี้ และบทเรียนอะไรที่ได้เรียนรู้จากคดีอาชญากรรมซึ่งกำลังเกิดขึ้นในการพิจารณาความอย่างต่อเนื่องอยู่นี้?
ผมจะขอสรุปด้วยข้อคิดเห็นบางอย่างในเรื่องของการท้าทายในปัจจุบันและมุมมองของศาลอาญาระหว่างประเทศ
หัวข้อที่ 1: คุณสมบัติสำคัญ
ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาของ องค์กร ไอซีซี บ่อยครั้งที่ผมจะถูกถามว่า แง่มุมอะไรที่มีความสำคัญที่สุดของสถาบันแห่งใหม่นี้ เรื่องใดที่ทุกคนควรจะรับรู้ และเรื่องใดที่เราควรที่จะรู้อย่างแท้จริง คำตอบของผมก็เหมือนกันอยู่เสมอ เพื่อการเข้าใจในเรื่องขององค์กร ไอซีซีนั้น มันอยู่ในทัศนคติของผมว่า ควรจะรับรู้ถึงเรื่องข้อจำกัดที่อำนาจของศาลสามารถเข้าถึงได้และรวมไปถึงระบบการนำเอาคดีเข้ามาพิจารณาในศาลแห่งนี้ เขตอำนาจของศาลนั้นไม่เป็นเรื่องแบบครอบจักรวาล มันเป็นเรื่องที่เห็นได้อย่างชัดเจนต่อข้อจำกัดตามรากฐานที่มีการรู้จักเป็นอย่างดีในระบบของอำนาจทางศาล
ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจของศาลอยู่เหนือ:
ประเทศอาณาจักรของสมาชิกรัฐภาคี
มันเป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหาใดๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐแต่ละรัฐมีสิทธิ์ที่จะดำเนินการฟ้องร้องประชาชนของตนเองได้เมื่อพวกเขาได้กระทำอาชญากรรม
การกระทำความผิดนั้นๆ ได้เกิดขึ้นในดินแดนของประเทศในรัฐภาคี
ในทำนองเดียวกัน มันเป็นเรื่องที่ไม่มีปัญหาใดๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่รัฐแต่ละรัฐมีสิทธิในการฟ้องร้องอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในดินแดนของประเทศตนเอง โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้กระทำความผิดนั้นๆ
ในการเสริมเรื่องนี้, ทางฝ่ายคณะมนตรีความมั่นคงสามารถอ้างถึงสถานการณ์ให้กับ องค์กร ไอซีซี โดยอิสระ ในเรื่องของสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหาหรือสถานที่ที่เกิดเหตุอาชญากรรม
คณะมนตรีความมั่นคงยังมีอำนาจต่อการเลื่อนการสอบสวนหรือการดำเนินการฟ้องร้องเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อผลประโยชน์ของการรักษาความสงบและความปลอดภัยระหว่างประเทศ
องค์กร ไอซีซีนั้น เป็นศาลที่พึ่งอย่างสุดท้าย เรื่องนี้เป็นที่ทราบกันในหลักการของการเสริมเขาอำนาจของศาลภายในประเทศเข้ามาดำเนินการก่อนอำนาจของศาล ICC ตามที่อยู่ในมาตรา 17 ของธรรมนูญ มันหมายความว่าอย่างไร?
ในกรณีธรรมดาทั่วไป รัฐภาคีจะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนหรือฟ้องร้องต่อการกระทำความผิด
ศาล ไอซีซี นั้นสามารถเข้ามาปฎิบัติหน้าที่ได้ ต่อเมื่อรัฐภาคีไม่ประสงค์หรือไม่สามารถที่จะสอบสวนหรือดำเนินการฟ้องร้องต่อการกระทำความผิดเท่านั้น ความรับผิดชอบหลักในการสอบสวนและการดำเนินการฟ้องร้องต่ออาชญากรรมนั้น ขึ้นอยู่กับทางรัฐภาคี
นอกจากนั้น คดีต่างๆ สามารถนำเข้ามาพิจารณาได้ ถ้ามีน้ำหนักอย่างพอเพียงในแสดงเหตุผลอันสมควรเพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องได้เท่านั้น
หลักการของการเสริมอำนาจของศาลภายในประเทศตามที่เห็นโดยเฉพาะในมาตรา 17 ของธรรมนูญกรุงโรม เป็นพื้นฐานที่สามารถตัดสินได้ตลอดทั้งกระบวนการของ ไอซีซี อีกครั้งหนึ่งนั้น การเสริมอำนาจศาลในประเทศ ได้นำมาซึ่งการปฎิบัติการทางตุลาการอย่างต่อเนื่องก่อนที่ทางองค์กร ไอซีซี สามารถรับนำคดีเข้ามาพิจารณาได้ ถ้าและเมื่อรัฐภาคีที่ตามปรกติแล้วจะมีเขตอำนาจทางศาลนั้น ไม่ประสงค์หรือไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงได้ ธรรมนูญกรุงโรมยอมรับถึงเรื่องความเป็นเอกเทศของการฟ้องร้องในประเทศนั้นๆ ดังนั้น มันเป็นการย้ำให้เห็นถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐภาคีและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องสิทธิทางอธิปไตยและสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐภาคีในการดำเนินการใช้อำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรม
มีข้อคุ้มครองหลายประการในตัวธรรมนูญ ซึ่งสร้างความมั่นใจว่า การฟ้องร้องในคดีที่มีสาเหตุกระตุ้นจากเรื่องการเมืองนั้นจะไม่เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด ตามที่คุณทราบกันดีในเรื่องที่เรียกกันว่า เป็นความเสี่ยง ความเสี่ยงที่มีการกล่าวหาให้มีการดำเนินการฟ้องร้องในคดีที่มีการกระตุ้นทางการเมืองนั้น เป็นเรื่องหนึ่งที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสำคัญ ในเรื่องการรณรงค์ที่สร้างความเกลียดชังของรัฐบาลของประธานาธิบดีบุช (สหรัฐอเมริกา) กับตัวศาล ไอซีซีเอง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 และ ปี พ.ศ. 2549
องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้น เป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่งในการคุ้มครองและยังเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในเรื่องการพิจารณาความนี้ หลักเกณฑ์พื้นฐานตามปรกติแล้วคือ ตัวอัยการผู้ฟ้องนั้น จะอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของผู้พิพากษาที่อยู่บนบัลลังก์ก่อนการพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนก่อนที่จะเริ่มการสอบสวนในวิถีทางของเขาเอง ตัวอัยการผู้ฟ้องจะต้องได้รับการอนุญาติจากองค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้นเสียก่อน
การรับประกันในเรื่องของการพิจารณาคดีอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและปกป้องสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันยิ่งใหญ่กับองค์กร ไอซีซี ธรรมนูญได้รวมบทบัญญัติพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาและวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องปกติวิสัยของระบอบยุติธรรมทั้งในประเทศและในทางสากล
ด้วยเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายอาญาที่สำคัญ อำนาจศาลของศาลอาญาระหว่างประเทศมีข้อจำกัดในเรื่องอาชญากรรมอันร้ายแรงที่สุด ซึ่งเป็นที่วิตกกังวลของชุมชนนานาชาติทั้งหมด นั่นคือ เรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และ อาชญากรรมสงคราม ซึ่งดำเนินการตามมาตรา 6 ถึง 8 ของธรรมนูญ มันเป็นเรื่องที่คุ้มค่าต่อเวลาในการที่จะให้ตัวท่านเองได้เห็นถึงรูปลักษณะ 5 ประการของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, รูปลักษณะ 15 ประการในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและอีกมากกว่า 50 รูปแบบของอาชญากรรมสงคราม นี่คือการประมวลครอบคลุมเป็นครั้งแรกของกฎหมายอาชญากรรมระหว่างประเทศ ซึ่งมีฐานจากความยินยอมอย่างเป็นอิสระของชุมชนนานาอารยะประเทศ (และไม่ได้ถูกกำหนดโดยคณะมนตรีความมั่นคง ตัวอย่างเช่น ธรรมนูญของคณะตุลาการเฉพาะกิจ)
ไม่มีอาชญากรรมใดๆ ที่กล่าวมานี้ ได้ ‘ถูกสร้างขึ้น’ โดยกลุ่มผู้ร่างตัวธรรมนูญกรุงโรม แทนที่จะเป็นอย่างนั้น พวกเขาทั้งหมดมีภูมิความรู้อย่างชำนาญในเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งบ่อยครั้งสามารถสืบประวัติเรื่องราวได้มามากกว่า 50 ปี
ด้วยเรื่องเกี่ยวกับอาชญากรรมการรุกราน ซึ่งเป็นแก่นที่สี่ในเรื่องอาชญากรรมที่ระบุไว้ภายใต้ มาตราที่ 5 ของธรรมนูญกรุงโรม การประชุมปริทัศน์ของ ไอซีซี รับมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เป็นข้อเสนอที่บรรจุไว้ ซึ่งอาจจะให้ทางองค์กร ไอซีซี มีผลบังคับใช้หลังจากปี พ.ศ. 2560 โดยมีขอบเขตของการใช้อำนาจศาลในเรื่องอาชญากรรมการรุกรานที่เกิดขึ้นในอนาคต ตามที่ในปัจจุบันนี้ เราไม่มีเขตอำนาจศาลในเรื่องนี้ ผมไม่ขอที่จะเผชิญกับรายละเอียดของการประนีประนอมอันซับซ้อน ซึ่งมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์จากทุกรัฐภาคีในการประชุมที่นครกัมปาล่า มันอาจจะเป็นเรื่องที่เพียงพอว่า ผมเพียงแต่เน้นถึงความสำคัญขั้นพื้นฐานของการพัฒนการในเรื่องนี้ซึ่งเป็นการเสริมอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในบทบาทขององค์กร ไอซีซีในชุมชนนานาอารยะประเทศให้ขยายออกไปอีก
หัวข้อที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ความจริงที่ตัวศาลอาญาระหว่างประเทศ ต้องพึ่งกับความร่วมมือในเรื่องอาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการได้รับการสนับสนุนจากรัฐภาคี โดยทั่วไปแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีอำนาจในการสั่งการและไม่มีกองกำลังรักษาความสงบเป็นขององค์กรเอง ดังนั้น ศาลจะต้องพี่งความร่วมมืออย่างเต็มที่, อย่างมีประสิทธิภาพ และ อย่างทันต่อเหตุการณ์จากประเทศรัฐภาคี นี่คือความจริงที่แจ้งให้ทราบโดยเฉพาะถึงเรื่องการจับกุมและการยอมมอบตัวของผู้ต้องหาให้กับศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องกระทำโดยประเทศรัฐภาคี ไม่ใช่บุคลากรขององค์กร ไอซีซี ตามที่ได้คาดการณ์และเริ่มการวางแผนโดยผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเอง ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ถูกแสดงลักษณะให้เห็นว่า เป็นองค์กรที่อ่อนแอ โครงสร้างที่อ่อนแอซึ่งไม่มีความสามารถและหนทางที่จะบังคับใช้ตามคำตัดสินขององค์กรเอง และอีกอย่างที่ขอกล่าวด้วยความเคารพ นั่นก็คือความปรารถนาของคณะผู้ก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเองที่กล่าวว่า อธิปไตยของรัฐภาคีนั้นจะต้องคงอยู่อย่างเหนือกว่าเรื่องใดๆ ขอกล่าวให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า ธรรมนูญกรุงโรมนั้น เต็มไปด้วยความเคารพอย่างสูงสุดต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐภาคีทุกรัฐ
หัวข้อที่ 2: สภาพการณ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศในปัจจุบัน
สภาพการณ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศในขณะนี้เป็นอย่างไร มีความคืบหน้าอะไรบ้างที่เกิดขึ้นตั้งแต่การก่อตั้งในปี พ.ศ. 2546? สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ ได้ถูกอ้างอิงมาจากแถลงการณ์ซึ่งส่งมอบให้กับองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยประธานศาลอาญาระหว่างประเทศคนปัจจุบัน คือ ท่านผู้พิพากษา ซอง ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของผมที่มาจากประเทศเกาหลีใต้ดังนี้:
ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โครงสร้างการบริหารจัดการอย่างสมบูรณ์ต่อองค์คณะตุลาการ, สำนักงานอัยการ และ สำนักทะเบียน ได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากการสร้างขึ้นมาอย่างทีละเล็กทีละน้อย “สำนักงานภาคสนาม” ห้าแห่งและสำนักประสานงานขององค์การสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์ค ได้ถูกเปิดขึ้น ในระยะเวลาสองสามปีที่ผ่านมา มีการเน้นถึงหน้าที่การงานซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดหย่อน จากการจัดตั้งระบบตัวศาลให้กลายเป็น หน้าที่การงานอันเข้มแข็งในเรื่องของการฟ้องร้องและเรื่องกระบวนการยุติธรรม จำนวนบุคลากรได้เพิ่มขึ้นจาก 5 คน เป็น 1,100 คน
ในปัจจุบันนี้ สำนักงานอัยการ, องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้น, องค์คณะตุลาการพิจารณาคดี และ องค์คณะตุลาการพิจารณาการอุทรณ์ ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มเปี่ยมและอย่างมีประสิทธิภาพและต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องหน้าที่อันแสนหนัก ได้มีการกล่าวถึง “สถานการณ์” สามประเภทต่อสำนักงานอัยการโดยประเทศรัฐภาคี (ประเทศอูกานดา, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และ ประเทศสาธารณรัฐอัฟริกากลาง) และอีกเรื่องหนึ่ง (ที่กรุงดาร์เฟอร์ / ประเทศซูดาน) ได้มีการกล่าวถึงโดยทางคณะมนตรีความมั่นคงขององค์การสหประชาชาติ (สำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้ รวมไปถึงบางเรื่องที่อยู่ภายนอกอัฟริกาด้วย) ท่านผู้พิพากษาได้ออกหมายจับ 15 ฉบับ และ หมายเรียกตัว 3 ฉบับเพื่อให้มาปรากฎตัวที่ศาล อาชญากรรมทั้งสามคดีในปัจจุบันนี้ ได้มีการฟังความโดยทางศาลอาญาระหว่างประเทศกับผู้ที่ถูกกล่าวหาสี่คน ซึ่งถูกคุมตัวโดยทางศาล องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้นได้รับรองถึงข้อกล่าวหาแล้ว องค์คณะตุลาการพิจารณาคดี ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 กำลังปฎิบัติงานในเรื่องของการพิจารณาคดีอยู่อย่างต่อเนื่องกับผู้ต้องหาสามคน ซึ่งอยู่ภายใต้การอารักขาของ องค์กร ไอซีซี; และในขณะนี้ องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีชุดที่ 3 กำลังติดตามเรื่องการพิจารณาความกับ นายชอง-ปิแอร์ เบมบา ซึ่งเป็นอดีตรองประธานาธิบดีของสาธารณรัฐคองโก
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สำนักงานอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศได้ขอให้องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีชุดที่ 2, ซึ่งเป็นองค์คณะตุลาการที่ผมเป็นผู้พิพากษาอยู่ในนั้นเอง, ช่วยอนุมัติการเปิดคดีการสอบสวนในเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้งของประเทศเคนย่า ซึ่งประชาชนจำนวน 1,300 คนได้ถูกฆาตกรรม, อีก 5,500 คนได้ถูกกระทำให้พิการหรือมีการตัดอวัยวะของร่างกาย และประชากรอีก 350,000 คน ได้ถูกขับไล่ออกไปจากถิ่นฐานของตนเอง ในท้ายสุดแล้ว องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีส่วนใหญ่ ได้ลงมติอนุมัติให้เปิดการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ ผมขออนุญาติต่อการบันทึกว่า ผมได้ส่งยื่นเรื่องความคิดเห็นแย้งออกไป เพราะผมไม่เห็นด้วยกับ คำจำกัดความของคำว่า อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ได้ปรากฎให้เห็นอย่างครบถ้วน
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ประมาณหนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ สำนักงานอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศได้ส่งคำร้องสองชุด เพื่อให้ออกหมายเรียกต่อการปรากฎตัวในศาล กับผู้ต้องสงสัยสัญชาติเคนยา ซึ่งมีตำแหน่งระดับสูง 6 คน ในเรื่องของอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ ตามที่กล่าวไว้ในมาตรา 7 สำนักงานอัยการยังได้แถลงว่า เขาจะขอให้ทางศาลออกหมายจับ ถ้าผู้ต้องสงสัยกลุ่มนี้ กระทำการสมรู้ร่วมคิดเพื่อต่อต้านการสอบสวน หรือกระทำการข่มขู่พยานบุคคลในประเทศเคนยา องค์คณะตุลาการที่ผมเป็นผู้พิพากษาคนหนึ่ง (องค์คณะตุลาการชุดที่ 2) กำลังตรวจสอบวิเคราะห์คำร้องที่ทางฝ่ายสำนักงานอัยการได้ยื่นเรื่องมาอยู่ในขณะนี้
เพียงระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เท่านั้น, ท่านผู้พิพากษาได้ออกคำพิพากษาตัดสิน 269 คดี และมีรายงานออกมาทั้งหมด 2,376 หน้ากระดาษ องค์คณะตุลาการฝ่ายอุทรณ์ได้กระทำการตัดสินอันเป็นที่สิ้นสุดในประเด็นพื้นฐานตามหลักการในตัวธรรมนูญ ศาลอาญาระหว่างประเทศได้พิจารณาคำร้องมากกว่า 1,599 คดี จากผู้รับเคราะห์ ซึ่งได้มีส่วนเข้าร่วมในกระบวนการ มีผู้รับเคราะห์ประมาณ 700 ถึง 800 คน ได้รับอนุญาติให้มีสิทธิ์ที่จะมีส่วนเข้าร่วมอยู่ด้วย
ในคำปราศรัยของท่านผู้พิพากษาคิม ซึ่งประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ ต่อองค์การสหประชาชาติ ท่านได้เน้นถึงการปฎิบัติการขององค์กร ไอซีซีกับผู้ประสบเคราะห์กรรม ซึ่งเป็นเรื่องของคุณค่าซึ่งไม่เคยปรากฎขึ้นมาก่อน และยังมีการขยายความถึงเรื่องประเภทนี้อย่างไม่หยุดหย่อน ท่านได้แสดงให้เห็นถึงส่วนที่สำคัญต่อบทบาทโดยเฉพาะขององค์กร ไอซีซี ซึ่งเรียกว่า โปรแกรมของการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งเป็นการสื่อสารกับประชากรในท้องถิ่นนั้นและมีการแจ้งให้ผู้ประสบเคราะห์กรรมได้ทราบถึงสิทธิของตนเองและมีการรวบรวมเงินกองทุนเพื่อช่วยผู้ประสบเคราะห์กรรม ซึ่งในขณะนี้ ได้ให้ความช่วยเหลือโดยตรงกับผู้ได้รับประโยชน์ในเรื่องประเภทนี้มากกว่า 40,000 คน
หัวข้อที่ 3: การปฎิบัติงานยุติธรรมในปัจจุบัน – บทเรียนเริ่มแรก
ผมขอกล่าวถึงภาพรวมของระบบงานยุติธรรมขององค์กร ไอซีซี ในปัจจุบัน ในขณะนี้ มีคดีอย่างแท้จริงจำนวน 22 คดี ที่กำลังมีการฟ้องร้องดำเนินการอยู่ เมื่อไรที่เราสามารถเรียกเรื่องนี้ว่า คดี ได้? รูปแบบนี้ไม่ต้องใช้คำศัพท์ว่า คดี จนกว่าจะได้มีการบันทึกโดยทางศาลอย่างแท้จริง พูดง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อมีการออกหมายจับหรือมีการออกหมายเรียกเพื่อให้บุคคลที่ใช้ชื่อนั้น นามนั้นอย่างเฉพาะเจาะจงมาปรากฎตัว หรือมีการออกหมายเหล่านี้โดยผู้พิพากษาของศาล ถ้าคุณเห็นด้วยกับคำจำกัดความนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ นั่นคือ:
บุคคลสามคนซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในระดับสูงของประเทศซูดาน: นายโอมาร์ ฮัซซาน อาร์หมัด อัล-บาเชียร์ ซึ่งเป็นผู้ยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศซูดานในปัจจุบันนี้ และเป็นผู้ที่ทางศาลอาญาระหว่างประเทศได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552: นายอาหมัด มูฮาหมัด ฮารูน ซึ่งยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการช่วยเหลือมนุษยชน และ นายอาลี มูฮัมหมัด อัล เอบด์-อัล-ราห์มาน (หรือ นาย “อาลี คูชายบ์”) ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายกองกำลังติดอาวุธเผ่าจานจาวีด ซึ่งเรียกชื่อกันในตำแหน่งว่า “นายพันของนายพัน”; หมายจับบุคคลทั้งสองนี้ ได้ออกมาจากศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550
องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีชุดที่ 1 ได้ออกหมายเรียกกับ นายอาบู การ์ดา ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายปฎิปักษ์ในกรุงดาร์เฟอร์ มาปรากฎตัวที่ศาล ด้วยข้อหาว่าได้กระทำการโจมตีและสังหารบุคลากรในกองกำลังรักษาสันติภาพของฝ่ายสหภาพอัฟริกาจำนวน 12 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ขั้นตอนนี้ได้สิ้นสุดลงเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 เนื่องจากปราศจากหลักฐาน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้นชุดที่ 1 ได้มีการเบิกฟังความในเรื่องการยืนยันถึงข้อกล่าวหาในเรื่องอาชญากรรมสงครามกับ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายปฎิปักษ์ชาวซูดานสองคน ชื่อว่า นายอับดาล่าห์ บานดา อบาเกอร์ เนาเรน (บานดา) และ นายซาเลฮ์ โมฮานเนด เจอโบ เจมุส (เจโบ)
ผู้ถูกกล่าวหาสามคนจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งอยู่ภายใต้การอารักขาของศาลอาญาระหว่างประเทศเรียบร้อยแล้ว คือ นายโทมัส ลูบังกา ไดอิโล ซึ่งได้ถูกคุมตัวตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2549; นายเจอร์เมน คาทังก้า ซึ่งได้ถูกคุมตัวตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และ นายมาทิว งูดโจโล ชูอิ ซึ่งถูกคุมตัวไว้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551; ยังมีผู้ต้องสงสัยอีกหนึ่งคน ซึ่งยังไม่ได้มาอยู่ในการอารักขาของศาล นั่นคือ นายบอสโก นัทกานดา
ผู้นำซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยสี่คนในกลุ่มของ “เจ้าพ่อกองทัพของการสู้ยิบตา” จากประเทศอูกานดา ซึ่งได้มีการออกหมายจับมาตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมันเป็นเรื่องที่หนักใจมาก ที่เห็นนายโจเซฟ โคนีและกลุ่มหัวโจกของเขา ยังไม่มีการจับกุมใดๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น
• บุคคลผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งในเรื่องของอาชญากรรมที่กระทำในประเทศสาธารณรัฐอัฟริกากลาง คือ นาย จอง-ปิแอร์ เบมบา กอมโบ นั้น ในขณะนี้ คดีของเขาได้กำลังถูกพิจารณาใน องค์คณะตุลาการพิจารณาคดีชุดที่ 3
• บุคคลผู้ต้องสงสัยคนหนึ่งในเรื่องของอาชญากรรมที่กระทำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก นายคาลิกซ์เท มบารูชิมานา ซึ่งเป็นเลขานุการฝ่ายบริหารของ กองกำลังฝ่ายประชาธิปไตยเพื่อปลดแอกต่อประเทศราวานดา ได้ถูกจับกุมโดยทางการของประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553
• ผู้นำพรรคการเมืองและผู้นำระดับสูงในพรรคการเมืองหกคนจากประเทศเคนยา ตามที่กล่าวอ้างมาแล้ว รวมอยู่ในกลุ่มนั้น คืออดีตรัฐมนตรีสองคน และ นายอูฮูรู เคนยาต้า ซึ่งเป็นรองประธานาธิบดีของประเทศเคนยา และเป็นลูกชายของผู้ก่อตั้งประเทศนั้น
บทเรียนอะไรที่เราได้เรียนรู้จากงานบริหารยุติธรรม ซึ่งได้ปฎิบัติมาจนถึงขณะนี้? ผมขอกล่าวถึงตัวอย่างต่างๆ รวมไปถึง การวิจารณ์ตัวศาลเองในบางเรื่อง:
(1) ปัญหาที่เป็นที่หนักใจโดยเฉพาะเรื่องหนึ่งที่มีต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ คือ บทบัญญัติที่จำเป็นต่อการปกป้องตัวพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรม ที่เห็นมาแล้วคือมันเกิดขึ้นในดินแดนแถบนี้มากกว่าสถานที่อื่นๆ ในโลก, โดยเฉพาะตัวพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมจาก “ประเทศที่มีปัญหา” ในทวีปอัฟริกา เป็นต้นว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, ประเทศอูกานดา หรือ ที่ดาร์เฟอร์ประเทศซูดาน ซึ่งการเตรียมพร้อมต่อการเบิกความนั้น บ่อยครั้งเป็นเรื่องที่เสี่ยงกับชีวิตเป็นอย่างมาก รวมถึงต้องเผชิญกับการข่มขู่คุกคามนานาชนิด ข้อเรียกร้องของพวกเขาซึ่งกล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกในเรื่องการป้องกันความปลอดภัยอย่างพอเหมาะพอควร (ตามทัศนคติของศาลซึ่งเห็นได้แน่ชัดว่า ต้องพึ่งตัวพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมเพื่อเตรียมการให้การ) เป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งตามหลักเกณฑ์และสามารถเข้าใจอย่างดีด้วย ในเวลาเดียวกัน ทางรัฐภาคีได้เรียกร้องถึงหลักการว่า การกระทำของศาลอาญาระหว่างประเทศจะต้องไม่เป็นการทำอันตรายหรือทำพิษภัยให้กับตัวพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมด้วย และปัญหาก็เริ่มขึ้นมาจากตรงนี้ กล่าวคือ: กฎของขั้นตอนนั้น ได้อนุญาติอย่างชัดเจนกับตัวพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมว่า ให้กระทำตัวแบบนิรนาม โดยการ “เรียบเรียงใหม่” - เป็นต้นว่า ใช้การบล๊อคปกปิดรายละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ชื่อของพวกเขาหรือทำให้ชื่อของพวกเขานั้น ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นใครในตอนส่งเรื่องและคำแถลงของตัวพยานบุคคล อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังเป็นการคุกคามอย่างเริ่มแรกเกี่ยวกับสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาและคณะที่ปรึกษาฝ่ายจำเลยของเขาว่าด้วยการพิจารณาความด้วยระบบที่บริสุทธิ์ยุติธรรม
นอกไปจากนั้นแล้ว การก่อตั้งโครงการเพื่อปกป้องพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมใน “รัฐที่เป็นปัญหา” ของประเทศในทวีปอัฟริกา รวมไปถึง งาน, ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งต้องเพิ่มขึ้นและต้องคิดถึงจำนวนเงินมหาศาลด้วย ในปัจจุบัน มีพยานบุคคลและผู้ประสบเคราะห์กรรมมากกว่า 300 คน ที่ลงทะเบียนในโครงการการปกป้องตนเอง ซึ่งเป็นแผนการและทำการบริหารโดยทางศาลอาญาระหว่างประเทศด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ในเรื่องของเวลาและจำนวนทรัพยากรมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
(2) มีทัศนคติที่แตกต่างกันระหว่างองค์คณะตุลาการพิจารณาคดีชุดต่างๆ ของศาลอาญาระหว่างประเทศในเรื่องของบทบาทที่ผู้ประสบเคราะห์กรรมต่ออาชญากรรม (และในองค์กรของพวกเขา) สามารถเห็นจากขั้นตอนต่างๆ ในระเบียบการปฎิบัติ: ในแง่หนึ่งนั้น บทบาทนี้ควรที่จะทำความพึงพอใจต่อข้อเรียกร้องอันน่าชื่นชมของธรรมนูญ ซึ่งอนุญาติให้ผู้รับเคราะห์กรรมได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาความ; แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งนั้น การแปลความอย่างกว้างขวางเกินไปต่อสิทธิเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อความสำเร็จในการเข้ามามีส่วนร่วมเท่านั้น แต่ยังสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำให้กระบวนการพิจารณาความกลายเป็นอัมพาตไปได้
พูดถึงปรากฎการณ์เหล่านี้พร้อมๆ กัน มันเป็นเรื่องที่ง่ายต่อความเข้าใจว่า ทำไมกระบวนการพิจารณาความต่อหน้าศาลอาญาระหว่างประเทศ เช่น องค์กร ไอซีซี นี้ ถึงได้ใช้เวลานานเหลือเกิน
หัวข้อที่ 4: โลกทัศน์และทัศนะในอนาคต
ในเวลา 9 ปีหลังจากที่ธรรมนูญกรุงโรมได้ถูกนำมาบังคับใช้ มันเป็นเรื่องที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทางศาลอาญาระหว่างประเทศยังคงประสบกับปัญหาในเรื่องของงานที่ยังคั่งค้างอยู่รวมไปถึงการท้าทาย ซึ่งทำให้เกิดเรื่องที่เลวร้ายกว่าเก่า สิ่งที่ต้องพึงกระทำทั้งหมดก็คือเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านั้นพร้อมๆ กัน
ประการที่หนึ่ง: มีหลายด้านที่ทางศาลอาญาระหว่างประเทศจะต้องปรับปรุงและทำให้งานของตนเองนั้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่สอง: นอกเหนือไปจากทุกอย่างทั้งหมด, สำนักงานอัยการจะต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ในการสอบสวนและการฟ้องร้องต่อคดีอาชญากรรม
ประการที่สาม: ศาลอาญาระหว่างประเทศต้องการได้รับการยอมรับจากนานาชาติอย่างกว้างขวางกว่านี้และมีจำนวนสมาชิกในรัฐภาคีมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ คือ 114 ประเทศ อย่างไรก็ตาม มันเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สองของโลก ได้ร่วมเป็นสมาชิกของรัฐภาคีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และประเทศบังคลาเทศ ได้กลายเป็นสมาชิกรัฐภาคีเหมือนกันเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เราทั้งหมดล้วนตระหนักดีว่า ประเทศไทย เป็นประเทศคู่สัญญาในการลงนามธรรมนูญกรุงโรม เรายังตระหนักดีกว่า ประเทศไทยได้กระทำการแปลเอกสารธรรมนูญกรุงโรมอย่างประณีตเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว และเรื่องนี้ สามารถให้กลุ่มต่างๆ ในประเทศไทยซึ่งมีความสนใจในเรื่องนี้ ทำการศึกษาค้นคว้าให้ความรู้กับตนเองในเรื่องสนธิสัญญาที่ทางเราได้ก่อตั้งขึ้น เรื่องนี้อาจจะเป็นก้าวแรกบนถนนที่มุ่งขึ้นสู่การยกระดับต่อการเป็นรัฐภาคีของประเทศไทย
ประการที่สี่: ศาลอาญาระหว่างประเทศจะต้องยังคงพิสูจน์ให้เห็นอย่างคงไว้ โดยปราศจากความรู้สึกสะเทือนใจและปราศจากความขัดขวาง ซึ่งต้องเป็นรูปแบบในระบบยุติธรรมอย่างบริสุทธิ์ใจ, มีความเป็นกลาง และเป็นสถาบันที่แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายในการพิจารณาคดี และจะต้องไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องเกรงกลัวว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศจะกระทำการแสวงหาผลทางการเมืองและอนุญาติให้องค์กรเองไปปฎิบัติการไปใช้ในทางที่ผิด
กรุณาอนุญาติให้ผมรวบรวมเรื่องนี้เข้าไปในรายงานนี้ เกี่ยวกับการทำงานของศาลอาญาระหว่างประเทศ ด้วยถ้อยคำที่ดูเรียบง่าย ซึ่งบางทีอาจจะฟังเหมือนเป็นการบ่นร้องทุกข์ อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่เรื่องการบ่นร้องทุกข์เลย มันเป็นเพียงการแสดงออกที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผมดังนี้:
มันยังคงเป็นเรื่องที่ยากอย่างเหลือเชื่ออยู่ ในการที่จะเปลี่ยนแนวทางสถาบันของเรา (ซึ่งต้องพึ่งต่อการสนับสนุนทั้งหมดจากรัฐภาคี) ให้กลายเป็นศาลโลกซึ่งมีการรู้จักกันดีทั่วทุกมุมโลก และสามารถปฎิบัติงานได้เป็นผลอย่างแท้จริงได้ ผู้คนหลายๆ คน ควรต้องสร้างความเพียรพยายามอย่างมากต่อไปอีกและควรมีความขันติอดทนอย่างยิ่งยวดด้วย
ทำไมถึงต้องเป็นอย่างนี้ล่ะ? มันมีเหตุผลอยู่หลายประการ บางทีในตอนสรุปการรายงานครั้งนี้ อีกครั้งหนึ่งที่ผมจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะบางประการ รวมไปถึงข้อจำกัดที่มีอยู่ในธรรมชาติของระบบนี้ ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศเองก็เพียงต้องจำยอมอยู่ในภาวะนี้ และแม้กระทั่งตัวผู้นำซึ่งเป็นตัวแทนเอง ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายอย่างที่พวกเขาอาจจะชอบต่อเรื่องนั้นๆ
ประการแรก: เป็นเรื่องที่แน่นอนที่สุด ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เป็นองค์กรที่ต้องพึ่งพากับความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพกับรัฐภาคี หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อจะต้องเผชิญกับประเด็นสำคัญๆ ในเรื่องการจับกุมและการมอบตัวของบุคคลต่างๆ ซึ่งมีชื่ออยู่ในหมายจับ; การปราศจากอำนาจบริหารในรูปแบบใดๆ ของศาลอาญาระหว่างประเทศนั้น เป็นข้ออ่อนแอซึ่งเห็นได้อย่างแน่ชัด พูดง่ายๆ ก็คือ เหมือนกับข้อเท้าของอคีลิสนั่นเอง
แท้จริงแล้ว ปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งทางศาลอาญาระหว่างประเทศจะต้องเผชิญหน้านั้น ตั้งอยู่ในประเด็นที่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้กระทำการจับกุมและส่งตัวในนามของศาลอาญาระหว่างประเทศเล่า? เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมดามาก: เมื่อไม่มีการจับกุม, ก็ไม่มีการพิจารณาคดี
บางที คุณอาจจะสนใจที่จะได้รับฟังถึงเรื่องที่ผมเพิ่งกล่าวไว้ในการสัมภาษณ์ในหัวข้อนี้ -- ในความพยายามที่จะพูดอย่างตรงไปตรงมา ตามที่ผมได้เห็น ตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ผมได้ประกาศว่า:
“ผมเห็นด้วยทุกอย่างกับท่านอัยการโมเรโน-โอแคมโป้ ที่กล่าวว่า รัฐภาคีนั้นจะต้องให้การสนับสนุนกับเราอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้โดยการทำงานอย่างกระตือรือร้นต่อการจับกุมผู้ต้องหา รัฐภาคีไม่ต้องการให้ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจของตนเองในเรื่องการจับกุม ดังนั้น รัฐภาคีจะต้องจัดตั้ง (หรือมาปฎิบัติงานได้ทันท่วงที) ทีมงานที่สามารถทำการจับกุมผู้ต้องหาได้เพื่อศาลของเรา เหมือนกับว่ามันเป็นกิจวัตรมากน้อยตามวันเวลาที่มีอยู่ตอนนี้ ในการใช้กำลังปราบปรามอาชญากรที่ติดอาวุธภายในประเทศของตนเอง”
ประการที่สอง: ปัจจัยอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดคือ เรื่องที่ไม่เคยคาดการณ์มาก่อน (แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องที่ลำบากอย่างใหญ่หลวงทีเดียว) ต่อการที่จะแสวงหาหลักฐานที่ต้องการ ทางศาลอาญาระหว่างประเทศต้องกระทำการสอบสวนอันยุ่งยากซับซ้อนด้วยความจำเป็นในอาณาเขตที่ห่างจากกรุงเฮก (ประเทศเนเธอร์แลนด์ – ผู้แปล) เป็นระยะทางหมื่นๆ กิโลเมตร อยู่ในอาณาเขตซึ่งมีความยากลำบากต่อการเดินทาง และ สถานการณ์ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอย่างง่ายดายและมันอาจจะมีความยากลำบากต่อการเก็บหาหลักฐาน ณ ที่นั้นด้วย
ประการที่สาม: ตามปรกติแล้ว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ถูกกระทำระหว่างศึกสงครามในเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากคำสั่ง “จากเบื้องบน” ซึ่งออกให้โดยผู้นำประเทศทุกประเภท ซึ่งในเวลาเดียวกัน กระทำการเพียรพยายามทุกวิถีทางที่จะปกปิดความรับผิดชอบของพวกเขาเองต่ออาชญากรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น ในการติดตามภาระหน้าที่เหล่านี้ ทางศาลอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำไปวางขัดอยู่อย่างไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ ระหว่าง ขั้วของอำนาจทางการเมืองที่มีอยู่อย่างโหดเหี้ยมในด้านหนึ่ง กับ สิทธิทางกฎหมายและสิทธิของมนุษยชนในอีกด้านหนึ่ง ดังนั้น บ่อยครั้งที่หน้าที่การงานของศาลอาญาระหว่างประเทศจะถูกขัดขวางอยู่อย่างต่อไป โดยกระแสลมทางการเมืองที่เป็นปฎิปักษ์ หรือ ที่แท้จริงแล้ว คือ การตำหนิประนามทางการเมืองของทุกสีทุกฝ่าย
ผมขอจำกัดตัวเองกับการชี้ให้ทราบถึงเรื่องต่างๆ ในขณะนี้ ผมขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องเหล่านี้ ไม่ได้มีความประสงค์ต่อการตำหนิใดๆ และแน่นอนที่สุดว่า มันไม่ใช่สัญญาณที่ผู้พิพากษาออกมาพูดคุยกับท่านในรูปแบบที่ทำให้เกิดการท้อแท้หมดกำลังใจ ผมเองมีความกังวลมากกว่าในการที่จะให้คุณได้ทราบถึง “ตรวจสอบความเป็นจริง” ดังนั้น เราทุกคนก็มีความคิดเห็นแบบเดียวกันโดยการขยายความคิดออกไปอย่างไกลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงสภาพการณ์ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศจะต้องกระทำในขณะนี้และในอนาคต
นอกจากนี้ กรุณาอนุญาติให้ผมกล่าวย้ำ ขอเตือนให้ทราบว่า บ่อยครั้งที่ผมได้ให้ข้อคิดเห็นบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งผมมีความรู้สึกอย่างแรงกล้าทีเดียวเกี่ยวกับ:
เปรียบเทียบกับปัญหาและวิกฤติการณ์อันรุนแรงต่างๆ ในโลกนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศจะเป็นรูปแบบที่เล็กและอ่อนแอ, ดูเหมือนกับว่าเป็นสัญญลักษณ์มากกว่าอำนาจ ถ้ามันเป็นเพียงแค่เหตุผลซึ่งเกี่ยวกับทุนดำเนินการและสมรรถภาพ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็คงไม่สามารถที่จะกระทำการได้มากไปกว่าการพิจารณาตัดสินคดีที่น่ายกย่องเป็นแบบอย่างอยู่แค่สองสามคดีเท่านั้น
แต่เราได้เดินมาอย่างยาวนาน ในทศวรรษที่แล้ว (ปี ค.ศ. 1990-1999) ซึ่งเป็นทศวรรษของศตวรรษที่เพิ่งผ่านมา, 12 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าศาลอาญาระหว่างประเทศจะเป็นประเภทหนึ่งประเภทใดในยุคพระศรีอารย์ หรือความเพ้อฝันนั่นเอง แต่ในวันนี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นความจริงที่ปฎิบัติงานให้เห็นกัน ถึงแม้ว่าการสัมมนาของคุณในที่นี่กับผู้พิพากษาคนนี้จากองค์กร ไอซีซี จะเป็นด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม คือส่วนหนึ่งของความจริงที่ปรากฎให้เห็น มันเป็นความปรารถนาของผมที่ว่า บางท่านอาจจะกลายเป็นผู้สนับสนุนกับศาลอาญาระหว่างประเทศที่มีความสันทัดกรณี อาจจะถึงกับเป็นผู้ลงมือเอง ในกระทำการช่วยเหลือสนับสนุนต่อสาส์นเรื่องสำคัญๆ ของทางศาลอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย สาส์นเรื่องอะไร? แท้จริงแล้ว สาส์นของ องค์กร ไอซีซีเป็นเรื่องที่มีอานุภาพเป็นอย่างมาก:
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันต่อหน้ากฎหมาย ไม่มีบุคคลใดที่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงทั่วทุกมุมโลก มีความพร้อมใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อความมั่นใจที่ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม ไม่สามารถที่จะหลบหนีไปโดยปราศจากการถูกลงโทษได้ ไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำความผิดนั้น จะเป็นชนชาติใดๆ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์สูงส่งเท่าไร
ดังนั้น เท่าที่ความสามารถของเรามีอย่างสูงที่สุด และ สมรรถภาพของเรานั้น มันยิ่งใหญ่กว่าที่หลายๆ คนได้คิดไว้ อย่างน้อยที่สุด นี่คือประสบการณ์ของผม - ขอให้พวกเรามีความกล้าหาญและมองโลกในแง่ดี ถึงงานที่กำลังดำเนินอย่างก้าวหน้าอยู่ในขณะนี้ เพื่อความยุติธรรมที่ดีที่สุดในโลก
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
จบการปาฐกถา
ความคิดเห็นของผู้แปล:
บทความนี้ ได้ถูกลงมาโพสต์อยู่ที่เวปขององค์กร ไอซีซี มาเป็นเวลาเกือบหนึ่งปีแล้ว แต่ไม่ทราบว่า มีท่านผู้ใดสนใจในเรื่องนี้บ้าง ดิฉันพยายามหาคำแปลอยู่นาน แต่ไม่พบ (อาจจะมีการแปลเป็นภาษาไทยอยู่ในคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) คิดว่า เนื้อหาใจความคงจะไม่แตกต่างจากผู้แปล ถ้ามีการผิดพลาดในคำจำกัดความบางเรื่อง ดิฉันขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
ที่ยังสงสัยไม่หายก็คือว่า สื่อกระแสหลักของประเทศไทย เงียบเชียบเอามากๆ ในเรื่องที่ท่านคาอูล เดินทางมาที่ประเทศไทยเมื่อต้นปีนี้ (มกราคม พ.ศ. 2554)
ดวงจำปา
ลิงค์ของบทความเกี่ยวเนื่อง:
บทความแปล: ศาลโลกไม่มีอำนาจของศาลในเรื่องของอาชญากรรมบนผืนแผ่นดินไทย
บทความแปล: ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรที่จะเข้าเป็นรัฐภาคีกับศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว
บทความแปล: เสื้อแดงยังคงไม่ท้อ หลังจากที่ศาลโลกกล่าวว่า ไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้
ที่มา internetfreedom
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น