News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กดLike Facebook คุก5ปี อ.นิติราษฎร์ฟันธงมั่วใหญ่แล้วไม่เข้าข่าย

ICT เตือน ! อย่ากด Like, Share, Comment เว็บหมิ่นสถาบันฯ ระวังเจอคุก 5 ปี, ปรับ 1 แสนบาท http://www.9tana.com/node/ict-caution-facebook/?fb_comment_id=fbc_10150975043210508_28294639_10150977632010508

เพจหมิ่น (a lese-majeste page)
รมว.ไอซีที อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ออกมาขู่ว่าคนที่กด like เว็บหมื่นฯ อาจมีความผิด http://www.guardian.co.uk/world/2011/nov/25/thai-facebookers-warned-like-button


จากข่าวด้านบนจึงเป็นที่มาของข่าวต่อไปนี้

เมืองไทยเรานี้แสนดีหนักหนาส่งSMS20ปีกดLikeเฟซบุ๊คคุก5ปี อ.นิติราษฎร์ฟันธงมั่วใหญ่แล้วไม่เข้าข่าย



ติ่งขอเบิ้ลเบาไปหาหนัก-จะทำหนังสือถึงรัฐบาลขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการที่จะเสนอ เบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว แต่แรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย เหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนเคยทำ -มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษก ปชป.

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
26 พฤศจิกายน 2554

ดร.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ @Sawatree กรณีICTเตือน การกด Share หรือ Like หรือ Comment ในเฟซบุ๊คทีี่มีเนื้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ว่า

"การ like หรือ comment เพจ หรือสเตตัสคนอื่น" ถือเป็นการ "เผยแพร่" หรือ "ส่งต่อ" ที่ผิดพรบ.คอมฯ ม. 14 (5) หรือไม่...มีคนพยายามอธิบายว่า "เมื่อไปกดชอบ หรือเมนท์แล้ว มันจะ feed ขึ้นมาในหน้า home ของเราเสมือนหนึ่งเป็นการเผยแพร่แล้ว ดังนั้น ขอให้ user พึงระวัง..."


โดยส่วนตัวเรา เรากลับเห็นว่า เพียงแค่กดชอบ หรือเมนท์ ไม่ถือเป็นการ "เผยแพร่" ตามกฎหมาย

เพราะอะไร ?...เพราะโดยสภาพแล้วการกดไลค์ ผู้กดมีเป้าเพียงแสดงความชื่นชอบเท่านั้น ไม่ได้มี "เจตนา" เผยแพร่ต่อไป....ประเด็นนี้มันอาจตัดได้ไม่มีองค์ประกอบภายใน คือ ไม่มี "เจตนาเผยแพร่"

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะไถพิจารณาเลยไปว่ามี "เจตนาเล็งเห็นผล" จะได้หรือไม่ ..คำตอบก็คือ ..ถ้าจะไถพิจารณาเลยไปว่ามี "เจตนาเล็งเห็นผล" เพราะ ฟังค์ชั่นของเฟสบุ๊ก มีการ โชว์ "ว่าเราไปทำอะไรไว้" ที่ไหน แล้ว "เพื่อน ๆ" อาจเกิดความสนใจเลยจิ้มเข้าไปดูต่อ....ก็อาจต้องถกเถียงกันต่อไปอีก อย่างน้อย ๆ ก็ สองประเด็น คือ

๑. ฟังชั่นของเฟสบุ๊กเปลี่ยนแปลงแทบจะรายเดือน และทั้งผู้ใช้บริการสามารถตั้งเป็นฟังชั่นไม่แสดงผลได้...เช่นนี้อะไรจะเกิดขึ้น กับ

๒. ที่ผ่านมา ประเด็นเรื่องรู้หรือไม่รู้ว่ามีฟังค์ชั่นหรือไม่ มักไม่ถูกนำมาเป็นข้อพิจารณาว่า ผู้กระทำมีเจตนา ยกตัวอย่างเปรียบ การใช้บิททอเรนท์ ผู้โหลดบิท บางคนก็รู้ บางคนก็ไม่รู้ว่า ขณะที่ดาวน์โหลด ตัวเองกำลังเผยแพร่ (อัพโหลด) อยู่ด้วย แต่ที่ผ่านมา คนดาวน์โหลดมักไม่ถูกฟ้องในฐานะผู้เผยแพร่ ถ้าจะผิดก็เป็น "ผู้ใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์" เท่านั้น

ประเด็นเพิ่มเติมอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ การทำให้เกิดการ "ลิงค์" ไป ถือเป็นการเผยแพร่เนื้อหาแล้วหรือ ?? (กม. ต่างประเทศ ยกตัวอย่าง เยอรมัน ไม่ถือเป็นการ "เผยแพร่" แต่เป็นการ "เปิดช่องทางการเข้าถึง" ตามกฎหมายปกติเยอรมันไม่ผิด...สุดท้าย เยอรมันต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดทางอินเทอร์เน็ต ให้ "การเปิดช่องทางการเข้าถึง" เป็นความผิดด้วย ....ปัญหาก็คือ เรื่องแบบนี้ ประเทศไทยยังไปไม่ถึงขนาดนั้น)

ก่อนหน้านี้กระทรวงไอซีที (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) โดย นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ออกประกาศเตือนประชาชนชาวเน็ตทุกคน ถึงเรื่องเด่นประเด็นร้อนที่กำลังเกิดขึ้นบนเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือ Facebook ในช่วงนี้ คือ การโพสต์เนื้อหา(ข้อความ/รูปภาพ) ที่หมิ่นสถานบันฯ โดยขอความร่วมมือให้ทุกคนที่เห็นเนื้อหาดังกล่าว กรุณาอย่ากด Like, Share หรือ Comment ในเนื้อหานั้นเด็ดขาด เพราะยิ่งแต่จะเป็นการช่วยเผยแพร่ข้อความเหล่านั้นให้ออกไปสู่วงกว้างมากขึ้น (ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นด่าทอ หรือต่อต้านก็ตาม) นอกจากนั้น นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ ยังกล่าวต่ออีกว่า ผู้ที่ทำการ อย่ากด Like, Share, Comment เนื้อหาดังกล่าวนั้น ว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยไม่รู้ตัว มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วย

…ส่วนการกด Share หรือ Like หรือ Comment นั้น เป็นการกระทำที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยที่ผู้กระทำอาจไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ข้อมูลต่อในทางอ้อม กระทรวงไอซีที จึงขอให้ประชาชนที่หวังดีและต้องการปกป้องสถาบันปฏิบัติตามคำแนะนำ ของกระทรวงฯ

โดย หากพบเจอเว็บไซต์ไม่เหมาะสมขอให้แจ้งข้อมูลมาที่หมายเลข 1212 รวมทั้งหยุดการเข้าไปดูหน้าเว็บดังกล่าว และไม่บอกตและไม่บอกต่อ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบผู้กระทำความผิดได้อย่างรวดเร็ว สำหรับวิธีปฏิบัติเมื่อพบเจอเว็บไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสมนั้น สิ่งที่ควรกระทำ คือ ห้ามกด Share โดยเด็ดขาด…


มัลลิกา' เตรียมยื่นหนังสือจี้นายกและ รมว.ไอซีที 28 พ.ย.นี้ เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บหมิ่นฯ ชี้อาจใช้ยาแรงสุดคือปิดยูทูปหรือเฟซบุ๊กเหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนทำ

มติชนออนไลน์รายงานว่าเมื่อเวลา 11.15 น. ที่พรรรคประชาธปัตย์ (ปชป.) น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษก ปชป.แถลงว่า ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ตนจะทำหนังสือถึงนายกฯ และ รมว.ไอซีที เพื่อขอให้ปราบปรามเว็บไซต์ที่มีเนื้อหากระทบกระเทือนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการที่ตนจะเสนอ เบาที่สุด คือให้ประสานงานไปยังรัฐบาลที่เว็บไซต์นั้นตั้งอยู่เพื่อขอให้ปิดเว็บไซต์ดังกล่าว แต่แรงที่สุด คือให้ปิดเว็บไซต์ยูทูปหรือเฟซบุ๊กไปเลย เหมือนอย่างที่รัฐบาลจีนเคยทำ ทั้งนี้ ปชป.ได้เปิดเฟซบุ๊ก Fight Bad Web พร้อมอีเมล์ Fightbadweb@gmail.com เพื่อรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 ใน 4 ฐานความผิด ได้แก่ 1.หมิ่นสถาบัน 2.ความมั่นคง 3.ลามกอนาจาร และ 4.การพนัน

"อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมทำร้าย ทำลาย จาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์เวลานี้ได้ลามจากโซเชียลมีเดีย ไปตามร้านเสริมสวย ร้านข้าวต้ม สภากาแฟฯ ในต่างจังหวัด หากผบ.ตร.ต้องการทราบว่ามีร้านไหนบ้าง ดิฉันจะพาไปดูทั้งใน จ.พะเยา ลำปาง และแพร่" น.ส.มัลลิกากล่าว

จาก thaienews


และนี่เป็นข้อมูลอ่านประกอบเรื่องเกี่ยวกัย fb ของ ผู้พันสู้ ตัวจริง

อย่ากลัวข่าวลือเรื่อง fb นี่คือข้อมูลทางกฎหมาย และ ระบบ เนตเวอร์ค
โดยผู้พันสู้ ตัวจริงเมื่อ 18 เมษายน 2011 เวลา 17:19 น.

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พ.ศ. 2544 ,พรบ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551,พรบ.ว่าดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. 2550 พรบ.ดังกล่าวได้ ให้ คำจำกัดความ ของ การพิสูจน์ ซึ่งเอกลักษณ์ของบุคคลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิธีการได้มาซึ่งหลักฐานพยาน ซึ่งแนวทางต่อสู้คดีนั้น ได้ชี้แจง ถึงคำจำกัดความ และข้อกฎหมายดังนี้

1 พระราชบัญญัติวาดวยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓ ว่าด้วยคำจัดการความของ ผู้ให้บริการและผู้ใช้งานในระบบ อินเตอร์เนต ตามผนวก ก.ข้อ (ละไว้)...

2 พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มาตรา 9 และ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ 2551 มาตรา 4 มาตรา 6 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 ตามผนวก ก (ละไว้ )

วิธีการซึ่งได้มาซึ่งพิสูจน์ตัวบุคคลทาง อิเล็คโทรนิค ซึ่งจะต้องประกอบด้วย ip address ต้นทาง ซึ่งจะสัมพันธ์กับ mac address ซึ่งเป็นรหัสประจำตัวของอุปกรณ์สื่อสาร( lan card ) ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ และเกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการ ( server ) ผู้ควบคุมความสัมพันธ์ระหว่าง ip address กับ mac address ณ.ขณะเวลาใดเวลาหนึ่ง และเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถ ดัดแปลงหรือปลอมแปลงการเชื่อมต่อดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย ตาม ผนวก ...รวมทั้งมีโปรแกรมซึ่งสามารถ เข้าไปทำการโจรกรรมข้อมูล (hack) ยกตัวอย่างเช่น program firesheep สามารถแสดงให้ดูได้ตามเอกสารที่แนบรวมทั้งมีบทความเผยแพร่ ทางนิตยสารมติชนรายสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 19-25 พฤศจิกายน ปีที่31 ฉบับ ที่1579 หน้า 100 คอลัมน์ แลไปข้างหน้า ผู้เขียน ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ ชื่อเรื่อง ปลั๊กอินบนไฟร์ฟอกซ์ คลิกเดียวแฮ็คเฟซบุ๊กตามผนวก .. และ สาธิตวิธีการใช้โปรแกรมดังกล่าวตาม Compact disk ที่ส่งมาด้วย ( หาดูได้ใน youtube ) และการสมัครเป็นสมาชิกของศูนย์บริการเฟซบุ๊คนั้น สามารถสมัครเป็นชื่อใครก็ได้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้

3.พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา10 มาตรา 12 มาตร 26,36 และพ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ 2551 มาตรา 7 ซึ่งมาตราข้างต้นกล่าวถึงสิ่งพิมพ์ออก ในกรณีนี้ จะต้องได้การรับรองจาก ศูนย์บริการข้อมูลดังกล่าว (server ) ซึ่งเป็นศูนย์บริการข้อมูลสาธารณะ ( public domain) คือเว็บไซด์ เฟซบุ๊ค (www.facebook.com) หรือคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็คโทรนิคเป็นผู้รับรอง และในสิ่งพิมพ์ออก นั้นจะต้องได้รับการรับรองจากคณะกรรมการดังกล่าว ณ.เวลานั้น ซึ่งสิ่งพิมพ์ออกนั้นสามารถดัดแปลงปลอมแปลงได้แสดงตัวอย่างการปลอมแปลง เอกสาร ไว้แล้วตาม ผนวก .(ละไว้แต่มี 55 ) .


ด้วย พรบ.ประกอบดังกล่าวข้อ ๑-๓ ข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ข้อมูลในศูนย์บริการและสิ่งพิมพ์ออกเหล่านั้น ยังไม่สามารยืนยันได้ว่าเป็นของ ใคร แน่ ๆ เนื่องจาก ไม่มีทางที่ พนักงานสอบสวน ได้รับ ผลการตรวจพิสูจน์หลักฐาน และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากหน่วยที่เกี่ยวข้องจริง ( fb ไม่ให้ ip แน่นอน ) การตรวจ พิสูจน์หลักฐาน ว่ามีการ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด มี mac address ตรงกันหรือไม่ เนื่องจาก ต้องมีการเลือกข้อความมาใช้ในการกล่าวหา

ดัง นั้น ต้อง พิสูจน์ ให้ได้ ว่ามาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดบ้าง เนื่องจากยึดไป ip address ได้มาจาก server ของเว๊ปไซด์ เฟซบุ๊ค ( www.facebook.com ) จริงหรือไม่ ถ้าไม่ได้มา มีวิธีการพิสูจน์อย่างไรว่าจะตรงกับ mac address ของอุปกรณสื่อสารเครื่อง( lan card นะครับ ) คอมพิวเตอร์ที่ได้ยึดไปพิสูจน์ กับกองพิสูจน์หลักฐาน ข้อมูล จราจรทางคอมพิวเตอร์ (log file ) ที่มีอยู่นั้น มาจากไหน ข้อมูลจาก isp ( ผู้ให้บริการอินเตอร์เนต) คือ บริษัทใดสามารถมาโยงความสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้หรือไม่



นี่คือบทสนทนากับผู้รู้ถกเถียงกันครับ

มีคนแย้งมาแต่ผมยังได้อธิบายละเอียด

เค้าดักที่ GateWay ค่ะ เพราะเน็ตของคนไทยทุกคน ต้องออกนอกด้วยการผ่าน Backbone Gateway ที่ กสท และ ที่สำคัญ ทาง DSI มันสามารถไปขอ log จาก ISP ได้ทุกยี่ห้อ ดังนั้นถ้าเค้าจะดักใครจริงๆ เค้าแค่เอา url ขาออกเวลา log on fb ไปขอดู log ที่ true, 3bb, tot ก้ได้ ถ้าหาไม่เจอ ก้อไปดักที่ backbone gateway อีกทีนุง



อันนี้ละเอียดและเข้าใจง่าย

ในเมื่อ ประเด็นคือ

ต้นทาง(เครื่องเราคือ mac ) --> กลางทาง(isp บริษัทผู้ให้บริการ ) ---->ปลายทาง (server fb ที่อเมริกา )

3 อย่าง ip ต้องตรงกัน ครับ

หาก ขาด ปลายทาง จะหา กลางทาง ต้นทางยังไงครับ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ให้ชัดเจน ในกรณี mac id ของเครื่องคือตัวสำคัญในการพิสูจน์ เพราะว่า จะติดอยู่กับ lan card เป็นเลข ฐาน 16 ไม่มีทางซ้ำ้กันครับ ในเมื่อพิสูจน์ ว่า ip ที่server fb ไม่ได้ว่าคือ ip อะไร มีแต่ต้นทาง กลางทาง แล้วพิสูจน์อย่างไรว่าตรงกัน



อีกคำตอบ ---มันต้องกรองทุกตัวอักษรถึงใช้ใน ชั้นศาลได้ ซึ่ง ไม่มีทาง เพราะว่าอักษรส่งเป็น digital. ที่server. ถึงจะแสดงผลได้ว่าคืออะไร เพราะว่าเรารัน ผ่าน website fb. ซึ่งเข้ารหัสอยู่แล้ว หมายถึงเราเห็นที่เครื่องเราเป็นอักษรแต่จริง ๆ เป็น ตัวเลข เมื่อผ่านระบบ internet ซึ่ง กสท.หรือ isp (ผู้ให้บริการ ) ไม่มีทางใช้เป็นหลักฐานได้เนื่องจากมั่นใจด้วยว่า ยากในการแกะ รหัส และจะกลายเป็นผิดกฎหมายเสียเอง

ที่มา fb ผู้พันสู้ ตัวจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น