ศปช.เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่ www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์จำหน่าย 1 ก.ย.ขณะที่ฉบับ คอป.ยังเงียบ ส่วน กสม.เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่
เว็บ www.pic2010.org มีอินโฟกราฟฟิคแสดงรายละเอียดผู้เสียชีวิตในจุดต่างๆ
19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น
ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราว เดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อ เดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้
พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ และนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว
“นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูก กฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทองกล่าว
กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช.เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกับการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่
กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงานการ ชันสูตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง
“ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการได้” กฤตยากล่าว
นอกจากนี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้มี การไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกับ นปช.และกลุ่มเกี่ยวพัน จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมาระบุว่ามี 22 ศพ กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี
เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมงาน กล่าวว่า กลุ่ม นปช.ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองตามครรลอง แต่สถานการณ์กลับพาไปสู่ความรุนแรง โดยความรุนแรงเริ่มต้นจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.จากเหตุการณ์ล้อมสภาของกลุ่ม นปช. ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็เป็นการจัดการที่เกินกว่าเหตุ และการใช้กฎหมายนี้นำไปสู่การใช้กำลังของหน่วยทหารจนเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการประกาศ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ซึ่งเกิดการปะทะกัน ดันกันในพื้นที่โดยรอบราชดำเนิน แต่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเกิดขึ้นหลัง 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่มครึ่ง
เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
เกษมกล่าวว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมืองของตนเองและมีการเรียกร้องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้
ขวัญระวี วังอุดม จากโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การวิเคราะห์จากเอกสารทางการ เอกสารชันสูตรศพ มีข้อจำกัดที่เอกสารเหล่านี้อาจระบุข้อมูลคลาดเคลื่อน และศปช.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกระสุนปืน แต่ก็พยายามตรวจเช็คจากพยานในเหตุการณ์และญาติ โดยมีการสัมภาษณ์พยานเกือบ 80 คน ซึ่งถึงที่สุดรายงานนี้ควรนำมาเทียบดูกับฉบับของ คอป.ที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ทนายความอิสระ ที่ร่วมรวบรวมข้อมูลเรื่องการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมกล่าวว่า การรวมรวมข้อมูลยากมากเพราะไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการทำจดหมายขอข้อมูลไป บางหน่วยงานก็ไม่ให้เพราะถือว่าไม่ใช่คู่ความในคดี นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลจากผู้จับกุมต่างๆ ในหมู่ประชาชนเองก็เกิดสงสัยหวาดระแวงว่าอาจจะเป็น กอ.รมน. หรือเปล่าก็จะถูกปฏิเสธการให้ข้อมูลจากประชาชนด้วย
ในการชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย.2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่น
ในการดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิด ระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
จากการอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้น
เสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมืองทำให้เห็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติบโตมาจากหยาด เหงื่อและเลือดเนื้อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิทธิประกันตัวแก่นักโทษการ เมืองเหล่านั้น
ที่มา prachatai
เว็บ www.pic2010.org มีอินโฟกราฟฟิคแสดงรายละเอียดผู้เสียชีวิตในจุดต่างๆ
19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น
ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราว เดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อ เดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้
พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ และนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว
“นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูก กฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล” พวงทองกล่าว
ภาพจากสไลด์นำเสนอของกฤตยา อาชนิจกุล
กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากศูนย์สิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รายงาน ศปช.เป็นหนังสือเล่มแรกใน ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยที่ให้รายละเอียดผู้เสียชีวิตเป็นรายๆ ไป เมื่อก่อนแม้มีการทำรายงาน ก็เป็นเพียงเชิงอรรถ เป็นฟุตโน้ตเล็กๆ ว่าใครตายจำนวนเท่าไร แต่งานนี้ต้องการบอกว่า เชิงอรรถนี้มีความสำคัญ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การอำพราง ความอัปลักษณ์และความอำมหิต ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง คอป. ก็อิหลักอิเหลื่อ มีความขัดแย้งในตนเอง ในหน้าที่ค้นหาความจริงกับการปรองดอง ส่วนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติก็ล้มเหลวในการทำหน้าที่
กฤตยา ยังกล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “ความตายที่พร่าเลือน” ซึ่งเป็นผลจากการชันสูตรพลิกศพ และสามารถสรุปได้เลยว่าไม่ได้รับความเอาใจใส่จากแพทย์มากพอในการทำรายงานการ ชันสูตรพลิกศพที่ละเอียด ที่มีอยู่ก็มีความหละหลวม และมีข้อมูลผิดพลาดหลายราย จนญาติของผู้เสียชีวิตต้องทำคำร้อง เช่น กรณีนายอัครเดช ขันแก้ว ผู้เสียชีวิตที่ถูกยิงในวัดปทุมฯ รายงานชันสูตรศพบอกว่า ถูกทุบด้วยของแข็ง
“ที่สำคัญ รายงานเหล่านี้ไม่เผยแพร่สาธารณะ เราขอเรียกร้องให้เปิดเผย เพราะในปี 2535 มีการนำเอกสารชันสูตรพลิกศพ เปิดเผยสาธารณะ และสามารถนำมาวิเคราะห์เชิงวิชาการได้” กฤตยากล่าว
นอกจากนี้กฤตยายังกล่าวอีกว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า คือ การปฏิเสธความยุติธรรม ดังนั้นจึงเสนอให้ดีเอสไอโอนเรื่องกลับให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อให้มี การไต่สวนการตาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ที่ผ่านมาดีเอสไอใช้เวลานานมาก จนถึงเดือนมกราคม 2554 ถึงยอมแถลงว่าการตายแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคิดว่าเป็นการกระทำกับ นปช.และกลุ่มเกี่ยวพัน จำนวน 12 ราย กลุ่มสอง พบพยานแล้วว่าเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนแรกระบุว่ามี 13 ราย แต่เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมาระบุว่ามี 22 ศพ กลุ่มสาม สอบสวนแล้วแต่ไม่ปรากฏตัวผู้กระทำผิด 64 ราย แบ่งเป็น 18 คดี
เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมงาน กล่าวว่า กลุ่ม นปช.ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ ถือเป็นข้อเรียกร้องทางการเมืองตามครรลอง แต่สถานการณ์กลับพาไปสู่ความรุนแรง โดยความรุนแรงเริ่มต้นจากการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล เมื่อวันที่ 7 เม.ย.จากเหตุการณ์ล้อมสภาของกลุ่ม นปช. ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็เป็นการจัดการที่เกินกว่าเหตุ และการใช้กฎหมายนี้นำไปสู่การใช้กำลังของหน่วยทหารจนเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการประกาศ “ขอคืนพื้นที่” ในวันที่ 10 เม.ย.2553 ซึ่งเกิดการปะทะกัน ดันกันในพื้นที่โดยรอบราชดำเนิน แต่ความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดเกิดขึ้นหลัง 5 โมงเย็นถึง 3 ทุ่มครึ่ง
เกษม กล่าวถึงปมปัญหาสำคัญเรื่อง “ชายชุดดำ” ซึ่งคนเสื้อแดงเห็นว่าเป็นฮีโร่มาช่วยในเวลาที่เพลี่ยงพล้ำ ขณะที่ ศอฉ.เห็นว่าเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น เขาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความชัดเจนได้ และเป็นปริศนาภายในกองทัพเอง ซึ่งโดยส่วนตัวเชื่อว่า ชายชุดดำเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ ฉวยใช้สถานการณ์เพื่อสลายขั้วอำนาจในกองทัพ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนเสื้อแดงเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ทหารกับคนชุดดำยังไล่ล่ากัน ออกมานอกบริเวณปะทะ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ดุสิต เสียชีวิตเพราะลูกหลงจากการปะทะ และจากหลักฐานชี้ชัดว่าถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
เกษมกล่าวว่า สิ่งที่เห็นต่อเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงคือ คนเสื้อแดงก้าวพ้นจากข้อกล่าวหาว่าอยู่ในเงาของทักษิณ เขามีพลวัตรทางการเมืองของตนเองและมีการเรียกร้องความเป็นธรรม ยอมไม่ได้กับคนเจ็บคนตาย ทำให้หน่วยการเมืองต้องคล้อยตาม และพยายามจัดการเรื่องนี้
ขวัญระวี วังอุดม จากโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า การวิเคราะห์จากเอกสารทางการ เอกสารชันสูตรศพ มีข้อจำกัดที่เอกสารเหล่านี้อาจระบุข้อมูลคลาดเคลื่อน และศปช.ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านกระสุนปืน แต่ก็พยายามตรวจเช็คจากพยานในเหตุการณ์และญาติ โดยมีการสัมภาษณ์พยานเกือบ 80 คน ซึ่งถึงที่สุดรายงานนี้ควรนำมาเทียบดูกับฉบับของ คอป.ที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
ขวัญระวี เสนอว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ ต้องสร้างความจริงให้ปรากฏ ไม่ว่าผ่านวิธีการไต่สวน ตั้งคณะกรรมการอิสระที่เป็นกลาง, นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ,ห้ามใช้ศาลทหาร หรือพิจารณาคดีลับ, สร้างหลักประกันว่ามาตรา 17 พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะไม่มีอุปสรรค, ห้ามใช้โทษประหารชีวิต, ชดเชยเยียวยาอย่างทั่วถึง, ปฏิรูปกลไก สถาบันทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ทนายความอิสระ ที่ร่วมรวบรวมข้อมูลเรื่องการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมกล่าวว่า การรวมรวมข้อมูลยากมากเพราะไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการทำจดหมายขอข้อมูลไป บางหน่วยงานก็ไม่ให้เพราะถือว่าไม่ใช่คู่ความในคดี นอกจากนี้ การเก็บข้อมูลจากผู้จับกุมต่างๆ ในหมู่ประชาชนเองก็เกิดสงสัยหวาดระแวงว่าอาจจะเป็น กอ.รมน. หรือเปล่าก็จะถูกปฏิเสธการให้ข้อมูลจากประชาชนด้วย
ในการชุมนุมที่เก็บข้อมูลหลังจากสลายการชุมนุมปี 2553 จนถึง เม.ย.2555 พบว่า ประชาชนที่ถูกจับกุมมี 1,857 คน ซึ่งบางคนไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย และจากจำนวนทั้งหมดถูกดำเนินคดี 1,763 คน โดยกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีคดีมากที่สุด รองลงมาคือภาคอีสาน โดยแยกลักษณะการฟ้องได้ 3 ลักษณะ คือ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, คดีอาญาทั่วไปที่ไม่ได้ฟ้องด้วย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน และการฟ้อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินร่วมกับความผิดอาญาฐานอื่น
ในการดำเนินคดีมีการรวบรัด มีหลายคดีที่เกี่ยวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ตัดสินคดีโดยลงโทษจำคุก 1 ปี แล้วจำเลยอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเพราะการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นผิด ระเบียบ ศาลอุทธรณ์เชื่อว่าไม่ได้แจ้งสิทธิให้จำเลย คำพิพากษาไม่ชอบก็ต้องกลับมาดำเนินคดีใหม่ เมื่อมาดำเนินคดีใหม่ก็ปัญหาคือ พยานโจทก์ที่ใช้ส่วนมากเป็นทหาร ต้องไปสืบพยานกันตามแหล่งที่อยู่ของทหารตามจังหวัดต่างๆ ทำให้ผู้เสียหายจำนนในการต่อสู้เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง
จากการอ่านคำฟ้องหลายคดีพบว่า พยานหลักฐานหลายชิ้นที่ถูกนำมาใช้เพื่ออ้างว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืน พ.ร.ก. คือ ตีนตบ ธง นปช. หมวก ผ้าพันคอ พลุ ตะไล เป็นต้น
เสาวลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีผู้ที่ติดคุกอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับการประกันตัวอีก 22 คน โดยเธอระบุว่าการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินส่งผลกระทบต่อกระบวนการดำเนินคดีคือมีการซ้อม มีการจูงใจให้รับสารภาพ แต่ปัญหากระบวนการยุติธรรมนั้นมีมาอย่างยาวนานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีช่วงเสื้อแดงชุมนุม เพียงแต่การชุมนุมในทางการเมืองทำให้เห็นสองมาตรฐานของกระบวนการยุติธรรม และขอเรียกร้องให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นรัฐบาลที่เติบโตมาจากหยาด เหงื่อและเลือดเนื้อของคนเสื้อแดงดำเนินการให้สิทธิประกันตัวแก่นักโทษการ เมืองเหล่านั้น
ที่มา prachatai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น