3 พฤษภาคม 2555
โดย Bulunraya Khan
ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร ได้มีการ สืบพยานในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา112 ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักกิจกรรมและเคลื่อนไหวด้านแรงงาน อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin โดยในช่วงเช้าเป็นการสืบพยานจำเลยจำนวน 2 ปากคือ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล กลุ่มนิติราษฎร์ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ .) รศ.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ.
นายปิยบุตร ได้เบิกความต่อศาลว่า การกำหนดโทษในกฎหมายหมิ่นได้มีการกำหนดดดทษที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เพิ่มโทษกฎหมายหมิ่นฯ ทั้งระบบเพื่อจะกำจัดสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของนักศึกษา นอกจากกนั้นแล้วอัตราการลงโทษในคดีหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ยังมีบทลงโทษที่รุนแรงเกินไปเมื่อเทียบกับการลงโทษในคดีหมิ่นประมาทบุคคล ธรรมดาตามมาตรา 326 และการที่ มาตรา 112ถูกจัดไว้ในหมวดความมั่นคงนั้น ถือว่า ขัดกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และไม่รักษาสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา เพราะผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
พยานมีความเห็นว่า การหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันแต่ประการใด เพราะทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อเสียชื่อเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ในความเห็นของพยานนั้น การลงโทษในคดีหมิ่นฯ ตามมาตรา 112 มีบทลงโทษที่รุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่ได้กระทำ
พยานเบิกความต่อไปว่า รู้จักและเคยอ่านบทความในนิตยสาร Voice of Taksin สำหรับตนเองนั้นมีความเห็นว่า เนื้อหาของบทความในนิตยสารดังกล่าวมีลักษณะที่ก้าวหน้ามากกว่านิตยสาร เศรษฐกิจ การเมือง ทั่วๆไปในท้องตลาด เมื่อถามถึงบทความที่ปรากฎในนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกระทำผิดในมาตรา 112นั้น พยานได้อ่านแล้วและมีความเห็นว่า ในเนื้อหาของบทความในคอลัมม์ คมความคิดตอน “ แผนนองเลือด” ที่เขียนโดย จิตร พลจันทร์นั้น เป็นบทความที่ผู้เขียนมีเจตนาที่จะส่งสัญญาณเตือนไปยังกลุ่ม”อำมาตย์” ไม่ให้กระทำการใดใดเหมือนเช่นที่เคยทำมาแล้วในช่วง 6 ตุลา 19 โดยพยานมีความเห็นว่า เนื้อหาในบทความนี้ ไม่ได้กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์เลยแม้แต่น้อย แต่เป็นการมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอำมาตย์มากกว่า และเมื่ออ่านบทความโดยตลอดเลย พยานมีความเห็นว่า ไม่มีเนื้อหาตอนใดเลยที่ทำให้นึกถึงสถาบันพระมหากษัติรย์
เมื่อถามถึงนิยามคำว่า “อำมาตย์” นายปิยบุตรได้ให้คำจำกัดความว่า หมายถึง บุคคลชนชั้นหนึ่งที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมืองไทยและอยู่คู่กับการเมืองไทยมาตลอด
ส่วนในบทความ 6ตุลา แห่ง2553 นั้น หลวงนฤบาล ที่ปรากฎในเนื้อหาของบทความดักล่าวป็นสัญลักษณ์แทนอำมาตย์ ไม่ใช่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ประการใด
พยานได้ให้ความเห็นว่า ในการดำเนินคดีนี้ ผู้ที่มีหน้าที่หาผู้กระทำผิดมาลงโทษก็คือเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลยซึ่งเคยเป็น บรรณาธิการนิตสาร Voice of Taksin อีกทั้งในปัจจุบัน พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา48 ที่บัญญัติให้ บก.หนังสือต้องรับผิดชอบต่อบทความที่ตีพิมพ์ ปิยบุตรทราบว่าได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ปัจจุบันใช้ พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 แทน ซึ่งระบุว่าบก.และผู้พิมพ์โฆษณาไม่ต้องรับผิดชอบเนื้อหาบทความ แม้ว่าจะเป็นผู้เผยแพร่บทความที่มีเนื้อหาหมิ่นก็ตาม
พยานปากที่ 2 คือ รศ.สุดสงวน สุธีสร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พยานได้เบิกความว่า รู้จักนิตยสาร Taksin ไม่เคยรู้จัก จิตร พลจันทร์แต่รู้จักนายจักรภพ เพ็ญแข ในฐานะที่เป็นแกนำปราศัย ไม่ทราบว่า จิตร พะลจันทร์เป็นนามปากกาของนายจักรภพ เพ็ญแขหรือไม่ พยานเคยเขียนบทความลงตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆเช่นจุลภาค มูลนิธิ 111 ฯลฯ โดยใช้ชื่อจริง นามสกุลจริง โดยที่บรรณาธิการของนิตยสารเหล่านั้นไม่เคยแก้ไขเนื้อหาในบทความที่ตนเขียน เลยแม้แต่น้อย พยานไม่ได้มีความสนใจในเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แต่ประการใด เมื่อได้อ่านบทความดังกล่าวในนิตยสาร Voice of Taksinแล้ว คิดว่า บทความดังกล่าวมีลักษณะเป็นวรรณกรรมทางการเมือง เป็นการเล่าเรื่องที่ไม่ได้ยึดโยงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และเป็นบทความที่ขียนขึ้นในลักษณะจินตนาการมากกว่า เนื้อหาของบทความทั้งสองนั้นก็ไม่เกี่ยวกับเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ และ ในความเข้าใจของพยาน เข้าใจว่า อำมาตย์หมายถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ในช่วงบ่ายเป็นการสืบพยานจำเลยปากที่ 3 คือ ผศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้เบิกความว่า พยานไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใด พยานรู้จักนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวด้านแรงงานที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของผู้ใช้ แรงงานและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแนวร่วมประชาชนต่อต้นเผด็จการ (นปก.) โดยที่นายสมยศเป็นบุคคลที่มีแนวคิดในทางต่อต้านอำนาจรัฐประหาร และคัดค้านรัฐธรรมนูญปี 2550 ในปี 2553 พยานและนายสมยศได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการเข่นฆ่าประชาชนของรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเป็นเหตุให้ทั้งนายสมยศและตนเองถูกจับในข้อหาฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน และถูกควบคุมสตัวไปกักขังไว้ที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี ต่อมาพยานได้ยื่นฟ้องศอฉ. ในเรื่องผังล้มเจ้า เนื่องจากมีชื่ออยู่ในผังดังกล่าวเพราะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง แต่เมื่อพลเอกสรรเสริญ ออกมายอมรับว่า ผังล้มเจ้าไม่เป็นความจริง ตนจึงถอนฟ้อง
ในความเข้าใจของพยาน พลเอกเปรมคือตัวแทนของระบอบอำมาตย์ ดังจะเห็นได้ว่าพลเอกเปรมมีบทบาทในทางการเมืองอย่างชัดเจนในเหตุการณ์ รัฐประหารปี2549 พลเอกเปรมเป็นผู้นำนายทหารที่ทำการรัฐประหารเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมและพระบรมราชินีนาถ
พยานเคยเขียนบทความลงตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆหลายฉบับรวมทั้งนิตยสารVoice of Taksin ซึ่งมีชื่อพยานปรากฎอยู่ในนิตยสารดังกล่าวด้วยโดยพยานได้รับค่าตอบแทนจากการ เขียนบทความตอนละ1000บาท ในการเขียนบทความลงตีพิมพ์ในนิตยสารนั้น พยานได้ใช้ชื่อและนามสกุลจริง
พยานเบิกความต่อไปว่า พยานไม่ทราบว่า จิตร พลจันทร์เป็นนามปากกาของใคร และกล่าวว่า ในการเขียนบทความ หากผู้เขียนเป็นคนที่มีชื่อเสียง โดยทั่วไปแล้ว บรรณาธิการจะไม่แก้ไขเนื้อหาในบทความนั้นๆ
พยานมีความเห็นว่า บทความใน Voice of Taksin เป็นบทความที่มุ่งโจมตีกลุ่มอำมาตย์เป็นหลัก และหลวงนฤบาลที่ปรากฎชื่ออยู่ในบทความนั้น น่าจะหมายถึงกลุ่มอำมาตย์ ไม่ได้หมายถึงพระเจ้าอยู่หัวอย่างเด็ดขาด คำว่าหลวงนฤบาลจึงไม่สามารถโดยงไปถึงพระเจ้าอยู่หัวได้เลย และในบทความนี้ก็ไม่มีคำพูดใดที่กล่าวถึงพระเจ้าอยู่หัวเลยแม้แต่น้อย จึงมีความเห็นว่า เป็นการตีความเพื่อกลั่นแกล้งนายสมยศซึ่งเป็นพรับบาปในคดีนี้มากกว่า และเมื่อพยานได้อ่านบทความที่กล่าวถึงโรงพยาบาลพระราม9แล้ว ไม่เข้าใจว่า มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระบามทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างไรพยานอ่านแล้วไม่ เข้าใยว่าหมายความว่าอะไรแต่ที่ไม่เข้าใจมากกว่านั้นคือบทความนี้กลายเป็น หลักฐานในการเอาผิดกับนายสมยศซึ่งเป็นจำเลยได้อย่างไร
ทั้งนี้ ในความเห็นของพยาน คิดว่า มาตรา 112ได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่กลั่นแกล้งผู้ที่มีความเห็นและ คิดต่างทางการเมือง
เมื่อถามถึง “ถุงแดง”ที่ปรากฎอยู่ในนิตยสาร Voice of Taksin พยานมีความเห็นว่า ไม่เกี่ยวเนื่องกับพระเจ้าตากสิน เพราะพระเจ้าตากสินถูกประหารชีวิตโดยการใช้ดาบและในขณะนั้น พระเจ้าตากสินยังไม่นับว่าราชวงศ์จึงไม่ใช้การประหารชีวิตด้วยท่อนจันทร์
สำหรับการสืบพยานจำเลยที่จะมีขึ้นต่อไปในวันที่ 3 พฤกษภาคมนั้นจะเป็นการสืบพยานจำเลยปากสุดท้ายคือ น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิฯ และประธานอนุกรรมการสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ที่มา thaienews
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น