News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรองดองกับฆาตกร...ทักษิณทรยศประชาชนหรือไม่?.....



โดย วิญญาณวีรชน 



หลังการวีดีโอลิงค์ เมื่อ 19 พ.ค.2555 กลางมวลชนหลายหมื่นคนที่ราชประสงค์  ได้ตอกย้ำให้ผู้ที่ลังเลว่า "ทักษิณต้องการประชาธิปไตยแบบของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนหรือไม่"  เพราะคำตอบคือ "ทักษิณ คนคนนี้ไม่ได้มีประชาธิปไตยเพื่อประชาชนมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน"   เพราะทักษิณคือ "นายทุนผูกขาดกลุ่มใหม่ที่หิวจัดคนหนึ่ง"  


ทักษิณพลิกชีวิตจากคนทำธุรกิจขนาดกลาง ไปสู่คนผูกขาดด้านการสื่อสารแพคลิ้ง มือถือ และ ดาวเทียม ด้วยการติดสินบนเพื่อได้สัมปทาน 600 ล้านบาท แก่พลเอกสุนทร  ประธาน รสช. วิถีชีวิตทางธุรกิจ ที่ใช้เงิน สินบน อำนาจ เพื่อสัมปทานเป็นวิถีการหากินที่ติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน


การที่ทักษิณกล่าวในพิธีเปิดอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อ พ.ศ.2544 ด้วยคำกล่าวดูถูกวีรชน และคนที่ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา ว่า "เป็นคนที่จมอยู่กับอดีต เมื่อได้อนุสาวรีย์มาบำบัดจิตใจแล้ว ก็จงพัฒนาประเทศได้แล้ว"


ซึ่งคำกล่าวนี้ ตรงกับ พ.ศ. 2555 ที่ "ทักษิณประณามแม่น้องเกด และคนเสื้อแดง ที่ไม่ยอมยกโทษให้กับฆาตกรฆ่าลูกสาวและฆ่าประชานคนเสื้อแดง"

ขบวนการหลอกลวงคนเสื้อแดง และการเสริมกำลังให้กับฆาตกร เป็นสันดานของทักษิณ ที่มีสันดาน "ละโมบโลภมากและเห็นแก่ตัว"

ทักษิณได้ตกลงปรึกษาและให้เกียรติฝ่ายฆาตกรมา ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งที่บรูไน รักเคารพฆาตกรมากกว่าคนเสื้อแดง และยังแสดงความหิวกระหายในลาภ ในวันเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ยังไม่สิ้นสุดการนับคะแนนโดยกล่าวว่า "ถ้าตนไม่รักเทิดทูนศักดินา ยินดีให้ประชาทัณฑ์" 


นี่คือสัญญาณ ที่ตรงไปตรงมา และตรงกับคำพูดล่าสุด ที่ด่าคนเสื้อแดงว่า “ปัญญาอ่อนที่ยังขัดแย้งกันด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง” และกล่าวสับปลับว่า “เปรมและศักดินาไม่เกี่ยวกับการเมือง”

ความหิวละโมบ คือ ตัวตนของทักษิณและของตระกูลชินวัตร หาใช่ "ทักษิณกลัวศักดินาอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ"

ทักษิณหิวเงินและความมั่งคั่ง จนไม่ใส่ใจว่าประชาชนจะถูกฆ่าและจะถูกขูดรีด กดขี่ภายใต้ระบอบผูกขาดอำมาตย์ศักดินาอีกนานเท่าใด  เพราะทักษิณรอดพ้นและขึ้นฝั่งที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์แล้ว ก็ถีบหัวเรือให้ประชาชนลอยเรือห่างออกไป

ทักษิณจะไม่ลืมบุญคุณ แต่วันนี้ทักษิณขอกราบไหว้ศักดินาและหากินร่วมกับฆาตกรให้อิ่มหนำก่อน พรบ.ปรองดองและการบีบให้เหยื่อรับเงินและสละสิทธิ์ทางแพ่ง คือสิ่งที่ทักษิณ เพื่อไทยและแกนนำ นปช. ร่วมกันสร้างสรรค์และปูทางไปสู่การลดระดับการต่อสู้ของคนเสื้อแดง และหวังดับสลายไปในที่สุด


ฉะนั้น คนเสื้อแดง จะควรทบทวนคำพูดทักษิณ "จงประชาทัณฑ์ผมถ้าไม่รักศักดินากว่าประชาชน" โดยคนเสื้อแดง ต้องเตรี ยมพร้อมระวังการชี้เป้าและไล่ล่าจากทักษิณ เหมือนดั่ง คนเสื้อแดงที่หนีไปอยู่เขมร ที่ตำรวจไทยภายใต้เฉลิมและเพรียวพันธ์  ได้ส่งหมายจับไล่ล่าไปยังรัฐบาลเขมร


การชี้เป้าและปกป้องฆาตกรให้ฆ่าประชาชนรูปแบบต่างๆต่อไป คือ "คนทรยศที่สมบูรณ์แบบแล้ว"

"การประชาทัณฑ์ทักษิณ ในฐานะผู้ทรยศประชาชนคือสิ่งที่ควรตระเตรียมกระทำการไว้ เพราะทักษิณบอกว่าถ้าไม่รักศักดินาจงประชาทัณฑ์เขา ดังนั้นประชาชนได้เห็นจริงประจักษ์แล้วว่าเขารักและอยู่ข้างศักดินาจริง


ประชาทัณฑ์ คือสิ่งที่ทักษิณ เพื่อไทยและแกนนำนปช. สมควรจะได้รับ พร้อมๆกันไปกับอำมาตย์ศักดินา เพราะฝ่ายหนึ่งศักดินาคือหัวโจก  และฝ่ายทักษิณคือผู้ทรยศประชาชน

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พิพากษาจำคุก 2 ปีครึ่ง คดีหมิ่นสถาบันคดีที่ 5 ของ ‘สุรชัย’ รวม 12 ปีครึ่ง


28 พ.ค.55 ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553 ที่สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ถูกฟ้องในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามมาตรา 112 จากกรณีขึ้นปราศรัยที่สนามหลวง คดีนี้นับเป็นคดีที่ 5 ในคดีหมิ่นที่อยู่ในชั้นพิจารณาคดีของสุรชัย โดยสุรชัยได้รับการเบิกตัวจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์มาขึ้นศาลในวันนี้ และกลับคำให้การจากการปฏิเสธเป็นรับสารภาพ ศาลจึงพิพากษาให้ลงโทษตาม ม.112 จำคุก 5 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน และให้นับโทษต่อจาก 4 คดีก่อนหน้า รวมแล้วสุรชัยได้รับโทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จำเลยได้แถลงต่อศาลว่ายอมรับสารภาพในคดีนี้เนื่องจากได้รับทราบจากรัฐบาลว่า จะเยียวยาผู้ที่ถูกคุมขังด้วยคดีทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือด้านการขอ อภัยโทษ และขอให้ศาล ตลอดจนอัยการช่วยพิจารณาให้คดีนี้ถึงที่สุดโดยเร็ว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังอ่านคำพิพากษา ผู้พิพากษาได้สอบถามอาการป่วยของนายสุรชัย และบอกให้นายสุรชัยรักษาสุขภาพ

สุรชัยถูกส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และต่อมลูกหมากโต ประกอบกับเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเคยทำบายพาสมาก่อน เขาระบุด้วยว่า แพทย์ที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้ให้ความเห็นว่าไม่ควรอยู่ร่วมกับผู้ป่วยอื่น เพราะอาจติดเชื้อโรคได้ ส่วนการนัดผ่าตัดนั้นต้องรอถึงวันที่ 15 มิ.ย.ตามการนัดของ รพ.ตำรวจ เพื่อฟังผลการตรวจเรื่องหัวใจแล้วจึงนัดผ่านตัดต่อมลูกหมากต่อไป การผ่าตัดคาดว่าจะทำที่ รพ.ราชทัณฑ์เพราะส่งไป รพ.อื่นไม่ได้ นอกจาก รพ.ตำรวจ หากต้องผ่าที่ รพ.ราชทัณฑ์ก็ต้องติดต่อจ่ายเงินประมาณ 8,000 บาท หลังจากนั้นอาจพักรักษาตัวที่ รพ.ราชทัณฑ์ แต่ไม่ใช่ในฐานะผู้ป่วย หรืออาจส่งกลับไปที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แต่หากเป็นไปได้ อยากไปอยู่ที่เรือนจำชั่วคราว บางเขน

“ถ้าถามว่าอยากอยู่ที่ไหน ตอบว่าบางเขน เพราะสะดวกเรื่องญาติเยี่ยม และได้ให้ความรู้แก่น้องๆ อาหารการกินสะดวก การทำเรื่องขออภัยโทษก็จะได้ร่วมกัน สะดวก การเรียกร้องนิรโทษกรรมกลุ่มบุคคลที่ถูกขังอยู่ในคุกทำได้และทำมาแล้วหลาย ครั้ง เช่น ปี 2532 นิรโทษแก่ผู้นำ พคท.ที่ถูกจับ อาทิ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล” สุรชัยระบุ

ด้านนางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยานายสุรชัย ได้กล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนเงินค่าผ่าตัดต่อลูกหมากของนายสุรชัยในงานของคณะ กรรมการรณรงค์เพื่อแก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ซึ่งจัดเมื่อวานนี้ (27 พ.ค.) โดยระบุว่าได้เงินบริจาคเป็นเงิน 38,369 บาท

สุรชัย โดนคดีหมิ่นฯ ที่ไหนบ้าง?


คดีปราศรัยเวทีตาสว่าง  อิมพีเรียล ลาดพร้าว
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/46

คดีปราศรัยที่เชียงใหม่
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/47

คดีปราศรัยที่อุดรธานี
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/48

คดีปราศรัย วัดสามัคคีธรรม
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/50

(ล่าสุด) คดีปราศรัยที่เวทีนปช.
http://freedom.ilaw.or.th/th/case/49

ที่มา prachatai

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คดี 112 : กรณีประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เดอะ เนชั่น

เผย 7 บทความ ‘ประวิตร’ ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดย ‘ไอแพด’



กรณีล่าสุดของการร้อง โดยนายวิพุธ สุขประเสริฐ ผู้ฟ้องคดีด้วยกฎหมายมาตราดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ดเพิ่มสถิติให้รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษคดีอาญามาตรา 112 อีก 7 กรณี จากการที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือไอแพด ทุกข์กล่าวโทษนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และคอลัมนิสต์ของเว็บไซต์ประชาไท ด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยอ้างบทความจำนวน 7 ชิ้น

บทความทั้ง 7 ที่ได้นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประชาไท มีดังนี้

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมยากล่อมประสาท
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ปัญหาความดีของ "คนดี"
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สถานการณ์ที่หม่นหมองของสื่อมวลชน
@PravitR: ทวีตนี้แด่อากง SMS

ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ม.112 กับการเซ็นเซอร์ข้อมูลต่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

สำหรับความคืบหน้าในสำนวนคดี ร.ต.ท. เมธี ศรีวันนา พนักงานสอบสวน (สบ1) สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด ได้ส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์มายังกองบรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน และไอพีแอดเดรส ซึ่งทางประชาไทยังไม่มีการติดต่อกลับไป

อย่างไรก็ตาม นายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณธิการบริหาร ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวแก่นายประวิตร ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้เขียนมายังกองบรรณาธิการ

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่นายประวิตร แต่อย่างใด

สำหรับสภ. เมืองรอยเอ็ด กำลังเป็นสถานีตำรวจที่น่าจับตาในแง่สถิติการร้องทุกข์กล่าวโทษ ซึ่งที่ผ่านมา นายวิพุธ สุขประเสริฐ ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษผู้เขียนบทความและผู้แสดงความเห็นในเว็บไซต์ประชาไทไปแล้วทั้งสิ้น 15 ราย รวมบรรณาธิการและผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท

พ.ต.ท.สุคิด เพ็ชรโยธา พนักงานสอบสวน สบ.3 เจ้าของคดี ที่นายวิพุธ สุขประเสริฐ หรือนามปากกา "I Pad" ร้องทุกข์กล่าวโทษ นายสุรพศ ทวีศักดิ์ หรือนามปากกา นักปรัชญาชายขอบ เคยให้ข้อมูลกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่า ในทางปฏิบัติ กระบวนการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนสอบสวนคดีที่มีการร้องทุกข์กล่าว โทษด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ความเห็นของพนักงานสอบสวนยังไม่ถึงที่สุด พนักงานสอบสวนต้องส่งไปให้ ตร.ภูธรภาค และ ตร.ส่วนกลางพิจารณาตามลำดับ แม้ สภ.เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องทุกข์กล่าวโทษจะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งให้พิจารณาเช่นกัน

พ.ต.ท.สุคิดให้ความเห็นกรณีที่มีการฟ้องร้องที่ สภ.เมืองร้อยเอ็ดเป็นจำนวนมากว่า เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกคดี หากไม่เช่นนั้นก็จะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคง ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจึงเป็นผู้ใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม ในชั้นสืบสวนสอบสวน หากเห็นว่ากรณีใดไม่เข้าลักษณะความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 112 เลย และได้รับความเห็นจาก ตร.ภาคและตร.ส่วนกลางแล้ว ก็จะไม่ดำเนินการต่อ จากการณีของนายวิพุธที่ร้องบุคคลจำนวน 5 รายในการร้องทุกข์คราวเดียวกับสุรพศ แต่ตำรวจสอบแล้วมีมูลเพียง 2 ราย

พ.ต.ท.สุคิดระบุว่า การร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีหน้าที่รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษทุกกรณี แต่หากกรณีใดไม่เป็นข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ดำเนินการสืบสวนและสั่งฟ้องแล้ว ผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษโดยไม่มีมูลก็สามารถร้องทุกข์กล่าวโทษกลับได้ในฐานะ แจ้งความเท็จ

ทั้งนี้ อนุกรรมการฯ ได้สอบถามกรณีที่มีการร้องทุกข์กล่าวโทษที่สภ.เมืองร้อยเอ็ดจำนวนมากกว่า ปกติ พ.ต.ท.สุคิดรับว่าจากปี 2553 เป็นต้นมา มีการร้องทุกข์มากจริงและมีสถิติสูงมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 4 ด้วยกัน


ที่มา prachatai

.............................................................

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ร้อง โดนฟ้อง ม. 112

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ The Nation ระบุ อาจโดนฟ้องจาก 8 บทความเสี่ยงที่ได้เผยแพร่ในเว็บประชาไท


ขณะนี้ อยู่ในขั้นที่ตำรวจกำลังสำรวจตรวจสอบบทความทั้ง 8 ชิ้นที่มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องได้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหัวข้อเนื้อหาด้านล่างจากเว็บประชาไท

ขณะนี้ (อัพเดตล่าสุด) ทางประชาไทระบุถึงชื่อบทความ 7 ชิ้นที่โดนฟ้องร้อง ประกอบด้วย

ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมที่ทุกคนต้องคิดและพูดเหมือนกัน มิใช่สังคม
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สังคมยากล่อมประสาท
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ปัญหาความดีของ “คนดี”
ประวิตร โรจนพฤกษ์: สถานการณ์ที่หม่นหมองของสื่อมวลชน
@PravitR: ทวีตนี้แด่อากง SMS

ประวิตร โรจนพฤกษ์: พลานุภาพการเปรียบกษัตริย์เป็น “พ่อ” ของประชาชน
ประวิตร โรจนพฤกษ์: ม.112 กับการเซ็นเซอร์ข้อมูลต่างเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีผู้คนจำนวนมาก ทั้งบุคคลทั่วไปและนักวิชาการถูกฟ้องจากกรณีดังกล่าว เช่น นักวิชาการอย่าง อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกกองทัพบกยื่นฟ้องในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่มีการเขียนบทความถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีหลังพระราชทานสัมภาษณ์ออกทีวีในรายการ “วู้ดดี้เกิดมาคุย”

หรือกรณีของนักวิชาการอย่างคุณสุรพจน์ ทวีศักดิ์ ซึ่งมีนามว่านักปรัชญาชายขอบ ก็ถูกข้อกล่าวหากระทำความผิดตามมาตรา 112 และ พรบ.คอมพิวเตอร์ ที่มาจากการแสดงความเห็นจากบทความของอาจารย์สมศักดิ์ฯ เรื่อง  “จะจัดวางตำแหน่งแห่งที่ของสถาบันกษัตริย์ในสังคม-การเมืองไทยอย่างไร?”

และยังมีรายชื่อผู้คนอีกจำนวนมากที่ถูกกล่าวหาหรือถูกดำเนินคดี ถูกฟ้องตามประมาลกฎหมายอาญามาตรา 112 ฟ้องตามมาตราอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับมาตรา 112 และการวินิจฉัยให้เลิกจ้าง ถอนประกันตัว รวมถึงการออกหมายเรียก อันเนื่องมาจากมีพฤติกรรมสนับสนุนความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย

ที่มา siamintelligence

สุรชัย นอน รพ.ราชทัณฑ์รอผ่าต่อมลูกหมากหลังขึ้นศาลคดีสุดท้าย 28 พ.ค.


23 พ.ค.55  นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่าสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน)  เข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่าน หลังจากที่ตนได้เข้าให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 16 พ.ค.โดยโต้แย้งข้อมูลทางการ เพื่อยืนยันว่าสถานพยาบาลภายในเรือนจำไม่ได้มีหมอประจำอย่างที่ทางราชทัณฑ์ให้ข้อมูล จากนั้นในวันรุ่งขึ้น(17 พ.ค.) ทางเรือนจำได้ส่งตัวนายสุรชัย ซึ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต และมีอาการอ่อนเพลีย ทานอาหารไม่ค่อยได้ไปตรวจที่โรงพยาบาลตำรวจ ก่อนจะรับเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์เพื่อรักษาจนปัจจุบัน และแพทย์ได้ทำการนัดเพื่อผ่าตัดต่อมลูกหมากแล้ว แต่นายสุรชัยขอเลื่อนไปหลังวันจันทร์ที่ 28 พ.ค.นี้ซึ่งต้องเดินทางไปศาลในคดีหมิ่นฯ คดีหมายเลขดำที่ อ.3444/2553 (ปราศรัยที่ท้องสนามหลวง) คดีสุดท้ายเสียก่อน ซึ่งจะมีการนัดพร้อม ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยถือเป็นนัดพิพากษาเพราะจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว หลังจากในตอนต้นให้การปฏิเสธ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันก็ได้มีการส่งตัวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ อีกรายจากทัณฑสถานหญิงกลางไปตรวจยังโรงพยาบาลตำรวจด้วยเพื่อเตรียมการผ่าตัดอาการขากรรไกรยึดติด ซึ่งปัจจุบันมีอาการหนักขึ้นทำให้อ้าปากได้เพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดารณีระบุว่าต้องการประกันตัวเพื่อรักษาอาการดังกล่าวเอง ไม่ต้องการผ่าตัดและอยู่ภายใต้การดูแลของราชทัณฑ์เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเปิดกะโหลกและเกี่ยวข้องกับเส้นประสาทอีกทั้งหมอยังระบุว่าต้องพักฟื้นเป็นปี หากเป็นไปได้ต้องการย้ายไปเรือนจำใหม่ เช่นเดียวกับนักโทษทางการเมืองอื่นๆ และดำเนินการประกันตัว ทั้งนี้ คดีของดารณียังไม่สิ้นสุดเนื่องจากมีการอุทธรณ์คดีไปแล้วภายหลังจากที่มีข่าวว่าเธอจะยอมถอนอุทธรณ์เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ

นอกจากนี้นายกิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายของดารณียังแจ้งว่า วานนี้ (22 พ.ค.) ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงเนื่องจากน้องสาวถูกผู้ต้องขังที่มีปัญหาขัดแย้งกันลอบทำร้าย 4 ครั้งภายใน 2 วัน เช่น ปาด้วยขวดน้ำใส่ แต่หลบทันจึงไม่โดน แต่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลกลับไม่สนใจ และเมื่อคู่กรณีของน้องสาวถูกนักโทษคนอื่นทำร้าย เจ้าหน้าที่ก็ยังเพ่งเล็งว่าดารณีเป็นผู้จ้างวาน

เสื้อแดงนัดทุกพุธ เดินสายคุกเก่าเยี่ยม 112 –คุกใหม่เยี่ยมนักโทษเสื้อแดง
วันเดียวกัน ที่เรือนจำ หลักสี่ คนเสื้อแดงราว 50 คน นำโดยนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลเวิลด์ ได้เดินทางเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคดีการเมืองทั้งหมดพร้อมเลี้ยงอาหารกลางวัน โดยประชาชนกลุ่มดังกล่าวนัดหมายจะเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และผู้ต้องขังคดีการเมืองอื่นๆ ที่เรือนจำหลักสี่ทุกวันพุธเวลา 11.00 น.

ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : ทักษิณหลงตนเอง มองว่าวิกฤตไทยเกี่ยวกับเขาคนเดียว



ในวันครอบรอบสองปีการนองเลือดที่ราชประสงค์ ทักษิณโฟนอินและชวนให้เสื้อแดงยอมจำนนต่ออำมาตย์บนซากศพวีรชน แต่ที่ตลกร้ายคือทักษิณคิดว่า "ความตาย 91 ศพ บาดเจ็บ 2 พันกว่าและติดคุกไม่มีครั้งไหนกระบวนการยุติธรรมเสียหายขนาดนี้ ...สิ่งที่เกิดขึ้นมาในอดีต 6 ปี เพื่ออย่างเดียว คือเพื่อไล่ล่าผมและผู้สนับสนุนผม"

ทักษิณกำลังอาศัย “อีโก้” อันยิ่งใหญ่ของตนเอง เพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์คนเสื้อแดงอย่างรุนแรง เพราะถึงแม้ว่าคนเสื้อแดงส่วนใหญ่จะรักทักษิณ แต่คนเสื้อแดงไม่ได้ออกมาสู้กับทหารและประชาธิปัตย์เพื่อทักษิณ เขาออกมาสู้เพื่อให้เขามีสิทธิเสรีภาพที่จะเลือกรัฐบาลที่ตนเองต้องการโดยไม่มีการแทรกแซงจากทหารหรือคนอื่นๆ เขาออกมาสู้เพื่อยุติอำนาจมืดในสังคมของอำมาตย์ เขาออกมาสู้เพื่อให้มีเสรีภาพในการพูด เขียน และแสดงความเห็น และเขาออกมาสู้เพื่อให้ตนเองดำรงอยู่ในสังคมที่มีความเป็นธรรม ทั้งทางเศรษฐกิจและทางกฏหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการที่จะมี “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” แทนการเป็น “ไพร่”

ทักษิณพูดต่อว่า "ถ้ามีการปรองดองเมื่อไหร่ ผมก็คงได้มีโอกาสกลับไปตอบแทนบุญคุณพี่น้อง" และเขามองว่าโฟนอินครั้งนี้ "คงจะเป็นครั้งสุดท้าย หวังว่าบ้านเมืองจะกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วเพื่อเราจะได้ไปร่วมกันรักษาสถาบันชาติ ศาสนา และกษัตริย์ และสถาบันประชาธิปไตยของเรา" ประเด็นสำคัญคือ ทักษิณคงจะได้กลับบ้าน แต่คนที่จะต้อง “จ่าย” หรือ “เสียสละ” คือนักโทษการเมือง และคนที่เสียชีวิตไป ซึ่งไม่มีโอกาสกลับบ้านเหมือนทักษิณ ยิ่งกว่านั้น ถ้าไม่มีการแก้หรือยกเลิก 112 และถ้าไม่มีการลบผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยา ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฏร์ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยเสรีไม่ได้เลย

การปรองดองบนซากศพวีรชน คือการรับประกันว่าทหารและนักการเมืองจะเข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าในประเทศไทยอีกในอนาคต เพราะทุกครั้งพวกฆาตกรลอยนวลเสมอ ทักษิณพูดกล่อมให้เสื้อแดงสลายตัวว่า "พี่น้องใจเย็นๆ ลองดูสิว่า ประธานาธิบดีไลบีเรียขึ้นศาลโลกวันนี้ คดีเกี่ยวกับฆ่าคนเป็นอาชญากรสงคราม ก็ใช้เวลาหลายสิบปี ....กระบวนการให้ความเป็นธรรมต้องใช้เวลา ต้องอดทน" แต่ในคำสัมภาษณ์ที่เขมรเมื่อเดือนที่แล้ว ทักษิณพูดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าประชาชนที่ราชประสงค์จะไม่ต้องขึ้นศาล และอันนี้เป็นเงื่อนไขของการปรองดองที่เขาสนับสนุน สรุปแล้วทักษิณอยากยุบเสื้อแดงและให้เราลืมฆาตกรกับวีรชน

สาเหตุหนึ่งที่ทักษิณสามารถอ้างได้ว่าเสื้อแดงทำทุกอย่างเพื่อเขาคนเดียว ก็เพราะว่าเสื้อแดงก้าวหน้า หรือเสื้อแดงอิสระ ไม่มีการจัดตั้งและประสานการเคลื่อนไหวเข้มแข็งพอ เพราะจะต้องมีการช่วงชิงการนำจาก นปช. และ เพื่อไทย เพื่อไม่ให้มีการหักหลังวีรชนและอุดมการณ์ประชาธิปไตยโดยคณะอำมาตย์ใหม่ที่เชิญพรรคเพื่อไทยและทักษิณเข้ามาร่วมกับทหารและกลุ่มเผด็จการอื่นๆ

คนเสื้อแดงที่ไม่ยอมจำนนต่อเผด็จการน่าจะตาสว่างและเข้าใจภารกิจของตนเองในปัจจุบัน

ที่มา prachatai

บทความสายลมรัก : เมื่อคืนนี้ .. ผมปร่าแปร่งในความรู้สึกกับ (นปช.) เหลือเกิน

โดย สามลมรัก
ที่มา ประชาทอล์ค
20 พฤษภาคม 2555

ร้อนหรือหนาว เบียดเสียด ยัดเยียด ลำบากลำบนมวลชนไม่เคยถอย เหมือนทุกครั้ง

อย่ามาถามว่า มวลชนมามากหรือน้อย ภาพที่เห็นมันปรากฏแก่สายตาผู้คนไปทั่วโลกแล้วว่า เรายังต้องการทวงถามความยุติธรรมกลับคืนให้กับ วิณญาณวีรชนของพวกเรา อย่างล้นเปี่ยม

"พี่ ๆ เต๊นท์เรายังไม่แน่นอนนะพี่" ยังเหมือนเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง กับการทำงานของผู้ช่วยแกนนำทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ช่วยแกนนำทั้งหลายกับการไล่ที่ ทั้งๆที่สถานที่เหล่านั้นไม่ว่าเต๊นท์ กำลังคน กำลังเงิน จุดมุ่งหมายในการทำกิจกรรม "ร้อยละร้อย มันมาจากคำว่า ไม่ต้องจ้างกูมาเอง ทั้งนั้น"

กริยาวาจา กร่างยิ่งใหญ่ ยังคงอยู่ครบตามแบบฉบับ กับการทำงานด้านมวลชนไม่เห็น สับปะรดขลุ่ย เหมือนเดิมทั้งๆ อดีตก็มีบทเรียนที่ควรจดจำ และทราบได้ดีเลยว่า อาสาสมัครต่างๆ เขาสู้เพื่ออะไร จะจัดที่ขายของหาเงินเข้ากระเป๋าใคร ก็หัดสะกดคำว่าเกรงใจมวลชนบ้าง

ขนาดงานจะเริ่มอยู่แล้ว เต๊นท์ทุกเต๊นท์ ไม่ว่า "ประชาทอล์ค" "บ้านราษร์" ยังไม่รู้เลยว่า จะตั้งตรงไหน หรืออาจต้องย้ายหนี เพื่อหลบเต๊นท์ ขายของ (ไม่ฮา)

"เรามีมวลชนที่เหนียวแน่น แต่เราขาดนักพูด" ผมไม่เข้าใจว่า เราจะตะโกน ๆ ๆ ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าบนเวทีทำไม เพราะ ฟังไม่รู้เรื่อง ไฟฟ้าไม่มี รถห้องน้ำไม่มา ทุกอย่างคือตัวใครตัวมัน ครั้นจะขอพ่วงรถถ่ายทอด สดของสถานีต่าง ๆ เขาก็ไม่ให้ เพราะหากไฟกระชาก เขาก็จะส่งสัญญาณไม่ได้

สุดท้าย ไฟจากแบตเตอ์รี่ รถใครรถมัน สถานที่ซึ่งแออัดไปด้วยมวลชนอยู่แล้วก็ดมควันจากท่อไอเสียกันเพลิน "เบาหวิวราวปุยนุ่น"

เมื่อวานนี้ นักพูดระดับแม่เหล็กของเรา คือจตุพร กับณัฐวุฒิ เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปจนผมต้องนั่งนึกทบทวนบทบาทการสนับสนุน ประเด็นที่พูด ไม่มีอะไรเลยเหมือนกับการ ขออนุญาตยืมคำพูดของพี่ Mosy มาใช้หน่อยที่แกพูดว่า "เหมือนมาพูดพอเป็นพิธีเท่านั้น"

บอกตรงๆว่า ผมไม่เคยเห็นมวลชนลุกทะยอย เดินกลับ ขณะณัฐวุฒิกำลังพูดปราศรัย แต่เมื่อคืนนี้ผมเห็น "ผมได้แต่บอกกับตัวเองว่า มันเกิดอะไรขึ้น"

ความผิดพลาดของกิจกรรมภาคสนาม เรื่องนี้ไม่ต้องโทษใคร ผมขอรับผิดทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว เราวาดหวังไว้สวยหรู ถึง 4 กิจกรรม แต่เราสามารถทำได้ดี แค่ 1 กิจกรรมครึ่งเท่านั้น คือ แจกขนม (ปรองดอง) คลายร้อน แบบจัดหนัก กับกิจกรรมนิทรรศการภาพถ่าย ที่มวลชนไม่ยอมไหล ปักหลักอยู่กับที่แถมยังเอาภาพกิจกรรมเป็น ที่กำบังหลบแดด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่เอาเก้าอี้มาตั้งประชิด จนบางทีบอร์ดภาพเอียงตามแรงดัน

หมุดคณะราษฏร์ และหมุดประชาชน ไม่สามารถวางลงที่พื้นได้เลย เราพยายามทดลองวางอยู่หลายๆ ครั้ง แต่มวลชนก็เหยียบทุกครั้ง ชนิดที่ประเมินได้เลยว่า หากวางบนพื้นถนนจริง ๆ รับรองสะดุดหน้าทิ่มกันเป็นแถว ผมกับน้อง ๆ มองหน้ากันเลิกลั่กต้องเปลี่ยนแผนเป็นวางบนโต๊ะแทน

สรุปบทเรียน

บางที หากเราจะทำกิจกรรมแบบนี้ คงต้องพิจารณากับหลายอย่าง ไม่ว่า ใกล้เวทีไปไหม ชิดมวลชนมากไปไหม อุปกรณ์ที่จำเป็น เราต้องจัดหามาเก็บไว้ใช้แบบจริงจังหรือไม่

เราอยู่ใกล้เวทีมากไป ก็จะมีปัญหาเป็นธรรมชาติของมวลชน คือไม่สามาถจะแบ่งปันพื้นที่ได้เลย หากต้องการทำกิจกรรมภาคสนาม

ครั้งต่อไป (หากมี) เราจะท่องคาถา อัตตาหิอัตโนนาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน และคงตั้งออกไปห่างจากจุดเดิมมากพอสมควร

สำหรับ นปช. ทักษิณ และพรรคเพื่อไทย

พวกคุณเดินมาถึงทางสามแพร่งที่สำคัญแล้ว กิจกรรมครั้งนี้ ผมมองไม่เห็นทางออกที่ชัดเจนเลยว่า คุณจะดำเนินคดีทวงถามความยุติธรรมได้เมื่อไหร่ คุณจะเยียวยา ช่วยเหลือประกันตัวพี่น้องเราที่ยังโดนจองจำ อย่างเป็นรูปธรรมเมือใด หรือคุณจะซื้อเวลาทำเพื่อตัวเองไปเรื่อยๆ เคยมีคำจำกัดความคำหนึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อคุณพูดเราจะฟัง แต่เมื่อคุณลงมือทำเราจะเชื่อ ทักษิณ นปช. และพรรคเพื่อไทยก็เช่นกัน

ผมอยากให้พึงสำเหนียก อย่ารู้ตัวเมื่อสาย หากมวลชนหันหลังให้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นคุณจะโดนพวกมันขยี้จนไม่มีที่ยืนอีกต่อไป

ความคิดนี้ เป็นความคิดส่วนตัวของผมคนเดียว เป็นการสะท้อนจากมวลชนคนหนึ่ง หากเห็นว่าเป็นประโยชน์นำไปปรับปรุง ยุทธศาสตร์ ผมก็ดีใจ แต่หากคิดว่าก็แค่เสียงนกเสียงกา ผมก็ขออวยพรให้ท่านโชคดี

ปล. ขอบคุณ TAN 007 แห่งประชาทอล์ค ขอบคุณลูฟฟี่ ขอบคุณมดดำ ขอบคุณน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่อดตาหลับขับตานอนผลักดันกิจกรรมไปลุล่ง พี่รู้สึกละอายใจจริง ๆ ที่ไปหลังแต่กลับก่อน และฝากบอกไปที่มดดำด้วว่า เอ็งไม่ต้องขอโทษพี่ พี่สิที่ต้องเป็นฝ่ายขอโทษ

ที่มา thaienews

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : 'อากง' ผู้บริสุทธิ์

ในโลกไซเบอร์ของพวกสลิ่ม มีสมาชิกผู้หนึ่งได้โพสต์ข้อความอย่างหงุดหงิดว่า “อากงก็เป็นชาวบ้านธรรมดา ทำไมถึงให้ความสำคัญกันมากนัก” แต่ปรากฏว่า ฝ่ายเอเอสทีวีผู้จัดการ และกลุ่มฝ่ายขวา พยายามจะโจมตีว่า “ทักษิณ-เพื่อไทย-นปช.” เป็นฝ่ายที่พยายามเอาศพอากงมาหากิน โดยพยายามสร้างให้ชาวบ้านธรรมดาอย่างอากงกลายเป็น”ผู้เสียสละตลอดกาล”

ความจริงแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย หรือ นปช.เลย ที่ทำให้”ชาวบ้านธรรมดา”แบบอากง กลายเป็นคนสำคัญถูกเอ่ยถึงอยู่ในสื่อมวลชน แต่เป็นเพราะอากง หรือ นายอำพน ตั้งนพคุณ เป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ถูกดำเนินการภายใต้กระบวนการใส่ร้ายป้ายสี ถูกละเลยสิทธิการประกันออกมารักษาตัวทั้งที่ป่วยหนัก และในที่สุดอากงก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งในเรือนจำเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ความตายของอากงนี้เอง กลายเป็นสิ่งที่จะท้อนความชั่วร้ายของมาตรา ๑๑๒ ความอำมหิตของศาลไทย และความล้มเหลวของระบบราชทัณฑ์ นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสะท้อนความงมงายมืดบอดทางปัญญาของพวกสลิ่มฝ่ายขวาในสังคมไทยอีกด้วย

กรณีนี้ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓ พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้นำกำลังตำรวจหลายสิบคน ไปจับกุมนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” ที่บ้านพัก จังหวัดสมุทรปราการ ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา ๑๑๒ ทั้งนี้เพราะในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังกวาดล้างประชาชนคนเสื้อแดง ได้มีบุคคลลึกลับส่งข้อความทางโทรศัพท์ หรือเอสเอ็มเอส เป็นข้อความหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ไปยังบุคคลในคณะรัฐบาล ต่อมา นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงได้แจ้งความต่อทางการตำรวจ และเมื่อได้มีการสืบหาตัวคนร้ายแล้ว ทางการตำรวจพบว่า นายอำพนคือผู้ต้องสงสัย จึงได้ดำเนินการจับกุม

ความจริงนายอำพน หรืออากง ในขณะนั้นมีอายุ ๖๐ ปี แต่มีสถานะเป็นเพียงผู้สูงอายุคนหนึ่ง ที่เลี้ยงหลานอยู่กับบ้าน ไม่ได้ประกอบอาชีพเพราะสุขภาพไม่สมบูรณ์ โทรศัพท์ที่มีก็ไว้ใช้ติดต่อกับลูกหลานเป็นหลัก อากงได้ปฏิเสธข้อกล่าวหามาตั้งแต่ต้น โดยยืนยันว่าเป็นผู้ที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ เคยพาหลานไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่โรงพยาบาลศิริราช และยังอธิบายว่า ตนเองส่งเอสเอ็มเอสไม่เป็น และไม่เคยรู้จักหรือทราบเบอร์โทรศัพท์ของเลขานุการนายกรัฐมนตรีเลย อย่างไรก็ตาม ในชั้นสอบสวนขั้นแรก อากงถูกควบคุมตัวในเรือนจำ ๖๓ วัน จนถึงวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๓ หลังจากที่ทนายความขอยื่นประกันครั้งที่สอง ศาลก็อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี

ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ เมื่ออัยการยื่นฟ้องนายอำพลต่อศาล อากงก็เดินทางมาศาลตามนัดหมาย แต่กลับถูกศาลถอนประกันตัว โดยอธิบายว่า “ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี” ตั้งแต่นั้นมา อากงก็ต้องติดอยู่ในเรือนจำจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

ในวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ ศาลชั้นต้นก็ตัดสินว่า อากงมีความผิดคือ เป็นผู้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ๔ ครั้ง ศาลจึงตัดสินจำคุกกระทงละ ๕ ปี รวมแล้วเป็น ๒๐ ปี ในที่นี้จะขออธิบายว่า ศาลตัดสินลงโทษในคดีนี้ทั้งที่หลักฐานอ่อนมาก โดยศาลเชื่อว่า โทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องเดียวกับโทรศัพท์ของอากง เพราะมีเลขอีมี่ของเครื่องตรงกัน ทั้งที่สืบสวนได้ว่า ผู้ส่งข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นใช้เบอร์โทรศัพท์ของดีแทค ส่วนเบอร์ที่อากงใช้อยู่นั้นเป็นของทรูมูฟซึ่งเป็นคนละเบอร์ แต่ศาลก็อ้างว่าโทรศัพท์ที่อากงใช้ ก็เป็นโทรศัพท์ ๒ ซิมการ์ด อากงจึงสามารใช้ ๒ เบอร์สลับกันได้ ศาลไม่รับฟังคำอธิบายว่าในเดือนที่เกิดเหตุนั้น อากงเอาโทรศัพท์ไปซ่อม จึงไม่ได้เป็นผู้ส่งข้อความ โดยหักล้างว่า จำเลยไม่สามารถยืนยันได้ว่าเอาโทรศัพท์ไปซ่อมที่ร้านไหน

ในประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของอากง ก็คือ การที่โจทย์ไม่สามารถสืบพยานได้เลยว่ามีใครรู้เห็นเหตุการณ์ว่าอากงส่งเอสเอ็มเอส แต่ศาลอธิบายเกลื่อนประเด็นนี้ว่า “แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้อง ... แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน” คำอธิบายลักษณะนี้ ขัดกับหลักการของกฎหมายเบื้องต้นที่ว่า ในการตัดสินให้จำเลยมีความผิด ศาลจะต้องมีข้อพิสูจน์ให้เห็นอย่างสิ้นสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการ

ดังนั้น การตัดสินลงโทษอากงให้ถูกจำคุกถึง ๒๐ ปี จึงเป็นทั้งเรื่องของความไร้เหตุผลของมาตรา ๑๑๒ และเป็นการตัดสินคดีที่เกินกว่าเหตุ เพราะจำเลยไม่มีประวัติเป็นอาชญากรมาก่อนเลย และไม่มีหลักฐานที่จะยืนยันว่าเป็นผู้ร้ายโดยสันดาน ไม่ได้ก่ออาชญากรรมอันใดที่ร้ายแรง เพราะการส่งข้อความเอสเอ็มเอสจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของผู้ส่งสารกับผู้รับสารเพียง ๒ คน ไม่ได้เป็นการก่ออาชญากรรมกับสังคมแต่อย่างใด นอกจากผู้รับข้อความแล้วไม่มีใครทราบข้อความนั้น จึงไม่มีอะไรที่จะไปกระทบความมั่นคงต่อพระราชอาณาจักร แต่ สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม ได้อธิบายไว้ในวันที่ ๑๔ ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๔ ว่า อากงนั้น เป็น “...บุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น...”

ในที่สุด เมื่ออากงเสียชีวิตในเรือนจำแล้ว ศาลถูกโจมตีอย่างหนัก เรื่องการละเมิดสิทธิการประกันตัวของผู้ต้องหา จึงทำให้อากงต้องถึงแก่กรรมในคุก นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ได้ออกมาแก้ต่างว่า คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาไปแล้ว ฝ่ายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ เนื่องจากประสงค์จะให้คดีสิ้นสุด และจะได้ใช้สิทธิยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ดังนั้นเมื่อถอนอุทธรณ์ให้คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยก็ไม่สามารถยื่นประกันตัวอีกได้ ดังนั้น ความรับผิดชอบในเรื่องการเสียชีวิตของอากง จึงเป็นเรื่องความผิดพลาดของราชทัณฑ์ ไม่ได้เกี่ยวกับความรับผิดชอบของศาล แต่เหตุผลนี้ถูกตอบโต้โดยทันทีจาก นายอานนท์ นำภา ทนายของอากง ซึ่งชี้แจงว่า ทนายได้ขอยื่นประกันมาแล้ว ๘ ครั้ง แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกัน และการไม่ได้ประกันตัวนี้เอง ทำให้อากงตัดสินใจถอนอุทธรณ์ เพื่อให้คดีสิ้นสุด ทั้งที่อากงยืนยันเสมอว่าไม่ได้เป็นผู้ส่งข้อความ หมายถึงว่ากระบวนการยุติธรรมไทยนั้น บีบบังคับให้จำเลยยอมจำนน ทั้งที่จำเลยยังยึดมั่นว่า ตนไม่ได้กระทำความความผิด

กรณีอากงถึงแก่กรรมในเรือนจำจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่สื่อมวลชนและองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมาก โดยการเสนอข่าวของสื่อต่างประเทศมักพุ่งไปทีสามประเด็นหลัก คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมของไทย ปัญหาที่เกิดจากการใช้มาตรา ๑๑๒  และประเด็นเกี่ยวกับสถานะของสถาบันกษัตริย์ในยุคปัจจุบัน ขณะที่สื่อมวลชนกระแสหลักของไทยยังเลี่ยงที่จะกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ ดังนั้น พวกสลิ่มและสื่อมวลชนฝ่ายขวาทั้งหมด พยายามจะเสนอประเด็นว่า นักวิชาการฝ่ายก้าวหน้า และคนเสื้อแดง พยายามเอาศพอากงมาหากินเพื่อจะเคลื่อนไหวยกเลิกมาตรา ๑๑๒ เพื่อล้มเจ้า

ในกรณีนี้ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์  ผู้ประสานงาน ครก.๑๑๒ อธิบายว่า “ไม่มีใครอยากให้อากงเสียชีวิต เพียงหวังให้ มาตรา ๑๑๒ เป็นประเด็นที่สังคมกลับมาถกเถียงกันอีก คนปกติทั่วไปที่มีสามัญสำนึกดีจะไม่มีความคิดแบบนี้ นี่เป็นการโยงใยที่ไร้เหตุผลที่สุด แล้วน่ารังเกียจที่สุด มีแต่คนที่ชิงชังรังเกียจและตามืดบอดต่อปัญหา ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา ๑๑๒ เท่านั้น ที่จะตั้งข้อสงสัยแบบนี้ได้”

นี่คือความมืดมนในสังคมไทย!

ที่มา prachatai

รายชื่อวีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเพราะใบอนุญาตฆ่าโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ระหว่าง 10 เม.ย.-19 พ.ค. 2553


BBC เสนอรายงานข่าวครบ 1 ปี 19 พฤษภา 53 ในคลิปนี้จะเห็นผู้ชุมนุมถูกยิงร่วงต่อหน้าต่อตาสหายของเขา ส่วนคลิปด้านล่าง RED USAจัดทำเพื่อสาปแช่งไอ้เหี้ยสั่งฆ่ากับอีห่าสั่งยิง ซึ่งจนบัดนี้ยังคงเป็นปริศนาว่าหมายถึงใคร..

 โดยทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 พฤษภาคม 2555


หลังจากที่ได้นำเสนอข่าวนี้ไปเมื่อ 19 พฤษภาคม 2554 ทีมข่าวไทยอีนิวส์ ขอนำเสนอรายชื่อของผู้เสียชีวิตในการปราบปรามประชาชนระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553  อีกครั้งหนึ่ง เพื่อร่วมเตือนความจำถึงการปราบปรามประชาชนกลางท้องถนนท่ามกลางสายตาสื่อ นานาชาติและประชาชนชาวไทยจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์

พร้อมกับขอร่วมแสดงความเสียใจอีกครั้งหนึ่งกับครอบครัวผู้สูญเสียทุกคน ที่ได้พยายามทวงถามความยุติธรรมมาตลอดสองปีที่ผ่านมา โดยที่ได้รัฐบาลที่คนเสื้อแดงเลือกแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถจับกุมตัวผู้สังหารประชาชนมาลงโทษได้จนบัดนี้

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ณ วันที่ 10 เมษายน 2553

พลเรือน
1. นาย สวาท วงงาม, 43 ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย
2. นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข, 36 ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
3.นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
4. นายจรูญ ฉายแม้น, 46 ถูกยิงอกขวากระสุนฝังใน
5. นายวสันต์ ภู่ทอง, 39 ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
6. นายสยาม วัฒนนุกุล, 53 ถูกยิงอก ทะลุหลัง
7. นายมนต์ชัย แซ่จอง, 54 ระบบหายใจล้มเหลวจากโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตที่รพ.
8. นายอำพน ตติยรัตน์, 26 ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
9.นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
10. นายไพรศล ทิพย์ลม, 37 ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย เสียชีวิตที่ รพ.
11. นาย เกรียงไกร ทาน้อย, 24 ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง เสียชีวิตที่รพ.
12. นาย คะนึง ฉัตรเท, 50 ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังใน
13. นายนภพล เผ่าพนัส,30 ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตที่ รพ.
14. นายสมิง แตงเพชร, 49 ถูกยิงศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
15. นาย สมศักดิ์ แก้วสาน, 34 ถูกยิงหลัง ทะลุอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
16. นาย บุญธรรม ทองผุย, 40 ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน
17.นาย เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์, 29 แผลที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
18. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 40-50 บาดแผลเข้าสะโพกขวาตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ เสียชีวิตที่รพ.
19. นาย มานะ อาจราญ, 23 ถูกยิงศีรษะ ด้านหลังทะลุหน้า
20. นายอนันต์ สิริกุลวานณิชย์, 54 ถูกยิงเสียชีวิต

นักข่าวต่างชาติ
21. Mr. Hiroyuki Muramoto อายุ 43 ปี ถูกยิงอกซ้าย เสียชีวิตก่อนถึง รพ. (ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์)

ทหาร

22. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อายุ 43 ปี ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาด เสียชีวิตที่รพ.
23. พลฯ สิงหา อ่อนทรง อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด
24. พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
25. พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อายุ 25 ปี แผลเปิดกะโหลกท้ายทอย
26. พลฯ อนุพงษ์ เมืองร าพัน อายุ 21 ปี ทรวงอกฟกช ้า น่อง 2 ข้างฉีกขาด รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่ถนนสีลม ณ วันที่ 22 เมษายน 2553
27. นางธันยนันท์ แถบทอง อายุ 50 ปี ถูกสะเก็ดระเบิด เสียชีวิตถนนสีลม

* * * * * * * * *

รายชื่อผู้เสียชีวิตที่แยกศาลาแดง วันที่ 13 พฤษภาคม2553
28.พล.ต.ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 58 ปี ถูกยิงที่บริเวณศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
29. นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี มีแผลเปิดบริเวณท้ายทอย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ

รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามตั้งแต่วันที่ 14 - 19 พฤษภาคม 2553

30. นายปิยะพงษ์ กิติวงค์, 32 ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
31. นายประจวบ ศิลาพันธ์ ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
32. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ ถูกยิง เสียชีวิตที่ศาลาแดง
33. นายอินทร์แปลง เทศวงศ์, 32 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
34. นายเสน่ห์ นิลเหลือง, 48 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
35. นายชัยยันต์ วรรณจักร, 20 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
36. นายบุญทิ้ง ปานศิลา, 25 ถูกยิงที่คอ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ (อาสาสมัครวชิระฯ)
37. นายมนูญ ท่าลาด เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
38. นายพัน คำกลอง, 43 ถูกยิงหน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
39. นายกิติพันธ์ ขันทอง, 26 แผลที่ชายโครง เสียชีวิตที่รพ.
40. นายสรไกร ศรีเมืองปุน, 34 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
41. นายชาญณรงค์ พลอยศรีลา, 32 ถูกยิงหน้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ราชปรารภ
42. นายทิพเนตร เจียมพล, 32 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
43. นายสุภชีพ จุลทัศน์, 36 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
44. นายวารินทร์ วงศ์สนิท, 28 แผลที่หน้าอกขวา เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
45. นายมานะ แสนประเสริฐศรี, 22 แผลถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.(อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
46. นางสาวสันธนา สรรพศรี, 32 ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
47. นายธันวา วงศ์ศิริ, 26 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึงรพ.
48. นายอำพล ชื่นสี, 25 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
49. นายสมพันธ์ ศรีเทพ, 17 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
50. นายอุทัย อรอินทร์, 35 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 51. นายพรสวรรค์ นาคะไชย, 23 ถูกยิงหลายตำาแหน่ง เสียชีวิตที่รพ.
52. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง, 25 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
53. นายประจวบ ประจวบสุข, 42 เสียชีวิตที่เจริญกรุงประชารักษ์
54. นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล, 25 ถูกยิงที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
55. นายวงศกร แปลงศรี, 40 ถูกยิงที่หน้าอก เลือดออกในช่องอก เสียชีวิตที่รพ.
56. นายสมชาย พระสุวรรณ,43 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
57. นายสุพรรณ ทุมทอง, 49 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
58. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์, 27 ถูกยิงใต้ราวนมขวา เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
59. นายสุพจน์ ยะทิมา, 37 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
60. นานธนากร ปิยะผลดิเรก , 50 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
61. นายสมพาน หลวงชม, 35 ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
62. นายมูฮัมหมัด อารี(ออง ละวิน ชาวพม่า), 40 มีแผลที่หน้าอกทะลุหลัง เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ
63. นายธนโชติ ชุ่มเย็น, 34 บาดแผลกระสุนปืนทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่ เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ
64. นายถวิล คำมูล ,38 มีแผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
65. นายปรัชญา แซ่โค้ว , 21 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายตับ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
66. นายนรินทร์ ศรีชมภู บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง เสียชีวิตที่รพ.
67. น.ส.วาสินี เทพปาน เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
68. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ, 60 แผลที่ก้น เสียชีวิต 21 พค.53
69. นายกิตติพงษ์ สมสุข, 20 ไฟใหม้ตึกเซ็นทรัลเวิร์ล พบศพวันที่ 21 พค.2553
70. นายสมัย ทัดแก้ว, 36 71. นายรพ สุขสถิตย์
72. ชายไม่ทราบชื่อ โดนยิงขาหนีบ เสียชีวิตที่ราชปรารภ
73. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 14 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
74. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 26 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
75. หญิงไม่ทราบชื่อ ถูกยิง เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
76. ชายไม่ทราบชื่อ มีแผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
77. ชายไม่ทราบชื่อ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก สมองช ้า จากการถูกระแทก เสียชีวิตก่อนถึง รพ.
78. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว, 33 จ. ขอนแก่น แผลที่หน้าอก
79. นายเพลิน วงษ์มา, 40 จ. อุดรธานี เสียชีวิตที่รพ.20 พค.53

นักข่าวต่างประเทศ
80. MR.Polenchi  Fabio ( นักข่าวชาวอิตาลี ) อายุ 48 ปี ถูกยิงที่หน้าอก เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ

ทหาร
81. พลทหารณรงค์ฤทธิ สาระ เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ (เสียชีวิตจากการปะทะที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เมษายน 2553)
82. สต.อ.กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันเพ็ญ อายุ 38 ปี มีบาดแผลกระสุนปืน เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ (คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงหน้าธนาคารกรุงไทย ถนนสีลม วันที่ 7 พฤษภาคม 2553)
83. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี อายุ 35 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณหน้าอกด้านขวา เสียชีวิตที่รพ. (จากการปะทะที่ประตู 4 สวนลุมพินี วันที่ 8 พฤษภาคม2553)
84. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
85. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ อายุ 44 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ

รายชื่อผู้เสียชีวิต 6 คนที่วัดปทุม วันที่ 19 พฤษภาคม 2553

86. นายวิชัย มั่นแพ อายุ 28 ปี
87. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 61 ปี
88. นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี
89. นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี
90. นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี
91. น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี

อนึ่ง ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) เปิดเผยรายงานเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 ว่ามีผู้เสียชีวิต 93 คน โดยเป็นผู้เสียชีวิตที่ต่างจังหวัดเพิ่มมาอีก 2 คน (ดูเพิ่มเติมศปช.แถลง 1 ปีความรุนแรง พ.ร.ก.ฉุกเฉินต้นเหตุ ยอดคนตายเพิ่มเป็น 93 ยังถูกขัง 133 คน)


* * * * * * * * *
ผู้เสียชีวิตที่วัดปทุมวนาราม 19 พฤษภาคม 2553 อ้างอิงต่อจากข่าวสดออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553


ผลตรวจ 6 ศพวัดปทุมวนาราม ถูกระดมยิงด้วยกระสุนขนาด 5.56 ม.ม. ที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 หรือทาโวร์ เผยน้องเกด (กมนเกต อักฮาด) โดนเข้าไป 10 นัด รายงานข่าวเปิดเผยว่า สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พ.ต.อ.น.พ.พรชัย สุธีรคุณ รอง.ผบก.นต. ได้ส่งรายงานผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม จำนวน 6 ศพ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ให้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน โดย ระบุผลการชันสูตรว่า ศพที่ 1 ผู้ตายชื่อ นายวิชัย มั่นแพ อายุ 61 ปี โดยระบุผู้ตายมีบาดแผลบริเวณผิวหนังทะลุบริเวณต้นแขนขวาด้านนอก บาดแผลผิวหนังทะลุต้นแขนขวา และบาดแผลบริเวณทรวงอกด้านขวา สันนิษฐานว่ากระสุนทะลุปอดขวา กะบังลม ตับ ไตขวา ขั้วยึด ลำไส้ พบเศษทองแดง 2 ชิ้น บริเวณขั้นยึดลำไส้ ทิศทางจากขวาไปซ้าย หน้าไปหลัง และบนลงล่าง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอดตับ

ศพที่ 2 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณหลังด้านซ้าย บาด แผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้ายส่วนบน กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านซ้ายซี่ที่ 3 ทะลุปอดซ้าย ทิศทางจากหลังไปหน้าแนวตรง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอด

ศพที่ 3 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี พบบาดแผลฉีกขาดตื้นๆ รูวงกลมบริเวณต้นแขนซ้าย 2 แห่ง พบบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้าย กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านหน้าซี่ที่ 2-3 กระดูกกลางอก ทะลุปอดซ้าย หัว ใจ ปอดขวา กะบังลม ตับ พบเศษทองแดงในเสื้อ เศษตะกั่วเล็กๆ ในหัวใจและปอด ทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง และบนลงล่าง สาเหตุการตาย กระสุนทำลายหัวใจ ปอด ตับ

- ถูกยิงที่หัว-หน้าทะลุหัวใจ

ศพที่ 4 นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี มีบาด แผลทะลุผิวหนังถึง 9 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระสุนทะลุซี่โครงซี่ที่ 2 ด้านซ้าย ทะลุปอดซ้าย ทะลุเยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด พบโลหะคล้ายหัวกระสุนปืนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างอยู่ที่เนื้อชายโครงด้านขวา ไม่ทะลุออกทิศ ทางจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง หลังไปหน้าเล็กน้อย สาเหตุการตาย ปอดคั่งเลือดทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด ตับคั่งเลือด เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก

ศพที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี ตรวจพบบาดแผลทะลุผิวหนังจำนวน 7 แห่ง พบรอยช้ำใต้หนังศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านซ้าย สมองพบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก กระ สุนทะลุกระดูกกรามด้านขวาหัก กระดูกโหนกแก้มขวาแตก พบเศษตะกั่วในช่องปากและฐานกะโหลกศีรษะ และพบเศษตะกั่วบริเวณกระดูกก้นกบ สาเหตุการตายถูกยิง 2 นัด ระยะเกินมือเอื้อม เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก เนื้อสมองช้ำ จากการถูกแรงกระแทก (กระสุนทะลุช่องปาก)

- "น้องเกด"ถูกรุมยิงโหด 10 นัด

ส่วน ศพที่ 6 เป็นหญิงชื่อ น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี พบว่ามีบาดแผลถูกยิงทะลุผิวหนังมากถึง 10 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระ สุนถูกเข้าที่หลังผ่านขึ้นด้านบนผ่านแนวลำคอหลังทะลุผ่านกะโหลกศีรษะซีกซ้าย ทะลุสมองน้อยและสมองใหญ่ พบชิ้นส่วนโลหะคล้ายหัวกระสุนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างที่กะโหลกด้านขวา ทิศทางจากล่างขึ้นบน หลังไปหน้า ขวาไปซ้ายเล็กน้อย ลักษณะหมอบลงกับพื้น หน้าหันลงพื้นดิน บาดแผลที่ 2-4 ถูกยิงเข้าบริเวณอก บาดแผลที่ 5-10 ถูกยิงบริเวณแขนและขา ลักษณะถูกระดมยิง สาเหตุการตายกระสุนทะลุหลังเข้าไปทำลายสมอง ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกยิงจากบนลงล่างหรือไม่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่า น.ส.กมนเกดหมอบหน้าแนบพื้น ถูกระดมยิง จากด้านหลัง ซึ่งการตรวจสอบที่แน่ชัดต้องมีพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุมาประกอบด้วย เพราะการจำลองใช้เลเซอร์มาวางแนววิถีกระสุนก็ทำไม่ได้ในกรณีนี้ เนื่องจากหัวกระสุนไปถูกกระดูกและกระดอนไปมาทำให้ร่างกายเสียหายมากจนไม่ สามารถจำลองแนวการยิงได้อย่างแน่ชัด

ส่วนการตรวจที่เกิดเหตุ กลุ่มงานตรวจอาวุธ และเครื่องกระสุนกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ได้รับของกลางจากผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ศพ ภายในวัดปทุมวนาราม พบเศษของลูกกระสุนปืนเล็ก (ทองแดง) ขนาด 5.56 ม.ม. จำนวน 5 ชิ้น เศษรองลูกกระสุนปืน (ทองแดง) ไม่สามารถระบุขนาดได้จำนวน 3 ชิ้น พบเศษตะกั่วทรงกลมไม่สามารถระบุได้จำนวน 3 ชิ้น ความเห็นผู้เชี่ยว ชาญ ของกลางที่พบเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกล ขนาด 5.56 ม.ม.และเป็นเครื่องกระสุนแบบที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้และ เป็นกระสุนปืนที่สามารถยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้


สำหรับผลการชันสูตรทั้ง 6 ศพที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม ลงชื่อ พ.ต.อ.พิภพ ไกรวัฒนพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 4) กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

* * * * * * * * *
ที่มา
สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่ 10 เม.ย.- 19 พ.ค.2553 รวม 89 ราย บาดเจ็บ 1,855 คนข่าวสดออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553


ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และ กลุ่มมรสุมชายขอบ, ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
* * * * * * * * *
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กบัญชีมือฆ่าหมู่10เมษา-19พฤษภา ใครเป็นมือสไนเปอร์ ใครเหี้ย..มสังหารหมู่วัดปทุม ใครเผาCTW? 


ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ระหว่างวันที่ 13-20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


ขอสดุดีวีรชน เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์


แฉโฉม5สมุนเหี้ย..มทีมฆ่า6ศพวัดปทุมฯ เปิดตัวเอ้คุมสังหารหมู่10เมษา-19พฤษภา ใคร?แก๊งดับเสธ.แด


รปภ.ห้างเปิดปาก19พ.ค.เสื้อแดงบริสุทธิ์ แฉทหารยึดก่อนเผา-6ศพวัดปทุม5นายสิบจำนนสารภาพยิงบทความ: 6ศพในวัดปทุมฯ..ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดกี่ใบถึงจะพอหือ

ที่มา thaienews

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใจ อึ๊งภากรณ์ : ยิ่งลักษณ์ตบหน้าวีรชนเสื้อแดงสองปีหลังราชประสงค์เลือด



15 พฤษภาคม 2555
ใจ อึ๊งภากรณ์


การที่นายกยิ่งลักษณ์เดินทางไปเยือนประเทศบาห์เรนและการจับมือกับทรราชเผด็จการที่ประเทศนั้น ถือว่าเป็นการตบหน้าดูถูกวีรชนเสื้อแดงที่สละชีพเพื่อประชาธิปไตยในเหตุการณ์นองเลือดที่ราชประสงค์เมื่อสองปีก่อน เพราะที่บาห์เรนรัฐบาลเผด็จการของกษัตริย์ นาบีล ราจับ ได้เข่นฆ่าประชาชนมือเปล่าที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยถึง 60 กว่าศพ บาห์เรนจึงขึ้นอันดับความป่าเถื่อนในตะวันออกกลางรองจากประเทศซิเรีย

งานศพอากงยังไม่ทันเสร็จสิ้น นายกยิ่งลักษณ์ก็ไปค้าขายบนซากศพวีรชนบาห์เรน และที่บ้านก็ปรองดองบนซากศพวีรชนเสื้อแดง สรุปแล้วรัฐบาลเพื่อไทยและนายกยิ่งลักษณ์ไม่มีศีลธรรมหรืออุดมการณ์ประชาธิปไตยเหลืออยู่เลย

เวลารัฐมนตรีมหาดไทย ยงยุทธ วิชัยดิษฐ พูดต่อว่าเสื้อแดงที่ไปยื่นหนังสือเรื่องการแก้ไข 112 ให้ “รักษาหน้านายกยิ่งลักษณ์หน่อย” มันเป็นเรื่องตลกร้าย เพราะไม่มีหน้าอะไรจะรักษาหลังจากที่จับมือทรราชมือเปื้อนเลือดทั้งในและนอกประเทศ

 องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch รายงานว่ารัฐบาลบาห์เรนทรมานนักโทษการเมืองอย่างเป็นระบบ รวมถึงเด็กและสตรีด้วย มีการข่มขู่แพทย์ที่รักษาคนที่ถูกยิงหรือบาดเจ็บ และมีการทุบทิ้ง “อนุสาวรีย์วงเวียนไข่มุก” กลางเมืองมานามา เพราะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ถ้าเป็นในไทยก็เท่ากับรัฐบาลทุบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยทิ้ง

 การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยที่บาห์เรน ได้รับแรงบันดาลใจจากการลุกฮือที่อียิปต์และที่อื่น แต่รัฐบาลกษัตริย์ใช้ทหารและรถถังจากเผด็จการประเทศ ซาอุ อาเรเบีย เพื่อปราบปรามประชาชนอย่างเลือดเย็นเมื่อปีที่แล้ว

อับดุลฮาดี อัลคาวาจา เป็นหนึ่งในนักโทษการเมือง 8 คนที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตในศาลทหารในฐานะที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย ตอนนี้ อับดุลฮาดี อัลคาวาจา อดอหารประท้วงมา 3 เดือนแล้ว เขาและนักโทษอื่นๆ ถูกทรมานให้สารภาพผิด

 ในขณะที่มหาอำนาจตะวันตกวิจารณ์เผด็จการซิเรียที่เข่นฆ่าประชาชนหมื่นกว่าคน ตะวันตกเงียบเรื่องบาห์เรน เพราะสหรัฐมีฐานทัพเรือที่สำคัญที่นั้น และเมื่อเดือนที่แล้วพวกนายทุนแข่งรถ “ฟอร์มูล่าวัน” ก็เพิกเฉยต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดงานแข่งรถท่ามกลางคราบเลือดของวีรชน

คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งชอบออกมาแก้ตัวแทนยิ่งลักษณ์ ด้วยการพูดเท็จว่า “รัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะแก้ไข 112” ซึ่งไม่จริง แต่สิ่งที่เราเห็นชัดตอนนี้คือนายยิ่งลักษณ์เลือกที่จะไปบาห์เรนเพื่อไปจับมือกับทรราช โดยเน้นผลประโยชน์ธุรกิจมากกว่าความถูกต้อง เหมือนกับที่เคยเลือกไปกราบพลเอกเปรม

หลังเหตุการณ์นองเลือดราชประสงค์ที่ทหารไทยจงใจยิงประชาชนเสื้อแดงตายไปเกือบ 90 ศพ เมื่อนายกรัฐมนตรีอังกฤษประกาศว่าจะมาเยี่ยมประเทศไทยและอาจมาเยี่ยมอภิสิทธิ์ พวกเรา ทั้งชาวไทยและชาวอังกฤษ ร่วมกันรณรงค์ไม่ให้ไป จนเขาต้องยกเลิกการเดินทาง การเงียบเฉยของคนไทยและสื่อไทยจำนวนมากต่อการเดินทางครั้งนี้ เสี่ยงกับการทำให้ชาวโลกที่รักประชาธิปไตย คิดว่าคนไทย “ตื้นเขิน” ไม่สนใจหลักการอะไร หรือปัญหารอบตัวในโลกปัจจุบัน

Protests in Bahrain are ongoing, despite a deadly crackdown by the government.
การประท้วงที่บาห์เรนยังดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีการปราบปรามอย่างเหี้ยมโหดจากรัฐบาลจนมีประชาชนเสียชีวิตก็ตาม
ที่มา Spineless Liberal 


ที่มา thaienews

รายงาน: ตอบทุกประเด็น “ศาลอาญาระหว่างประเทศ” ทำไมไทยไม่เป็นภาคี?

โดย วรางคณา อุ๊ยนอก  รายงาน

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องบทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศ(ICC) ในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยกับกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ” มีวิทยากรรวม 5 คน ได้แก่ วารุณี ปั้นกระจ่าง ผู้อำนายการกองกฎหมายจากกระทรวงการต่างประเทศ, พนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.และนักกฎหมาย,  ปิยบุตร แสงกนกนกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สุดสงวน สุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

สุนัย จุลพงศธร สส.และประธานการกรรมาธิการฯ กล่าวถึงการสลายการชุมนุมในช่วงเม.ย.- พ.ค. 53 ว่ามีการฆ่าประชาชนในที่สาธารณะ ทั้งๆ ที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการเมืองของไทยได้พัฒนาไปมากแล้ว ดังนั้นจึงต้องหากติกามาคุ้มครองชีวิตคนไทย แต่กติกาในประเทศมีความซับซ้อนมาก จึงต้องหันมองต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเข้ามาศึกษาเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้นายแพทย์เหวง โตจิราการ ก็ได้ล่ารายชื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไปตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 55 เพื่อขอให้พิจารณาธรรมนูญแห่งกรุงโรม มาตรา12 (3) ที่ใช้มติคณะรัฐมนตรีเป็นกรณีพิเศษเพื่อดำเนินการในคดีใดคดีหนึ่ง โดยไม่ได้มีเจตนาเอาผิดกับใคร แต่เพื่อลดทอนความรุนแรงลง เพราะแน่นอนว่าญาติผู้เสียชีวิตซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมรู้สึกโกรธ ดังนั้นจึงต้องลดความรุนแรงทางจิตใจลง
          

ประเด็นการสัมมนามี 5 ข้อ ได้แก่
            1. ศาลICCคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
            2. บทบาทอำนาจหน้าที่ ฐานความผิดกว้างขวางเพียงใด
            3. เงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการใช้เขตอำนาจศาลมีอะไรบ้าง
            4. ผู้ที่เสียหายคือใคร และมีแนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร การร้องทุกข์กล่าวโทษ  กระบวนการสืบสวน การพิจารณา การพิพากษา การอุทรหรือทบทวนคำพิพากษา ตลอดจนความร่วมมือด้านต่างๆระหว่างภาคีสมาชิกต้องทำอย่างไร
            5. การให้สัตยาบรรณของไทยมีผลดีหรือผลเสียในภาพรวมด้านใดบ้าง



1. ศาลอาญาระหว่างประเทศ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
วารุณีกล่าวว่าธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court: ICC) เป็นสนธิสัญญาที่เกิดขึ้นจากการประชุม ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อจัดตั้งศาลที่มีลักษณะถาวรสำหรับพิจารณาความผิดของบุคคลธรรมดาที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงสูงสุด เนื่องจากก่อนหน้านี้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีในลักษณะนี้เป็นเพียงศาลเฉพาะ ธรรมนูญกรุงโรม ได้รับการรับรองเมื่อปี2541 โดยสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ160 ประเทศ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่1 ก.ค. 2545 ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนธรรมนูญกรุงโรมและได้ลงนามเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2543

การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่สุดถูกปล่อยไปโดยไม่ได้รับการลงโทษ เป็นการยับยั้งการก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่อาจจะเกิดในอนาคต ส่งเสริมความยุติธรรมในระดับสากลและเสริมความยุติธรรมของรัฐภาคี

ปิยบุตรขยายความ ความหมายของศาลอาญาระหว่างประเทศ ว่าไม่ใช่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก การดำเนินคดีมุ่งไปที่ตัวคน ไม่ใช่รัฐกับรัฐ มีลักษณะพิเศษคือเป็นศาลถาวร ไม่เฉพาะเจาะจงกับคดีใดคดีหนึ่ง เป็นศาลเสริมอำนาจศาลภายในคือ ต้องให้มีกระบวนการยุติธรรมในประเทศก่อน และศาลอาญาระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพราะความสมัครใจของแต่ละรัฐเอง แม้ว่าจะลงนามแล้วแต่ก็ต้องให้สัตยาบรรณด้วยจึงจะมีผลใช้บังคับ ปัจจุบันมี 121 ประเทศ ที่ลงนามแล้ว และให้สัตยาบรรณแล้ว และมี 32 ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบรรณ ประเทศที่ลงแล้วถอนก็มีเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศที่ไม่ลง เช่น จีน อินเดีย

2. บทบาทอำนาจหน้าที่ ฐานความผิดกว้างขวางเพียงใด
วารุณีให้ข้อมูลว่า ความผิดที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจพิจารณาคดี ไม่ใช่อาชญากรรมทั่วไป แต่มีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมร้ายแรงที่สุด4ประเภท คือการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน

สำหรับอาชญากรรมอันเป็นการรุกราน  มีการประชุมทบทวนเพื่อกำหนดคำนิยาม องค์ประกอบความผิดและเงื่อนไขที่ให้ศาลใช้เขตอำนาจในภายหลัง คือเมื่อ 31พ.ค.- 11 มิ.ย. 2553 ที่ประเทศอูกันดา ซึ่งตามกำหนดต้องแก้ไขทบทวนธรรมนูญเมื่อครบ 7 ปีหลังจากที่ธรรมนูญมีผลใช้บังคับ ผลการประชุม สามารถกำหนดคำนิยามและองค์ประกอบความผิดที่ค้างอยู่ได้ กำหนดเงื่อนไขที่ให้ศาลใช้เขตอำนาจ เพิ่มฐานความผิดย่อยเกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามจากเดิมที่ได้กำหนดไว้แล้ว และเลื่อนเวลาสำหรับเขตอำนาจศาล

พนัสกล่าวว่านอกจากกรณีการฆ่าสังหาร การเอาคนไปลงโทษจำคุกก็เข้าข่ายอาชญากรรมร้ายแรง เพราะการดำเนินคดีไม่ได้เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม ทำให้คนติดคุกจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผิดต่อมนุษยชาติซึ่งเป็นการกระทำที่เป็นระบบ  ในส่วนของประมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ก็เข้าข่ายด้วย ถ้ามีการรับดำเนินคดี การบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้มีความผิดแน่นอน

3. เงื่อนไขบังคับก่อนสำหรับการใช้เขตอำนาจศาลมีอะไรบ้าง
วารุณีกล่าวถึงการใช้เขตอำนาจศาลว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเฉพาะกับอาชญากรรมที่กระทำขึ้นหลังจากที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ คือวันที่1 ก.ค. 2545 ดังนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีเขตอำนาจพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันดังกล่าว  ส่วนรัฐที่เข้าเป็นภาคีภายหลังที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ไปแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจใช้อำนาจได้เฉพาะกับอาชญากรรมที่กระทำขึ้นหลังจากที่ธรรมนูญมีผลบังคับใช้ในประเทศที่เข้าเป็นภาคีนั้น

สำหรับเงื่อนไขการใช้เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ การที่รัฐใดรัฐหนึ่งเข้าเป็นภาคีธรรมนูญถือเป็นการยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศในอาชญากรรม 4 ประเภท ที่กล่าวมา ศาลฯ อาจใช้เขตอำนาจ ตามกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

(1)เมื่อรัฐภาคีเป็นรัฐเจ้าของดินแดนที่อาชญากรรมถูกกระทำขึ้น หรือเป็นรัฐที่จดทะเบียนเรือหรืออากาศยานในกรณีที่อาชญากรรมกระทำขึ้นบนเรือหรืออากาศยาน

(2)รัฐภาคีนั้นเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม

(3)สำหรับรัฐที่ไม่ใช่ภาคี รัฐนั้นๆ อาจตกลงยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะกรณีได้ เมื่ออาชญากรรมกระทำขึ้นในดินแดนของตน บนเรือ หรืออากาศยานของตนหรือโดยคนชาติของตน ด้วยการส่งมอบคำประกาศให้แก่นายทะเบียน และรัฐดังกล่าวต้องให้ความร่วมมือแก่ศาลโดยไม่ชักช้าและโดยไม่มีข้อยกเว้นใด

อย่างไรก็ตามศาลอาญาระหว่างประเทศมีฐานะเสริมอำนาจศาลภายในของรัฐภาคีเท่านั้น ดังนั้นก่อนอื่นเป็นหน้าที่ของรัฐภาคีที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับอาชญากรรมมากที่สุดจะต้องใช้อำนาจศาลภายในก่อน แต่เมื่อศาลภายในไม่สามารถ หรือไม่สมัครใจพิจารณาคดี ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเข้ามาใช้เขตอำนาจเหนือคดีนั้นได้

วารุณีขยายความของคำว่าไม่สามารถและไม่สมัครใจว่า ไม่สามารถ(unable)  หมายถึงรัฐไม่สามารถดำเนินกระบวนการยุติธรรมภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถใช้อำนาจตุลาการได้ เช่นในประเทศที่มีการสู้รบอย่างรุนแรง หรือเกิดอาชญากรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง รัฐไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และไม่สมัครใจ(unwilling) หมายถึงรัฐมีความมุ่งประสงค์ที่จะปกป้องผู้กระทำความผิด ทำให้กระบวนการพิจารณาล่าช้า ไม่เป็นอิสระหรือไม่เป็นกลาง แต่ศาลฯจะไม่รับพิจารณาในกรณีที่ ศาลในประเทศรับพิจารณาคดีอยู่ หรือคดีไม่มีน้ำหนักเพียงพอ

ด้านปิยบุตร กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของธรรมนูญนี้ว่า หลักกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสนธิสัญญามีว่า รัฐใดแม้ลงนามแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบรรณ ก็ห้ามกระทำการที่ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของธรรมนูญ  เช่น หากประเทศไทยจะเขียนรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ให้สัตยาบรรณกับธรรมนูญ ถือว่าทำไม่ได้ นั่นคือธรรมนูญยังไม่ผูกมัด แต่ก็ห้ามเขียนกฎหมายภายในต่อต้าน หรือไม่ดำเนินการเกี่ยวกับธรรมนูญนี้

เงื่อนไขของการรับคำร้อง แบ่งตามเขตอำนาจดังนี้

1. เขตอำนาจในทางเวลา
สำหรับรัฐที่ลงนามและให้สัตยาบรรณแล้ว ธรรมนูญจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 45 ไม่มีการย้อนหลัง และสำหรับรัฐที่ให้สัตยาบรรณหลังจากนั้น ธรรมนูญก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่หลังให้สัตยาบรรณ 60 วัน ดังนั้นสมติว่าประเทศไทยให้สัตยาบรรณวันนี้ ก็ไม่สามารถนำความผิดที่เกิดก่อนหน้านี้มาเข้าสู่ศาลฯได้

ในประเด็นนี้ปิยบุตรได้เสนอช่องทางการเอาผิดต่อผู้กระทำอาชญากรรมโดยที่ไม่ต้องให้สัตยาบรรณว่า รัฐที่ไม่ใช่รัฐภาคี สามารถทำคำประกาศฝ่ายเดียวเพื่อยอมรับเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกรณีได้ ซึ่งมีประเทศที่ทำสำเร็จมาแล้ว คือ อูกันดา และไอวอรีโคสต์ ในกรณีไอวอรีโคสต์ไม่ได้ให้สัตยาบรรณ ก็ได้ทำคำประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลในวันที่ 18 เม.ย. 46 แต่ขอยอมรับเขตอำนาจศาลตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 45 เพื่อให้ศาลอาญาระหว่างประเทศจัดการกับความผิดที่เกิดก่อนหน้าการประกาศ หมายความว่าสามามารถถอยหลังกลับไปได้ แต่ถอยได้ไม่เกินวันที่ 1 ก.ค. 45 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลัง เพราะได้ลงนามกับธรรมนูญกรุงโรมไว้แล้ว

ทั้งนี้การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาลก็ไม่ได้หมายความว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศจะเข้ามาจัดการกับคดีได้ทันที แต่มีเงื่อนไขอื่นๆ อีกมาก กระนั้นก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 คือ คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้และไม่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา แต่นายกรัฐมนตรีสามารถลงนามได้ทันที

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นนี้ พนัสเห็นว่า น่าจะเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหนักว่าต้องทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ เพราะการกระทำต่างๆ ต้องเข้าสู่สภา จึงต้องมีการทบทวนกันให้ถ่องแท้ว่าทำกันได้มากน้อยเพียงใด ส่วนการให้สัตยาบรรณก็น่าจะผ่านสภาไปได้ยากมาก

2. เขตอำนาจในทางเนื้อหา คือความผิด 4 ประเภทที่กล่าวมา

3. เขตอำนาจในทางพื้นที่ คือความผิดเกิดในดินแดนของรัฐภาคี

4. เขตอำนาจในทางบุคคล คือ ผู้ที่ถูกกล่าวหามีสัญชาติของรัฐภาคี

แต่เงื่อนไขสุดท้ายคือต้องปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมภายในประเทศทำหน้าที่ก่อน เพื่อไม่ให้ขัดต่อหลักอำนาจอธิปไตย และที่สำคัญต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงเพียงพอ ซึ่งสามารถดูได้จากเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเสียหาย และดูผู้เสียหายว่าได้รับความทุกข์ทรมานมากเพียงใด และสุดท้ายผู้ที่ถูกกล่าวหาจะต้องไม่ถูกศาลพิพากษาซ้ำในการกระทำเดียวกัน

ในกรณีของซูดาน ประชาชนไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม และจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่กระทำความผิด ซึ่งก็หมายความว่ารัฐไม่สมัครใจ(unwilling)ที่จะดำเนินคดี ฉะนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจึงเข้ามาได้

เช่นเดียวกับพ.ร.บ.ปรองดอง ของไทยซึ่งจะมีการนิรโทษกรรมก็มีความชัดเจนว่า จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาดำเนินการกับนายอภิสิทธิ์ได้ ส่วนที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ยื่นฟ้องไปก่อนหน้านี้ก็อาจอาศัยช่องทางที่นายอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศภาคีให้จัดการได้ แต่เมื่อดูที่ตัวเลขของการร้องเรียน มีคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศมากกว่า 3000 คำร้อง แต่มีคดีอยู่ในศาลเพียงแค่ 15 คดี และมีเพียง 7 คดี ที่มีการสืบสวนสอบสวนอย่

างเป็นทางการแล้ว และมีเพียง 1 คดีที่ตัดสินไปแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น้อยมากและการดำเนินการทุกขั้นตอนต้องใช้เวลานาน

พนัสได้เสนอ ว่า ในกรณีการประกาศรับรองเขตอำนาจศาล น่าจะศึกษากรณีฮอนดูรัส ซึ่งมีการรัฐประหารและมีการประกาศภาวะฉุกเฉินคล้ายกับไทย คนที่ฝ่าฝืนการประกาศถูกจับไปเป็นพันคน แต่ส่วนใหญ่ถูกขังในช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 12ชั่วโมง มีการกระทำทารุณกรรมเกิดขึ้นไม่มาก การรัฐประหารมีความรุนแรงทำให้คนเสียชีวิตไป 20 คน ที่เจตนาฆ่าจริงๆ  มีเพียง 8 คน นอกนั้นเป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งแน่นอนว่าการสลายการชุมนุมของไทยรุนแรงกว่า

นอกจากนี้ปิยบุตรยังเสนอช่องทางในการร้องเรียน การถูกกระทำจากรัฐอีกช่องทางหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นไปได้มากกว่า คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)  ที่ประเทศไทยลงนามไว้แล้ว มีการรับรองสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง ถ้าเอกชนเห็นว่ารัฐละเมิดสิทธิตัวเองก็จะร้องเรียนไปที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนประจำสหประชาชาติ แล้วจะมีการดำเนินการต่อไป หากเห็นว่ารัฐกระทำการขัดกับหลักสิทธิตามที่ระบุไว้ ก็จะมีการออกมาตรการ เช่น ให้แก้กฎหมายภายใน หรือชี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการถูกดำเนินคดีตามาตรา112 ก็สามารถไปร้องเรียนได้ แต่ทุกกรณีจะร้องเรียนได้ต่อเมื่อรัฐได้ลงนามพิธีสารอีกฉบับหนึ่งที่เสริมขึ้นมา แต่ไทยยังไม่ได้ลง แต่ประชาชนสามารถกดดันให้รัฐบาลไปลงได้

          
4. ผู้ที่เสียหายคือใคร และมีแนวทางดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยุติธรรมอย่างไร การร้องทุกข์กล่าวโทษ  กระบวนการสืบสวน การพิจารณา การพิพากษา การอุทธรณ์หรือทบทวนคำพิพากษา ตลอดจนความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างภาคีสมาชิกต้องทำอย่างไร
ในส่วนของการริเริ่มคดี วารุณีกล่าวว่ากำหนดให้ รัฐภาคี คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เสนอต่ออัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศหรืออัยการเป็นผู้ริเริ่มคดีเองก็ได้ หลังจากนั้นก็จะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศต่อไป  โดยที่
            - รัฐภาคี ต้องเสนอข้อมูลต่ออัยการ ให้เอกสารสนับสนุน มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
            - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่นตัวอย่างการสังหารประชาชนโดยรัฐบาลในเขตดาฟู เพราะมองว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธที่ต่อต้านรัฐบาลระหว่างปีค.ศ.2003-2008 กรณีนี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้เสนอเรื่องต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หลังจากตรวจสอบพยานหลักฐานสืบพยานผู้เชี่ยวชาญกว่า 50 ปาก ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีค.ศ.2005
            - อัยการเป็นผู้ริเริ่มคดีเอง โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรัฐ องค์กรสหประชาชาติ องค์การระหว่างรัฐบาลหรือองค์การที่ไม่ใช่รัฐบาลหรือแหล่งข้อมูลอื่นๆที่น่าเชื่อถือ

เมื่ออัยการพิจารณาแล้วลงความเห็นว่ามีหลักฐานสมเหตุผลที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อไป หรือผู้เสียหายอาจยื่นคำให้การต่อองคณะพิจารณาคดีเบื้องต้นได้  เมื่อองค์คณะตุลาการพิจารณาคดีเบื้องต้นพิจารณาแล้วเห็นว่ามีมูลเหตุที่สมเหตุผลที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อและกรณีดังกล่าวดูเหมือนว่าจะอยู่ภายในเขตอำนาจศาล จึงจะอนุญาตให้อัยการเริ่มการสืบสวนสอบสวนได้ หากองค์คณะฯ ปฏิเสธคำร้องขอของอัยการที่จะดำเนินการสืบสวนสอบสวนต่อ อัยการก็มีสิทธิ์ยื่นคำร้องในภายหลังได้ บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานใหม่

เมื่ออัยการยื่นสืบสวนสอบสวนข้อมูลด้วยตัวเองและวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับแล้วเห็นว่าข้อมูลนั้นไม่มีพื้นฐานที่สมเหตุผลสำหรับการสืบสวนสอบสวน อัยการจะต้องแจ้งแก่ผู้ให้ข้อมูลได้ทราบ แต่ก็ไม่เป็นการตัดสิทธิ์อัยการในการพิจารณาข้อมูลเพิ่มเติม

สุดสงวน  กล่าวถึงบุคคลที่สามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาลได้ ได้แก่ ผู้เสียหายหรือเหยื่อเอง องค์กรเอ็นจีโอ เช่น Human right watch และAmnesty  หลังจากนั้นอัยการจะพิจารณาว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจหรือไม่ ต่อมาอัยการจะจะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงพอหรือไม่ เช่นในกรณีของประเทศไทย 90 กว่าศพมากพอหรือไม่ ซึ่งไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องมีการตายเยอะๆ การสั่งฆ่าประชาชนเพียงคนเดียวก็ถือเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติแล้ว ต่อมาอัยการจะสืบสวนสอบสวนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วจะยื่นหลักฐานทั้งหมดที่ควรจะดำเนินคดีไปที่หน่วยการพิจารณาคดีเบื้องต้น แล้วผู้พิพากษาจะพิจารณาสิ่งที่อัยการทำขึ้นมา ซึ่งมีสิทธิ์ที่จะรับหรือปฏิเสธคดีก็ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจ โดยส่วนตัว สุดสงวนเชื่อว่าผู้พิพากษามีความเป็นกลางและไม่มีส่วนได้เสียกับประเทศไทย และหากผู้พิพากษารับแล้วก็จะมีหมายจับไปยังบุคคลที่ต้องถูกดำเนินคดี ในระหว่างการสอบสวน ไม่สามารถประกันตัวผู้ต้องหาได้ และจะถูกควบคุมตัวไว้ที่ศูนย์ควบคุมประเทศเนเธอแลนด์ จนกระทั่งการพิจารณาคดีจนเสร็จ ในขั้นตอนก่อนการตัดสิน จะมีผู้พิพากษา 3 คนที่จะฟังกรณีและตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด   หากผิดจะถูกจำคุกตามคำสั่งผู้พิพากษาซึ่งอาจมากถึง 30 ปีหรือตลอดชีวิต แต่ไม่มีโทษประหารชีวิต

อย่างไรก็ตาม ICC ไม่มีคุกเป็นของตัวเอง ดังนั้นจะส่งนักโทษกลับไปยังประเทศสัญชาติ ซึ่งตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ ICC หากจำเลยถูกตัดสินว่าไม่ผิด ก็ไม่ได้หมายความว่าความผิดจบลง แต่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้องได้อีก ซึ่งเมื่อถูกพิพากษาว่ามีความผิดและถูกออกหมายจับแล้ว จำเลยยังอยู่ที่ประเทศสัญชาติของตน ICC ก็ไม่มีอำนาจเข้าไปจับกุมตัว เว้นแต่บุคคลนั้นจะเดินทางออกนอกประเทศ แต่พนัสกล่าวว่าต้องไปดูในธรรมนูญภาค10 การบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในข้อ103 ศาลจะต้องตั้งรับ ว่ารัฐใดซึ่งเป็นภาคสมาชิกจะสมัครรับเอานักโทษไป ส่วนเรื่องการจับกุม รัฐภาคีที่มีตัวผู้กระทำผิดอยู่ในพื้นที่ก็ต้องให้ความร่วมมือ ถ้าพบตัวผู้กระทำความผิดในรัฐใด รัฐก็ต้องส่งตัวให้กับศาล ไม่ว่ารัฐนั้นจะให้สัตยาบรรณแล้วหรือไม่ก็ตาม

พนัสให้ข้อมูลว่าโครงสร้างของศาลประกอบด้วยอัยการ 1 คน ผู้ช่วย 1 คน และผู้พิพากษาหรือตุลาการ รวม 18 คน โดยแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาคดี ฝ่ายพิจารณาคดี และฝ่ายรับเรื่องอุทธรณ์ ซึ่งอัยการเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะกลั่นกรองว่าคดีมีมูลหรือไม่ ตรงนี้แตกต่างกับอัยการของไทย เพราะทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนและฟ้องคดีอยู่ในตัว ขั้นตอนที่ว่าจึงเป็นการใช้อำนาจร่วมกันระหว่างอัยการกับศาล ต่อเมื่ออัยการเห็นว่าคดีมีมูลจึงขอให้ฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาสอบสวนคดีนี้อย่างเป็นทางการ เมื่อฝ่ายไต่สวนก่อนพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่อัยการส่งมามีหลักฐานเพียงพอที่จะสอบสวน ศาลก็จะอนุมัติให้อัยการทำการสอบสวนได้ เมื่ออัยการสอบสวนแล้ว ก็จะได้ข้อสรุปว่าต้องเอาผู้ถูกกล่าวหามาดำเนินคดีหรือไม่ ถ้าสมควรก็ขอให้ศาลออกหมายเรียก โดยที่ศาลก็มีดุลพินิจคานกันอยู่ จะไม่ถูกผูกพันโดยการตัดสินหรือวินิจฉัยของขั้นตอนก่อนหน้า นี่คือระบบที่แตกต่างกับศาลไทย ดังนั้นการพิจารณาคดีแต่ละขั้นจึงมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะข้อพิจารณาว่าจะรับเป็นคดีหรือไม่
          

5. การให้สัตยาบรรณของไทยมีผลดีหรือผลเสียในภาพรวมด้านใดบ้าง
วารุณีชี้ว่าประเทศไทยลงนามธรรมนูญกรุงโรมเมื่อวันที่ 2  ต.ค.2543 แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบรรณ จึงยังไม่ได้เป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม คณะกรรมการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ จัดการประชุมแล้ว สรุปว่าหากประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีจำเป็นต้องออกพระราชบัญญัติ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมนูญกรุงโรม ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ให้กำหนดฐานความผิด ครอบคลุมความผิดที่เป็นอาชญากรรม 4 ประเภทที่ระบุในธรรมนูญกรุงโรม รวมทั้งกำหนดบทลงโทษ จะต้องแก้ไขพระราชบัญญัติส่งผู้ร่ายข้ามแดน พ.ศ.2542 ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ.2527 ต้องแก้ไขพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 เป็นต้น

“ตอบคำถามที่ว่า เหตุใดประเทศไทยจึงไม่เข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรม ประเด็นสำคัญที่สุดคือ ข้อ27 ของธรรมนูญกรุงโรม กำหนดให้ประมุขของรัฐไม่ได้รับการยกเว้นจากความรับผิดทางอาญาตามธรรมนูญศาลนี้ ไม่ว่ากรณีใดและจะไม่เป็นมูลเหตุให้ลดหย่อนโทษ หมายความว่าถ้าไทยเข้าเป็นภาคีก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อนี้ด้วย แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 8 ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ นี่เป็นข้อติดขัดประการหนึ่ง ซึ่งหากไทยจะเข้าเป็นภาคี ก็จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการเพื่อรองรับพันธกรณีตามข้อ27  ซึ่งไทยจะต้องคำนึงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีสถานะพิเศษในบริบททางสังคม การเมืองและกฎหมายของไทย จะต้องมีการศึกษาพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา”

แต่ในกรณีนี้ปิยบุตรเสนอว่า  ธรรมนูญกรุงโรม ในมาตรา27เขียนไว้ว่า เอกสิทธิ์ความคุ้มกันต่างๆ ที่ให้กับประมุขของรัฐทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ให้เอามาใช้กับธรรมนูญกรุงโรม ประเทศไทยน่าจะกังวลเรื่องนี้ และน่าจะเป็นเหตุผลหลักที่ไม่ยอมให้สัตยาบรรณ แต่ใน 121 ประเทศที่ให้สัตยาบรรณไปมีหลายประเทศที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ และมีตัวบทเหมือนมาตรา 8 ของไทย คือองค์พระมหากษัตริย์ละเมิดมิได้ แต่หมายถึงว่า องค์พระมหากษัตริย์จะไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีไม่ว่าในทางใดๆ ทั้งวินัย แพ่งหรืออาญา ซึ่งไม่รวมถึงการถูกวิพากษ์วิจารณ์ กระนั้นประเทศเหล่านี้ก็สามารถให้สัตยาบรรณได้ ไม่ว่าจะเป็น สเปน สวีเดน อังกฤษ เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น แต่ของไทยกลับยังเป็นปัญหา ทั้งที่ในความจริงแล้ว มาตรา 8 จะบังคับใช้ไม่ได้ในทันที แต่ต้องเข้าเงื่อนไขว่าพระมหากษัตริย์จะไม่กระทำการใดๆ ตามลำพัง คนที่กระทำและรับผิดชอบผลของการกระทำคือผู้รับสนองพระบรมราชองโองการ จึงไม่ต้องกังวลเลยว่าพระมหากษัตริย์จะถูกนำตัวไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ เพราะคนที่รับผิดชอบคือผู้ลงนามรับสนองฯ

ก่อนเข้าสู่การซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วารุณีกล่าวว่าในเร็วๆ นี้กระทรวงการต่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาตัวธรรมนูญกรุงโรมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงคำนิยามต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาการเข้าเป็นภาคี โดยที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย มิใช่ของกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายเดียว ต้องผ่านครม. รัฐสภา ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา190 โดยคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมนูญนี้และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อไป

ที่มา prachatai

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

‘สุรชัย แซ่ด่าน’ สุขภาพแย่ ทำพินัยกรรม ถ้าตายรอเผาเมื่อแก้/ยกเลิก 112 สำเร็จ

วันนี้ (14 พ.ค.55) รายงานข่าวแจ้งว่า นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ได้เขียนพินัยกรรมระบุว่าในเร็วๆ นี้จะเข้ารับการผ่าตัดต่อมลูกหมาก และขณะนี้อาการไขมันอุดตันในเส้นเลือดเริ่มมีอาการ หลังผ่าตัดทำบายพาสหัวใจมาเมื่อ 8 ปีที่แล้ว จึงอาจตายในคุกต่อจากอากง เพราะอายุ 70 ปีแล้ว

นายสุรชัยจึงทำพินัยกรรมเอาไว้ว่า ถ้าตายไปใครอย่าเผา ใครเผาขอสาปแข่ง ให้แห่ศพไปสวดทุกๆ ที่ที่มีคนเป็นเจ้าภาพ เพื่อรณรงค์ให้แก้ไข หรือยกเลิก มาตรา 112 สำเร็จเมื่อไหร่ค่อยเผาศพ
         พินัยกรรมซึ่งภรรยาคัดลอกจากปากคำที่ได้เข้าเยี่ย


ทั้งนี้ คดีของนายสุรชัย คดี อ.1177/2555 อัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 เม.ย.55 ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 5 -  6  ก.พ. 54  เวลากลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยบังอาจกล่าวปราศรัยบนเวทีชั่วคราวด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี  และองค์รัชทายาท เหตุเกิดบนเวทีปราศรัยชั่วคราวลานวัดสามัคคีธรรม ซ.ลาดพร้าว 64  แขวง - เขตวังทองหลาง ซึ่งศาลอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้วสอบถาม ซึ่งจำเลยแถลงให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี
จากนั้น เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.55 ศาลนัดสอบคำให้การจำเลยและมีคำพิพากษาระบุ ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า จำเลยกระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112  พิพากษาให้จำคุก 5 ปี  ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 2 ปี 6 เดือน โดยให้นับโทษจำเลยต่อในคดีหมิ่นเบื้องสูงของศาลอาญาอีก 3 สำนวน คดีแดง อ.503/2555, 504/2555 และ 505/ 2555 ที่ศาลอาญา พิพากษาให้จำคุก 7 ปี 6 เดือนด้วย เมื่อรวมโทษจำเลยทั้งหมดแล้ว จึงจำคุกสิ้น 10 ปี

ที่มา prachatai

เปิดจดหมายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ถึง อากง “อิสรภาพจากคนเป็นถึงคนตาย”

 

หมายเหตุ: ประชาไทได้รับจดหมายจากผู้ใกล้ชิด สมยศ พฤกษาเกษมสุข จึงขออนุญาตนำเผยแพร่ต่อสาธารณะ และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้



ร่างตัวเล็ก บอบบางในชุดกางเกงขาสั้น เสื้อสีเหลือง ของชายชราอายุ 61 ปี ชื่ออำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” มาหาผมที่แดน 1 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 เรานั่งคุยกันที่ใต้ต้นหูกวาง อากงบอกว่า เดินขึ้นบันไดเข้าห้องขังที่ชั้น 3 แดน 8 ไม่ไหวแล้ว ระยะนี้สามวันดีสี่วันไข้ คิดถึงลูกหลานเหลือเกิน ผมรับปากอากงว่าจะทำหนังสือถึงผู้อำนวยการส่วนควบคุมผู้ต้องขังนายสมพงษ์ ประดิษฐ์วงศ์กุล ให้ย้ายกลับมาอยู่แดน 1 ให้อยู่ห้องเดียวกับผม

ถัดมาเพียงสัปดาห์เดียววันที่ 17 เมษายน 2555 ผมเจออากงคราวนี้ร่างกายผ่ายผอม ซูบเซียวมากกว่าเดิม อากงบอกว่าออกกำลังกายมากจนเจ็บท้อง หลังจากนี้ผมพบอาจารย์สุดา รังกุพันธ์ ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก ซึ่งมาฟังการไต่สวนคดีของผม จึงได้แจ้งให้อาจารย์สุดาให้ช่วยประสานงานการย้ายห้องขังของอากงให้ด้วย

วันที่ 21 เมษายน 2555 ผมเจออากงก่อนเยี่ยมญาติ อากงบอกว่าอยู่ในคุกนานแล้ว ทุกข์ทรมานเหลือเกิน ผมสอบถามว่าใครเล่าทำให้อากงติดคุกแบบนี้ อากงตอบด้วยแววตาซื่อสัตย์ว่า “โทรศัพท์” และยืนยันหนักแน่นว่า “ผมส่ง SMS ไม่เป็น” ผมจึงถามอากงว่า เป็นคนจำพวกล้มเจ้าหรือเปล่า อากงบอกว่า “ผมรักในหลวง ถ้าออกจากคุกจะไปถวายพระพร”

ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของอากง โดยปราศจากข้อสงสัยทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผมถูกจองจำได้พูดคุยกับอากงหลายครั้ง ได้รับคำตอบเหมือนเดิมทุกประการ นอกจากเป็นคนส่งข้อความโทรศัพท์มือถือไม่เป็นแล้ว ในชีวิต 60 ปีของอากง อากงไม่เคยรู้จักนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาก่อน และแน่นอนที่สุด เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้เบอร์โทรศัพท์มือถือของนายสมเกียรติอีกด้วย

การตัดสินลงโทษสถานหนักเป็นเวลา 5 ปี จำนวน 4 กระทง รวมจำคุกทั้งสิ้น 20 ปี สำหรับชายชราเงอะงะ ไม่ประสีประสาทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและเหตุการณ์บ้านเมือง จึงค่อนข้างเป็นเรื่องแปลกประหลาดสำหรับผู้รักความเป็นธรรมจนทำให้ข่าวอากงถูกศาลตัดสินจำคุก 20 ปีโด่งดังไปทั่วโลก

ขณะที่ศาลตัดสินลงโทษอากง 20 ปี ผมถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ผมได้เขียนโคลงสี่สุภาพถึงอากง ขณะที่กำลังรอการพิจารณาไต่สวนอยู่มีข้อความดังนี้


ตระละการบอดใบ้


หกสิบปีเฒ่าท้น                เดียงสา

ภักดีกษัตรา                     ถ่องแท้

ถูกกักขังกล่าวหา              หมิ่นกษัตริย์

ติดคุกยี่สิบปี                    ป่นปี้ยาวนาน

อากงอาการเศร้า               โศกศัลย์

SMS มหันต์                     บ่รู้

เทคโนโตไม่ทัน                แน่แท้

ใครส่งสงสัยอ้าง               อาจเอื้อม งุน งง

ใช้สี่ข้อความไซร์              ซังเต

รัฐประหารซวนเซ              แซ่ซ้อง

โทษถึงตายโอเค              รอดพ้น

ตระละการบอดใบ้             เศร้าใจฉิบหาย

ประชาชนทนไม่ได้            ต่อสู้

เสียงเล่าเขารับรู้                สู่ฟ้า

อธิปไตยพวกกู                 กอบกู้

ตัวตื่นหยัดยืนสู้                ต่อต้านทรราชย์



ทนายความนายอานนท์ นำภา และครอบครัวของเขายื่นคำร้องขอสิทธิประกันตัวอยู่หลายครั้งเพื่อให้อากงได้รับการรักษาพยาบาล และใช้ชีวิตชราภาพอยู่กับครอบครัว แม้ยื่นหลักทรัพย์จำนวนมาก และยังมีคณาจารย์จำนวนมากร่วมกันขอประกันตัวออกมา แต่ปรากฏว่าศาลยุติธรรมปฏิเสธที่จะให้การประกันตัวเช่นเดียวกันกับคนอื่น ๆ ที่ถูกกล่าวหาในคดีตามมาตรา 112 ด้วยเหตุผลเพียง 2 – 3 บรรทัด คือ มีโทษสูงกลัวการหลบหนี ในที่สุดอากงจึงสิ้นหวังต่อสิทธิการประกันตัวที่ถูกลิดรอนไปจากชีวิตของอากง

นี่คือความเจ็บปวด ทุกข์ทรมานของอากง ที่ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของอากงทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็ว

อากงเป็นเสมือนพสกนิกรชาวไทยที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แม้กระทั่งต้องติดคุกทุกข์ทรมานแสนสาหัสด้วยข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 อย่างไม่เป็นธรรม การตัดสินลงโทษถึง 20 ปี ย่อมเป็นการลงโทษที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ มาตรา 112 จึงขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพโดยสิ้นเชิง กระนั้นก็ตามสำหรับอากงที่กลายเป็นเหยื่อของมาตรา 112 ยังคงจงรักภักดีไม่มีเสื่อมคลายแม้แต่น้อย อากงจึงเชื่อว่าหากได้ขอพระราชทานอภัยโทษจากพระมหากษัตริย์แล้วจะได้รับความเมตตาให้ปล่อยตัวในที่สุด

วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 ผมเจออากงเป็นครั้งสุดท้าย อากงบอกว่า “ผมขอไปก่อน” อากงมั่นใจเป็นอย่างมากว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอย่างแน่นอน ในขณะที่มือกุมท้องที่บวมเปล่งด้วยความเจ็บปวด อากงมีอาการแบบนี้มา 3 เดือนแล้ว แต่ไม่มีโอกาสตรวจรักษาอย่างละเอียดเพียงพอ เพราะสำหรับนักโทษในทุกเรือนจำทั่วประเทศต่างรับทราบกันดีว่า หากไม่มีอาการปางตาย จงอย่าเยื้องกายไปสถานพยาบาลของเรือนจำ มิเช่นนั้นจะถูกไล่ตะเพิดเหมือนหมู หมา กา ไก่ เพราะพวกนักโทษในสายตาของหมอ พยาบาล คือ พวกสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สมควรได้รับการรักษาพยาบาล กระนั้นก็ตามแม้มีอาการปางตาย กว่าจะไปพบแพทย์ หรือได้รับยารักษาพยาบาลก็มีขั้นตอนยุ่งยาก ส่วนใหญ่อาจพิการ หรือไม่ก็สิ้นชีวิตไปเสียก่อน

วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ผมได้รับทราบข่าวว่า อากงสิ้นลมหายใจไปแล้ว ความตายเป็นหายนะที่น่าสะพรึงกลัว ในฐานะเป็นนักโทษที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ทันใดนั้นหัวใจผมเหมือนจะหยุดเต้น เลือดในกายเหมือนจะเย็นยะเยือก กำลังวังชาเหือดหายไปในทันที

“ผมขอไปก่อน” ประโยคสุดท้ายที่ไม่ได้หมายถึงการได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัว แต่หมายถึงความตายที่พรากวิญญาณของอากงจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ชายชราผู้บริสุทธิ์เดียงสา ต้องตายจากไปด้วยมาตรา 112 ที่เป็นเครื่องมือการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การตายของเขาสะท้อนกระบวนการยุติธรรมที่ไร้มาตรฐานของไทยเราที่เกิดขึ้นครั้งแล้ว ครั้งเล่า

ความตายของอากงคือความเหี้ยมโหด อำมหิตของมาตรา 112 และกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ศาล ทั้งหมดนี้คือความเป็นจริงที่เจ็บปวดรวดร้าวของนักโทษตามมาตรา 112 ที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานราวสัตว์เดรัจฉานในกรงขัง

อิสรภาพของร่างอันไร้วิญญาณ คือ เถ้าถ่านแห่งความทรงจำที่เจ็บปวดของสังคมเผด็จการภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย คือความเลวทราบต่ำช้าที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องบุญบารมี และความดีจอมปลอม เพื่ออำนาจที่ฉ้อฉลของพวกเหล่าอภิสิทธิ์ชนในสังคมไทย

ไปสู่สุคติเถิด...อากงได้รับอิสรภาพแล้ว !!!



สมยศ พฤกษาเกษมสุข

เรือนจำพิเศษกรุงเทพ แดน 1

วันที่ 10 พฤษภาคม 2555

ที่มา prachatai

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมศักดิ์ เจียมฯ สะท้อนใจเสื้อแดงด้วยกันเองใช้คำ "แดกกับศพ" อากง



8 พฤษภาคม 2555
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



ผมไม่อยากเริ่มโพสต์ด้วยเรื่องนี้ แต่บอกตรงๆว่า ในระหว่างวันนี้ ที่อ่านการเขียนของหลายคนที่ได้ชื่อว่า เป็น "เสื้อแดง" แล้ว รู้สึกทนไม่ได้จริงๆ

ผมจะยกมาเฉพาะข้อความทีเขียน ไม่ยกชื่อมา เพราะไม่ต้องการจะทะเลาะเป็นตัวบุคคล (แต่ละข้อความ ที่ยกมา คนเขียนคนละคน ไม่ซ้ำกัน ความจริง มีมากกว่านี้ ผมเอามาให้เห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น)

"ก็ตามฟอร์มละครับ หาแดกกับศพแบบหน้าด้านๆ เหมือนเคย
เอาครัวครอบเขามาเป็นเครื่องมือเสี้ยมให้ชนกันอีก รู้สึกละอายบ้างไหมครับ"

"นิยายเรื่องอากง ใครบรรจงสร้าง ใครเขียนบท แล้วใครกำกับ ... อากงยิ่งมาตายก่อนการรวมตัวของคนเสื้อแดงประมาณสิบวันอีก อะไรมันช่างจะเหมาะเจาะขนาดน้าน"

"อากงซวยโคตร...ทนายที่ว่าความให้ เป็นแดงเต็มตัวชื่อ อานนท์ นำภา มีฉายาว่า "ทนายดราม่า" ไม่รู้ว่าอากงรู้ว่าโดนหลอกหรือเปล่า แต่ทนายคนนี้กะสังเวยอากงเพื่อเอาไปปลุกกระแสเหยื่อ ม.112 แน่"

"การจากไปของอากง ทุกคนเสียใจ และอาจจะมีมวลชนกลุ่มหนึ่งออกมาเคลื่อนไหว.....ถ้าการเคลื่อนไหวนำไปสู่ความ รุนแรง มันจะเข้าทางกลุ่มอำนาจเก่าทันที นั่นคือรัฐประหาร จะด้วยรูปแบบใด เราต้องเอามาคิดและวิเคราะห์ครับ เพราะฉะนั้นทุกการแสดงออกสามารถทำได้ แต่ต้องอย่าทำให้เข้าทางโจรครับ ฝากไว้ให้คิดครับ.....

"ถ้าอากง ล้มตาย มีหวังเป็น / ดั่งเฉกเช่น แผนการ มันสมใจ / หากต้องเสีย อากง ในยามนี้ / มีสิทธิ์ที่ เสื้อแดง แตกแยกได้ / และอาจทำ บ้านเมือง ลุกเป็นไฟ / โอกาสให้ รปห. ก่อนกันยา"
............

บอกตรงๆ ผมผ่าน และศึกษาขบวนการประชาธิปไตยในประเทศต่างๆมาเยอะ ไม่เคยเห็น ขบวนการไหน จะมี "สมาชิก" ที่ในสถานการณ์แบบนี้ ถ้าพูดแบบ "เบาๆ" ที่สุด จะ insensitive ขนาดนี้ (ขออภัย นึกคำไทย เหมาะๆไม่ได้) หรือถ้าพูดแบบแรงๆ คือ เห็นแก่ตัว มักง่าย เห็นแก่การอยู่ในตำแหน่งของรัฐบาลทีตัวเองเชียร์ จนลืม แม้แต่มนุษยธรรม หรือความ decency (ขออภัยอีกครั้ง ไม่มีคำไทย) พื้นๆ ไม่ได้


    ไม่เคยเห็นเลยจริงๆ

............

จริงๆ ตั้งแต่เมื่อเช้า หรือตลอดวัน ผมก็ "จำ" เรือ่งนี้ได้ ไม่ได้อยากจะพูดเอง

แต่ให้ผมแค่ "เตือนความจำ" ง่ายๆ สำหรับท่านเหล่านี้ว่า

กรณี "อากง" นั้น รัฐบาล ไม่ต้องพูดถึงก็ได้ (ไม่มีน้ำยาจะแตะเรื่องนี้อยู่แล้ว)

แต่แม้แต่ นปช. ทีอุปโลกน์ ตัวเองเป็น "กองหน้า ประชาธิปไตย"

ใช้เวลาถึง 2 หรือ 3 สัปดาห์ และหลังจากแถลงข่าว ต่อสื่อถึง 3-4 ครั้ง โดยไม่ยอมแม้แต่จะเอ่ยชื่อ "อากง" เลย แม้แต่คำเดียว จึงค่อย กระมิดกระเมี้ยน ออกมาพูด

ทั้งๆที่ในระหว่างนั้นทั่วโลก กระหึ่มไปด้วยปฏิกิริยา "ช็อค" ต่อคำตัดสิน 20 ปี (แม้แต่พวก รอยัลลิสต์ หลายคนยัง "ช็อค" ออกมาพูด)

พูดง่ายๆ record เรื่องนี้ ของ "แกนนำ นปช" เป็นอะไรที่ แย่มากๆ จนไม่รู้จะพูดอย่างไร

(ช่วงนั้น ผมโพสต์ติดต่อกันหลายวัน คงจำกันได้ ใครขยัน ลองไปทบทวนดูก็ได้ เริ่มจากอันนี้ ที่ผมโพสต์ 4 วันหลังจาก คำตัดสินคดีอากง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=251818618204758&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&type=1

(ไมต้องพูดถึงกรณี กม. 112 โดยทัวไปก็ได้ด้วยซ้ำ - แต่เรื่องนี้ จริงๆ ต้องมาพูดกันอีกในกระทู้อื่น)

ตอนนี้ อากง มาตายในคุก รบ. หรือ แกนนำ นปช มีส่วนต้องควร "ทบทวนตัวเอง" ระดับไหน (มีแน่นอน) เป็นเร่องที่ยังต้องพูดกันอีก

แต่นี่ไม่ทันไร บรรดา กองเชียร์ แบบไม่ลืมหูลืมตา ก็มัวเมา ไม่มีแม้แต่ decency ต้องรีบออกมา พูดแบบที่ผมยกขึนมาข้างบน


การพูดเช่นนี้ โดยเฉพาะเรื่อง "หากินกับศพ" มันแย่ขนาดไหน ในสถานการณ์เช่นนี้

ลองดูที่คุณ มัลลิกา เขียนก็ได้ ภาษาเหมือนกับพวกกองเชียร์ แกนนำ แบบหลับหูหลับตา เปี๊ยบ เลย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=379615648756676&set=a.228952123823030.70394.100001247315954&type=1&ref=nf

หรือการเสนอข่าว ของ ผู้จัดการ อันนี้

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000056874

คำว่า "หากินกับคนตาย" หรือ "หากินกับศพ" ออกมาจากปากคนอย่าง มัลลิกา หรือ ผุ้จัดการ ผมเฉยๆ เพราะพวกนี้ เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว


แต่ออกมาจากปาก "คนเสื้อแดง" ที่ อ้าง "ประชาธิปไตย"


บอกตรงๆว่า ทุเรศ มากครับ

ที่มา thaienews

หลากหลายคำอาลัย "อากง"​ เหยื่อคำพิพากษา พ.ศ. 2555

คำถามต่อจากนี้คือ อากงจะเป็นเหยื่อรายสุดท้ายหรือไม่ ?? ปฎิรูปหรือยกเลิกมาตรา 112 ปล่อยนักโทษการเมือง  

ที่มา thaienews