News online

กลับไปยังหน้าหลักเพื่อสนทนา C-Box ดู TV และฟังวิทยุ ได้ที่

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

นิติราษฎร์เปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขกม.อาญาม.112 ที่ธรรมศาสตร์วันนี้



 15 มกราคม 2555
คลิปการนำเสนอของ อ. วรเจตน์​ ภาคีรัตน์



อ่านข้อเสนอฉบับเต็มของนิติราษฎร์ เพื่อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่นี่ พร้อมอรรถาธิบายจากวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แก้ทำไมและอย่างไร โดยประชาไท

ที่มา ประชาไท

ขอบคุณภาพ uddthailand

    วันที่ 15 ม.ค. 2555 ที่ห้องประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์อธิบายโดยละเอียดถึงหลักการและเหตุผลในการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเขากล่าวว่าจริงๆ เราไม่จำเป็นต้องมาอยู่กันตรงนี้ ถ้าสภาฯ รับที่จะแก้ไขมาตราดังกล่าว เป้าหมายเบื้องต้นคือนำร่างฯ ฉบับนี้ไปถึงมือของประธานรัฐสภา และให้สภาฯ พิจารณาไปตามลำดับ เราไม่มีอำนาจแก้ไขกฎหมายเอง ที่ทำได้คือการรวบรวมรายชื่อ ระยะเวลาที่เราจะใช้เบื้องต้นคือ 112 วัน


ผลแห่งผลไม้พิษรัฐประหาร 2519
“จากนี้เราจะต้องประสบพบเจอบุคคลที่ไม่เห็นด้วย พรรคการเมืองหลายพรรคการมืองก็แสดงเจตจำนงชัดเจนแล้วว่าจะไม่แก้ไขมาตรา 112” ตัวแทนนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์กล่าวและเท้าความถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2519 มีการล้อมปราบนักศึกษา ท้องสนามหลวง เป็นสถานที่ประหัตประหารนักศึกษา ในเวลานั้น นักศึกษาของหลายมหาวิทยาลัยถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ วิทยุยานเกราะที่เป็นกระบอกเสียงภาครัฐได้ปลุกระดมให้ประชาชนเกลียดชังนัก ศึษาและนำไปสู่ความรุนแรง สุดครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

ผลพวงครั้งนั้นเกิดการรัฐประหาร และมีการออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมป.อาญา 112 การแก้ไขในคราวนั้นเป็นการแก้ไขกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำ 3 ปี ถึง 15 ปี หลังจากนั้นก็มีการเอากฎหมายฉบับนี้ไปใช้ เช่น คุณวีระ มุสิกพงศ์ หรือบุคคลที่ไม่ยืนขณะเปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และการใช้กฎหมายนี้รุนแรงมากขึ้น หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 และปรากฏสถิติสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ

ผมในฐานะนักเรียนเก่าเยอรมัน นึกไปถึงช่วงที่เยอรมนีปกครองโดยจักรพรรดิ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นฯ จำนวนมาก หลังสงครามสงบลง ก็มีการยกเลิกกฎหมายมาตราดังกล่าวด้วย

ปัจจุบันเยอรมนีมีความผิดฐานหมิ่นประมาทประธานาธิบดีเช่นกัน ซึ่งต่างจากคนทั่วไป แต่ในการขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีจะมีเอกสารให้ประธานาธิบดีลงนามสละสิทธิ การใช้มาตราดังกล่าว หลายคนรู้ว่ากฎหมายแบบนี้ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นอันตราต่อสถาบันที่ กฎหมายต้องการคุ้มครองมากเท่านั้น

สำหรับกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ พระราชินีและรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ได้มีปัญหาแค่โทษเกินกว่าเหตุ หรือเปิดโอกาสให้บุคคลใดๆ ก็สามารถฟ้องร้องได้ แต่ปัญหาลึกกว่านั้น เพราะในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ คือ เมื่อเกิดการร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวโทษนั้น ในทางสังคมก็จะถูกรังเกียจ และอาจจะถูกตัดสินจากสังคมไปแล้ว ในการดำเนินคดีบ่อยครั้งบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการประกันตัว มีกรณีเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยศาลมักให้เหตุผลว่า บทบัญญัติในมาตรานี้กำหนดโทษไว้สูง และการกระทำดังกล่าวกระทบกระเทือนจิตใจพสกนิกรประชาชนชาวไทยเพราะเป็นการ หมิ่นเบื้องสูง

สำหรับกระบวนการเข้าสู่การพิจารณาของศาล เขาจะสู้ว่าเขากระทำไม่ครบองค์ประกอบความผิด ไม่ใช่การดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย

ครั้นถึงกระบวนการพิจารณาคดีของศาล หากเขาจะต่อสู้ว่าการกระทำของเขาเป็นการพูดวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต เพื่อให้ต่อสู้ในคดี ศาลก็จะไม่ยอมให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริง รวมทั้งการพิสูจน์ว่าแม้ที่กล่าวไปจะหมิ่นประมาทแต่ก็เป็นความจริง เป็นประโยชน์สาธารณะ แต่เขาก็ไม่มีสิทธิในการขอพิสูจน์ความจริงนี้ในชั้นศาล เพราะบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีเหตุยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษ ซึ่งต่างจากบุคคลธรรมดา ซึ่งระบบกฎหมายจะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำการหมิ่นประมาทได้กล่าวไปด้วยความ สุจริต หรือข้อความที่กล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ


ไม่ใช่แค่ปัญหาตัวบทและการใช้ แต่คือปัญหาระดับอุดมการณ์
ปัญหาลำดับถัดไปคือ ปัญหาระดับอุดมการณ์ หลายคนยังเรียกว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่มีอยู่แล้ว นับแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าเปิดดูคำอธิบายกฎหมายอาญาที่บรรดานักวิชาการเขียนอธิบายคือ ความผิดตามมาตรา 112 จะไม่เปิดโอกาสให้โต้แย้งว่าการพูดวิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นไปโดยสุจริตเพราะ สถาบันกษัตริย์อยู่เหนือคำวิพากษ์วิจารณ์

คำอธิบายเหล่านี้ฝังอยู่ในสำนึกของนักกฎหมาย ซึ่งในประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติเรื่องนี้เลย บรรดาองค์กรที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย ตั้งแต่ตำรวจ อัยการ ไปถึงผู้พิพากษามีแนวโน้มในการตีความบทบัญญัติดังกล่าวไปในลักษณ์ที่กว้าง และไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ มีแนวโน้มที่จะตีความไม่สอดคล้องกับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช นี่คืออุดมการณ์ที่กำกับบรรดาองค์การที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

“ทุกท่านที่มาร่วมรณรงค์แก้ไขมาตรานี้ สมมติว่ามีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นว่าสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา รับไปพิจารณาและจะไปแก้ไข ท่านก็อย่าดีใจว่าปัญหาของการใช้กฎหมายนี้จะได้รับการแก้ไข หรือแม้แต่การยกเลิกไปเลย ท่านก็อย่านึกไปว่าการปรับใช้กฎหมายจะปรับใช้ไปอย่างเท่าเทียมกันระหว่างการ หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดา ตราบเท่าที่อุดมการณ์ระบอบประชาธิปไตยยังไม่ได้ฝังลงไปในกระบวนการตาม กฎหมาย”

นี่จึงเป็นเพียงก้าวแรกที่จะไปปรับเปลี่ยน หลังจากรณรงค์เรื่องนี้แล้ว บรรดากฎเกณฑ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญยัง จะต้องมีการอภิปรายต่อไปอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การนำเสนอกฎหมายนี้จึงเป็นเพียงก้าวแรกในการพูดถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ในสังคมไทย ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่จบอยู่ที่การนำเสนอเรื่องต่อประธานรัฐสภาแล้วจบแค่ นั้น แต่เป็นการพูดถึงการที่ระบอบกษัตริย์อยู่อย่างสง่างามในระบอบประชาธิปไตยและ ในเวทีระหว่างประเทศ

สำหรับมาตรา 112 เราถูกปิดล้อมโดยสื่อมวลชนกระแสหลัก ว่าจะถูกป้ายสีว่าเป็นการกระทำที่ไม่หวังดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ผมเรียนว่าที่สุดแล้วเรื่องแบบนี้ต้องการการอธิบาย การเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรานี้ยังอยู่ในกรอบของรัฐที่เป็นราชอาณาจักร คือมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพียงแต่เป็นการนำประเด็นนี้เข้าสู่พื้นที่สาธารณะ และทำให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวางและตรงไปตรงมา และไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นความผิดตามาตรา 112 เสียเอง

ในการเสนอแก้ไขนี้ เสนออะไร และทำไมไม่เสนอยกเลิกไปเลย
วรเจตน์อธิบายว่า เหตุผลที่นิติราษฎร์เสนอในแนวทางแก้ไข ไม่ยกเลิก เพราะเป้าประสงค์หลักอยู่ที่การพยายามทำให้บทบัญญัติในเรื่องนี้ได้มาตรฐาน สากล คือในบรรดาประเทศที่เป็นราชอาณาจักร พบว่าประเทศเหล่านั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มแรกไม่มีกฎหมายคุ้มครองพระเกียรติของกษัตริย์ ราชินี และรัชทายาทเป็นพิเศษ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเคยมีกฎหมายลักษณะดังกล่าว แต่ยกเลิกไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะเดียวกันมีอีกหลายประเทศในยุโรป เช่น นอร์เวย์ สเปน มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ บางประเทศจำกัดไว้เฉพาะพระมหากษัตริย์ และผู้สำเร็จราชการ บางประเทศครอบคลุมถึงบรรดาพระราชโอรส แต่ประเทศเหล่านี้ไม่มีประเทศใดเลยที่กำหนดโทษเอาไว้สูงเท่าที่มีใน ประเทศไทย

เมื่อผลการศึกษาออกมาเป็นเช่นนี้ คณะนิติราษฎร์จึงเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อทำให้บทบัญญัติมาตรานี้ไม่เป็นบทบัญญัติในหมวดความมั่นคงอีกต่อไป และเพื่ออนุวัตรให้เป็นไปตามบทกฎหมายในประเทศที่มีบทบัญญัติลักษณะนี้ เราจึงเสนอหมวดใหม่ เพื่อค้มครองกษัตริย์ รัชทายาทและผู้แทนพระองค์

หลัก 2 ประการ ในการกำหนดโทษและความผิด
หนึ่ง ต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยและได้มาตรฐานสากล
สอง ต้องอ้างอิงจากฐานความผิดที่บุคคลธรรมดากระทำต่อกัน คือเราจะไม่บัญญัติหลุดลอยไปจากกรณีที่บุคคลธรรมดากระทำต่อกัน โดยมุ่งคุ้มครองตัวบุคคล เมื่อเป็นเช่นนี้ ในการจัดทำกฎหมาย ในหมวดที่ทำขึ้นใหม่จึงเสนอให้มีการแยกตำแหน่งพระมหากษัตริย์ ออกจากการคุ้มครองตำแหน่งพระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั่นหมายความว่า 4 ตำแหน่งนี้จะไม่อยู่ในกฎหมายมาตราเดียวกันอีกต่อไป

ในส่วนที่เกี่ยวกับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ เราเสนอให้แยกความผิดฐานหมิ่นประมาท ออกจากความผิดฐานดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้าย

ในแง่ของโทษที่กำหนดขึ้นใหม่ กำหนดทุกฐานความผิดไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ หมายความว่า ในการกระทำความผิดทุกฐานความผิด ศาลจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้ ไม่สามารถอ้างต่อไปว่าลงโทษขั้นต่ำ 3 ปี บางกรณี 5 ปี ถ้าผิด 4 กระทงก็คูณเข้าไป เป็น 12 ปี หรือ 20 ปี

และกำหนดโทษขั้นสูงสุดเอาไว้เรากำหนดเฉพาะตำแหน่งพระมหากษัตริย์ แตกต่างจากบุคคลธรรมดาเล็กน้อย คือบุคคลธรรมดา 1 ปี โทษสำหรับการหมิ่นประมาทกษัตริย์ 2 ปี ส่วนพระราชินี รัชทายาท กำหนดไว้เท่ากับบุคคลธรรมดา

การกำหนดเหตุยกเว้นความผิด
แม้กระทำครองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการ ผู้ถูกกล่าวหาสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตเพื่อประโยชน์ ทางวิชาการ ประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐธรรมนูญ และข้อความนั้นเป็นความจริง บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิด แต่หากเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์และความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี ไม่เป็นเหตุยกเว้นความผิด

เสนอสำนักราชเลขาธิการผู้มีอำนาจกล่าวโทษ
ปัญหาปัจจุบันคือ บุคคลใดก็สามารถกล่าวโทษได้เพราะมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้ในหมวดความมั่นคง เป็นอาญาแผ่นดิน

วรเจตน์เล่ากรณีที่เกิดขึ้นใน อบต. แห่งหนึ่ง ซึ่งมีการแข่งขันกันในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ขณะที่มีการเทิดพระเกียรติ บ้านของคู่กรณีไม่ได้ประดับธงสัญลักษณ์ มีการส่งจดหมายมาถามว่า จะสามารถแจ้งความดำเนินคดีตามมาตรา 112 ได้หรือไม่ เพราะไม่ได้แสดงความดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย แต่ใครจะเป็นคนรับรองว่าเมื่อไปแจ้งความแล้วตำรวจจะไม่รับแจ้ง

วรเจตน์กล่าวต่อไปว่า ในการต่อสู้ทางการเมืองมักจะกล้าวอ้างว่าบุคคลอื่นไม่จงรักภักดี นักการเมืองหลายคนที่ต้องการอภิปรายถึงสถานะของสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรง มาเพราะเกรงจะถูกกล่าวโทษว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

“เพื่อขจัดการใช้กฎหมายแบบนี้ เราจะไม่ยอมให้บุคคลใดก็ตามสามารถแจ้งความดำเนินคดี ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ”

โดยวรเจตน์กล่าวว่ามีการเสนอหลายความเห็น บางส่วนเสนอให้อัยการ หรือการตั้งบุคคลคณะหนึ่งขึ้นมาดำเนินการ ในส่วนของนิติราษฎร์นั้นเสนอโดยมุ่งตรงไปยังหน่วยงานที่ควรทำหน้าที่โดยตรง คือ สำนักราชเลขาธิการ

แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งว่าการเสนอเช่นนี้จะทำให้สถาบันกษัตริย์เป็นคู่ขัด แย้งกับประชาชน แต่ยังยืนยันว่าต้องเป็นสำนักราชเลขาธิการ เพราะหากปล่อยให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมากลั่นกรอง หรือปล่อยให้บุคคลอื่นดำเนินการ ก็จะไม่พ้นไปจากแรงกดดันทางการเมืองอยู่ดี เช่น รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแล้วมีการหมิ่นประมาทกษัตริย์ขึ้น แล้วคณะกรรมการตกอยู่ภายใต้การกดดัน สุดท้ายก็ไม่แก้ปัญหาที่ต้องการแก้ จึงต้องหาหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งต้องเป็นสำนักราชเลขาธิการเพราะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในพระมหากษัตริย์ พระราชินี และองค์รัชทายาท ซึ่งการตัดสินใจที่ฟ้องร้องเป็นการตัดสินใจภายใน โดยสำนักราชเลขาฯ นั้น ขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์กับสถาบันการเมือง

ในเรื่องนี้ คอป. ได้มีการเสนอขอแก้ไขมาตรา 112 เช่นกัน ใน 2 ประเด็น คือ ให้กลับไปใช้อัตราโทษก่อนการแก้ไขปี 2519 คือโทษไม่เกิน 7 ปี แต่นิติราษฎร์เห็นว่ายังไม่ได้ระดับมาตรฐานสากล

ประเด็นที่ 2 คอป. เสนอว่า ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษควรเป็นสำนักพระราชวัง ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้ว สำนักพระราชวังไม่ได้รับผิดชอบในด้านนิติการโดยตรง ขณะที่สำนักราชเลขาฯ มีกองนิติการ มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์

ร่างนี้จะไปสู่สภาฯ แต่....
วรเจตน์ กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าจะสามารถรวบรวมรายชื่อได้ 10,000 รายชื่อแน่นอน อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะมีผู้แย้งแน่นอน คือ ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 8 ว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ การเสนอนี้จะขัดแย้งกับมาตรา 8

วรเจตน์อธิบายว่า ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะยังมีบทกำหนดโทษอยู่ เพียงแต่ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

อีกเหตุผลหนึ่งคือ การกำหนดในมาตรา 8 ว่าพระมหากษัตริย์จะล่วงละเมิดมิได้ องค์พระมหากษัตริย์ต้องไปพ้นจากการเมือง เพราะการเมืองมีคนรักและคนชัง จึงต้องทำให้รับกับระบอบประชาธิปไตยคือพระมหากษัตริย์นั้นอยู่เหนือการเมือง

ข้อโต้แย้งประการต่อมา จะมีข้อโต้แย้งว่า ในประมวลกฎหมายอาญาจะมีการคุ้มครองประมุขต่างประเทศฯ และโทษสูงกว่าที่นิติราษฎร์เสนอ วรเจตน์อธิบายว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์คือ เอาหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองประมุขของประเทศ ไปปรับแก้กับการคุ้มครองประมุขต่างประเทศไปในคราวเดียวกันซึ่งรัฐสภาทำได้ อยู่แล้ว

“หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปว่าด้วยการดูหมิ่น หมิ่นประมาทในกฎหมายไทย แต่ในช่วงทางเดิน 112 วันต่อไป คงจะมีปัญหาบ้าง ก่อนที่เราจะทำร่างฯ นี้ออกมา เราได้ตรึกตรองว่าร่างฯ นี้ทำในกรอบที่จำกัดในกรอบรัฐธรรมนูญของเรา มีกฎเกณฑ์ที่ร้อยรัดอยู่ แต่เชื่อว่าข้อเสนอนั้นสอดรับกับบรรดากฎเกณฑ์ที่มีอยู่” และเชื่อว่า ต่อไปหากกฎเกณฑ์รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกันได้รับการแก้ไข ก็อาจจะมีการแก้ไขมาตรานี้อีก นิติราษฎร์จึงเสนอการแก้ไขภายใต้ข้อจำกัดอย่างรัดกุมที่สุด

วรเจตน์กล่าวถึงขั้นตอนต่อไป คือ พ.ร.บ. เข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยให้สิทธิแก้บุคคลในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายซึ่งต้องตีความให้สอดรับกับ รัฐธรรมนูญปัจจุบันนี้ โดยกำหนดให้ทำโดยประชาชนจำนวน 50,000 คน แต่บทบัญญัตินี้ถูกทับโดยรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ซึ่งกำหนดไว้ 10,000 คน

“ที่เราต้องการคือ 10,000 คน เกินหนึ่งหมื่นคนคือสิ่งที่เราปรารถนา”

มาตรา 112 เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความเห็นโดยตรง ประชาชนย่อมเสนอแก้ไขได้
วรเจตน์กล่าวต่อไปว่า อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า การเสนอกฎหมายต้องเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน แล้วจะมีคนไปร้องให้ตีตกไป โดยเขาอธิบายว่า ร่างแก้ไขมาตรา 112 นี้เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพโดยตรง เพราะเป็นกฎหมายที่กำหนดยกเว้นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และบทกำหนดโทษนั้นเกี่ยวข้องกับเสรีภาพของประชาชนอยู่แล้ว

“เวลานี้ พรรคการเมืองทุกพรรคปฏิเสธที่จะเกี่ยวข้องกับมาตรา 112 อย่างชัดเจน แต่หนทางยังอีกยาวไกล เขาอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้ แต่ถ้าเขาไม่เปลี่ยนใจเราก็ต้องทำใจ เพราะร่างฯ ของเราก็จะไปตกเมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภา ผมเชื่อว่าสมาชิกสภามีผู้ที่มีจิตใจรักประชาธิปไตยไม่น้อย ในเวลานี้ที่เราต้องทำคือ การรณรงค์เรื่องนี้จะเป็นการนำเอาปัญหานี้เข้าสู่พื้นที่สาธารณะอย่างเต็ม รูปแบบ ผมเชื่อว่า กิจกรรมที่เราทำต่อไปจะเป็นกิจกรรมที่จะได้รับความสนใจไม่เฉพาะในประเทศไทย เท่านั้น แต่จะเป็นกิจกรรมที่นานาชาติสนใจอย่างแน่นอน”

วรเจตน์ กล่าวและส่งข้อความถึงบรรดาผู้ที่ต่อต้านการแก้ไขมาตรา 112 ว่าในมาตรา 15 ของ พ.ร.บ. เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ว่าผู้ใดกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“ความเห็นต่างกันไม่เป็นไร เมื่อเราสู่อยู่ในกรอบของกฎหมาย ก็ขอให้คนที่เห็นต่างนั้นสู้อยู่ในกรอบของกฎหมายด้วย”

และสุดท้าย วรเจตน์กล่าวถึงข้อกล่าวหาว่าสิ่งที่กำลังทำคือการจุดความขัดแย้งว่า “ประเทศเราอ่อนไหวเหลือเกินกับความขัดแย้ง เราเสแสร้งกันเหลือเกินแล้ว ผมไม่อยากจะใช้คำที่มันรุนแรงไปกว่านี้ ขอความกรุณาเถิดว่าเลิกเสแสร้ง ความขัดแย้งในสังคมประชาธิปไตยเป็นของธรรมดาเป็นของสามัญอย่างยิ่ง ขอเพียงให้คนที่เห็นต่างกันมีโอกาสพูด มีโอกาสเสนอความเห็นอย่างตรงไปตรงมา อย่าไปไล่เขา อย่าไปบอกให้เขาไปอยู่ที่อื่น อย่าไปบอกให้เขาต้องเปลี่ยนสัญชาติ สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในกรอบของกฎหมายทั้งปวง และกฎหมายที่เราเคารพนั้นก็เป็นกฎหมายที่ท่านเหล่านั้นรักษาอยู่”

วรเจตน์กล่าวต่อไปว่าสำหรับขั้นตอนจากนี้ไป กระบวนการที่จะดำเนินการต่อไปจะอยู่ในความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง ของ ครก. 112 ซึ่งจะทำงานและขับเคลื่อนต่อไป “คณะนิติราษฎร์เป็นเพียงหนึ่งใน ครก. 112 โดยจะให้คำแนะนำในประเด็นกฎหมาย ถ้าท่านให้ความสนับสนุนนิติราษฎร์ก็ขอให้สนับสนุน ครก. 112 ด้วย”

วรเจตน์กล่าวทิ้งท้าย โดยแสดงความคารวะต่อผู้ที่รณรงค์ในประเด็นปัญหามาตรา 112 ก่อนหน้านี้ ว่ามีหลายคนที่ในระหว่างการต่อสู้ต้องเผชิญกับการถูกกล่าวหาเช่นนั้นด้วย เช่นกรณีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งหลังจากนิติราษฎร์เสนอหลักการแก้ไขมาตรา 112 โดยนายสมยศได้รณรงค์ต่ออย่างแข็งขัน และต่อมาได้ถูกจับกุม ดำเนินคดีและจนบัดนี้ยังไม่ได้รับการประกันตัว นอกจากนี้ กลุ่มสันติประชาธรรมที่ดำเนินการรณรงค์มาก่อนนิติราษฎร์ ยังมีนักวิชาการอื่นๆ ที่ได้ทำงานมาก่อน ถือว่าทั้งหมดมีส่วนในหน้าประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น แต่วันนี้ ถึงเวลาที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นรูปธรรม หมดเวลาที่จะพูดอยู่ในห้อง แต่ต้องทำให้ประเด็นนี้เข้าสู่สาธารณะ

“ผมหวังว่านี่จะเป็นก้าวแรกและเป็นก้าวสำคัญที่สุดก้าวหนึ่งในการพูดถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ในภาพรวมทั้งหมดในอนาคตในเวลาไม่ช้าไม่นานนี้ ในนามของนิติราษฎร์ ผมขออนุญาตขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกิจกรรมวันนี้และหวังว่าเราจะมีความสำเร็จใน การรณรงค์เรื่องนี้ต่อไป”

                                      

อ่านฉบับเต็ม ข้อเสนอนิติราษฎร์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112


คณะนิติราษฎร์: นิติศาสตร์เพื่อราษฎร


ข้อเสนอเพื่อการรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒

โดยตระหนักว่ามนุษย์ ไม่ว่าจะชาติกำเนิดใด ดำรงตำแหน่งสถานะใด ย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีเสรีภาพ มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีเหตุผล มีความสามารถอดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง และในสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นเสรีภาพที่จะขาดเสียมิได้ หากจะมีการจำกัดเสรีภาพดังกล่าว รัฐต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และจะจำกัดจนถึงขนาดกระทบต่อสารัตถะแห่งเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของโครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษ และการบังคับใช้ ประกอบกับกฎหมายดังกล่าวไม่มีการยกเว้นความผิดในกรณีที่บุคคลติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริตเพื่อรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อีกทั้งในปัจจุบันปรากฏชัดว่ากฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้บุคคลนำไปใช้เป็น เครื่องมือทางการเมือง หรือนำไปใช้โดยไม่สุจริตและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย

เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของ รัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์จึงเห็นควรเสนอแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่น ประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนี้

ประเด็นที่ ๑
การดำรงอยู่ของมาตรา ๑๑๒


ข้อเสนอ
ยกเลิกบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

เหตุผล
๑. มาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้รับการบัญญัติขึ้นโดยคำ สั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๔๑ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ซึ่งเป็น “กฎหมาย” ของคณะรัฐประหาร บทบัญญัติในมาตรานี้จึงขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

๒. ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของบทบัญญัติต่างๆใน ประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ จึงจำเป็นต้องยกเลิกบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ ในลักษณะ ๑. ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร เพื่อนำไปบัญญัติขึ้นใหม่เป็นลักษณะ... ความผิดเกี่ยวกับเกียรติยศและชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


ประเด็นที่ ๒
ตำแหน่งแห่งที่ของบทบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเกียรติยศและชื่อเสียง ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


ข้อเสนอ
๑. เพิ่มเติมลักษณะ... ความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา

๒. นำบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปบัญญัติไว้ในลักษณะ...

๓. แยกความผิดในลักษณะ... เป็น ๔ ฐานความผิด คือ

    ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์
    ความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์
    ความผิดฐานหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เหตุผล
โดยสภาพของความผิด ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มีสภาพร้ายแรงถึงขนาดกระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ต่อบูรณภาพ และต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร


ประเด็นที่ ๓
ตำแหน่งที่ได้รับการคุ้มครอง


ข้อเสนอ
แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครอง สำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ดังนี้
มาตรา ... “ผู้ใดหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ...”
มาตรา ... “ผู้ใดดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ...”
มาตรา ... “ผู้ใดหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษ ...”
มาตรา ... “ผู้ใด ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษ ...”

เหตุผล
เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งแยกการคุ้มครองระหว่างตำแหน่งพระมหา กษัตริย์กับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในความผิดฐานอื่นๆ กล่าวคือ

    ความผิดฐานปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ (มาตรา ๑๐๗)
    ความผิดฐานกระทำการประทุษร้ายพระมหากษัตริย์ (มาตรา ๑๐๘)
    ความผิดฐานปลงพระชนม์พระราชินี รัชทายาท และความผิดฐานฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา ๑๐๙)
    ความผิดฐานกระทำการประทุษร้ายพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา ๑๑๐)

ประเด็นที่ ๔
อัตราโทษ


ข้อเสนอ
๑. ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ

๒. ลดอัตราโทษขั้นสูงให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๒ ปี สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และกำหนดโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

๓. ลดอัตราโทษขั้นสูงให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๑ ปี สำหรับความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และกำหนดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

๔. ลดอัตราโทษขั้นสูงให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๑ ปี สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และกำหนดโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

๕. ลดอัตราโทษขั้นสูงให้เป็นจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน สำหรับความผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และกำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

เหตุผล
๑. ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่มีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำในความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงยิ่งไม่ควรมีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำในความผิดฐานดังกล่าว

๒. เปิดโอกาสให้ศาลได้ใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุกน้อยเพียงใดก็ได้ตามควรแก่ กรณี และในกรณีที่ศาลเห็นว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่ไม่ควรลงโทษถึงขั้นจำคุก ศาลอาจใช้ดุลพินิจให้ลงโทษปรับแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้

๓. เป็นการคุ้มครองบุคคลในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้สมแก่สถานะแห่งตำแหน่ง จึงกำหนดให้มีอัตราโทษขั้นสูงที่สูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น บุคคลธรรมดา แล้วแต่กรณี และเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความร้ายแรงของการกระทำอันเป็นความผิดกับ โทษที่ผู้กระทำความผิดนั้นควรได้รับ อันเป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุซึ่งได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดให้มีอัตราโทษขั้นสูงลดลงจากเดิม

๔. โดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ ซึ่งมีสถานะแตกต่างจากพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงกำหนดอัตราโทษให้แตกต่างกัน

๕. โดยเหตุที่ลักษณะของการกระทำความผิดและความเสียหาย ที่เกิดจากการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท แตกต่างจากลักษณะของการกระทำความผิดและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความ ผิดฐานดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย จึงสมควรแยกการกระทำความผิดทั้งสองลักษณะออกจากกันและกำหนดอัตราโทษให้แตก ต่างกัน


ประเด็นที่ ๕
เหตุยกเว้นความผิด


ข้อเสนอ
เพิ่มเติมเหตุยกเว้นความผิด ดังนี้
มาตรา ... “ผู้ใด ติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความใดโดยสุจริต เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ หรือหมิ่นประมาทพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์”

เหตุผล
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๕ รับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมาตรา ๕๐ รับรองเสรีภาพในทางวิชาการ ดังนั้น การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อการดังกล่าว จึงไม่สมควรเป็นความผิดทางอาญา


ประเด็นที่ ๖
เหตุยกเว้นโทษ


ข้อเสนอ
เพิ่มเติมเหตุยกเว้นโทษ ดังนี้
มาตรา ... “ในกรณีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามลักษณะ... ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ถ้าข้อที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดนั้นเป็นเรื่องความเป็นอยู่ส่วนพระองค์ หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวแล้วแต่กรณี และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ห้ามมิให้พิสูจน์”

เหตุผล
แม้การกระทำนั้นเป็นความผิด แต่หากการกระทำนั้นเป็นการแสดงข้อความที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ก็สมควรได้รับการยกเว้นโทษ


ประเด็นที่ ๗
ผู้มีอำนาจกล่าวโทษ


ข้อเสนอ
๑.ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

๒.ให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้กล่าวโทษว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับพระ เกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เหตุผล
๑. เพื่อมิให้บุคคลทั่วไปนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือนำไปใช้โดยไม่สุจริต

๒.โดยเหตุที่สำนักราชเลขาธิการเป็นหน่วยงานของรัฐ มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลขานุการในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามมาตรา ๔๖ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ และมีสถานะเป็นกรม อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา ๔๖ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ มีกองนิติการทำหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระ มหากษัตริย์และงานส่วนพระองค์และดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบในความ รับผิดชอบของสำนักราชเลขาธิการ จึงสมควรให้สำนักราชเลขาธิการทำหน้าที่ปกป้องพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

หมายเหตุ ข้อเสนอนี้นอกจากจะเป็นข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ แล้ว คณะนิติราษฎร์ยังมุ่งหวังให้เป็นมาตรฐานในการปฏิรูปกฎเกณฑ์ความผิดฐานดู หมิ่นหรือหมิ่นประมาทกรณีอื่นๆในประมวลกฎหมายอาญาให้เป็นระบบและสอดคล้องกับ ข้อเสนอนี้ในโอกาสต่อไปด้วย

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ท่าพระจันทร์, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ 

ที่มา thaienews

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

โดย จรรยา ยิ้มประเสริฐ

กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย

7 พฤษภาคม 2554


นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ


ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ นั้นหาไม่ได้ง่ายนัก ทั้งจำนวนผู้คนที่อยู่ในค่ายเฝ้ามองเรื่องคดีหมิ่นฯ มีกี่คนที่การออกหมายจับแล้วโดยแม้แต่่เจ้าตัวก็ไม่รู้  มีกี่คนที่เข้าไปนั่งจับเข่าอยู่ในห้องขังแม้ว่าคดียังไม่ถูกตัดสิน หรือกี่คนผู้ที่ถูกตัดสินและถูกคุมขังแล้ว ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง

ข้อมูลชุดนี้เป็นเพียงการนำเสนอสั้นๆ ของตัวอย่างคดีหมิ่นฯ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นภาพว่าคดีหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดทับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและขบวนการ ประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง

ข้อมูลที่ใช้ประกอบการเขียนนี้มาจาก Political Prisoners in Thailand (PPT), LM Watch, ประชาไท และไทยอีนิวส์ และสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ

ตัวเลขของคดีหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกนับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 (รัฐประหารของพระราชวัง) โดยคาดการณ์ว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 คดี

การท่วมทะลักของคดีหมิ่นฯ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะมีจุดเริ่มมาจากปี 2544 เมื่อนักข่าวชาวต่างชาติสองคนจาก Far Eastern Economic Review ถูก ห้ามเข้าประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อบรรณาธิการต้องทำหนังสือขอโทษมายังรัฐบาลไทยในขณะนั้น (ทักษิณ) – หลังจากที่เขียนบทความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์และรัฐบาล

นับตั้งแต่กันยายน 2546 บัณฑิต อานียา นัก แปลอิสระที่เป็นที่เป็นที่รู้จักดีในการแปลหนังสือและสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแนว คิดสังคมนิยมกว่า 50 เล่ม ต้องใช้เวลาไปไม่น้อย จนถึงปัจจุบัน ไปกับการให้ปากคำตำรวจและขึ้นศาล ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เขาถูกฝากขังในระหว่างคดีต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง ถูกทำร้ายร่างกายในคุก ถูกตัดสิน ถูกจองจำ และในท้ายที่สุด ด้วยวัย 71 ปี และกำลังป่วยหนัก เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยเงิน 200,000 บาท โดยนักวิชาการชาวต่างชาติ เขากล่าวว่า ไม่มีคนไทยกล้าเข้ามาทำเรื่องประกันตัวเขา

ในปี 2549 หนังสือที่ทำลายความเงียบงันมาอย่างยาวนาน “กษัตริย์ผู้ไม่ยิ้ม” ของ Paul Handley ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ที่สหรัฐฯ และมันก็ถูกแบบโดยทันทีในประเทศไทย




ปกหนังสือ "กษัตริย์ผู้ไม่เคยยิ้ม"


วันที่ 5 ธันวาคม 2549 ความอดกลั้นของ Oliver Jufer ชาวสวิสวัย 57 ปี ที่พำนักในเมืองไทยกับภรรยาชาวไทยกว่าสิบปี ต่อกระแส “รักในหลวง” ก็ถึงจุดยากควบคุม เขาถูกจับกุมหลังจากพ่นสีใส่รูปโปสเตอร์ “กษัตริย์แห่งกษัตริย์” ขนาดมหึมาที่ติดอยู่เต็มทุกมุมเมือง แทบจะทุกสี่แยกไฟแดงทั่วประเทศไทย จำนวน 5 ภาพ เขาถูกตัดสินจำคุก 10 ปี คดีของเขาไม่ได้รับความสนใจจากสื่อไทย แต่ได้รับการสนใจอย่างมากจากสื่อนานาชาติ เขาถูกเนรเทศในเดือนเมษายน 2550

ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารรายสามเดือน “ฟ้าเดียวกัน” ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในปี 2549 และก็อีกคดีหนึ่งในปี 2554  ฟ้าเดียวกันถือว่าเป็นวารสารภาษาไทยเล่มแรกๆ ที่เริ่มนำเสนอข้อเขียนร่วมสมัย และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับบทบาทพระมหากษัตริย์ที่มีต่อการเมืองไทย และมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักศึกษาและนักวิชาการรุ่นใหม่

หมายเหตุ: กรณีของธนาพล เป็นคดีที่ “ถูกดองไว้” เช่นเดียวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกหลายคดี เพราะอะไรหรือ? เพราะว่า ถ้าคดีหมิ่นฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายของรอยัลลิสต์ทั้งหลาย – ศาลจำเป็นจะต้องตัดสินไปในทิศทางเดียวว่า “หมิ่นฯ” เพราะว่า ถ้าศาลตัดสินว่าการกระทำนั้น “ไม่หมิ่นประมาทอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์” ตัวของผู้พิพากษาเองก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระมหากษัตริย์เองก็เป็นได้ ในข้อหาว่าไม่ปกป้องสถาบัน เป็นต้น

นี่เป็นต้นเหตุของความเหม็นเน่าของระบบตุลาการในประเทศไทย เป็นต้นตอของทุกแง่มุมปัญหาของ “วิกฤติประเทศไทย” ประจักษ์จำนนแห่งหลักฐานมานับตั้งแต่ศาลชั้นต้นทีเดียวว่า ผลลัพธ์แห่ง “ประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์” มีเพียงประการเดียวคือ “การคอรัปชั่น”

2550 (2007)


โชติศักด์ อ่อนสูง และเพื่อน ชุติมา เพ็ญภาค นักศึกษาและนักกิจกรรม ถูกฟ้องดำเนินคดีในวันที่ 5 เมษายน 2551 ในข้อหาไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงภาพยนตร์เมื่อเดือนกันยายน 2550
สำหรับโชติศักดิ์ การถูกดำเนินคดีครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาอย่างสิ้นเชิง เขาไม่สามารถทำงานประจำได้เพราะต้องเดินทางให้การกับตำรวจและอัยการอยู่บ่อย ครั้ง เขาเผชิญกับการคุกคามหลากหลายรูปแบบ แต่กระนั้นก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง และเลี้ยงชีพด้วยการขายหนังสือทางเลือกต่างๆ

รายงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2551 ได้กล่าวถึงคดีของพวกเขาไว้ว่า “พวกเขาได้รับการปล่อยตัวโดยไม่ต้องมีการประกันตัว คดีนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการสืบคดีแม้จะเป็นช่วงสิ้นปีแล้วก็ตาม ในวันที่ 29 และ 30 เมษายน สถานีวิทยุเมโทรไลฟ์ ได้ปลุกระดมให้ผู้ฟังทำร้ายโชติศักดิ์ เมื่อเขามีกำหนดจะขึ้นพูดในเวทีเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเวบไซด์ของรายการวิทยุยังได้นำรูปและข้อมูลของเขาที่รวมทั้งที่อยู่และ เบอร์โทรศัพท์ขึ้นประชาสัมพันธ์อีกด้วย

คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน
Jonathan Head นักข่าวBBC ที่สำนักงานกรุงเทพฯ ถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในเดือนเมษายน 2551 ในการพูดของเขาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อปี 2550 ปัจจุบันเขาไม่ได้ประจำอยู่ในสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน

จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณ และเป็นอดีตโฆษกของ นปช.  จักรภพถูกกล่าวหาคดีหม่ินฯ จากการพูดของเขาที่ FCCT เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 เขาเดินทางออกนอกประเทศนับตั้งแต่การใช้กำลังปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เมษายน 2552
เขาถูกออกหมายจับ

บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ถูกอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ ม. ศิลปากร แจ้งความในข้อหาหมิ่นฯ หลังจากที่กรณีของอาจารย์บุญส่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อและมหาชน คดีถูกถอนฟ้อง
ถอนฟ้อง

2551 (2008)


ในการพูดปราศรัยในเวทีสนับสนุนทักษิณ บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อายุ 48 ปี ถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นฯ และถูกตัดสินจำคุก 12 ปี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 หลังจากที่เธอรับสารภาพ ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 6 ปี ศาลอุธรณ์ลดโทษเธอลงมาเหลือสองปี

เธอได้รับพระราชทานอภัยโทษพร้อมกับสุวิชา ท้าค้อ นักโทษคดีหม่ินฯ อีกคน และได้รับอภัยโทษหลังจากถูกขังคุก 22 เดือน (พฤศจิกายน 2551 – มิถุนายน 2553)

หลังจากได้รับการปล่อยตัว บุญยืนถูกนำตัวไปถวายพระพรในหลวงที่โรงพยาบาลศิริราช ในเสื้อสีชมพูที่มีตราสัญญลักษณ์ของในหลวง เพื่อลงชื่อยืนยันว่าเธอรักในหลวง (“รักในหลวง” คือ สัญญลักษณ์แห่งการยอมมอบกราบอยู่ใต้อำนาจแห่งสมบูรณาญาสิทธิราช)
ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังจากอยู่ในคุก 22 เดือน


รัชพิน ชัยเจริญ ถูกดำเนินคดีข้อหาไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์เมื่อ 15 มิถุนายน 2551
กรณีนี้เงียบหายไปอย่างน่าสงสัย


สุลักษณ์ ศิวรักษ์, 75
รอยัลลิสต์และนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงในการนำเสนอให้มีการปรับปรุง สถาบันพระมหากษัตริย์ เขาถูกจับกุม และถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจขอนแก่นด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2551 เขาเคยถูกข้อกล่าวหานี้ครั้งหนึ่งแล้วในช่วงทศวรรษ 2523
เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัว คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน

ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ นักจัดรายการวิทยุชุมชนถูกหมายจับข้อหาหมิ่นฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2551
หลบหนีคดี

2552 (2009)


Harry Nicolaides
ในเดือนมกราคม 2552 เขาถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ในข้อหาหมิ่นองค์รัชทายาทในข้อเขียนสี่บรรทัดในนวนิยายเรื่อง Verisimilitude  ของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 2548 นิโคไลเดส ถูกตัดสินใจเดือนมกราคม 2552 ถูกจำคุก และหลังจากที่เขายืนฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เขาถูกเนรเทศกลับไปยังประเทศออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2552
ถูกขังคุก ได้รับพระราชอภัยโทษ ถูกเนรเทศ

ใจ อึ้งภากรณ์
หลังจากถูกดำเนินคดีเนื่องจากอ้างถึงข้อเขียนของพอล แฮนเลย์​(อ้างถึงแล้วข้างบน) ในหนังสือของเขา “A Coup for the Rich’ ในปี 2550 ใจ ที่ประกาศตัวเป็นมาร์กซิสต์ และอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนีประกันและเดินทางไปอังกฤษในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พร้อมกับภรรยา หลังจากที่ถูกคุกคามอย่างหนัก เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ตำรวจออกหมายจับ และหนังสือของเขาก็ถูกแบนในประเทศไทย

แม้จะเป็นผู้ลี้ภัยการเมือง ใจและนุ่มยังคงทำงารณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย  See: http://redthaisocialist.com/
ลี้ภัยการเมือง

คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT)
ในเดือนมิถุนายน 2552 มีการแจ้งความดำเนินคดีกับคณะกรรมการ 13 ท่าน ของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในข้อหาหมิ่นฯ หลังจาก FCCT เผยแพร่ซีดีเวทีเสวนาที่ร่วมอภิปรายโดยจักรภพ เพ็ญแข (ดูข้างบน)
คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน

ดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล, 48 ปี
เดือนสิงหาคม 2552  ดารุณีถูกจับกุมเนื่องจากเธอเข้าร่วมปราศรัยต้านรัฐประหาร 2549 และพูดถึงพระมหากษัตริย์ ในระหว่างการเดินขบวนของคนเสื้อแดงเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เธอถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เธอถูกเลือกปฏิบัติและกลั่นแกล้งต่างๆ นาๆ ในคุก และเผชิญกับสภาวะความเจ็บป่วยขั้นรุนแรง ที่จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์

ศาลตัดสินจำคุก 18 ปี กระบวนการอุธรณ์คดีของเธอก็ยังดำเนินต่อไป
สุวิชา ท่าค้อ, 36 ปี ถูกจับกุมในเดือนมกราคม 2552 เขารับสารภาพและถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ครอบครัวของเขาทำเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัวในเดือนมิถุนายน 2553
ขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัว

สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ พธม. ถู กแจ้ง ความดำเนินคดีหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 หลังจากนำคำพูดของดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล มาพูดในเวทีปราศรัยของพันธมิตร เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยว งเงิน 300,000 บาท
เช่นเดียวกับคดีความฟ้องร้องสนธิอีกหลายคดี มันถูกแขวนเอาไว้

วันชัย แซ่ตัน, 51 ปี สัญชาติไทย-สิงคโปร์
4 เมษายน 2552 วันชัยถูกจับกุมเพราะแจกเอกสาร 6 แผ่นในการชุมนุมของคนเสื้อแดง และเขาถูกตัดสินจำคุก 2 คดี รวมกันเป็นเวลา 13 ปี 9 เดือน
อยู่ในคุก

จีรนุช เปรมชัยพร
สำนัก งานประชาไทถูกตำรวจบุกคนในวันที่ 6 มีนาคม 2552 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจีรนุช ผู้จัดการเวบข่าวออนไลน์ สามารถจะสร้างขบวนการแก้ต่างการถูกยัดเยียดข้อกล่าวหาต่างๆ  ตามความเห็นของจีรนุช ตำรวจใช้ข้อหาละเมิด พรบ.คอมพิวเตอร์กับเธอ เพื่อหลีกเลี่ยงความสนใจของนักข่าวต่างประเทศที่สนใจประเด็นเรื่องการใช้ กฎหมายหมิ่นฯ ในประเทศไทย
ในสภาพที่มีการเซนเซอร์ตัวเองกันอย่างหนักของสื่อกระแสหลักในประเทศไทย ประชาชนชาวไทยต้องการ prachatai.com สื่อเสรีเพียงไม่กี่สื่อที่ยังคงความน่าเชื่อถือ และเป็นสื่ออิสระที่รายงานการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม

เวบบอร์ดของประชาไท ได้รับความนิยมมาก และเป็นสถานที่คนเข้ามาเขียนระบายเกี่ยวกับความบ้าคลั่งทางการเมืองในประเทศ ไทย นับตั้งแต่คดีคอรัปชั่นของทักษิณ รัฐประหาร 2549 และเหตุการณ์หลังจากนั้น กลุ่มนักรบไซเบอร์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เข้ามาใช้พื้นที่ประชาไทเวบบอร์ด เป็นบ้านของพวกเขา ข้อเขียนของพวกเขาก็เพิ่มความเผ็ดร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองไทย

หน้าที่ของจีรนุช ที่ไม่มีทางทำได้อย่างครบถ้วน คือการพยายามติดตามทุกความเห็นในเวบบอร์ดที่มีมากมายมหาศาล

ในระหว่างการเดินทางกลับจากเวทีสัมมนาเรื่องเสรีภาพอินเทอร์เนตนานาชาติ ที่ประเทศฮังการรี ในเดือนกันยายน 2553 จีรนุชถูกจับกุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิ

ข่าวการจับกุมตัวจีรนุชแพร่กระจ่ายอย่างรวดเร็ว นักรบไซเบอร์และองค์กรต่างๆ กระจายข่าวการจับกุมเธอ เธอได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 200,000 บาท แต่จะต้องเดินทางไปยังสถานีตำรวจขอนแก่นทุกเดือนเพื่อแสดงตัว  – ซึ่งเป็นระยะทาง 400 กม. จากกรุงเทพฯ  ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 องค์กรสิทธิมนุษยชนเอเซีย (AHRC) ได้เปิดรณรงค์เรื่องกรณีของจีรนุช   http://www.humanrights.asia/campaigns/chiranuch-prachatai
ประกันตัวและเตรียมตัวรับมือกับข้อกล่าวหา

กิตติ แสนสุขโรจน์วงศ์ อายุ 39 ปี ถูกจับกุมวันที่ 4 เมษายน 2552 ที่จังหวัดขอนแก่น ในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายหมิ่นฯ
คดีเงียบหาย

ทศพรฤทัย ประเสริฐสูง ถูกจับกุมวันที่ 18 เมษายน 2552 ที่ร้านถ่ายเอกสารที่จังหวัดนครราชสีมาพร้อมกับใบปลิวหลายใบที่มีเนื้อหา เข้าค่ายหมิ่นพระมหากษัตริย์และองคมนตรี
ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว อยู่ในคุก

กอแก้ว พิกุลทอง ถูกออกหมายจับวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 หลังจากปราศรัยที่เชียงใหม่ แต่ตำรวจมักจะไม่บูมบามในคดีที่เป็นผู้มีชื่อเสียง กอแก้วเป็นแกนนำของ นปช. เขาเข้ามอบตัว และถูกคุมขังพร้อมกับนักโทษการเมือง 470 คน หลังการปราบปรามคนเสื้อแดงยุติลงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 หลังจากอยู่ในคุกกว่า 9 เดือน ศาลอนุญาตให้มีการประกัันเขาและแกนนำ นปช. อีก 8 คน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554
คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

พิษณุ พรมสรณ์ หนึ่งในแกนนำ นปช. ถูกออกหมายจับคดีหมิ่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2552
หลบหนีคดี

ภิเษก สนิทธางกูร สถาปนิก ที่ถูกตำรวจเข้าตรวจค้น เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 ด้วยข้อกล่าวหาว่าเขาโพสต์ข้อความหมิ่นฯ ในเวบบอร์ด
เขาปฎิเสธข้อกล่าวหา และลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์, อายุ 29 ปี ถูกจับกุมในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ภายใต้ พรบ. คอมพิวเตอร์ ในข้อกล่าวหาว่าเผยแพร่คลิปส์ที่หมิ่นสถาบันฯ ในบล๊อก ‘StopLeseMajeste’ 14 ธ.ค.52 พิพากษาตัดสินจำคุก 9 ปี รับสารภาพ เหลือ 4 ปี 6 เดือน (หรือ 3 ปี 18 เดือน)
อยู่ในคุก

ธีรนันต์ วิภูชนิน, คฑา ปาจริยพงศ์, สมเจต อิทธิวรกุล,และหมอทัศพร รัตนวงศา ถูกจับกุมระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2552 ในข้อหาให้ข่าวสารที่เป็นเท็จเกี่ยวกับสุขภาพของในหลวง
ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว

เพชรวรรต วัฒนพงษ์สิริกุล แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่ถูกข้อกล่าวหาหลายคดี รวมทั้งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ  เขาหลบหนีไปหลังจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ในปี 2553 และตัดสินใจเข้ามอบตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 และได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 100,000 บาท
ได้รับอนุญาติให้ประกันตัว คดียังไม่สิ้นสุด

Richard Lloyd Parry บรรณาธิการนิตยสารไทม์ประจำภาคพื้นเอเชีย(ลอนดอน) ถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่สถานีตำรวจดุสิตเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 หลังจากเผยแพร่บทสัมภาษณ์ทักษิณในนิตยสาร
ไม่มีความคืบหน้าเรื่องคดี

2553 (2010)


ปรวย Salty Head ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา ที่สนใจการเมืองและโพสต์ข้อคิดเห็นทางการเมืองในเวบบอร์ดประชาไท และฟ้าเดียวกัน (คนเหมือนกัน)  หลังจากถูกจับกุมและสอบสวนในเดือนพฤษภาคม 2553 โดยสำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เขาพบว่าตำรวจได้ติดตามเขามาตั้งแต่ปี 2551 ทั้งนี้ตำรวจ DSI 12 คนเข้าตรวจค้นที่บ้านพักของเขาในปลายเดือนพฤษภาคม 2553 และนำตัวเขาพร้อมเครืองคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว 2 เครื่องไปยังสำนักงาน DSI ซึ่งเขาถูกสอบสวนหลายชั่วโมง คอมพิวเตอร์ถูกส่งคืนให้กับเขาหลังจากนั้นอีกสองสัปดาห์

เขาออกจากงาน ตัดสินใจขายรถและเดินทางออกจากประเทศไทย และกำลังจะต้องขายบ้าน ขอลี้ภัย ครอบครัวของเขาถูกติดตามเป็นระยะเพื่อขอข้อมูลว่าเขาอยู่ที่ไหน

ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, 38 ปี


ผู้ออกแบบเวบไซด์คนเสื้อแดงหลายเวบ ถูกจับกุมตัวในเดือนเมษายน 2553 ถูกตัดสินจำคุก 13 ปีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554
อยู่ในคุก ทนายทำเรื่องอุธรณ์

สุริยัน กกเปือย อายุ 29 ปี นักซ่อมรองเท้า ถูกจับกุม ตัดสินจำคุก 6 ปี ในข้อหาหมิ่นฯ แต่หลังจากรับสารภาพได้รับลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี
อยู่ในคุก

ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ และพวก ถูกจับกุมตัว ในข้อหาหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 และถูกตัดสินจำคุก 3 ปี
ประกันตัวและสู้คดี

สุชาติ นาคบางไทร (วรวุฒิ ฐานังกรณ์) อายุ 52 ปี  ถูกจับกุมตัวในข้อหาหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 2 พฤษจิกายน 2553 หลังจากหลบหนีคดีกว่าปี ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี
อยู่ในคุก


 วิภาส รักสกุลไทย นักธุรกิจเสื้อแดงจากจังหวัดระยอง ถูกจับกุมในวันที่ 29 เมษายน 2553 ในข้อหาหมิ่นฯ เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา
ประกันตัวและอยู่ในระหว่างสู้คดี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กษิต ภิรมย์
สส. เพื่อไทยได้ฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและผู้สนับสนุนหลัก พันธมิตร กษิต ภิรมย์  ในข้อหาหมิ่นฯ แต่ตำรวจก็ไม่ได้ดำเนินมาตรการใดๆ ในคดีนี้
กษิตเป็นรอยัลลิสต์คนสำคัญ

อำพล ตั้งนพคุณ อายุ 61 ปี คนหาเช้ากินค่ำ ถูกจับเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ในข้อกล่าวหา “ส่ง SMS ที่เข้าข่ายหมิ่นฯ ไปยังนายกและในหลวง” ชายสูงวัยที่ขณะนี้อยู่ในคุก ปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยยืนยันว่า SIM การ์ดที่ตำรวจใช้สาวถึงตัวเขานั้นไม่ใช่ของตัวเอง
ถูกปฏิเสธการขอประกันตัว และอยู่ในคุก

ทอม ดันดี นักร้อง ถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยเครือข่ายราษฎรอาสาป้องกัน สถาบัน หลังจากการปราศรัยของเขาที่เวทีคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553

ธนพล บำรุงศรี อายุ 32  ปี ผู้ประกอบการคนเสื้อแดง ถูกจับกุมตัววันที่ 13 กันยายน 2553 จากการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นฯ ในหน้าเฟสบุ๊คของเขา
ประกันตัว อยู่ในระหว่างคดี

วิเศษ พิชิตลำเค็ญ ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิในเดือนกันยายน 2553 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในขณะที่กำลังจะเดินทางออกจากประเทศไทย
ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม

นาวาอากาศตรี ชนินทร์  คล้ายคลึง ลูกทัพอากาศ ถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นฯ โดยทหารจากลูกทัพเรือ จากโพตส์และเขียนข้อความในหน้าเฟสบุ๊คของเขา
ถูกพักงาน และคดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

2554 (2011)

ทักษิณ ชินวัตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 วัชระ เพชรทอง สส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดกับทักษิณ ชินวัตร โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม และธนาพล อิ๋วสกุล (ในฐานะบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน) ในการตีพิมพ์รายงานภาคภาษาไทยที่เตรียมโดยสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม เกี่ยวกับการปราบปรามคนเสื้อแดงของทหารรอยัลลิสต์เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553
คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ถูกแจ้งความดำเนินคดีพร้อมทักษิณ ชินวัตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554(รายละเอียดอ้างแล้ว)

สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน), 68 ปี
แกนนำของกลุ่มแดงสยาม ถูกตำรวจบุกจับตัวในระหว่างกลับเข้าบ้านพักหลังจากจบการปราศรัยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 มายัง สน.โชคชัย
เขาถูกส่งเข้าเรือนจำ และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว
คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน

เอกชัย หงส์กังวาน อายุ 35 ปี ถูกจับกุมในเวทีชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 พร้อมด้วยซีดีจำนวน 100 แผ่น (สารคดีเกี่ยวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ ที่ทำโดยผู้สื่อข่าวต่างชาติ) และใบถ่ายเอกสารวิกิลีกส์จำนวน 10 แผ่น
ห้ามประกัน อยู่ในคุก

เสถียร รัตนวงศ์ 19 มีนาคม 2554 อดีตการ์ดของ นปช. และมีอาชีพพ่อครัวโรงแรม แต่ลาออกมาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง และประกอบอาชีพขายสินค้าเสื้อแดง เขาถูกจับกุมเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าขายซีดีที่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นฯ ซึ่งตำรวจล่อซื้อ และยึดของกลางไปประมาณ 20 แผ่น
จำคุก 3 ปีและกักขัง 250 วัน

นายพันธุ์ชาย สวนเนตร คดีหมิ่นเบื้องสูงจำคุก 3 ปี 4 เดือน (ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
บรรณาธิการ เรด พาวเวอร์ และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ถูกจับกุมที่ด่านไทย-เขมร อรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ในข้อหาหมิ่นฯ ตามหมายจับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เหตุผลที่แท้จริงน่าจะมาจากการที่เขาเป็นตัวตั้งตัวดีรณรงค์ล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อเพื่อเสนอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

สมยศถูกนำตัวส่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่มีเพื่อนนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและถูกจับกุมก่อนหน้านี้ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

สหภาพแรงงาน และองค์กรแรงานหลายองค์กรทั่วโลกส่งจดหมายประท้วงการจับกุมสมยศ มายังรัฐบาลไทย
ห้ามประกัน อยู่ในคุก


ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ผู้ถูกฟ้องคดีหมิ่นฯ รายล่าสุด ซึ่งจะต้องเข้ารายงานตัวที่สถานีตำรวจนางเลิ้งในวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 คือ ดร. สมศักดิ์ นักวิชาการด้านผู้ที่นำเสนอประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความเข้มข้นและแหลมคมของประเด็น ดร. สมศักดิ์ โดยเฉพาะข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อปฎิรูปสถาบันกษัตริย์

นับตั้งแต่ตั้งถามสองประเด็นต่อฟ้าหญิงจุฬา ภรณ์ ต่อการให้สัมภาษณ์ของพระองค์ในรายการ “วูดดี้เกิดมาคุย” เมื่อต้นเดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา ดร. สมศักดิ์ และภรรยา ถูกคุกคามอย่างหนัก จนต้องแถลงข่าวร่วมกับทีมนักวิชาการนิฎิราษฎร์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 พร้อมกันนี้มีนักวิชาการหลายกลุ่มร่วมลงชื่อรวมกันกว่า 200 คน สนับสนุนจุดยืนทางวิชาการของดร. สมศักดิ์

วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 สมศักดิ์ต้องเข้ารายงานตัวที่สถานีนางเลิ้งเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

18 แกนนำ นปช. ถูกแจ้งความในขอหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 เนื่องจากการอยู่ร่วมในการปราศรัยของจตุพร พรหมพันธ์ ในงานรำลึกครบรอบปีการปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 10 เมษายน 2554 ทั้งนี้รายชื่อทั้ง 18 คนได้แก่
นายจตุพร พรหมพันธุ์ น.พ.เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ นายการุณ โหสกุล นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท นายวีระ หรือวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายวิเชียร ขาวขำ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา นายนิสิต สินธุไพร จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ นางลัดดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ และนายสมชาย ไพบูลย์
ทุกคนได้รับอนุญาติให้ประกันตัว


จตุพร พรหมพันธ์, สส. พรรคเพื่อไทย
นิสิต สินธุไพร, สส. พรรคเพื่อไทย
ศาลถอนอนุญาตประกันตัว นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายนิสิต สินธุไพร เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพธุรกิจ รายงานในวันที่ 13 พฤษภาคมว่า “จากเหตุขึ้นเวทีปราศรัยหมิ่นสถาบัน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า “โดยศาลชี้พฤติการณ์ว่า การกระทำตลอดจนคำพูดของทั้งสอง มีลักษณะส่อไปในทางที่อาจจะทำให้ประชาชนทั่วไปสับสนในข้อเท็จจริง จนถึงขั้นก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง นับเป็นการก่อเหตุอันตรายและเป็นภัยร้ายแรง ต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร จึงมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาประกันทั้งสอง”

จตุพร และนิสิต อยู่ในเรือนจำ นับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา และมีชื่ออยู่ใน สส บัญชีรายชือของพรรคเพื่อไทย

นายเลอพงษ์  วิไชยคำมาตย์ หรือ Joe W. Gordon อายุ 55 ปี
ถูกเจ้าหน้าที่กองสอบสวนคดีพิเศษ กว่า 20 คน บุกจับที่บ้านพักที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 โดยกล่าวหาว่า เขาเป็นเจ้าของบล็อกซึ่งมีเนื้อหาหนังสือThe King Never Smiles (TKNS) ภาคภาษาไทย และนำลิงก์ไปโฆษณาไว้ในเว็บบอร์ด sameskyboard.com ให้คนเข้าไปอ่านหนังสือดังกล่าว เหตุเกิดในช่วงปี 2550-2552
อยู่ในคุก

นายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ถูกเจ้าหน้าหน้าสน. บางเขนจับกุมวันที่ 5 สิงหาคม ตามหมายจับที่ออกเมื่อ 14 ตุลาคม 2553 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพรบ. คอมพิวเตอร์ จากการแจ้งจับของรองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาปี 4 ในข้อกล่าวหาว่าเขาโพสต์ข้อความไม่เหมาะสม เขาถูกพวก ”ล่าแม่มด” ประจานในต้นปี 2553
ได้รับอนุญาติให้ประกันตัวในวันที่ 8 สิงหาคม วงเงินประกันตัว 500,000บาท

สุรภักดิ์  ภูไชยแสง 40 ปี ถูกเจ้าหน้าตำรวจ 10 คน บุกจับที่พักที่ (ลาดพร้าว 122) ปี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 โปรแกรมเมอร์อิสระ ชาวจังหวัดบึงกาฬ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนตั้งเพจเฟสบุ๊คที่หมิ่นสถาบันฯ​เขาถูกบีบให้เซ็นรับ สารภาพ
อยู่ในคุก

กิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ ชายดารุณี  ชาญเชิงศิลปกุล ถูกจับวันที่ 29 สิงหาคม 2554 ในคดีความเก่าเมื่อ 12 ปีก่อนด้วยข้อกล่าวหากระทำความผิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ตามมาตรา 147 และ 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าไม่ใช่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่กิตติชัย เป็นเพียงญาติคนเดียวที่ดูแลดารุณีอย่างสม่ำเสมอ และให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายครั้งเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของ ดารุณี การจับกิตติชัย ก็เท่ากับตัดเส้นทางข่าวและข้อมูลจากคุณดารุณีสู่โลกภายนอกด้วย
ได้รับอนุาตให้ประกันตัว

สุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและนักเขียนนาม “นักปรัชญาชายขอบ” ได้รับหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจภูธร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2554 ในข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามกฎหมายมาตรา 112
“สุรพศขอเลื่อนนัดตามหมายเรียก
และพร้อมไปพบพนักงานสอบสวนภายในเดือนมกราคม 2555″

กฤตธี ระลึกฤาเดช เจ้าของนาม “Spiralthai” หรือนามแฝง “ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร” (สมาชิกขบวนการซึนเรนเจอร์หมายเลข 028) ถูกหมายค้นบ้านด้วยมาตรา 112  ในวันที่ 13 ธันวาคม 2554
ยังไม่ม่รายงานควาบคืบหน้า

* * * * * * * * *
- – - – - – - – -
ที่มา(อ้างอิง)

Thai Political Prisoners
LM Watch

Prachatai.com is also a source of info on well-known LM victims.
Thaienews
Bangkok Post etc.

ที่มา timeupthailand   

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

“เพราะรัก” เสียงจากเหยื่อการสลายการชุมนุมเสื้อแดง เมษายน 53



Jittra Cotchadet

ลุงประชา ผู้ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตา วันที่ 10 เม.ย. 53 ปัจจุบันนอนป่วยอยู่โรงพยาบาลนภาลัย สมุทรสงคราม วันนี้พวกเราได้เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัวด้วย สภาพคุณลุงซีกซ้ายเป็นอัมพาต ไม่สามารถรับรู้ หรือตอบสนองได้ ลืมตาลอยๆ

คุณลุงเป็นคนไข้อนาถาของโรงพยาบาล วันนี้พยาบาลมาบอกด้วยเสียงอันดังว่า “ไม่ทราบมาก่อนว่าลุงมีญาติ ลุงเป็นคนไข้ที่ครอบครัวยกให้โรงพยาบาลแล้ว และโรงพยาบาลนี้ไม่มีงบประมาณสำหรับคนไข้ที่ต้องอยู่ 24 ชั่วโมง แต่เราก็ยังรับลุงเป็นคนไข้เพราะเห็นอ้างว่าไม่มีบ้าน เรามีเงินซื้อแพมเพิสเดือนละ 1000 บาทเท่านั้น “ พยาบาลพูด

สิ่งที่จำเป็นที่คุณลุงต้องใช้คือแพมเพิสผู้ใหญ่ไซร์ L ใช้วันหนึ่งปกติวันละ 3 ชิ้น หรือเป็นเงินประมาณเดือนละ 3000 บาท อย่างอื่นคุณลุงทานอาหารทางสายยางคือนมทางโรงพยาบาลมีให้

แปลกใจคือลุงมีภรรยาคือคุณป้าจิตตรา มาเช็ดตัวดูแลทุกวัน เว้นเฉพาะคุณป้าป่วยเท่านั้นที่มาไม่ได้เพราะป้ามีโรคประจำตัวคือ โรคเก๊า และที่แอบคิดในใจคือ

***(ก็มีคนป่วยที่อยู่โรงพยาบาล 24 ชั่วโมงก็มีนะโรงบาลใหญ่ๆในกรุงเทพฯก็มี ไม่เห็นใครจะบ่นอะไร..)


ที่มา fb Jittra Cotchadet

00000000000000000000000000000

“เพราะรัก” เสียงจากเหยื่อการสลายการชุมนุมเสื้อแดง เมษายน 53 โดย Redfam Fund


กลุ่ม Redfam Fund เดินทางไปอัมพวา เพื่อเยี่ยมสมจิตต์ เปรมวงษ์ และ ประชา ศรีคุณ คนขับแท็กซี่ที่เจ็บป่วยเรื้อรังเนื่องจากแก๊สน้ำตา ในการสลายการชุมนุม 10 เม.ย. 53

“รัก” คำสั้นๆ คำเดียวที่ทำให้เราได้เห็น ว่าชีวิตของพวกเขา 3 คน เดินมาถึงจุดนี้ในวันนี้ได้อย่างไร

เพราะภาพและข้อความของ จิตตรา คชเดช [1]  ที่ กึ๋ย รักพี่ต้องหนีพ่อ เสื้อแดงแกนนอน เอามาแชร์ใน FB พร้อมตั้งคำถามง่ายๆ ว่า  “เราจะทำอะไรได้มากกว่าแชร์”  ทำให้เรา Redfam Fund [2] ได้ออกไปพบเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกัน คือ  1 คุณลุง และ 2 คุณป้า ที่อัมพวา [3]  พื้นที่ที่ว่ากันว่าเป็นถิ่นที่ของคนเสื้อเหลือง และ ส.ส.ดาวเด่นของสภาปี 55




แรกเจอ

เที่ยงวันเสาร์ที่ 7 มกราคม  ป้าสมจิตต์ เปรมวงษ์ ยืนรอเราที่หน้าร้าน “อัมพวาตามสั่ง” ร้านอาหารเพิงหมาแหงนเล็กๆ ข้างสถานีตำรวจอัมพวา ตามที่นัดหมายซึ่งจิตตราช่วยประสานให้วันก่อน แล้วเธอก็พาเราไปที่โรงพยาบาลนภาลัย อ.อัมพวา ทันที

ที่นั่น  ป้าจิตตรา ศรีคูณ นั่งเฝ้าสามีที่สมองไม่รับรู้อะไร[4] ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวันของเธอตลอด 20 เดือนที่ผ่านมา

ประชา ศรีคุณ  อายุ 61 ปี ผิวสีขาวซีด นอนเอียงข้างโดยมีหมอนหนุนขาและสะโพกเอาไว้ ทั้งตัว มีเพียงแขนข้างขวาที่ยังมีความรู้สึกและขยับมือเคลื่อนไหวได้ แต่มักใช้ดึงสายยางให้อาหารที่ต่อไว้ที่จมูก พยาบาลจึงใช้อุปกรณ์ดัดแปลงจาก ขวดน้ำเกลือครอบไว้  ดวงตาที่มองมายังเราผู้แปลกหน้านั้นไร้ความรู้สึกตอบสนองใดๆ


ป่วยเรื้อรังจากแก๊สน้ำตา

ก่อนหน้านั้นลุงประชาขับรถแท็กซี่อยู่ในกรุงเทพฯ และป้าจิตตรามีร้านขายอาหารตามสั่งร้านเล็ก ๆ ลุงเคยมีรายได้ดี สมัยที่การท่องเที่ยวคึกคัก ทั้งยังเคยเข้าไปคุยกับนายกฯทักษิณสมัยที่ท่านขอพบคนขับแท็กซี่ แต่หลังจากเกิดรัฐประหารทุกอย่างก็ย่ำแย่ลง เมื่อการทำมาหากินฝืดเคืองป้าจิตตราก็เริ่มขยับกลับมาเช่าห้องที่อัมพวาและ ปรับปรุงเพิงร้านเก่า ๆ ที่หน้าสถานีตำรวจซึ่งครอบครัวเคยใช้ประโยชน์มานาน 15 ปี และไม่นานต่อมาลุงก็เลิกขับแท็กซี่และย้ายตามกลับมา

พอเริ่มมีการชุมนุม นปก. ตั้งแต่ 19 กันยายน 49  ลุงและป้า และป้าสมจิตต์ก็เข้าร่วมด้วยเสมอเพราะว่าเห็นว่ามีความไม่ถูกต้องและความไม่ ยุติธรรมเกิดขึ้น แม้จะกลับมาอยู่อัมพวาแต่ทั้งลุงและป้าก็ยังไปร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และบ่อยครั้งที่ลุงแอบไปร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ทั้ง ๆ ที่มีเงินติดตัวไม่กี่สิบบาท

วันที่ 10 เมษายน 53  ที่มีการสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา  ลุงประชาและป้าสมจิตต์อยู่ในที่ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน ทั้งคู่ถูกแก๊สน้ำตา และสัมผัสอาการปวดแสบปวดร้อนตามเนื้อตัวไม่ต่างจากคนอื่น

“ตอนอยู่ ที่ราชดำเนิน น้องชายเราเป็นตำรวจ บอกว่าให้เรากลับ  ฝ่ายนั้นเขาเตรียมไว้แล้วจะสลาย   แต่เราก็ไม่กลับ กลับได้ไง ไม่ชนะเราไม่กลับ  มาถึงขั้นนี้แล้ว”  ป้าสมจิตต์กล่าวด้วยใจนักเลง

วันรุ่งขึ้นป้าสมจิตต์ส่งลุงประชากลับบ้านที่อัมพวาให้ไปพักผ่อนเพราะเกรงว่า โรคภูมิแพ้ที่เป็นโรคประจำตัวจะกำเริบ แต่แล้ว  ตีหนึ่งของวันที่ 12 เมษายน ลุงมีอาการชักและหมดสติ ป้าจิตตราซึ่งอยู่กับลุงเพียงลำพังจึงต้องเรียกรถฉุกเฉินของโรงพยาบาลแม่ กลองมารับเข้าห้องไอซียู

ลุงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแม่กลอง 2 เดือน  โดยที่ทางโรงพยาบาลไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของลุงมากนัก นอกเสียจากจะบอกให้มารับลุงกลับกลับไปดูแลเองที่บ้านและให้เตรียมใจรับสภาพ...  อีก 1 เดือนถัดมาลุงประชาก็ชักและเข้าโรงพยาบาลด้วยรถฉุกเฉินอีกครั้ง และต่อมาทางโรงพยาบาลแม่กลองก็ส่งตัวลุงมาโรงพยาบาลที่อัมพวา

“ตอนที่เอาลุง เข้าโรงพยาบาลตอนแรกไม่ได้บอกเขาว่าเราเป็นเสื้อแดง  เพราะที่นี่เป็นที่ของคนเสื้อเหลืองกันทั้งจังหวัด  จนกระทั่งลุงป่วยนานถึง 7 เดือนแล้วจึงค่อยทำเรื่องแจ้งไปยัง นปช. ที่เขาเปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ได้เงินมา 10,000 บาทหลังจากนั้นก็ไม่ได้อะไรอีก  เราก็ดูแลกันเองมาโดยตลอด 20 เดือนแล้ว”  ป้าสมจิตต์กล่าว

หลังจากที่ส่งเรื่องร้องเรียนกับศูนย์ฯ แล้ว  รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จ่ายค่าดูแลให้กับลุงประชาอีกวันละ 200 บาท เป็นเวลา 365 วัน และค่าชดเชยความเสียหายอื่นๆ อีก 30,000 บาท รวมทั้งสิ้น 103,000 บาท  แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลของคนเสื้อแดง เงินช่วยเหลือในส่วนนี้ก็ขาดหายไป

ปัจจุบัน เนื่องจากต้องดูแลลุง และด้วยอาการปวดแข้งปวดขาของตนเองทำให้ป้าจิตตราไม่สามารถทำร้านอาหารต่อไป ได้ จึงให้พี่หมูน้องสาวทำแทน[5]

สู้เพื่อให้รู้ว่ารักทักษิณ

ก่อนหน้านี้ป้าสมจิตต์มีอาชีพค้าขายเสื้อผ้า ในช่วงการชุมนุมของคนเสื้อแดงเธอมีหน้าที่รวบรวมคนรักทักษิณในเขตคู้บอน 27 และมีกลุ่มเสื้อแดงแม่กลองซึ่งเป็นญาติพี่น้องมาร่วมสมทบ

“มันไม่ถูกต้อง  อะไรๆ ที่ทางฝ่ายนี้ทำ ที่ทักษิณทำ ฝ่ายนั้นว่าทำผิดหมด มันไม่ยุติธรรมเลย  เราเองก็เป็นลูกตำรวจน้ำดีเหมือนกัน เราก็ต้องออกไปสู้ เลือดตำรวจเหมือนกัน"

ป้าสมจิตต์ชื่นชมผลงานของรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค  พี่สาวของเธอที่กลับมาจากต่างประเทศก็ใช้สิทธินี้ผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ  และโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษาต่อเนื่องอย่างโรคภูมิแพ้และสะเก็ดเงิน  ทุกวันนี้ลุงประชาเองก็รักษาด้วยสิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน

หลังการชุมนุมปิดสนามบินของคนเสื้อเหลืองทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ การค้าขายของป้าสมจิตต์ก็ย่ำแย่ตามไปด้วย แต่นั่นยังไม่เท่ากับที่ทำให้นายกทักษิณฯผู้ที่ทั้งเธอ พี่สาว และพี่เขย  รักและชื่นชอบไม่ได้กลับมาเมืองไทยอีก

“รักทักษิณมาก ฉันรักมาก ฉันสู้มาตลอด สู้เพื่อให้กลับมา” เสียงป้าจิตตราขาดหายเป็นห้วง ๆ ก่อนจะก้มลงซับน้ำตา


คำฝากจากคนรักทักษิณ นปช. และเพื่อนเสื้อแดงที่ยังถูกจำคุก

จนถึงวันนี้ป้าสมจิตต์รับภาระดูแลพี่สาวและพี่เขย  ที่ผ่านมาเธอต้องวิ่งเต้นอย่างหนักเพื่อจะทำให้ลุงประชาได้รับการช่วยเหลือ เยียวยา แต่เงินที่ได้มาก็เป็นจำนวนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ลุงเจ็บป่วย

ป้าสมจิตต์กล่าวซ้ำ ๆ ว่าอยากให้ลุงประชาได้รับการดูแลที่ดีกว่านี้  อยากให้มีคนมาช่วยดูแลกันบ้าง เพราะไม่รู้ว่าจะป่วยแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน

ความจริงเธอจะไม่อยากเรียกร้องอะไรมากเพราะเข้าใจดีว่าพี่น้องเสื้อแดงก็ร่วม ต่อสู้ด้วยกันมา ไม่อยากกล่าวหาว่าร้ายเพราะเชื่อว่าแต่ละคนก็เต็มที่กันแล้ว และพวกเธอก็ยอมเสียสละไปร่วมต่อสู้กันเองจะเรียกร้องอะไรก็คงไม่เหมาะไม่ควร แต่เธอก็รู้สึกไม่ค่อยชอบใจเมื่อไปศูนย์ช่วยเหลือเยียวยาฯแล้วถูกทำให้มี ลักษณะเหมือนขอทาน

ป้าสมจิตต์และป้าจิตตราฝากบอกถึงรัฐบาล ชุดนี้ว่าปัญหาใหญ่ๆ อย่างน้ำท่วมผ่านไปแล้ว พวกเธอจึงอยากให้รัฐบาลที่มาจากคนเสื้อแดงได้หันมาช่วยเหลือดูแลสองพันกว่า คนที่ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53  ได้แล้ว ทั้งยังจะต้องตามเรื่องการสะสางหาผู้รับผิดชอบต่อคนที่เสียชีวิตจากการสลาย การชุมนุมทั้ง 91 ศพ

การเฝ้าติดตามข่าวสารของพี่น้องเสื้อแดงจากเอเชียอัพเดท ทำให้ป้าสมจิตต์และป้าจิตตราทราบข่าวทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องผู้ต้องขัง เสื้อแดง น้องก้านธูป คุณสมยศ ฯลฯ  ทั้งสองคนรู้สึกเห็นใจทั้งฝากความห่วงใยและกำลังใจไปถึงทุกคน และอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือพวกเขา และพี่น้องเสื้อแดงที่ยังถูกจับกุมคุมขังอยู่ได้รับอิสรภาพด้วย

ส่วนป้าจิตตรานั้น   ถึงตอนนี้   หวังเพียงแค่อยากให้ทักษิณรับรู้เรื่องของลุงประชา  ศรีคูณ  คนที่ลุงกับป้าไปต่อสู้เพื่อให้ได้กลับมาประเทศไทย  ว่ายังรักและเป็นห่วง  แม้จะอยากให้กลับประเทศไทยโดยไวๆ แต่... ถ้ายังไม่ปลอดภัยก็ยังไม่ต้องกลับมา


ดูคลิปสัมภาษณ์ เพราะรัก (1) ลุงประชา-ป้าจิตตรา-ป้าสมจิต ความยาว:: ‎5:57



หมายเหตุ

[1] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150458331067895&set=a.115714592894.102440.657712894&type=1

[2] Redfam Fund  :   กลุ่มผู้ช่วยเหลือญาติผู้ต้องหาคดีการเมือง จ.อุบลราชธานี และ จ.เชียงใหม่

[3] หลังจากการที่จิตตรา คชเดช พบกับพี่สมจิตโดยบังเอิญที่อัมพวา เมื่อ 2 มกราคม 55  ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ก็ไปเยี่ยมลุงประชาและป้าจิตตรา ศรีคูณ ในวันรุ่งขึ้น พร้อมเงินช่วยเหลือส่วนตัว 5,000 บาท   แต่ที่มากกว่านั้นสำหรับป้าจิตตราคือกำลังใจที่ได้รับกับคนที่แกบอกว่ารัก มาก เหมือนลูกชายคนโต จนพี่สมจิตต้องปรามว่าอย่าดึงเขาลงมา

[4] สมทบทุนช่วยเหลือ ลุงประชา – ป้าจิตตรา  ศรีคูณได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดแม่กลอง ชื่อบัญชี นางจิตตรา ศรีคูณ   เลขที่บัญชี 709-012-764-8

[5] เพื่อนเสื้อแดงที่ไปเที่ยวอัมพวา แวะไปอุดหนุนและให้กำลังใจกันได้ที่ ร้านอัมพวาตามสั่ง  ข้างสถานีตำรวจอัมพวาได้ทุกวัน ศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์

ที่มา fb Redfam Fund

จดหมายจาก นายบัณฑิต อานียา ที่ยังไม่ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ




52/1 หมู่ 6 ซ.เพชรเกษม 108 แยก 9
แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม
กรุงเทพมหานคร
ประเทศไทย



11 มกราคม 2555

เรียน ท่านเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ


ข้าพเจ้า นายบัณฑิต อานียา สัญชาติไทย อายุ 68 ปี ปัจจุบันถูกรัฐบาลไทยดำเนินคดีอาญา ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ซึ่งศาลชั้นต้นของไทยได้มีคำพิพากษาให้จำคุกข้าพเจ้า 4 ปีในความผิดดังกล่าวแต่ให้รอลงอาญาไว้มีกำหนด 3 ปี แต่รัฐบาลไทยได้ยื่นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ของไทยได้พิพากษาให้จำคุกข้าพเจ้าเป็นเวลา 2 ปี 8 เดือนโดยไม่รอการลงโทษ

ข้าพเจ้าถูกดำเนินคดีในข้อหาข้างต้น เนื่องจากการเขียนหนังสือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง และการพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในระหว่างการสัมมนาที่จัดโดยรัฐบาลไทย ถ้อยคำแสดงความคิดเห็นในหนังสือของข้าพเจ้าที่ถูกรัฐบาลไทยดำเนินคดี และศาลอุทธรณ์ของไทยพิพากษาจำคุกนั้น อาทิเช่น “ภายในศาลยุติธรรมของทุกประเทศในโลก ควรอย่างยิ่งที่จะมีตราชูเท่านั้นที่ติดไว้เหนือบัลลังก์ศาลเพื่อให้เป็น สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม นอกจากนี้แล้วก็ไม่สมควรที่จะเอารูปอื่นใด หรือรูปบุคคลใดไปติดไว้ในศาลนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่เอารูปของผู้ปกครองที่มีอำนาจอยู่ เหนือกฎหมายไปติดไว้ในศาลยุติธรรมโดยเด็ดขาด” ศาลไทยเห็นว่า “เป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ เพราะการพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมจะต้องทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และในห้องพิจารณาคดีจะมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวติด อยู่เหนือบัลลังก์ศาล การที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าควรที่จะเอาตราชูมาติดไว้ โดยไม่นำรูปของผู้ปกครองที่มีอำนาจอยู่เหนือกฎหมายไปติดไว้ มีความหมายทำนองว่าไม่ควรนำพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไปติดไว้ ถ้อยคำดังกล่าวแสดงถึงการไม่ถวายความเคารพองค์พระมหากษัตริย์

ข้อความ ที่ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นอีกตอนหนึ่ง “การลดโทษหรือการอภัยโทษแก่นักโทษ พึงกระทำได้โดยเหตุผลเพียงประการเดียวเท่านั้น คือ นักโทษสำนึกในความผิดของตนและตั้งใจที่จะไม่ทำความผิดซ้ำอีก การลดโทษหรือการอภัยโทษแก่นักโทษเพื่อเป็นการสร้างบารมีแก่ผู้ลดโทษหรือแก่ ผู้อภัยโทษนั้น สมควรสิ้นสุดลงได้แล้ว” ศาลไทยเห็นว่า ข้าพเจ้าเขียนโดยมีความหมายทำนองว่า การลดโทษหรือการอภัยโทษเป็นการสร้างพระบารมี ซึ่งความจริงแล้วพระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจในการลดโทษหรือการอภัยโทษ โดยเป็นการพระราชทานพระเมตตา และทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์
ข้อความ อีกตอนหนึ่ง “คนบางคน คนบางครอบครัว และคนบางกลุ่ม เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือกองทัพ เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือคนทั้งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือฟ้า เป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือสวรรค์ และเป็นผู้ที่มีอำนาจอยู่เหนือพระผู้เป็นเจ้า แต่เราไม่ต้องการให้เขาเหล่านั้นมีอำนาจอยู่เหนือความเป็นธรรม” ศาลไทยเห็นว่า ข้าพเจ้าต้องการสื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี รัชทายาทและพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงดำรงพระองค์อยู่ในฐานะจอมทัพไทย ซึ่งมีพระราชอำนาจเหนือกองทัพ ข้าพเจ้าเขียนโดยมีความหมายทำนองว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงมีพระราชอำนาจและพระอำนาจเหนือบุคคลทั้งประเทศ เหนือฟ้า เหนือสวรรค์ และเหนือความเป็นธรรม ควรจะจำกัดขอบเขตมิให้ทรงมีพระราชอำนาจ ซึ่งความเป็นจริงแล้วพระมหากษัตริย์มิได้อยู่เหนือกฎหมาย โดยพระองค์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลในแผ่นดิน ไม่เคยทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อความ อีกตอนหนึ่ง “ในระหว่างการยกหมาบางตัว และหมาบางครอบครัวให้มีค่าเท่ากับคน กับการกดคนบางคนและคนบางครอบครัวให้มีค่าเท่ากับหมา(หรือการกดคนทั้งแผ่นดิน ให้มีค่าเท่ากับหมา) อย่างไหนประเสริฐล้ำเลิศมากกว่ากัน เจ้าของหมาด้วยความรักหมาย่อมสามารถยกย่องหมายให้เท่ากับคนได้ หรือในทางกลับกัน การกดคนให้เท่ากับหมา ก็มีความหมายเหมือนกัน แต่ว่าการกดคนให้เท่ากับหมาเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่พึงกระทำ” ศาลไทยเห็นว่า จำเลยต้องการสื่อความหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะทองแดงคือชื่อของสุนัขที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลี้ยง และทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวเกี่ยวกับทองแดงไว้ พร้อมทั้งพระราชทานให้จัดทำเสื้อยืดที่มีสัญลักษณ์รูปของทองแดงติดไว้ที่ตัว เสื้อออกจำหน่าย จำเลยเขียนข้อความโดยมีความหมายทำนองว่า คนยังมีความหมายไม่เท่ากับสุนัขของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งความจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องทองแดงโดยมีสาระสำคัญว่า สุนัขมีความกตัญญูรู้คุณ แต่มิได้ประสงค์ที่จะเปรียบเทียบระหว่างคนกับสุนัข ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์

ข้อความ อีกตอนหนึ่ง “มีความจริงอันแสนปวดร้าวใจที่ว่า ในประเทศนี้มีบางคน บางครอบครัว และมีคนบางกลุ่ม มีอำนาจสูงสุดอย่างไม่มีอำนาจอื่นเทียบได้ และโดยไม่มีอำนาจอื่นคานไว้ เพราะเหตุนี้คนเหล่านั้นจึงสามารถดำรงตนอยู่เหนือกฎหมาย ดำรงตนอยู่เหนือฟ้า ดำรงตนอยู่เหนือสวรรค์ และดำรงตนอยู่เหนือพระเจ้า แต่กระผมจะพยายามอย่างสุดชีวิตจิตใจที่จะขัดขวางมิให้เขาหรือเครือญาติของ เขาหรือพวกพ้องของเขาดำรงตนอยู่เหนือความเป็นธรรมเป็นอันขาด และประชาชนชาวไทยผู้รักสันติสุข คงไม่ต้องการเป็นใหญ่ในแผ่นดินหรอก แต่ประชาชนมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเรียกร้องให้ผู้เป็นใหญ่มากที่สุดใน แผ่นดิน ที่มีอำนาจอยู่เหนือความเป็นธรรม ได้โปรดมีมหากรุณาธิคุณลดความเป็นใหญ่อย่างล้นฟ้า ล้นแผ่นดินของเขา หรือของครอบครัวของเขา หรือของพวกพ้องของเขา ลงเสียบ้างหน่อยหนึ่งเถิด เพื่อว่าการทำเช่นนั้นจะเป็นการบรรเทาความปวดร้าวใจที่สุมอยู่ในหัวใจของปวง ชนชายไทยทั้งแผ่นดินอย่างมากล้นมาแต่เดิมลงไปได้บ้างสักเล็กน้อยก็ยังดี” ศาลได้เห็นว่า จำเลยเขียนข้อความดังกล่าวโดยมุ่งหมายถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะมีคำว่าผู้เป็นใหญ่มากที่สุดในแผ่นดินและใช้คำราชาศัพท์ว่าได้โปรดมี มหากรุณาธิคุณ จำเลยเขียนข้อความดังกล่าวโดยมีความหมายในทำนองว่าให้พระมหากษัตริย์ลดพระ ราชอำนาจลง โดยเห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และมีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดิน ไม่มีคุณธรรมและไม่มีความเป็นธรรม แต่ความจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชภารกิจตามที่รัฐธรรมนูญและตาม ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ข้อความดังกล่าวเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้าย โดยใช้ข้อความว่าจะพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะขัดขวาง


ศาล ไทยได้ให้เหตุผลในการลงโทษข้าพเจ้าตอนหนึ่งว่า “ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด และประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ย่อมเห็นได้โดยแจ้งชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงดำรงอยู่ในฐานะพระประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดหรือใช้สิทธิและเสรีภาพให้เป็นปฏิปักษ์ในทางหนึ่งทางใด มิได้ ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ ดำรงคงอยู่คู่ประเทศตลอดไป ไม่เพียงแต่กฎหมาย แม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ให้ ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตลอดมาตั้งแต่ โบราณกาล การที่จะกล่าววาจาหรือเขียนข้อความจาบจ้วงล่างเกิน เปรียบเทียบ เปรียบเปรย หรือเสียดสี ให้เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้น หามีบุคคลกล้าบังอาจไม่ กล่าวโดยสรุป ข้าพเจ้าถูกรัฐบาลไทยฟ้องร้องดำเนินคดี และศาลไทยพิพากษาลงโทษจำคุก เนื่องจากรัฐบาลไทยและศาลไทยเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าเป็นการชักชวนให้คนไม่เคารพรักในพระมหา กษัตริย์ไทย พระราชินี รัชทายาท และราชวงศ์ ทั้งนี้รัฐบาลไทยและศาลไทยเห็นว่า การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะต้องเป็นการแสดงความเคารพรัก เท่านั้น โดยสะท้อนให้เห็นจากเหตุผลที่ศาลไทยพิพากษาลงโทษจำคุกข้าพเจ้าดังกล่าวข้าง ต้นว่า “ทั้งรัฐและประชาชนต่างมีหน้าที่ที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงคงอยู่คู่ประเทศตลอดไป ไม่เพียงแต่กฎหมาย แม้ในความรู้สึกนึกคิดของประชาชนชาวไทยอันมีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ให้ความเคารพสักการะและยกย่องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมตลอดมา ตั้งแต่โบราณกาล การที่จะกล่าววาจาหรือเขียนข้อความจาบจ้วงล่วงเกิน เปรียบเทียบ เปรียบเปรย หรือเสียดสี ให้เป็นที่ระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทนั้น หามีบุคคลกล้าบังอาจไม่” ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ เป็นสิ่งที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์ใจของ ประชาชน เป็นการปิดกั้นมิให้ประชาชนไทยแสดงความคิดเห็นทางการเมืองใดๆที่พาดพิงถึง พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากแสดงความเคารพ รัก เทิดทูน เท่านั้น
ข้าพเจ้า เชื่อมั่นว่า สำหรับประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ให้ความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นคน ย่อมเห็นพ้องต้องกันว่า ชะตากรรมที่ข้าพเจ้าได้รับและที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ เป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นอาชญากรรมที่รัฐบาลไทยทำต่อประชาชนของตนอย่างแน่นอน

นอกจากข้าพเจ้าแล้ว ยังมีประชาชนและนักเคลื่อนไหวอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกกักขังและลงโทษในความผิดเดียวกับข้าพเจ้าด้วย

ข้าพเจ้า ขอร้องเรียนมายังท่านโดยตรง ด้วยความเชื่อมั่นว่า หากท่านทราบถึงข้อเท็จจริงในชะตากรรมของข้าพเจ้าและนักโทษการเมืองอื่นๆใน ประเทศไทยแล้ว การดำเนิกการของท่าน ย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติของรัฐบาลไทยและเจ้าหน้าที่ของไทยที่มีต่อนักโทษ การเมือง ท่านสามารถอธิบายและโน้มน้าวให้รัฐบาลไทยยุติการกักขังและทรมานนักโทษ การเมือง เช่นข้าพเจ้าหรือนักโทษการเมืองอื่นๆได้

ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ท่านซึ่งเป็นผู้นำของรัฐที่เป็นประชาธิปไตย และเคารพในสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ชาติ จะไม่เพิกเฉยต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทยดังที่ข้าพเจ้าร้องเรียนต่อท่าน ดังกล่าว ข้าพเจ้าขอวิงวอนให้ท่านได้โปรดดำเนินการโดยด่วนในทุกวิถีทางเท่าที่สามารถ ทำได้เพื่อให้รัฐบาลไทยยุติการกักขังและทรมานนักโทษทางการเมือง และคืนเสรีภาพให้กับผู้คนที่เขากักขังไว้

ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ในทุกเวที ในทุกสถานที่ ท่านซึ่งเคารพในสิทธิมนุษย์ชน จะได้โปรดดำเนินตามที่ข้าพเจ้าร้องขอ


(นายบัณฑิต อานียา)



โปรดติดต่อข้าพเจ้าที่(Contact Address)

52/1 หมู่ 6 ซอยเพชรเกษม 108 แยก 9 แขวงหนองค้างพลู

เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

โทร.083−0619237

หรือ Contact Address of
Prawais Prapanugool 256/193
Soi Watcharapol 3 Junction 1 Khlong Thanon Sub-District Sai Mai District Bangkok 10220 Thailand


---------------

52/1 Group 6, Petchkasem 108, 9th Intesection,
Nong Kang Ploo Sub-District
Nong Kaem District
Bangkok, Thailand
Tel. 083-0619237


January 11, 2012


His Excellency Secretary General Ban Ki Moon,

My name is Mr. Bundith Arniya, a 71 years old Chiness nationality. I had recently been criminally proceeded by the government on the Lèse majesté charge, which the Civil Court sentenced me to a 4-years term on that guilty charge. The court ruled on a 3-years mitigation on my favor. However, the Thai government filed an appeal and the Appeal Court sentenced me to prison for two years and eight months, with no grace period.

I was prosecuted on charges above due to my written comments regarding to politics and administration and speaking of my political opinion during a seminar organized by the Thai government.

The wordings on my personal opinion in my own book, which was prosecuted by the Thai government and the Appeal Court, that sentenced me into prison could be provided as some examples, such as: “within every justice courts in the world, it is appropriate to have the only the scale sign hung over the bench to be the symbol of justice. Aside from this, it is not expedient to have any other forms or photos of any individuals hung in the courttoom. Especially, it is very inappropriate to have the photos of the ruler who has authority above the law hung on the wall in the courtroom.” The Thai Court concluded that “this is to blaspheme His Majesty the King because the trial in the Court of Justice must be performed under His Majesty the King’s signature and the courtroom should have the photos of His Majesty the King hung above the bench. From what I stated that it should be the scale hung above the bench instead of bringing the ruler’s photos who has the authority above the law affixed on the wall, had been interpreted that it was inappropriate to hang His Majesty the King’s photos on the wall. These wordings demonstrated disrespectfulness to His Majesty the King.

Some statements that were excerpted from my personal opinion: “to reduce the sentence or to pardon the prisoner should be made with only one reason. That is the prisoner should acknowledge his/her guilt and show the intention of not to commit this crime again. The practice to reduce the sentence or to pardon the prisoner in order to create more charisma for the person who grants the reduction or to pardon the sentence, should be ended.” The Thai Court concluded that my writings were interpreted as to reduce or pardon the sentence would mean to create more charisma. The fact is that, His Majesty the King exercise his power vested in him to reduce or to pardon by giving his merciful graces and committing based on the ten virtues of the King. These words are considered blasphemy to His Majesty the King.

Another section of the book stated, “ some individuals, some families and some groups have the authorities more powerful than the armed forces. They also possess the powers beyond the laws and every citizen who live in the country. They are the persons who have limitless of power beyond any boundary of heavenly sky and even beyond every almighty gods. However, we do not want to witness these individuals having their powers and authorities beyond the truth and justice.” The Thai Court found that I intended to convey that the statements refer to His Majesty the King, Her Majesty the Queen, the Crown Prince and the Royal Family because His Majesty the King has served as Thailand’s Commander in Chief. He has the power and authority higher than the armed forces. (The Court stated that) my writing seemed to be interpreted as if His Majesty the King and the Royal Family have the powers and authorities above every citizen, beyond the sky, heaven and justice. There should be some boundary limitations for him not to exercise these powers. The fact is that, His Majesty the King is not above the law because he is under the law of constitution and he is the one who provides the justice to every individual on the land. He has never made anyone suffered. These wordings were to blaspheme to His Majesty the King.

Another section has been excerpted from the book, “In order to praise some dogs and some dogs’ families to be as worth as any individual and to suppress some persons or some families to be as worth as same as the dog (or to suppress every citizen on the land to be worth as same as the dog), which one is more heavenly worthwhile? The dog’s owners who have shown their love for the dogs should praise the dogs as worth as any human beings. On the contrary, to suppress the human beings to be as worth as the dogs, should apply for the same meaning. However, to suppress any individuals to be as worth as the dog, should not be practiced by any human beings.” The Thai Court ruled that the defendant would like to convey the interpretation of His Majesty the King because “Thong Dang” (means -> Copper in English) is the name of the dog that His Majesty the King is the owner and he was written the articles regarding Thong Dang. In an addition, he gave the request to manufacture the T-Shirts that had Thong Dang’s emblem on the shirts for distributed sales. The defendant wrote the article in a way that any individual was worth not the same as His Majesty’s dog. The fact was that, His Majesty the King wrote about Thong Dang’s stories with the main theme that the dogs had their own gratitude. However, his Majesty the King did not wish to make a comparison between the human beings and the dogs. These writings from the defendant were blasphemed to the monarchy.

Another excerption, “There is a real heartache that in this country, there are some individuals, some families and some groups of people having the absolute supremacy that no any other authorities should be brought in for comparison and there are no system of any checks and balances. Because of this reason, these groups of people can live themselves above and beyond the rules of laws, living beyond the boundaries of earth or heaven and even almighty gods. However, I would wholeheartedly try my best to definitely obstruct them or their relatives or their friends and allies to live above and beyond justice. The peaceful Thai citizen might not need these people to become the rulers of the land. However, the people have their legitimate rights by requesting the powerful rulers of the land who also have the authorities above and beyond justice, to give their mercifully gracefulness in letting their great mightiness beyond the heaven and earth, including of their families or their friends and allies, having their authorities reduced just a notch. By performing these actions, it is still a little bit better in order to help alleviating the heartaches that have been accumulated inside the hearts and minds over all Thai citizens for a long time.” The Court concluded that the defendant wrote these statements with a direct intention to be interpreted as to His Majesty the King because there were the wordings of the powerful ruler of the land and use the royal wordings of mercifully gracefulness. The defendant wrote these statements which deemed to be interpreted as asking His Majesty the King to reduce his authority because of viewing that His Majesty the King has absolute powers beyond every means and also has limitless of authorities with no virtues and justices. However, the fact is that His Majesty the King has performed his duties according to what the constitution and the laws had assigned. These indicated statements were to disparage His Majesty the King, Her Majesty the Queen, the Crown Prince and the Royal Family and also demonstrated the malicious motive by using the wordings of “wholeheartedly try his best to obstruct them.”

The Thai Court provided the reason in part of my sentencing that “ based on the provisions on the Constitution of the Kingdom of Thailand, which is a supreme law of the land and also from the Criminal code indicated, are obviously demonstrated that His Majesty the King is in the position of a revered monarch and no one should be offensive or exercise any rights or freedoms in an antagonistic way. The state and its citizen have responsibilities to foster the monarchy to instll over there forever. Not only to the rules of law, but also the sentiments of the Thai citizen toward the monarchy will also respectfully worship and highly praise as if they are above their own spirits since an ancient time. To say any words or write any encroaching statements by comparing, implying or satirizing His Majesty, no individuals should dare in doing these actions.

In conclusion, I have been prosecuted by the Thai government to proceed with the charges and the Thai Court had convicted me because the Thai government and the Thai Court agreed that my personal expressions were the action to persuade the disrespectfulness toward the Thai monarchy, the Queen, the Crown Prince and the Dynasty. The Thai Government and the Thai Court had the same views that the expression toward the Monarchy should be demonstrated only the lovely respectful way. This was seen as a reflection from the reason that the Thai Court sentenced me from previously stated, “Both state and its citizens have the duties to foster the monarchy to continuously and permanently stay with the kingdom, not only the laws. Even in the feelings and sentiments of the Thai citizens toward the monarchy should do with respectfully worship and praise above their own spirits since an ancient time. To say or write any statements that would intrude, encroach, compare, imply or satire toward His Majesty’s displeasingness, definitely, should not occur.

I would like to affirm that, the Lèse majesté charge is the law that wholeheartedly violates the rights to freedom of expression. It blocks the Thai citizens not to express any political opinions that refer to the monarchy and members of the Royal family, except only to demonstrate their beloved respectfulness and admiration.

I believe that for a country governed by a democratic system with respects toward the rights and freedoms and honors of being human, will unanimously agree that the predestination that I have received and still now encounter is a violation of international human rights, especially to, the freedom of expression. The event that happened is considered as a crime that the Thai government definitely committed toward its own citizen.

In an addition to myself, there are groups of people and activists that have been sent to prison and convicted with the same charge as mine.

I confidently and directly appeal that if you have learned of my predestination and of other Thai political prisoners’ truthfulness; you actions will result in how the Thai government and their officials should handle their political prisoners. You should be able to illustrate and persuade the Thai government to completely cease the incarcerations and tortures to all political prisoners, such as mine or the others.

I am confident that you are the leader of the democracy state and respect in the freedom rights of humanity. You will not ignore to the events that had happened in Thailand according to what I had previously stated an appeal. I plead you to urgently proceed in every and many possible ways. So, the Thai government will cease the incarcerations and tortures to all political prisoners and return the freedoms to these individuals who are currently detained.

I am confident that in every arena and every place, a person, such like you who pays the respects in human rights will be kindly proceeding on the requests I have faithfully submitted.



Mr. Bundith Arniya



Please contact me at the following address:

52/1 Group 6, Petchkasem 108, 9th Intesection,
Nong Kang Ploo Sub-District
Nong Kaem District
Bangkok, Thailand
Tel. 083-0619237

or Contact Address of Mr. Prawais Prapanugool
256/193 Soi Watcharapol 3 Junction 1
Khlong Thanon Sub-District
Sai Mai District
Bangkok 10220 Thailand

ที่มา thaienews

ข่าวเกี่ยวข้อง
คดี 112 : กรณีบัณฑิต อานียา (จือเซ็ง แซ่โค้ว)